โรคพุ่มพวง วิธีรักษาโรคพุ่มพวง+เลือด น.ศ ที่ตายด้วยโรคพุ่มพวง
แพทย์ฯชี้ นศ.เชียงใหม่แมลงกัดตาย เป็นโรคพุ่มพวง
แพทย์เผยกรณี 'น.ส.ภัทรนันทร์ หรือน้องคัท' นศ.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ถูกแมลงกัดจนเสียชีวิต ป่วยเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง
จากกรณี น.ส.ภัทรนันทร์ หรือน้องคัท ต้องสู้ อายุ 22 ปี นศ.คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ไปปฏิบัติธรรมกับเพื่อนที่วัดถ้ำแห่งหนึ่งใน จ.เชียงใหม่ ซึ่งถูกแมลงไม่ทราบชนิดกัด ทำให้ไม่สบายมีอาการเท้าบวม ใบหน้าบวม หายใจหอบ ตัวร้อน เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย และไตวาย เสียชีวิตที่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา
โดยวันที่ 4 มิ.ย. รศ.นพ.วัฒนา นาวาเจริญ ผอ.รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากที่ดูลักษณะอาการก่อนเสียชีวิตมีความคล้ายคลึงกับอาการแพ้ ซึ่งผู้ตายอาจไม่รู้ตัวว่าเป็นภูมิแพ้อะไร เพราะแต่ละคนเป็นภูมิแพ้ไม่เหมือนกัน จากเหตุการณ์ที่บอกว่าถูกแมลงกัดและทำให้เกิดอาการถึงขั้นเสียชีวิต ถ้าดูจากแมลงในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นแมงป่อง ตะขาบ ไม่ค่อยมีฤทธิ์มากเคยมีกรณีนักท่องเที่ยวต่างประเทศมาเจออากาศ หรือถูกแมลงกัดบ้านเรา ก็เกิดภูมิแพ้ และมีอาการบวมเช่นกัน เพราะประเทศเขาไม่มี แต่ผู้ถูกกัดไม่รู้ว่าตนเองมีอาการแพ้ โชคดีที่มารักษาได้ทัน กลุ่มพวกนี้มักจะทำให้เกิดอาการบวมเท่านั้น นอกจากมีอาการแพ้หลังถูกต่อย ก็เป็นไปได้ที่จะเสียชีวิตหากรักษาไม่ทัน
ด้านนพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่าคนไข้รายนี้ไปรักษาที่ รพ.แม่ทะ รพ.ศูนย์ลำปาง ก่อนถูกส่งตัวไปที่ รพ.เอกชนที่ จ.เชียงใหม่และเสียชีวิต ทั้งนี้ทาง รพ.ศูนย์ลำปางให้ข้อมูลว่าคนไข้ไม่มีประวัติถูกสัตว์มีพิษกัดแต่เสียชีวิตเพราะแพ้ภูมิตัวเอง "คนไข้ไม่ได้โดนแมลงกัด หรือสัตว์มีพิษกัดแน่นอน เพราะหากถูกแมลงกัดคนไข้จะมีอาการแพ้เกิดขึ้น สำหรับรอยผื่นเลือดออกใต้ผิวหนังเป็นจ้ำเลือดนั้นเกิดจากแพ้ภูมิตัวเอง ดังนั้นประชาชนไม่ต้องตกใจ
ทั้งนี้สำหรับโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ เอสแอลอี (SLE) หรือที่คนไทยเรียกกันติดปากว่าโรคพุ่มพวง เพราะอดีตราชินีลูกทุ่งชื่อดัง พุ่งพวง ดวงจันทร์ เสียชีวิตจากโรคนี้ ทางการแพทย์เรียกอีกชื่อว่าโรคลูปัส เป็นโรคในกลุ่ม โรคออโตอิมมูน คือโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ที่โดยปกติทำหน้าที่ต่อต้านและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย แต่ที่ผิดปกติคือร่างกายกลับให้ระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านเนื้อเยื่อและเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายตนเองในระบบอวัยวะต่างๆ
ภาพจาก : https://news.impaqmsn.com/articles_hn.aspx?id=489407&ch=hn
แหล่งที่มา : เดลินิวส์