โรคเกี่ยวกับกระดูกมีอะไรบ้าง โรคเกี่ยวกับกระดูกทั้งหมด โรคเกี่ยวกับกระดูกข้อ


609 ผู้ชม


โรคเกี่ยวกับกระดูกมีอะไรบ้าง โรคเกี่ยวกับกระดูกทั้งหมด โรคเกี่ยวกับกระดูกข้อ

 

 

 


 
ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง (Frozen Shoulder)
 
 


         ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง (Frozen Shoulder) จะเกิดกับคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป (วัยกลางคน) ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย 
ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง (Frozen Shoulder) สาเหตุ อาการและการดูแล
อาการข้อไหล่ติดแข็ง (Frozen Shoulder) จะเกิดกับคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป(วัยกลางคน) ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อไหล่ติดแข็ง เช่น คนที่เป็นโรคเบาหวาน อัมพาตครึ่งซีก โรคหัวใจหรือโรคไทรอยด์อยู่แล้ว คนที่ใช้งานหัวไหล่อย่างหนัก คนที่เคยผ่าตัดหรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบริเวณหัวไหล่ ปัจจัยเสี่ยงอีกอย่างหนึ่ง คือ การที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของข้อเป็นเวลานานๆ โรคนี้อาจเรียกได้หลายอย่าง เช่น ข้อติด ไหล่ติด เจ็บไหล่ เจ็บข้อไหล่หรือข้อไหล่ติดเป็นต้น อาการข้อไหล่ติดแข็งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันไม่น้อยเลยโดยคนที่เป็นโรคนี้จะรู้สึกปวดไหล่เมื่อมีการใช้งานหรือเคลื่อนไหวแขนและหัวไหล่
อาการของโรคข้อไหล่ติดแข็ง อาการจะเริ่มจากการเจ็บข้อไหล่อยู่เป็นระยะเวลานานหลายสัปดาห์หรืออาจเป็นเดือน อาการปวดจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวบริเวณข้อไหล่ จากนั้นอาการปวดจะลดลงจนเริ่มฟื้นตัวนั่นคือการเคลื่อนไหวขยับข้อไหล่จะทำได้ดีขึ้นจนผู้ที่เป็นโรคข้อไหล่ติดแข็งเข้าใจว่าอาการดีขึ้นแล้วแต่หากสังเกตให้ดีจะพบว่าหลังจากที่อาการปวดดีขึ้นการเคลื่อนไหวของแขนและข้อไหล่จะทำได้ไม่เต็มที่ เคลื่อนไหวได้ไม่สุดหรือไม่ดีเหมือนเดิมนั่นเอง
วิธีสังเกตว่าเป็นโรคข้อไหล่ติดแข็ง โดยลองเคลื่อนไหวแขนหรือใช้งานในลักษณะท่าทางต่างๆแล้วจะรู้สึกเจ็บไหล่เช่น เอื้อมมือล้วงกระเป๋าหลังของกางเกงที่สวมอยู่ สวมหรือถอดเสื้อยืดทางศีรษะ เอื้อมมือไปถูหลังตัวเองหรือสระผมตัวเอง ใช้หัวไหล่ดันประตูให้เปิดออก เหยียดแขนขึ้นหยิบของที่อยู่สูงกว่าระดับศีรษะ กางแขนออกด้านข้างแล้วหงายฝ่ามือขึ้น ฯลฯ
สาเหตุของโรคข้อไหล่ติดแข็ง (Frozen Shoulder) ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือการผ่าตัดหัวไหล่แล้วร่างกายพยายามซ่อมแซมตัวเองด้วยการสร้างผังผืดที่ค่อยๆ สะสมตัวหนาขึ้นเรื่อยๆ โรคนี้อาจมีความเกี่ยวข้องกับโรคอื่นๆ อีกหลายโรคเช่น อัมพาตครึ่งซีก เบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ อีกสาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากการใช้งานข้อไหล่มากเกินไปหรือนานเกินไป เช่น การทำงานที่ต้องยกแขนขึ้นเหนือศีรษะเป็นเวลานานๆ (ช่างทาสีเพดาน) ทำให้กล้ามเนื้อข้อไหล่เกิดการล้าและการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวไหล่ทำให้เกิดภาวะข้อไหล่ติดแข็งตามมาได้
การดูแลรักษาตนเองจากภาวะข้อไหล่ติดแข็ง ให้ลดการใช้งานหรือการเคลื่อนไหวแขนและไหล่ข้างนั้น การลดการเคลื่อนไหวไม่ได้หมายความว่าให้หยุดการใช้งานไปเลย เพียงแต่อย่าใช้งานหรือเคลื่อนไหวแขนและไหล่ข้างที่ปวดจนเกิดอาการปวดมากนั่นเอง ให้ทำกายภาพบำบัดอย่างง่ายๆ ที่สามารถทำได้ด้วยตนเองที่บ้าน เช่น บริหารไหล่เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ ให้ทำแค่พอรู้สึกตึงๆ หัวไหล่อย่าให้ถึงกับปวดหัวไหล่ หากท่าบริหารไหล่ท่าใดทำให้รู้สึกปวดไหล่มากขึ้นให้งดท่านั้นเสีย หากอาการปวดไหล่มีมากหรือเกิดการบวมให้ทำการประคบเย็น (น้ำแข็งผสมน้ำอัตราส่วน 1 : 1) ประมาณ 15-20 นาที อาจกินยาแก้ปวดร่วมด้วยแต่ต้องปรึกษาการใช้ยากับแพทย์ก่อน
การรักษาโรคข้อไหล่ติดแข็ง (Frozen Shoulder) เมื่ออยู่ในระยะที่อาการเริ่มดีขึ้นให้พยายามยืดเยื่อหุ้มหัวไหล่โดยเพิ่มการเคลื่อนไหวของหัวไหล่ การทำเช่นนี้อาจรู้สึกเจ็บบ้างเล็กน้อย (อย่ากลัวเจ็บ) ให้ค่อยๆ ทำเพื่อเพิ่มระยะการยืดของข้อไหล่ การทำกายภาพบำบัดจะช่วยได้มาก ยิ่งถ้าผู้ป่วยรู้ตัวและเข้ารับการรักษาเสียแต่เนิ่นๆ อย่างต่อเนื่อง การรักษาจะได้ผลดียิ่งขึ้น

 

แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด