อาการของโรคเบาหวาน อาหารสําหรับคนเป็นโรคเบาหวาน วิธีป้องกันโรคเบาหวาน
“เบาหวาน” เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ... ป้องกันได้
กระทรวงสาธารณสุข รายงานจากการสำรวจส ภาวะสุขภาพคนไทย ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2547 ประมาณการว่า มีผู้ป่วยเบาหวาน 3.9 ล้านคน แต่มีเพียง 1.7 ล้านคนที่เข้าถึงบริการทางการแพทย์ ซึ่งยังไม่รวมผู้ที่มีสภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานอีก 2 ล้านคน
เด็กและวัยรุ่นเกี่ยวข้องกับเบาหวานอย่างไร
เบาหวานที่พบในเด็กและวัยรุ่น แบ่งเป็น 2 ชนิด
ชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน
- เบาหวานชนิดนี้พบบ่อยที่สุดในเด็กและ วัยรุ่น เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ - อินซูลินเป็นฮอร์โมนทำหน้าที่ นำน้ำตาลเข้าไปใช้ในเซลล์ ทำให้เกิดพลังงาน ถ้าร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ เซลล์ต่างๆ ของร่างกายจะไม่สามารถนำ น้ำตาลที่เกิดจากการกินอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต (เช่น ข้าว แป้ง ) ไปใช้เป็นพลังงานได้ ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ เกิดเป็นโรคเบาหวาน
- ชนิดที่ 2 เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
โรคเบาหวานชนิดนี้ร่างกายผลิตอินซูลินได้ แต่เซลล์ต่างๆ ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน พบบ่อยในผู้ใหญ่และเด็กวัยรุ่นที่เป็นโรคอ้วน - สมัยก่อนถือว่าเบาหวานชนิดนี้เป็นโรคของผู้ใหญ่และเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ครอบครัวที่มีโรคเบาหวานชนิดนี้ โอกาสที่ลูกจะเป็นเบาหวานก็มีมาก แต่มักจะเป็นในผู้ใหญ่ที่อายุเกิน 40 ขึ้นไป และสัมพันธ์กับโรคอ้วน เนื่องจากภาวะอ้วนทำให้ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ปัจจุบัน เด็กเป็นโรคอ้วนกันมาก ทำให้พบโรคชนิดนี้มากขึ้นในเด็กและวัยรุ่น
ข้อมูลของโรงพยาบาลศิริราชที่พบเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 เป็นอย่างไร
จากข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2530 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2547 พบว่า
มกราคม พ.ศ. 2530 – ธันวาคม พ.ศ. 2539
เบาหวานชนิดที่ 1 ร้อยละ 93
เบาหวานชนิดที่ 2 ร้อยละ 5
มกราคม พ.ศ. 2540 – ธันวาคม พ.ศ. 2542
เบาหวานชนิดที่ 1 ร้อยละ 72
เบาหวานชนิดที่ 2 ร้อยละ 18
มกราคม พ.ศ. 2540 – ธันวาคม พ.ศ. 2547
เบาหวานชนิดที่ 1 ร้อยละ 70
เบาหวานชนิดที่ 2 ร้อยละ 28
จากข้อมูลนี้พบว่ามีสัดสวนของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สัมพันธ์กับเด็กเป็นโรคอ้วนมากขึ้นในประเทศไทยอย่างชัดเจน
สังเกตอย่างไรว่า ผู้ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
อาการของผู้ป่วยเบาหวานมีมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่มากอาจไม่มีอาการแต่อย่างใด แต่ตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี ในรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะมีอาการดังต่อไปนี้
- น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ ( ปัสสาวะออกมาก สูญเสียน้ำตาลทางปัสสาวะ)
- บางรายอาจจะมาด้วยเป็นแผลเรื้อรัง เพราะ ระดับน้ำตาลสูงในเลือดจะทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานกำจัดเชื้อโรคได้ไม่ดี เป็นแผลหายยาก
- บางรายมาด้วยเป็นเชื้อรา ติดเชื้อรายตามผิวหนัง เชื้อรายที่ช่องคลอด
- บางรายมาด้วยอาการน้ำตาลในเลือดสูงมาก จนกระทั่งร่างกายขาดน้ำรุนแรง มีภาวะช็อก มีภาวะเลือดเป็นกรดได้
อาการมีตั้งแต่รุนแรงมาก จนกระทั่งไม่มีอาการอะไรเลย รายที่ไม่มีอาการอะไรเลย ส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์เพราะอ้วนมาก คุณหมอที่ดูแลหรือคุณพ่อคุณแม่กังวลเรื่องอ้วน มักจะมีประวัติในครอบครัวเป็นเบาหวาน เมื่อมีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก็พบว่าเป็นเบาหวาน
ปัจจัยสำคัญของเบาหวานชนิดที่ 2 คือ ภาวะ อ้วน
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มาพบแพทย์ด้วยโรคอ้วนที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเป็นโรคอ้วน อายุตั้งแต่ 6- 18 ปี 125 ราย น้ำหนักเฉลี่ย 80 กิโลกรัม
พบว่ามีร้อยละ 3 เป็นเบาหวานแล้ว แต่ไม่มีอาการเลย
ร้อยละ 21 ตรวจน้ำตาลพบว่าผิดปกติ แต่ยังไม่ถึงขึ้นเบาหวาน ซึ่งผู้ป่วยที่เริ่มมีระดับน้ำตาลสูงผิดปกติ แต่ยังไม่ถึงขั้นเบาหวาน มีโอกาสเป็นเบาหวานในอนาคต ถ้าไม่สามารถลดน้ำหนักได้
พ่อแม่สามารถสังเกตลุกหลานของตันเองได้อีกวิธีหนึ่งก็คือ ถ้าลูกเริ่มมีภาวะอ้วน ร่วมกับสังเกตที่ต้นคอเด็ก จะเห็นมีร้อยดำๆหนาๆ ถูเท่าไหร่ก็ไม่ออก บางคนคิดว่าเป็นขี้ไคล
รอบคอที่ดำเป็นปื้นหนานี้บ่งบอกว่าเริ่มมีภาวะดื้อต่ออินซูลินแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเบาหวานทุกราย แต่ถ้าสังเกตพบปุ๊บจะต้องให้หมดตรวจระดับน้ำตาลดูว่าสูงผิดปกติหรือไม่ ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะไม่มีประวัติเป็นเบาหวานก็ตาม
แหล่งที่มา : doctor.or.th