โรคสะเก็ดเงิน ติดต่อ โรคสะเก็ดเงินบนหนังศรีษะ คลิปโรคสะเก็ดเงิน


646 ผู้ชม


โรคสะเก็ดเงิน ติดต่อ โรคสะเก็ดเงินบนหนังศรีษะ คลิปโรคสะเก็ดเงิน

มีผื่น รอยแดง ต้องตรวจเช็ก ระวัง! โรคสะเก็ดเงิน ป่วยกันเป็นล้าน

ศ.นพ.นภดล นพคุณ อดีตนายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยและหัวหน้าสาขาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ให้ข้อมูลว่า  โรคสะเก็ดเงิน หรือ เรื้อนกวาง ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยและผู้คนในสังคมรอบข้างโดยตรง สังคมอาจรังเกียจไม่อยากเข้าใกล้ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เป็นโรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้  และในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้เทียบต่อประชากรจำนวน 100  คน จะมีผู้ป่วยเป็นโรคนี้ถึง 2 คน หรือเท่ากับคนไทยมีผู้ป่วยเป็นโรคนี้ประมาณ 1 ล้านคนเลยทีเดียว
 
"โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคของการเรียนรู้และผู้ป่วยควรจะต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคนี้อย่างยิ่ง โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มปรากฏอาการผื่นขึ้นใน 2 ช่วงอายุ ที่เริ่มเป็นคือ อายุประมาณ 22 ปี และ 55 ปี ในวัยผู้ใหญ่พบที่ช่วงอายุ 27-60 ปี ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ส่วนในเด็กอายุเฉลี่ยที่พบ คือ 8 ปี และไม่น้อยกว่า 15 ปี"
 
สำหรับความผิดปกติที่เกิดขึ้นผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกว่า มีผื่นหรือรอยแดงอยู่บนร่างกาย ตามหนังศีรษะ ใบหน้า แขน นิ้ว มือ หลัง และบริเวณฝ่าเท้า จะทำให้ผู้ป่วยเริ่มวิตกจริต ไม่อยากที่จะเปิดเผยตัวเอง มีผลต่อจิตใจและอาชีพ หน้าที่ การงาน ที่สำคัญผู้ป่วยโรคนี้ที่เป็นผู้ใหญ่ จะไม่แสดงอาการใดๆ ปรากฏในวัยเด็กหรือวัยรุ่นเลย โรคสะเก็ดเงินนี้ถือเป็นโรคที่เกี่ยวกับการทำงานที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อผิวหนังของผู้ป่วย โดยสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือระบบภูมิคุ้มกันสร้างเซลล์ผิวหนังเร็วเกินไป ทำให้ผิวหนังต้องถูกแทนที่วันเว้นวันเลยทีเดียว และเมื่อเร็วกว่าปกติมากจะส่งผลทำให้ผิวหนังเป็นเกล็ดหรือมีจุดสีแดงๆ เกิดอาการคัน และหงุดหงิดเป็นอย่างมาก  


โรคสะเก็ดเงินมีรากฐานมาจากพันธุกรรมและเป็นโรคที่เกิดตามกรรมพันธุ์ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าใครในครอบครัวของที่เป็นโรคนี้มาก่อน ในทางกลับกันก็มีการส่งต่อผ่านสายโลหิต เมื่อคนไข้รู้ว่าตนเองเป็นโรคสะเก็ดเงินแล้วจะต้องทำความเข้าใจในโรค ใส่ใจกับการออกแดดในปริมาณที่ไม่มากเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดเพื่อที่จะลดความเสี่ยงของโรคและที่สำคัญควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

 

โรคสะเก็ดเงินที่พบบ่อยชนิดหนึ่งชื่อว่า “Psoriasis” เกิดจากเหตุปัจจัยหลายปัจจัยประกอบกัน ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงสาเหตุเดียว ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค สารเคมีหรือสภาวะทางฟิสิกส์ที่เป็นพิษต่อผิวหนังโดยตรงแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นผลจากพันธุกรรมหรือยีนที่ผิดปกติหลายชนิด ร่วมกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายที่ไม่เหมาะสมมากระตุ้นให้โรคปรากฏขึ้น

 

และอาการผื่นผิวหนังเป็นได้หลายรูปแบบ ที่พบบ่อย คือ ผิวหนังอักเสบเป็นปื้นแดง ลอกเป็นขุย เป็นๆ หายๆ ผู้ป่วยบางรายเป็นเฉียบพลันแล้วผื่นก็หายไป บางรายเป็นผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ความผิดปกติอื่นๆที่อาจพบได้ คือ ความผิดปกติที่เล็บ ข้ออักเสบ เป็นต้น ผู้ป่วยอาจมีอาการผิดปกติของเล็บหรือปวดข้อนำมาก่อน หรือเกิดขึ้นพร้อมๆ กับอาการผื่นผิวหนังอักเสบ
 
ผื่นสะเก็ดเงินที่พบ จะมีลักษณะเป็นตุ่มหรือปื้นสีแดงจัด ขอบเขตผื่นชัดเจน มีขุยหรือสะเก็ดเงินปกคลุม ขุยผื่นมีลักษณะเหมือนแผ่นกระจกแตกร้าว ขุยสีขาวคล้ายเงิน  ปิดบนรอยผื่นสีแดงและเมื่อลอกขุยออกจะมีจุดเลือดออก   ผื่นบางชนิดมีหลายรูปแบบ อาจเป็นตุ่มกลมขนาดเล็กเท่าหยดน้ำ หรือผื่นกลมเท่าขนาดเหรียญหรือปื้นขนาดใหญ่กว่าฝ่ามือ ขอบปื้นอาจหยักโค้ง บางรายเป็นปื้นขนาดใหญ่จากแผ่นหลังจรดสะโพก หรือบางรายผื่นเป็นทั่วตัวจนไม่เหลือผิวหนังปกติ

 

ส่วนลักษณะการกระจายของผื่นที่พบบ่อยมี 2 แบบ  แบบแรก เป็นผื่นนูนขนาดหยดน้ำหรือเหรียญ กระจายทั่วตัว  มักเกิดในระยะเวลาสั้นๆ พบบ่อยในเด็กหลังทุเลาจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ผื่นชนิดนี้จะค่อยๆจางหายได้เองหากได้รับการรักษาการติดเชื้อให้หายไป แต่มีโอกาสกลับเป็นซ้ำอีก

 

ส่วนแบบที่สอง เป็นผื่นเรื้อรังเฉพาะที่ บริเวณซึ่งมีการเสียดสี เช่น ข้อศอก ข้อเข่า หลัง สะโพก หนังศีรษะ เป็นผื่นขนาดใหญ่ ผื่นจะขยายค่อยเป็นค่อยไปและอาจหายได้เองแต่ช้าอาจต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสม ผื่นสะเก็ดเงินเมื่อหายจะไม่เหลือรอย ในบางรายเมื่อผื่นหายจะเป็นรอยดำ และค่อยปรับเป็นผิวปกติภายหลัง ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยผื่นสะเก็ดเงินเป็นผื่นแบบเรื้อรังเฉพาะที่ ผื่นสะเก็ดเงินอาจมีหลายแบบ เช่น ผื่นในซอกพับ  ผื่นสะเก็ดเงินแบบตุ่มหนอง  ผื่นสะเก็ดเงินทั่วตัว  ฯลฯ
 
นอกจากนี้ โรคสะเก็ดเงินยังมีลักษณะแทรกซ้อน มีการอักเสบของข้อ ทำให้มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบเมตะบอลิซึม อาทิ โรคความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลกระทบอาจเป็นโรคเบาหวานหรือโรคหอดเลือดหัวใจตีบตัน

 

แหล่งที่มา : matichon.co.th

อัพเดทล่าสุด