หน้าที่ของระบบโครงกระดูก โครงกระดูกมนุษย์สไตน์ไฮม์ การดูแลระบบโครงกระดูก


1,202 ผู้ชม


หน้าที่ของระบบโครงกระดูก โครงกระดูกมนุษย์สไตน์ไฮม์ การดูแลระบบโครงกระดูก

 

 มุมมองและท่าทีที่ควรปฏิบัติ ต่อโครงกระดูกในฐานะมนุษย์

 ราวกลางเดือนมิถุนายนมีบทความหนึ่ง (ซึ่งเป็นบทความแรกจากผู้อ่าน) ถูกส่งมาจาก "มิตรอาวุโส" ที่ไม่ประสงค์ออกนาม และอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากเรานี่เอง ก่อนอื่นคงจะต้องขอขอบพระคุณสำหรับมุมมองใหม่ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นมุมมองจาก "คนนอก" แวดวงหรือผู้ที่ไม่ใช่นักโบราณคดี ซึ่งได้ทำให้เกิดการต่อยอดทางความคิดอันสมเจตนารมย์ของคณะผู้จัดทำเป็นอย่างยิ่ง
จากบทความนี้เองที่ทำให้ผู้เขียนได้รับทราบและมองเห็นถึง "ความเข้าใจ" ของผู้คนภายนอกที่มีต่อการศึกษาโครงกระดูกได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า เราต่างฝ่ายต่างกำลังยืนอยู่บนยอดเขาลูกเดียวกัน หากแต่หันมองกันคนละด้านเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าภาพที่เรามองลงมาจากจุดๆเดียวกันจึงไม่อาจจะเป็นภาพเดียวกันได้
อย่างไรก็ตาม ในความแตกต่างนั้นย่อมไม่อาจชี้ชัดลงไปว่าใครผิดใครถูก เพราะนี่เป็นเรื่องของมุมมองซึ่งย่อมมีที่มาจากพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ของแต่ละคนซึ่งต่างกันไป ดังนั้นท่าทีที่ถูกต้องในการเรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง น่าจะเป็นการเรียนรู้จากหลายๆมุมมอง ทำความเข้าใจรอบด้าน ซึ่งท้ายที่สุดแล้วความรู้ในสิ่งหนึ่งอาจเป็นหนทางนำไปสู่ความเข้าใจในเรื่องอื่นๆต่อไปได้ไม่สิ้นสุด
ขออนุญาตกลับมาสู่เนื้อหาของสิ่งที่เรากำลังจะพูดกันต่อไป...
จากเนื้อหาในบทความที่ได้ส่งมานั้น ได้พูดถึงท่าทีในการศึกษาโครงกระดูกว่าเป็นเพียงการศึกษาชนิด " ถึงเลือดถึงเนื้อ" เท่านั้น หาได้เป็นการศึกษากระดูกในฐานะที่เคยเป็นมนุษย์มาก่อนไม่ หากแต่การไม่ล่วงละเมิดในความเป็นมนุษย์ของโครงกระดูกนั้นต่างหากที่เป็นการแสดงความเคารพ และถือเป็นการศึกษาโครงกระดูกในฐานะที่ครั้งหนึ่งเคยมีชีวิตอย่างแท้จริง (กรุณาอ่านบทความ "การศึกษา" เรื่องโครงกระดูก ในจดหมายข่าวฉบับเดียวกันนี้ก่อน เพื่อความกระจ่างชัดในประเด็นที่จะกล่าวต่อไป)
การศึกษาที่ลงลึกไปในรายละเอียด และต้องใช้วิธีการศึกษาแบบแยกส่วนนั้น อาจทำให้การศึกษาโครงกระดูก "ถูกมอง" ว่าเป็นเพียงการศึกษาอย่างละเอียดชนิดถึงเลือดถึงเนื้อ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่ทำการศึกษาย่อมรู้แก่ใจดีอยู่ตลอดเวลาว่าเรากำลังศึกษา "อินทรียวัตถุซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีชีวิต" ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้ต่างอะไรกับการศึกษาร่างกายคนในวิชา Gross Anatomy ของนักศึกษาแพทย์เลย

หน้าที่ของระบบโครงกระดูก โครงกระดูกมนุษย์สไตน์ไฮม์ การดูแลระบบโครงกระดูก

ธรรมชาติของการศึกษาแบบแยกส่วนนั้นมีข้อดีอยู่ตรงที่สามารถทำให้เราเข้าใจในรายละเอียดปลีกย่อยได้ แต่จะทำให้การมองภาพรวมตามความเป็นจริงของสิ่งนั้นๆสูญหายไปชั่วคราว ยกตัวอย่างง่ายๆเช่นการศึกษาร่างกายคนของนักศึกษาแพทย์ ในขณะที่ทำการศึกษาในแต่ละส่วน เขาจะมอง "อาจารย์ใหญ่" แยกส่วนเป็นเพียง Specimen ชิ้นหนึ่งเท่านั้น หากนักศึกษาแพทย์มอง"อาจารย์ใหญ่"เป็นมนุษย์ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่ตลอดเวลา ก็คงไม่เป็นอันได้เรียนกัน เพราะวิธีการศึกษาในวิชานี้จะต้องทำการ "ชำแหละ" ร่างกายคน ซึ่งหากมองเพียงแค่ "วิธีการ" มันก็คงไม่ต่างอะไรกับคนขายเนื้อสัตว์ที่ต้องรู้จักวิธีการชำแหละเนื้อ แต่ "จุดมุ่งหมาย" ในการปฏิบัตินั้นต่างหากที่ทำให้การกระทำทั้งสองอย่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งในแง่ของคุณค่าและความหมาย
ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระบบกลไกอันซับซ้อนในร่างกายคน แม้ขณะเรียน นักศึกษาแพทย์จะมองอาจารย์ใหญ่แยกส่วนเสมือนเป็นวัตถุชิ้นหนึ่งๆ แต่ก็ไม่อาจละเลยต่อการทำความเข้าใจในเรื่องชีววิทยาของร่างกายคนไปได้ พูดง่ายๆก็คือ นักศึกษาแพทย์ไม่ได้เรียนผ่าศพเพื่อที่จะรู้ในเรื่องเกี่ยวกับร่างของคนตาย แต่เรียนเพื่อทำความเข้าใจระบบร่างกายของคนเป็นต่างหาก 
การศึกษาโครงกระดูกก็เช่นกัน เราไม่ได้ศึกษาเพื่อที่จะรู้ว่ากระดูกแต่ละชิ้นมีธาตุอะไรบ้าง ปริมาณมากน้อยเท่าไร เหมือนกับเวลาที่เรานำเอาเศษภาชนะดินเผาหรือโลหะไปวิเคราะห์หาแร่ธาตุ องค์ประกอบทางเคมี หรือส่วนผสมที่มีอยู่ในวัตถุ แต่เราศึกษาร่องรอยลักษณะของกระดูกเพื่อมองย้อนกลับไปสู่ความมีชีวิตของเจ้าของโครงกระดูกนั้นต่างหาก และถึงแม้ว่าการตรวจหา DNA จะเป็นวิธีการศึกษาจากองค์ประกอบทางเคมีของกระดูก แต่ผลที่ได้ออกมาก็เพื่อนำไปใช้ตอบคำถามเกี่ยวกับชีวิตด้วยเช่นเดียวกัน
ต่อให้เรามีความรู้และเชี่ยวชาญในวิธีการศึกษาเชิงเทคนิคมากแค่ไหนก็ตาม หากไม่สามารถมองทะลุผ่านกระดูกที่อยู่ตรงหน้าเราเข้าไปเห็นร่องรอยความมีชีวิตของคนแล้ว เราก็ไม่อาจคิดค้นคำถามหรือมุมมองใหม่ๆในการศึกษาโครงกระดูกได้ อีกทั้งยังไม่สามารถสร้างมิติหรือความลึกลงในผลการศึกษานั้นได้อีกด้วย 
เราจะตั้งคำถามเกี่ยวกับ "ชีวิต" ได้อย่างไร หากเรามองไม่เห็น "ความมีชีวิต" อยู่ในสิ่งที่เราจะศึกษา ความมีชีวิตของโครงกระดูกจึงไม่ได้อยู่ที่วิธีการศึกษาว่าจะทำอย่างไร หากแต่อยู่ที่มุมมองในการตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบของชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต มองให้เห็นความเคลื่อนไหวที่ซ่อนอยู่ในความสงบนิ่ง 
นี่ต่างหากคือความหมายและหัวใจของการศึกษาโครงกระดูกที่เราทุกคน(โดยเฉพาะผู้ทำการศึกษา)ควรตระหนักรู้และเข้าใจร่วมกัน
ส่วนประเด็นที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของโครงกระดูกในฐานะมนุษย์นั้น อยากถามกลับว่าเราตีความหมายของคำว่า "ละเมิด" อย่างไร
หากการขุดค้นโครงกระดูกขึ้นมาศึกษา (รวมไปถึงโบราณวัตถุประเภทอื่นๆ) กลายเป็นการละเมิดสิทธิแล้ว เราก็ควรยุบหรือล้มเลิกวิชาโบราณคดีไปเสียเลยดีกว่า เพราะหากปราศจากการขุดค้นแล้วก็ไม่อาจเรียกว่าเป็นการศึกษาทางโบราณคดีอย่างสมบูรณ์ได้ 
การละเมิดในความคิดของผู้เขียนน่าจะเป็นการทำการขุดค้นและศึกษาโดยปราศจากความรับผิดชอบต่อหลักฐานเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การปล่อยให้โครงกระดูกนอนตากแห้งอยู่ในดิน โดยไม่สนใจไยดีว่ากระดูกจะถูกทำลายไปมากแค่ไหน หรือการขุดค้นที่ไม่คำนึงถึงความสำคัญของการจดบันทึก เป็นต้น

วิเคราะห์


แต่ถ้าจะพูดว่าการศึกษาโครงกระดูกอย่างละเอียดลออนั้น แสดงถึงการไม่เคารพต่อความเป็นมนุษย์ของโครงกระดูก อีกทั้งยังยกท่าทีของนักศึกษาแพทย์ที่มีต่อ "อาจารย์ใหญ่" มาเป็นตัวอย่างแล้ว ก็คงจะต้องขอทำความเข้าใจกันบ้างว่า หลายครั้งหลายคราที่มุมมองของคนจากวงนอกซึ่งพยายามจุดประกายใหม่ๆขึ้นมา และได้ก่อให้เกิดความหลากหลายทางความคิดนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ในบางครั้งมุมมองดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงเลย เพราะท่านเล่นใช้สายตาและความรู้สึกของคนที่อยู่ข้างนอกมาตัดสินความคิด (แม้แต่คาดเดาความรู้สึก) ของคนที่เผชิญประสบการณ์นั้นมาด้วยตัวเอง
จากการที่ผู้เขียนได้เรียนวิชา Gross Anatomy ร่วมกับนักศึกษาแพทย์ตลอดเวลาหนึ่งปีเต็ม ขอยืนยันได้อย่างเต็มปากว่า ขณะที่ทำการชำแหละร่างของอาจารย์ใหญ่อยู่นั้น ไม่มีใครสักคนหรอกที่มัวแต่คิดว่าเรากำลังผ่าศพของคนคนหนึ่งซึ่งมีพระคุณต่อเรา ในหัวสมองของทุกคนมีแต่ชื่อของกล้ามเนื้อ เส้นเลือด เส้นประสาท และเราต่างก็ไม่ได้คำนึงถึงร่างของอาจารย์ใหญ่มากไปกว่าวัตถุชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีส่วนประกอบมากมายจนไม่ทราบว่าจะจดจำยังไงไหว 
แต่ถึงแม้ว่าในเวลาเรียน นักศึกษาจะไม่ได้มองว่าอาจารย์ใหญ่เป็นร่างกายคนอยู่ตลอดเวลาก็ตามที นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าขณะที่กำลังทำการ "ชำแหละ" ร่างของ "อาจารย์ใหญ่" อยู่นั้น ผู้เรียนจะขาดสำนึกในความเคารพต่อผู้ที่อุทิศร่างกายเหล่านี้ ตรงกันข้าม ความรู้มากมายที่ได้รับจากท่านกลับทำให้ยิ่งรู้สึกซาบซึ้งและสำนึกในบุญคุณอันยิ่งใหญ่ของผู้ซึ่งเปรียบเสมือน "ครู" ที่สอนเราโดยใช้ร่างกายของท่านแทนคำสั่งสอน เป็นหนังสือเล่มใหญ่ให้เราได้อ่าน และสิ่งที่ผู้เรียนจะตอบแทนให้กับการเสียสละของท่านได้ ก็คงไม่มีอะไรจะสมค่าไปกว่าการตั้งใจเรียนให้ดีที่สุด เพื่อที่จะนำความรู้ที่ท่านได้มอบไว้มาช่วยเหลือชีวิตของผู้อื่นต่อไป
การแสดงความเคารพผ่านรูปแบบของการจัดงานศพหรือพิธีกรรมนั้นมีความสำคัญก็จริงอยู่ แต่มันจะปราศจากความหมายโดยสิ้นเชิง หากเราขาดสำนึกรับผิดชอบต่อการนำความรู้ที่เราได้รับมาไปทำประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคมโดยรวมอย่างเต็มความสามารถ
ในการศึกษาโครงกระดูกก็เช่นกัน ด้วยวิธีการศึกษาที่ละเอียดลออจนบางท่านมองว่าเป็นการ "เค้น" เอาข้อมูลจาก "วัตถุ" นั้น ก็ไม่ได้เกี่ยวเนื่องอะไรกับการไม่เคารพต่อโครงกระดูกเลย เพราะนั่นเป็น "วิธีการศึกษา" ซึ่งควรมองให้ออกว่าเป็นคนละส่วนกับการให้คุณค่าทางจิตใจ นอกจากนี้การแสดงความเคารพต่อโครงกระดูกในความคิดของผู้เขียนเอง น่าจะหมายถึงการศึกษาโครงกระดูกอย่างละเอียด ระมัดระวัง และเป็นไปด้วยความเข้าใจในธรรมชาติของหลักฐานมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่ข้อมูลเหล่านั้นจะได้เป็นคุณูปการต่อวงวิชาการโบราณคดีต่อไป

หน้าที่ของระบบโครงกระดูก โครงกระดูกมนุษย์สไตน์ไฮม์ การดูแลระบบโครงกระดูกเมื่อได้ขุดร่างของคนคนหนึ่งขึ้นมาแล้ว ก็ควรทำการศึกษาให้ดีที่สุด(ซึ่งไม่ได้หมายความว่า "มากที่สุด" เพราะการศึกษาโครงกระดูกจะทำได้มากหรือน้อยแค่ไหนย่อมขึ้นอยู่กับสภาพความสมบูรณ์ของโครงกระดูกนั้นๆ) จึงจะสมกับที่ร่างนั้นได้ทำหน้าที่ในฐานะ "อาจารย์ใหญ่" อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังรวมไปถึงความจำเป็นในการที่จะต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างดีที่สุดด้วยเช่นกัน

การเรียกร้องให้ฉุกคิดถึงการเคารพสิทธิและเจตจำนงของผู้ตายนั้นเป็นสิ่งที่ดี เพราะไม่ว่าเมื่อใดที่เราจะกระทำการใดๆต่อโครงกระดูกหรือหลักฐานทางโบราณคดีอื่นๆ หากเรามีจิตสำนึกที่เคารพต่อ "ความเป็นเจ้าของ" ของคนอื่นและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่มักง่ายหรือหลงผิดคิดว่าเราเองที่เป็นเจ้าของ จะทำอย่างไรกับหลักฐานเหล่านี้ก็ได้ เมื่อนั้นเราก็คงไม่ต้องสูญเสียข้อมูลที่มีคุณค่ามหาศาลไปอย่างมากมายเช่นทุกวันนี้
ส่วนประเด็นที่พูดถึงปัญหาการเรียกร้องให้คืนโครงกระดูกของชนพื้นเมืองอเมริกันนั้น ผู้เขียนเชื่อว่าการที่เรื่องนี้กลายเป็นข้อเรียกร้องที่ประสบผลสำเร็จได้ น่าจะเป็นเพราะอเมริกาเป็นประเทศใหม่ที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติอย่างชัดเจนปัญหาการแบ่งแยกและกีดกันเชื้อชาติที่คนผิวขาวกระทำต่ออินเดียนแดงนั้นเป็นที่รับรู้กันไปทั่วโลก ดังนั้นการที่คนอินเดียนแดงจะลุกขึ้นมาเรียกร้องให้คืนโครงกระดูกบรรพบุรุษ(ซึ่งแน่นอนว่าผู้ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นชนผิวขาว)จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก 
ในทางตรงกันข้าม เราไม่มีปัญหาทางเชื้อชาติมาเป็นปัจจัยผลักดันอย่างเขา และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของเราก็ผสมกลมกลืนกันจนไม่อาจที่จะแบ่งแยกชัดเจนได้ อีกทั้งการศึกษาโครงกระดูกในบ้านเราก็ยังไม่ได้พัฒนาไปไกล ถึงขั้นที่จะสามารถตรวจสอบความเกี่ยวเนื่องทางพันธุกรรมระหว่างคนในอดีตกับปัจจุบัน ดังนั้นการเรียกร้องในกรณีเช่นนี้คงยากที่จะเกิดขึ้นในประเทศของเราได้
การคำนึงถึงโครงกระดูกในฐานะที่เคยเป็นมนุษย์ โดยใช้หลักจริยธรรมแบบพุทธ ตามเนื้อหาที่กล่าวในบทความเรื่อง "การศึกษา" เรื่องโครงกระดูก จึงน่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับวัฒนธรรมของบ้านเรา แต่ทั้งนี้ควรจะต้องควบคู่ไปกับการให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักวิชาการกับคนในสังคมด้วย เช่นว่า ความสำคัญของโครงกระดูกต่อการแปลความทางโบราณคดี (ที่นอกเหนือไปจากเรื่องของ เพศ อายุ และส่วนสูง) วิธีการปฏิบัติแบบใดที่จะช่วยรักษาความสมบูรณ์ของโครงกระดูกไว้ได้ดีที่สุด เพื่อลดปัญหาการทำลายโครงกระดูกทั้งโดยตั้งใจและโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
นอกจากนี้ หัวใจสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ของการศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกในบ้านเราก็คือ การเข้าใจความแตกต่างระหว่าง มุมมองการศึกษาโครงกระดูกในฐานะของความเป็นมนุษย์ที่เคยมีชีวิตอยู่ในอดีต กับท่าทีที่ควรปฏิบัติต่อโครงกระดูกในฐานะมนุษย์ ว่าเป็นคนละเรื่องกันหากแต่มีความเชื่อมโยงและเกื้อกูลกันอยู่ ทั้งนี้เพราะการศึกษาโครงกระดูกชนิดที่ทำให้เห็นภาพเคลื่อนไหวของคนยิ่งชัดเจนมากเท่าใด ก็จะยิ่งเป็นการทำให้สังคมเห็นคุณค่าของโครงกระดูก(มากไปกว่าความเป็นกระดูกผีไม่มีญาติ)ที่มีต่องานวิชาการโบราณคดีมากขึ้นเท่านั้น และในทางกลับกัน เมื่อคนเห็นคุณค่า การดูแลรักษาโครงกระดูกอย่างมีประสิทธิภาพก็จะตามมา และเป็นหนทางนำไปสู่การศึกษาโครงกระดูกที่สมบูรณ์แท้จริงได้ในที่สุด
การศึกษาโครงกระดูกที่สมบูรณ์แท้นั้น ก็คือการที่เราสามารถมองเห็น "คน" ในโครงกระดูกที่เราทำการศึกษาได้ ซึ่งลำพังแต่เพียงข้อมูลเบื้องต้นเช่น เพศ อายุเมื่อตาย และส่วนสูง ไม่อาจทำให้เราเห็นภาพของคนที่มีชีวิตขึ้นมาได้เลย แนวความคิดเช่นนี้อาจจะฟังดูใหม่ในวงวิชาการบ้านเรา เพราะองค์ความรู้นี้ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าและแพร่หลายออกไปในวงกว้าง นักวิชาการที่ทำงานด้านนี้หลายๆท่านก็รู้และเข้าใจแต่ไม่มีใครออกมาพูด ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วการศึกษาโครงกระดูกในมุมมองเช่นนี้ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการต่างประเทศมานานแล้ว

 

แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด