การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจ อาการคนเป็นโรคหัวใจ สถิติของการเป็นโรคหัวใจของประชากรในประเทศไทย
การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวร (Permanent pacemaker) คือการรักษาโรคหัวใจเต้นช้าชนิดรุนแรงที่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติ โดยการใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคที่มีความสามารถในการให้กระแสไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นหัวใจให้ทำงานได้เป็นปกติสาเหตุหัวใจเต้นช้าชนิดรุนแรง มีหลายสาเหตุ สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่ ความเสื่อมของระบบการนำไฟฟ้า ยา โรคที่มีการทำลายกลามเนื้อและระบบการนำไฟฟ้าหัวใจเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ และความผิดปกติของไฟฟ้าหัวใจแต่กำเนิด เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวรมีด้วยกันหลายชนิด เพื่อให้เหมาะสมกับการรักษาโรคหัวใจเต้นช้าชนิดรุนแรงที่แตกต่างกัน องค์ประกอบของเครื่องเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวร - แหล่งกำเนิดพลังงานและควบคุมการทำงาน (Generator) ประกอบด้วยแบตเตอรี่และวงจรอิเล็กทรอนิค อายุการใช้งานประมาณ
7-10 ปี - สาย (Lead) ทำหน้าที่รับสัญญานไฟฟ้าของผู้ป่วยเพื่อนำมาประมวณผลที่แหล่งกำเนิดพลังงานและควบคุมการทำงาน (Generator) และส่งกระแสไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดพลังงานและควบคุมการทำงานมาสู่ผู้ป่วยเมื่อมีข้อบ่งชี้
วิธีการรักษาโดยการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวร แพทย์จะทำการผ่าตัดเปิดผิวหนังบริเวณหน้าอกหน้าต่อหัวใหล่ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร หลังจากนั้นทำการสอดสาย 1หรือ 2 สาย (แล้วแต่ชนิดของเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ) เข้าไปตามหลอดเลือดดำบริเวณไหล่หรือหลอดเลือดดำใหญ่ ไกล้ส่วนกลางทรวงอก จนกระทั่งเข้าไปถึงหัวใจและในตำแหน่งที่เหมาะสม แล้วจึงนำเครื่องมาต่อกับสายและใส่เครื่องไว้บริเวณใต้ผิวหนังบริเวณ หน้าอกหน้าต่อหัวใหล่และทำการเย็บปิด การใส่เครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจ (Automatic implantable cardioverter defibrillator: AICD) คือการรักษาเพื่อป้องกันการเสียชีวิตฉับพลันจากภาวะไฟฟ้าหัวใจห้องล่างลัดวงจรชนิดรุนแรงเป็นหน้าที่หลัก หน้าที่รองคือสามารถกระตุ้นไฟฟ้า หัวใจเมื่อไฟฟ้าหัวใจเต้นช้า เครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจมีทั้งชนิด1 ห้องหรือ 2 ห้อง เพื่อให้เหมาะสมกับการรักษาภาวะไฟฟ้า หัวใจห้องล่างลัดวงจร ชนิดรุนแรงที่แตกต่างกัน หลักการทำงานของเครื่อง AICD คือ เครื่องจะให้กระแสไฟฟ้ามาที่หัวใจเพื่อทำให้กระแสไฟฟ้าในหัวใจที่เต้นผิด จังหวะรุนแรงกลับมาเป็นการเต้นปกติ ผู้ป่วยที่ได้รับประโยชน์จากเครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจผู้ที่มีประวัติหัวใจห้องล่างลัดวงจรชนิดรุนแรง (VT และ VF)ผู้ที่รอดชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน และผู้ป่วยที่มีการบีบตัวหัวใจหัวใจอ่อนผิดปกติชนิดรุนแรง องค์ประกอบของเครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจ ประกอบด้วย แหล่งกำเนิดพลังงานและควบคุมการทำงาน (Generator)และสาย (Lead) เช่นเดียวกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวร วิธีการทำการใส่เครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจมีวิธีการเช่นเดียวกับการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เพียงแต่ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่กว่า ขนาดของเครื่องประมาณ กว้าง 4-5 เซนติเมตร หนา 0.8-1.2 เซนติเมตร วิธีการปฏิบัติตัวหลังใส่เครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจ เช่นเดียวกับข้อปฏิบัติหลังใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ แต่มีข้อที่พิเศษกว่า คือ เนื่องจาก AICD สามารถช็อคไฟฟ้าหัวใจได้ผู้ป่วยจะรู้สึกกระตุกคล้ายถูกไฟช็อด หลังจากเครื่องช็อคแนะนำให้ติดต่อแพทย์หรือโรงพยาบาลที่ให้การดูแลเกี่ยวกับ เครื่องทำการตรวจเช็คเครื่อง ส่วนความรีบด่วนในการตรวจเช็ค สำหรับผู้ที่ถูกช็อค 1 ครั้งและไม่มีอาการผิดปกติอื่นสามารถรอการตรวจใน 1-2 วันได้ ส่วนผู้ที่ถูกช็อค 2-3 ครั้งในวันเดียวหรือมีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วยแนะนำห้มาตรวจทันที Cardiac Resynchronization therapy: CRT เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคที่ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวเพื่อช่วยกระตุ้นหัวใจห้องล่างซ้ายให้บีบตัวอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เครื่องชนิดนี้มีลักษณะที่พิเศษกว่าเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าธรรมดาตรงที่ การใส่ CRT จะมีการใส่สายเข้าไปในหัวใจ 3 สาย; สายที่ 1 หัวใจห้องบนขวา สายที่ 2 หัวใจห้องล่างขวา และสายที่ 3 ด้านข้างของหัวใจห้องล่างซ้ายด้วยการใส่สายเข้าไปในหลอดเลือดดำใหญ่ของหัวใจ (coronary sinus) ประโยชน์คือกระตุ้นหัวใจห้องล่างให้มีการบีบตัวอย่างมีประสิทธิภาพ มีความพร้อมเพรียงของการทำงานของ หัวใจห้องล่างขวาและว้ายร่วมกับมี การทำงานที่ประสานกันของหัวใจห้องบนและห้องล่าง ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการใส่ CRT คือผู้ที่มีการบีบตัวหัวใจอ่อนแอขั้นรุนแรง กราฟไฟฟ้าหัวใจมีลักษณะตัวกว้าง ได้รับการรักษาด้วยยาที่มีข้อมูลว่ามี ประโยชน์ต่อการรักษาภาวะหัวใจอ่อนแออย่างเต็มที่แล้ว วิธีการทำการใส่เครื่อง CRT ในการใส่สายเข้าไปในหัวใจห้องบนขวาและล่างขวามีวิธีการทำเช่นเดียวกับการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ส่วนสายที่จะกระตุ้นหัวใจห้องล่างซ้ายจะทำการใส่โดยการสอดสายเข้าไปในเส้นเลือดดำใหญ่ของหัวใจ จะมีผู้ป่วยประมาณ 10 เปอร์เซนต์ที่ไม่สามารถ ใส่สายที่จะเข้าไปกระตุ้นหัวใจห้องล่างซ้ายโดยการสอดสายเข้าไปในเส้นเลือดดำใหญ่ของหัวใจได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องใช้การผ่าตัดหัวใจเพื่อนำสาย ไปวางที่ด้านข้างของหัวใจห้องล่างซ้ายแทน วิธีการปฏิบัติตัวหลังใส่เครื่อง CRT เช่นเดียวกับข้อปฏิบัติหลังใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ และจะมีการแนะนำให้มีการปรับการทำงานของเครื่องที่ เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายโดยการใช้ Programmer/EKG และการทำคลื่นเสียงสะท้อนไฟฟ้าหัวใจ (Echocardiography) ข้อแทรกซ้อนที่อาจพบได้บ่อยกว่าเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจคือ มีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อหน้าอกด้านซ้าย กล้ามเนื้อกระบังลม ซึ่งการแก้ไขสามารถ ทำได้โดยการปรับค่าการทำงานด้วย Programmer แต่ถ้าไม่หายอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขใหม่ Cardiac Resynchronization therapy and defibrillator: CRT-D มีหลักการทำงานของ CRT ร่วมกับ AICD วิธีการทำเช่นเดียวกับการทำ CRT แต่มีความแตกต่างตรงที่สายที่ใส่เข้าไปในหัวใจห้องลางซ้ายจะใช้สาย AICD แทนสาย Pacemaker ปกติ ผู้ที่จะได้ประโยชน์จาก CRT-D คือผู้ป่วยกลุ่มเดียวกับผู้ที่จะต้องใส่ CRT |
แหล่งที่มา : siphhospital.com