โรคพุ่มพวง สาเหตุ ยารักษาโรคพุ่มพวง สาเหตุโรคพุ่มพวง


780 ผู้ชม


โรคพุ่มพวง สาเหตุ ยารักษาโรคพุ่มพวง สาเหตุโรคพุ่มพวง

 

โรคพุ่มพวง  เอส แอล อี SLE  ( Systemic Lupus  Erythematosus )
                                             จำรัส เซ็นนิล รวบรวม/เรียบเรียง
           เสียงเศร้าๆจากสุภาพสตรีท่านหนึ่ง สอบถามเรื่องยาสมุนไพรรักษาโรค เอส แอล ดี หรือรู้จักกันดีว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากราชินีเพลงลูกทุ่ง พุ่มพวงดวงจันทร์ ป่วยเป็นโรคนี้ ทำให้ผมต้องดิ้นรนสอบถามค้นคว้ามาเป็นข้อมูลให้ศึกษา เพื่อให้รู้เท่าทันไว้ดูแลสุขภาพ
        โรคเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus - SLE) หรือ โรคลูปัส จัดเป็นโรคที่เรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในกลุ่มภูมิคุ้มกันเพี้ยน ซึ่งไม่ได้เป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรงอย่างที่ผู้คนส่วนมากเข้าใจ โรคเอสแอลอีเกิดจากการที่ผู้ป่วยมีการผลิตโปรตีนของภูมิคุ้มกันในเลือดที่เรียกว่า "แอนติบอดี้" ขึ้นมามากเกินปกติ ทำให้เกิดปัญหาในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ว่าทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ จากปกติที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายจะต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรีย หรือไวรัสจากภายนอกร่างกาย  แต่กลับต่อต้านร่างกายของตัวเอง จนทำให้เกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆ  ถ้าเป็นรุนแรงจะมีการทำลายอวัยวะภายในด้วย เช่น ไต หัวใจ ปอด และระบบประสาท 
        โรคนี้เลือดจะมีการจัดตัวอย่างไม่เป็นระเบียบ โปรตีนเหล่านี้อาจไปปรากฏตัวอยู่ตามผิวหนัง, ก่อให้เกิดผื่นผิวหนัง, หรือไปฝังตัวอยู่ในไต, สมอง, ปอดและข้อต่าง ๆทั่วร่างกาย
        โรค เอส แอล อี หรือ ลูปัส  คำว่าลูปัส เป็นภาษากรีกโบราณ แปลว่าสุนัขป่า  แพทย์ในยุคแรกเรียกชื่อนี้จากการที่สังเกตว่าผู้ป่วยมีอาการผื่นแดงที่ผิวหนังบริเวณแก้มและจมูก เป็นรอยแผลที่น่าเกลียดและพุพองบนแก้มคล้ายกับ “รอยสุนัขป่ากัด”
         ในปลายคริสศตวรรษที่ ๑๙  มีการบันทึกทางกายแพทย์ว่าโรคนี้ว่ามีรูปแบบที่เด่นชัดของอาการเฉพาะโรคที่จัดเป็นโรคได้ คือมีการอักเสบของอวัยวะภายในอื่น ๆ ของร่างกาย เช่นเดียวกับผิวหนัง โรคนี้จึงเป็นที่รู้จักกันในชื่อทางการแพทย์ว่า Systemic Lupus Erythematosus (SLE) หรือเรียกกันในทางสามัญว่า “โรคลูปัส” 
สาเหตุของโรคลูปัส
          สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด จากหลักฐานทางการวิจัยพบว่าโรคนี้มีความเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์, ฮอร์โมน และการติดเชื้อโรค (โดยเฉพาะเชื้อไวรัส)       แต่ในขณะนี้ เป็นที่เชื่อกันว่าความผิดปกติทางกรรมพันธุ์มีแนวโน้มที่จะนำมาซึ่งโรคลูปัส 
แต่ทั้งนี้ยังต้องประกอบด้วยปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น อาจมีความเกี่ยวข้องกับแสงอุลตร้าไวโอเลต (พบผู้ป่วยจำนวนหนึ่งเกิดโรคขึ้นโดยครั้งแรก เริ่มจากโดนแสงแดดขณะพักผ่อนวันหยุด, การตั้งครรภ์ (อาจเกิดจากการตั้งครรภ์โดยตรง ในระหว่างการตั้งครรภ์ หรือในช่วงภายหลังจากการคลอดบุตร ที่เรียกว่า “ภาวะหลังคลอด” ก็ได้) และจากยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาลดน้ำหนัก ยากันชัก เป็นต้น
     สำหรับลักษณะอาการของโรคนี้ร้อยละโดยประมาณ ปวดข้อและกล้ามเนื้อ ๙๕ ผื่นแดงที่ผิวหนัง ๘๐
อาการไข้  ๕๐-๗๐  อาการเจ็บหน้าอก (โดยเฉพาะจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบ)  ๓๐-๕๐ อาการปวดศีรษะ, ความดันโลหิตต่ำ ฯลฯ  ๓๐-๕๐ อาการไตอักเสบ  ๑๐-๕๐ 
                   คุณจะรู้สึกอย่าไร เมื่อได้รับการบอกว่าตัวคุณเอง หรือญาติพี่น้องหรือลูกหลานป่วยเป็นโรค เอสแอลอี
 คนส่วนมากจะรู้สึกตกใจและกลัว เพราะเคยได้ยินมาว่าโรคนี้เป็นแล้วจะเสียชีวิตเหมือนนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง รักษาไม่หาย บางคนกลัว มากถึงขนาดกินไม่ได้ นอนไม่หลับเพราะเป็นกังวลใจ คิดมาก ส่วนหนึ่งคงเป็น เพราะว่าไม่ทราบแน่ว่าโรค เอส แอล อี เป็นอย่างไร
                  นพ.กิตติ โตเต็มโชคชัย แพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้  พูดถึงโรคนี้ว่า
   “               นพ.กิตติ โตเต็มโชคชัย แพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์วิชัยยุทธ พูดถึงโรคนี้ว่า
คว้ามาเป็นข้อชื่อโรคเป็นภาษาไทย ก็ไม่มี มีแต่ชื่อโรคเป็นตัวย่อ หรือเป็นภาษาแพทย์ บางคนอาจได้รับการบอกว่าเป็นโรคแพ้ภูมิชนิดหนึ่ง  เกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปกติ แต่ท่านก็ยังไม่ทราบอยู่ดีว่าโรคนี้จะเกิดขึ้นที่อวัยวะส่วนไหน มีอาการอย่างไร คนที่ป่วยเป็นโรค เอส แอล อี จะมีอนาคตอย่างไร ชีวิตจะเป็นอย่างไร ความกลัว    ความวิตกกังวลเหล่าน ี้ กลายเป็นความเครียด เคยมีผู้ป่วยบางรายถึงกับสั่งเสีย สามี ภรรยาหรือญาติเอาไว้เลยก็มี ทั้งนี้เป็นเพราะ ความไม่เข้าใจ หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับโรค เอส แอล อี จริงอยู่ที่โรคเอส แอล อี เป็นโรคที่มีความสลับซับซ้อน ผู้ป่วยที่เป็นโรค เอส แอล อี มีอาการได้เกือบทุกอย่างตามการอักเสบที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับอวัยวะต่าง ๆ ใน ร่างกายได้เกือบทุกอวัยวะ”
          เป็นโรค แอส แอล อี ควรจะไปรับการรักษาที่ไหน
        โรค เอส แอล อี เป็นโรคที่มีอาการได้หลายแบบขึ้นอยู่กับว่ามีการอักเสบเกิดขึ้นกับอวัยวะใดในร่างกาย อาการที่พบบ่อยคือ อาการทางผิวหนังอาการทางระบบข้อและกล้ามเนื้อ อาการทางไต อาการทางระบบประสาทและสมอง และอาการทางระบบเลือด ดังนั้นผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรค เอส แอล อี อาจมีอาการตามระบบต่าง ๆเหล่านี้ระบบใดระบบหนึ่ง เช่น

  • มีอาการผื่นขึ้นที่ผิวหนัง ก็อาจไปพบแพทย์ผิวหนัง
  • มีอาการข้ออักเสบ ก็ไปพบแพทย์โรคข้อ
  • มีอาการทางไต ก็ไปพบแพทย์โรคไต
  • มีอาการทางระบบเลือดก็อาจไปพบแพทย์โรคเลือดก่อน                                                                                              เมื่อแพทย์ทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายตรวจเลือดและปัสสาวะแล้วให้การวินิจฉัยเป็นโรค เอส แอล อี ก็จะให้การรักษาเบื้องต้น และติดตามดูอาการ และการตอบสนองต่อการรักษาต่อ เพื่อปรับการรักษาให้เหมาะสมกับตัวโรคต่อไป ถ้าอาการดีขึ้นเป็นระยะเวลาหนึ่งก็อาจจะลดยาได้ ในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้น หรือผู้ป่วยเริ่มมีอาการเพิ่มเติมเกิดขึ้นกับอวัยวะอื่น ๆ โรคมีความซับซ้อนมากขึ้น หรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับ
    การดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรค เอส แอล อี ซึ่งจะเป็นแพทย์โรคข้อและระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกแพทย์รูมาโตโลจิสท์ (rheumatologist) ซึ่งในขณะนี้มีอยู่จำนวนไม่มากนัก

                 ในประเทศไทยโรค เอส แอล อี เป็นโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยส่วนมากต้องได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายปี โดยแพทย์ที่มีความรู้และรู้จักโรคนี้ดี ประกอบกับบางครั้งอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะติดเชื้อ หรือภาวะอักเสบรุนแรงของอวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญจากตัวโรคกำเริบหรือเกิดผลข้างเคียงจากการรักษา ดังนั้นผู้ป่วยโรค เอส แอล อี จึงควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ที่มียาและเครื่องมือทางการแพทย์ที่เพียงพอ ยิ่งถ้าผู้ป่วยบางรายตัวโรคมีความสลับซับซ้อนมาก หรือมีภาวะแทรกซ้อนมาก ก็ควรจะได้รับการรักษาในโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ใหญ่ ๆ ที่มีผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือที่ทันสมัย
            ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ต่างจังหวัดที่ห่างไกลเดินทางไปโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ไม่สะดวก แต่มีโรคที่รุนแรง ก็อาจไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลใหญ่ ๆ ในครั้งแรก ๆ ก่อนเมื่อโรคดีขึ้น หรือสงบลงแล้วก็สามารถติดตามการรักษาที่โรงพยาบาลท้องถิ่นร่วมกับการไปติดตามการรักษาที่โรงพยาบาลใหญ่ ๆนาน ๆ ครั้งก็ได้ ในกรณีที่เกิดภาวะฉุกเฉินควรพาผู้ป่วยไปรับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านที่สุดก่อนเพื่อให้การรักษาเบื้องต้นที่เหมาะสม
ก่อนที่จะย้ายผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับการติดตามการรักษาอยู่
การเปลี่ยนแปลงทางเลือดในผู้ป่วย SLE 
                  การเปลี่ยนแปลงทางเลือดในผู้ป่วย มีความสำคัญเพราะ เป็นภาวะแทรกซ้อนซึ่งต้องการการรักษา
      เป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ และนำไปสู่การวินิจฉัยโรค SLE    และอาจ เป็นต้นเหตุของการเกิดพยาธิสภาพใน SLE
        สำหรับ เซลล์และสารในระบบเลือดที่มีการเปลี่ยนแปลงในผู้ป่วย SLE ประกอบด้วย

  • เม็ดเลือดแดง (red blood cells)
  • เม็ดเลือดขาว (white blood cells)
  • เกร็ดเลือด (platelets)
  • เซลล์กรุผนังด้านในของหลอดเลือด (endothelial cells)
  • สารโปรตีนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด (coagulation factors)

     การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นเกิดจากการทำลายโดยสารโปรตีนที่ต่อต้านตัวเอง (rutoantibodies) และผลึกของ antibodies ซึ่งรวมกับเนื้อเยื่อนิวเคลียสของผู้ป่วย (limmune complexes) ไปทำลายเซลล์ต่าง ๆ ของผู้ป่วยในระบบเลือด ทำให้เกิดอาการแสดงต่าง ๆ ตามมา
อาการทางผิวหนัง 
          ผู้ป่วยมักมีผื่นแดงขึ้นที่บริเวณใบหน้า บริเวณสันจมูก และโหนกแก้ม 2 ข้าง เป็นรูปคล้ายผีเสื้อ หรือมีผื่นแดงคันบริเวณนอกร่มผ้าที่ถูกแสงแดด หรือมีผื่นขึ้นเป็นวง เป็นแผลเป็นตามใบหน้า หนังศีรษะ หรือบริเวณใบหู มีแผลในปาก โดยเฉพาะบริเวณเพดานปาก นอกจากนี้ยังมีผมร่วงมากขึ้น
อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ 
          ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดข้อ มักเป็นที่ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเข่า หรือข้อเท้า บางครั้งมีบวมแดงร้อนร่วมด้วย
อาการทางไต 
          ผู้ป่วยมักมีอาการบวมบริเวณเท้า 2 ข้าง ขา หน้า หนังตา เนื่องจากมีอาการอักเสบที่ไต รายที่มีอาการรุนแรงจะมีความดันเลือดสูงขึ้น ปัสสาวะออกน้อยลง ไปจนถึงขั้นไตวายได้ในระยะเวลาอันสั้น
อาการทางระบบเลือด 
          ผู้ป่วยอาจมีเลือดจาง มีเม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือดลดลง ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย มีภาวะติดเชื้อง่าย หรือมีจุดเลือดออกตามตัวได้
อาการทางระบบประสาท 
          ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการชัก หรือมีอาการพูดเพ้อเจ้อไม่รู้เรื่อง หรือคล้ายคนโรคจิตจำญาติพี่น้องไม่ได้ เนื่องจากมีการอักเสบของสมอง หรือหลอดเลือดในสมอง
การรักษาโรค เอส แอล อี ทำอย่างไร
            การรักษาโรค เอส แอล อี จะต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคของผู้ป่วย  การปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องของผู้ป่วย และการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้ทำการรักษา  การเลือกวิธีการรักษาโรค เอส แอล อี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคของผู้ป่วยแต่ละราย  ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง การใช้ยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล หรือ แอสไพริน หรือยาลดการอักเสบชนิดไม่ใช่ สเตียรอยด์  ก็ควบคุมอาการได้ 
          สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงแรงขึ้น อาจต้องใช้ยาสเตียรอยด์เช่น ยาเพรดนิโซโลน ในขนาดต่าง ๆ ตามความเหมาะสมตั้งแต่ขนาดต่ำถึงสูง เป็นระยะเวลาต่าง ๆ เป็นสัปดาห์จนเป็นหลายเดือนขึ้นกับความรุนแรงและระบบอวัยวะที่มีอาการกเสบ บางรายที่มีการอักเสบของอวัยวะสำคัญ เช่น ไต หรือระบบประสาท อาจจำเป็นต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ยาอิมูแรนหรือเอ็นด๊อกแซน  อาจเป็นในรูปยารับประทาน หรือการให้ยาทางน้ำเกลือเป็นระยะ บางรายถึงกับต้องใช้การเปลี่ยนถ่ายน้ำเหลืองร่วมด้วย  ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยแต่ละราย การเลือกใช้ชนิดของการรักษาด้วยขนาดที่เหมาะสมในจังหวะที่ถูกต้องกับความรุนแรงของโรค  เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้การรักษาได้ผลดี
       ด้านแพทย์ทางเลือก เนื่องจากมีการติดเชื้อทางเลือด และมีไวรัส  รวมไปถึงระบบภูมิคุ้มกันขัดข้อง มีผู้เคยใช้สมุนไพรกลั่นเทพประทานสังหารโรค ได้ผลมาแล้ว อ่านสมุนไพรกลั่นให้ละเอียดอีกครั้ง แล้วติดต่อขอแบ่งปันที่คุณอัญ ๐๘-๕๒๔๕-๘๐๘๑
มีคนโทรมาต่อว่าผมว่าทำไมต้องเขียนตัวเลขไทยก็ไม่รู้ จดผิดจดถูกเลยโทรหาใครก็ไม่ได้ อย่าลืมโบราณว่าไว้ บุญมีแต่กรรมบัง ฮ่าๆๆๆ
       ส่วนสมุนไพรที่แนะนำให้ผู้ป่วยกินคือ  คาวตอง ปัญจขันธ์ กระชายดำ เห็ดหลินจือ มะรุม  ดอกคำฝอย
สามปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวัง
          นอกจากนี้คนไข้ต้องระวังในการรับประทานอาหาร เช่น อาหารต้องห้ามประเภทข้าวเหนียว ที่มีกลูเตน (โปรตีนที่สกัดจากแป้งสาลี ใช้ทำหมี่กึง ขนมปัง หรือส่วนผสมในพิซซ่า) ซึ่งจะไปเร่งให้อาการกำเริบ
          และอีกประการที่คนไข้ต้องระวัง คือ แสงแดด หรือ แม้จะเป็นแสงไฟก็ตาม เพราะจะทำให้เกิดอาการผื่นแดง คัน ตามบริเวณมือ และหน้า ได้ จึงควรใส่เสื้อแขนยาวที่ปกปิดแขน ขา และลำตัวได้มิดชิด ใส่หมวกปีกกว้าง ทายาป้องกันแสงแดด และสวมเสื้อสีอ่อนที่ไม่ดูดซับความร้อน
          อีกประการที่อาจคิดไม่ถึง คือ ความร้อนจากการปรุงอาหารที่มีรังสีอินฟาเรดถูกปล่อยออกมา ถ้าได้รับความร้อนมาก ๆ ก็เป็นการกระตุ้นให้โรคเอสแอลอีกำเริบได้เช่นกัน

 

แหล่งที่มา : jamrat.net

อัพเดทล่าสุด