โรคบิด สาเหตุโรคบิด โรคบิดในเด็กเล็ก


2,059 ผู้ชม


โรคบิด สาเหตุโรคบิด โรคบิดในเด็กเล็ก

 

 

โรคบิด : โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ

         โรคบิด หมายถึง กลุ่มโรคที่มีอาการถ่ายอุจจาระเหลวครั้งละจำนวนน้อยแต่บ่อยครั้ง ลักษณะอุจจาระจะเป็นมูกและเลือด หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง อาจอุจจาระเป็นน้ำเหลว จนถึงรุนแรง ถึงอุจจาระเลือดปนหนอง มักจะมีอาการปวดท้องเกร็งและถ่ายปวดเบ่งคล้ายถ่ายอุจจาระไม่สุด แบ่งออกเป็น

1) Bacillary dysentery (บิดไม่มีตัว) หรือ Shigellosis

สาเหตุ
     เกิดจากเชื้อ Shigella spp. โดยปกติเชื้อสายที่ทำให้เกิดระบาดได้ทั่วไป โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา คือ S.dysenteriae type 1 และมีอัตราการป่วยตายสูงกว่าซีโรไทป์อื่น ประเทศไทยเคยมีการระบาดของซีโรไทป์นี้ ในจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสานแต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว S.sonnei เป็นสาเหตุพบมากสุด

แหล่งรังโรค
     ที่สำคัญคือคนเท่านั้น

การติดต่อของโรค
     โดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนจากอุจจาระผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะ การป่วยมักเกิดหลังได้รับเชื้อแม้จำนวนน้อยเพียง 10-100 ตัว ดังนั้นการติดต่อจากผู้ป่วยไปสู่ผู้อื่นจากการสัมผัสโดยตรงจึงเกิดขึ้นง่าย

ระยะติดต่อ
     ตั้งแต่แสดงอาการจนกระทั่งไม่พบเชื้อในอุจจาระของผู้ป่วย โดยปกติใช้เวลา ประมาณ 4 สัปดาห์ การให้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม โดยปกติจะช่วยลดระยะเวลาของการเป็นพาหะให้น้อยกว่า 1 สัปดาห์

อาการและอาการแสดง
     
นอกจากอาการดังกล่าวข้างต้น ในเด็กที่ขาดอาหาร หรือภูมิต้านทานต่ำ เชื้ออาจแพร่กระจายเข้าสู่กระแสโลหิตได้ และถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยเร็วจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนร่วมได้ เช่น toxic megacolon, paralytic ileus เลือดออกในลำไส้ได้ ลำไส้ใหญ่ทะลุ โลหิตเป็นพิษจากการติดเชื้อซ้ำเติมของแบคทีเรียอื่น
     โรคบิด หมายถึง กลุ่มโรคที่มีอาการถ่ายอุจจาระเหลวครั้งละจำนวนน้อยแต่บ่อยครั้ง ลักษณะอุจจาระจะเป็นมูกและเลือด หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง อาจอุจจาระเป็นน้ำเหลว จนถึงรุนแรง ถึงอุจจาระเลือดปนหนอง มักจะมีอาการปวดท้องเกร็งและถ่ายปวดเบ่งคล้ายถ่ายอุจจาระไม่สุด แบ่งออกเป็น

2) Amoebic dysentery (บิดมีตัว) หรือ Amoebiasis

สาเหตุ
     เกิดจากเชื้อ Entamoeba histolytica

แหล่งรังโรค
     คนปกติมักเป็นผู้ป่วยเรื้อรังหรือปล่อย cyst ในอุจจาระแต่ไม่แสดงอาการ

การติดต่อของโรค
     เกิดจากการกินผักดิบหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มี cyst ของเชื้อเข้าไปโดยตรง อาจเกิดจากเพศสัมพันธ์ (oral-and contact)

ระยะติดต่อ
     ช่วงที่มี cyst ออกมากับอุจจาระ ซึ่งอาจนานเป็นปี แต่อาจเป็นชนิดไม่ก่อโรค

อาการและอาการแสดง
     การติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่ปรากฏอาการ แต่อาจเป็นแบบบิดเฉียบพลัน มีไข้สูงหนาวสั่น อุจจาระร่วงมีเลือดหรือมูกปนเลือด หรือมีอาการเล็กน้อย อุจจาระร่วงมีเลือดหรือมูกปนสลับกับอาการท้องผูก เชื้ออาจแพร่กระจายไปตามกระแสโลหิต ทำให้เกิดก้อนฝีที่ตับ ปอด หรือสมอง

3) Unspecified dysentery เกิดจากเชื้ออื่นๆ ได้แก่

     3.1 E.coli O157 : H7

 สาเหตุ
     เกิดจากเชื้อ Escherichia coli serotype O157 : H7

แหล่งรังโรค
     สัตว์เลี้ยงประเภทวัว ควาย สัตว์ปีก เช่น ไก่งวง และในคน

การติดต่อของโรค
     การรับประทานอาหารปนเปื้อนเชื้อ ส่วนใหญ่ ได้แก่ เนื้อวัว ที่ปรุงแบบไม่สุก แฮมเบอร์เกอร์ แซนวิชที่ใช้แฮม ไก่งวง เนยแข็ง นมดิบ และน้ำแอปเปิล เป็นต้น การติดต่อจากคนไปคนได้ พบในโรงพยาบาล ภายในครอบครัวและสถานเลี้ยงเด็ก เชื้อเพียง 100 ตัวก็ก่อให้เกิดอาการของโรคได้

ระยะติดต่อ
     3-9 วัน เฉลี่ยประมาณ 4 วัน

อาการและอาการแสดง
     เป็นสาเหตุการระบาดของ hemorrhagic colitis อุจจาระมีลักษณะเป็นเลือดชัดเจน แต่ไม่พบเม็ดเลือดขาวยังอาจเกิด hemorrhagic-uremic syndrome

     3.2   E.coli O157 : H7

สาเหตุ
     ในคนส่วนใหญ่เป็นเชื้อ C.jejuni และ C.coli

แหล่งรังโรค
     สัตว์หลายชนิด เช่น วัว ควาย สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว สุกร แกะ นก สามารถแพร่เชื้อมาคนได้

การติดต่อของโรค
     โดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ  นม ที่ปนเปื้อนเชื้อ หรืออาจติดต่ดโดยสัมผัสโดยตรงกับสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อ

ระยะฟักตัว
     1-10 วัน เฉลี่ย 3-5 วัน

ระยะติดต่อ
     ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับยาปฏิชีวนะอาจนาน 2-7 สัปดาห์

อาการและอาการแสดง
     มีความรุนแรงแตกต่างกันออกไป ได้แก่ มีไข้ ปวดท้อง อุจจาระร่วง อาจมีอาเจียนร่วมด้วย อุจจาระร่วงมักถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก อาจสลับกับการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสดปนอาจมีเยื่อเมือกและเม็ดเลือดสดปน อาการแทรกซ้อน มักเกิดหลังการติดเชื้อ C.jejuni ประมาณ 3 สัปดาห์ ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ,encephalopathy, stroke, Guillain-Barre syndrome และหนองในเยื่อหุ้มปอด (empyema)


แหล่งที่มา : blog.eduzones.com

อัพเดทล่าสุด