โรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเรื้อรัง คือ การพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปัญหาโรคเรื้อรัง


964 ผู้ชม


โรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเรื้อรัง คือ การพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปัญหาโรคเรื้อรัง


หลังการใช้ยารักษาโรคเรื้อรังให้ได้ผลดีและปลอดภัย

          เพื่อให้การใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ผลดีและปลอดภัย ซึ่งตัวผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่ทำหน้าที่รับยาและเป็นผู้ที่ให้ยาควรปฎิบัติ มี 4 ขั้นต้อนง่ายๆดังนี้
          1 การตรวจรักษาจากแพทย์
          2 การรับยาที่ห้องยา
          3 การใช้ยา
          4 หลังจากใช้ยา
การตรวจรักษาจากแพทย์
          การที่จะใช้ยาให้ได้ผลดีและปลอดภัย เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการรับการตรวจรักษาจากแพทย์  ซึ่งระหว่างนี้แพทย์จะทำการซักประวัติความเจ็บป่วยพร้อมกับการตรวจร่างกายและอาจจะมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์  ตรวจเลือด เป็นต้น    เตรียมข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยเล่าให้แพทย์ฟัง
 สิ่งหนึ่งที่สำคัญนอกจากข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยในปัจจุบันที่แพทย์ซักถามค้นหาด้วยแพทย์เองแล้ว  ผู้ป่วยก็สามารถช่วยได้ด้วยการเตรียมข้อมูลสำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยของตนเอง  ทั้งอดีตและปัจจุบันให้พร้อมและเล่าให้แพทย์ฟัง ซึ่งรวมถึงเรื่องยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผู้ป่วยใช้เป็นประจำ  ตลอดจนอาการแพ้ยา หรืออาการอันไม่ถึงประสงค์ ผลข้างเคียงที่เกิดจากยา เพื่อแพทย์จะได้รับข้อมูลประกอบการเจ็บป่วยอย่างครบถ้วนส่งผลให้การวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแม่ยำ และให้การรักษาด้วยยา และวิธีอื่นๆได้อย่างเหมาะสม     แจ้งเรื่องยา  สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นๆที่ท่านใช้อยู่ด้วย
          กรณีที่มีการใช้ยาจากโรคอื่นๆ สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นจำนวนมาก  ผู้ป่วยอาจทำเป็นรายการหรือนำตัวอย่างพร้อมบรรจุภัณฑ์ทุกชนิดไปแสดงให้แพทย์ได้รับรู้ก่อนการวินิจฉัยโรคและให้การรักษา  บรรดายา สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิดอาจจะไปเสริมฤทธิ์ทำให้ผลของยาที่แพทย์จะจ่ายให้มีฤทธิ์มากขึ้น  และอาจเกิดอันตรายได้ หรือตรงกันข้าม ยา สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิด ก็อาจจะไปต้านฤทธิ์ยาที่แพทย์จะจ่าย ทำให้ผลการรักษาได้น้อยลง  ขอให้แพทย์อธิบายเรื่องยาและการรักษาด้วยวิธีอื่นๆอย่างละเอียด     เมื่อแพทย์ให้การรักษา  รวมถึงการสั่งจ่ายยาให้กับผู้ป่วย โดยทั่วไปแพทย์จะบันทึกไว้ในใบสั่งยา ระบุชนิด จำนวน  และวิธีใช้ยา
          ผู้ป่วยควรได้รับการอธิบายจากแพทย์ว่า  มียาชนิดใดบ้างที่แพทย์สั่งจ่ายให้ ด้วยวัตถุประสงค์ใด  มีวิธีการใช้อย่างไร  และอาจจะเกิดผลต่อผู้ป่วยที่กินยาอย่างใดบ้าง คือทั้งผลดีและผลเสียของยาทั้งหมด

การรับยาที่ห้องยา
          เมื่อได้รับยาจากห้องยาแล้วผู้ป่วยจะต้องตรวจเช็กยาทั้งหมดที่ตนได้รับ ดังนี้โรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเรื้อรัง คือ การพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปัญหาโรคเรื้อรัง
 “ถูกคน” หรือไม่  ด้วยการตรวจชื่อผู้ป่วยที่ปรากฏอยู่บนฉลากยาว่า ถูกต้องหรือไม่   เป็นชื่อผู้ป่วย ที่ปรากฏอยู่บนฉลากยาว่า  ถูกต้องหรือไม่ เป็นของผู้ป่วยหรือไม่
 “ถูกชนิด”  หรือไม่  ตรวจชนิดของยา ชื่อยา  ข้อบ่งใช้และจำนวนยาที่ได้รับว่า ถูกต้องตรงกับอาการความเจ็บป่วยของผู้ป่วยหรือไม่  และเป็นไปตามคำอธิบายของแพทย์หรือไม่  ถ้าเป็นยาที่ต้องใช้อย่างต่อเนื่อง และคำนวณดูว่าจำนวนเพียงพอถึงการนัดพบแพทย์ในครั้งต่อไปหรือไม่
          “ถูกวิธีใช้” หรือไม่   อ่านและทำความเข้าใจวิธีการใช้ยาให้ชัดเจน  ถ้ามียาใดที่ไม่เข้าใจหรือสงสัยวิธีใช้ยาให้ชัดเจน  ถ้ามียาใดที่ไม่เข้าใจหรือสงสัยวิธีใช้ยาจะต้องปรึกษาเภสัชกร ผู้จ่ายยาจนเข้าใจดีก่อนกลับบ้าน   มี “ยาใหม่”  หรือไม่  กรณีที่พบยาใหม่  ต้องตรวจเช็กว่าเป็นยาใหม่ตามคำอธิบายของแพทย์หรือไม่   ถ้าได้รับยาใหม่ตามคำอธิบายของแพทย์หรือไม่  ถ้าได้รับยาใหม่โดยที่แพทย์ไม่เคยอธิบายให้ฟัง  จะต้องปรึกษาเภสัชกรทันที  เพราะอาจผิดพลาดและเกิดอันตรายได้   มี “ยาที่มีรูปแปลกใหม่  ไม่คุ้นเคย  จะต้องปรึกษาเภสัชกรผู้จ่ายยา  เพื่อขอคำแนะนำวิธีการใช้ยาและฝึกฝนให้ถูกต้อง   
          “ผลข้างเคียงของยา”  จะต้องสอบถามถึงผลข้างเคียงของยาที่พบบ่อยและอันตราย  จะได้สังเกตหลังการใช้ยา  และติดตามอาการเหล่านี้ เพื่อปฎิบัติตัวหรือหลีกเลี่ยงอาการดังกล่าวให้รบกวนการใช้ยาน้อยที่สุด หรือแจ้งต่อแพทย์ผู้สั่งจ่ายยาถ้าผลเสียนั้นเป็นอันตรายมาก
          ขั้นตอนการรับยาจากห้องยาเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ดังนั้น จะต้องตรวจเช็กยาที่ได้รับว่า ถูกคน ถูกยาก ถูกวิธีใช้ มียาใหม่หรือไม่?   ตลอดจนมีวิธีการใช้พิเศษหรือไม่?  ผลข้างเคียงของยามีอะไรบ้าง  หากสงสัยหรือไม่เข้าใจ  จะต้องถามเภสัชกร  เพื่อให้การใช้ยาได้ผลดีมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย  และคุ้มค่าต่อการใช้ยา  นอกจากนี้  จะต้องถามเภสัชกรถึงระยะเวลาการใช้ยา

ระยะเวลาที่เหมาะสมการใช้ยา
ระยะเวลาการใช้ยาแบ่งได้เป็น 3  แบบ คือ
1 การใช้ยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
          ยาที่ใช้ควบคุมอาการหรือความรุนแรงของโรคเรื้อรัง  มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ยาออกฤทธิ์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ  และสามารถควบคุมอาการและความรุนแรงของโรคดังกล่าวได้อยู่ตลอดเวลา   เพื่อไม่ให้ระดับความรุนแรงของโรคลุกลามมากขึ้น  อาจก่อให้เกิดอันตรายได้  จึงเป็นการใช้ยาเพื่อป้องกันอันตรายจากโรคเรื้อรัง จะต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ห้ามหยุดยาด้วยตัวเองหรือหยุดยาเมื่ออาการทุเลาลงแล้ว หรือไม่มีอาการแล้วก็ตาม (ยกเว้นกรณีที่มีอาการอันไม่พึงประสงค์อย่างรุนแรง จะต้องปรึกษาแพทย์ทันที)
2 การใช้ยาเมื่อมีอาการเท่านั้น    
          ตัวอย่างเช่น     ยาแก้ปวด   ยานอนหลับ  ยาระบาย ฯลฯ  ยาเหล่านี้เป็นยาที่รักษาตามอาการ  
เพื่อนบรรเทาอาการใดอาการหนึ่งเท่านั้น  ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมโรคเรื้อรัง จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ  ติดต่อกับเป็นระยะเวลานานๆ  เมื่อใดที่อาการดีขึ้นแล้ว  ก็หยุดยาได้  เมือ่ใดมีอาการอีกจึงจะต้องใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการเท่นั้น
3 การใช้ยาติดต่อกันจนหมด  
          ยาเหล่านี้มักจะมีฤทธิ์ต้านเชื้อโรค  ใช้รักษาโรคติดเชื้อจากเชื้อแบททีเรีย เชื้อรา  หรือไวรัส ฯลฯ ซึ่งควรใช้ติดต่อกันจนหมดตามจำนวนที่แพทย์สั่ง  เมื่อครบแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ต่อไปอีก  เพราะยาเหล่านี้จะมีฤทธิ์ต้านเชื้อโรค เมื่อเชื้อหมดแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยานี้อีก

การใช้ยา
          เมื่อกลับไปบ้านและจะต้องเริ่มใช้ยา จะต้องอ่านฉลากและวิธีใช้ทุกครั้ง  ว่าใช้ครั้งละเท่าใด  วันละกี่ครั้งเวลาใด  และใช้ให้ถูกต้อง  ตรงตามคำสั่งแพทย์ หรือเภสัชกร และสังเกตลักษณะของยาว่ายังเหมือนเดิมหรือไม่ ก่อนการใช้ยา

หลังจากใช้ยา
          ขั้นตอนหลังจากใช้ยา ผู้ป่วยจะต้องติดตามผลการรักษาและหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นระหว่างการใช้ยา ถ้ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ขอให้ติดต่อกับผู้สั่งจ่ายยาโดยทันที  เพื่อแจ้งให้ผู้สั่งจ่ายทราบและให้คำปรึกษาเพื่อการดูและอาการผิดปกตินั้น  จะเห็นได้ว่าโรคเรื้อรังเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาดควรดูแลรักษาแพทย์แนะนำ  เพราะถ้าไม่ดูแลตนเองให้ดี  อาจทำให้โรคลุกลามเป็นหนักยิ่งขึ้น และเกิดโรคแทรกซ้อนทำให้เป็นโรคอื่นเพิมเติม เกิด “โรคแห่งการสะสม”  
          หากมีข้อสงสัยในเรื่องยาและสุขภาพ  อย่านิ่งนอนใจ  ควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร  หรือเภสัชกรชุมชนที่ประจำอยู่ที่ร้านยาได้ตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อให้การใช้ยาได้ผลดี  และปลอดภัยจากการใช้ยา


แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด