ยารักษาโรคกรดไหลย้อน อาการเริ่มต้นของโรคกรดไหลย้อน การป้องกันโรคกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease)
โรคกรดไหลย้อนจะหมายถึงภาวะที่กรดในกระเพาะไหลย้อนมาในหลอดอาหารทำให้เกิดอาการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกและบางครั้งอาจจะรู้สึกรสเปรี้ยว เมื่อเรารับประทานอาหารทางปาก อาหารจะถูกเคี้ยวและกลืนเข้าหลอดอาหาร อาหารจะถูกบีบไล่ไปยังที่กระเพราะอาหารระหว่างรอยต่อของกระเพาะอาหารและหลอดอาหารจะมีหูรูดหรือที่เรียกว่า Sphincter ทำให้ที่ปิดมิให้อาหารหรือกรดไหลย้อนกลับไปยังหลอดอาหาร เมื่ออาหารอยู่ในกระเพาะจะมีกรดอยู่จำนวนมาก เมื่ออาหารได้รับการย่อยแล้วจะถูกการบีบไปยังลำไส้เล็ก ดังนั้นหากมีกรดไหลย้อนไปยังหลอดอาหาร ก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงถึงชีวิตเหมือนโรคมะเร็งหรือโรคหัวใจ แต่เป็นโรคที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพการทำงานลดลงได้ ซึ้งจะมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว ปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่แล้วลามขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอ และในบางรายอาจมีอาการแสดงออกนอกหลอดอาหารได้ เช่นอาการทางปอด หรือ อาการทางคอและกล่องเสียง เสียงแหบเรื้อรัง ไอเรื้อรัง มีกลิ่นปาก หรือในบางครั้งมีอาการทางระบบหายใจ เช่น หอบหืด หรืออาการเจ็บหน้าอก
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ !!! โรคนี่จะมีอาการท้องอดท้องเฟ้อ คล้ายๆกับอาการโรคกระเพาะ จึงทำให้คนส่วนใหญ่มักจะเหมารวมว่าตนเองอาจจะเป็นโรคกระเพาะอาหาร และไปซื้อยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหารมารับประทานเอง ทำให้การรักษาไม่ตรงจุดโดยเฉพาะคนไทยมักจะชอบซื้อยามารับประทานเองและคิดว่าไปพบแพทย์เป็นเรื่องใหญ่ ระยะหลังมานี้จึงพบโรคกรดไหลย้อนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆในหมู่คนไทย
โรคกรดไหลย้อนจะพบมากในทุกกลุ่มอายุ แต่ที่พบมากและมักจะมีอาการรุนแรงจะเป็นกลุ่มคนอ้วน ยิ่งคนที่สูบบุหรี่ยิ่งมีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น ส่วนเรื่องการวินิจฉัยโรคนั้น โดยปกติแล้วแพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากอาการดังที่กล่าวมา หากเป็นแพทย์สามารถให้การรักษาเบื้องต้นได้โดยจะติดตามดูอาการของผู้ป่วย ในบางกรรีอาจมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ส่องกล้องทางเดินอาหาร ตรวจทางรังสีวิทยา การตรวจวัดการบีบตัวของหลอดอาหาร และการตรวจวัดความเป็นกรด ด่าง ในหลอดอาหาร ซึ่งพบว่าได้ผลแม่นยำและดีที่สุดในปัจจุบัน
เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว การจะจัดการกับโรคกรดไหลย้อนก็ไม่ใช่เรื่องยาก ควรมุ่งที่การควบคุมอาการให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งหลักใหญ่อาศัยการปรับเปลี่ยนอาหารการกิน และวิถีชีวิตของผู้ป่วย ประการกับการกินยาเท่าที่จำเป็น ซึ่งการปรับเปลี่ยนอาหารนั้นเน้น 2 เรื่องใหญ่ คือ หนึ่ง หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดผ่อนคลายไม่กระชับ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต เปปเปอร์มินต์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนน้ำมันของทอดและอาหารที่มีไขมันสูงทั้งหลาย นมเต็มส่วน อาหารที่ผสมครีม อาหารขยะ เป็นต้น สำหรับผู้ที่น้ำหนักเกิน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องควบคุมน้ำหนัก และสองลีกเลี่ยงอาหารที่ไปเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร เช่น ชา กาแฟ กระเทียม หัวหอม พริกและอาหารเผ็ดร้อน หน่อไม้ฝรั่ง ไข่ พาสต้า ก๋วยเตี๋ยว แป้งข้าวโพด ลูกพรุน ส้ม น้ำมะเขือเทศ น้ำอัดลม น้ำตาล อาหารขยะ และอาหารที่ผ่านการแปรรูป เป็นต้น
ส่วนการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตนั้น ก็เพื่อจัดให้กรดไหลย้อนขึ้นหลอดอาหารน้อยที่สุด คั่งอยู่ในหลอดอาหารเป็นเวลาสั้นที่สุด อันดับหนึ่ง คือ วิถีการกิน อย่ากินอิ่มเกิน กินน้อยแต่หลายมื้อได้ อย่ากินอย่างเร่งรีบเคี้ยวอาหารให้ละเอียด อย่าดื่มน้ำมากพร้องอาหาร กินอาหารแล้วห้ามออกกำลังกายหรือนอนทันที ควรทิ้งช่วง 2-3 ชั่วโมง เมื่อรู้สึกว่ากรดไหลย้อนให้ดื่มน้ำ กลืนน้ำลายหรือเคี้ยวหมาฝรั่ง เพื่อช่วยลดกรด อันดับสอง การกำหนดท่าทางของร่างกายให้เหมาะสม ได้แก่ การก้ม (โดยเฉพาะช่วงหลังอาหาร) อย่าใส่เข้มขัดหรือเสื้อผ้ารัดแน่นเกินไป พยายามนอนตะแคงขวาเพื่อจะไม่ได้กดทับท้องจนกรดไหลย้อน สำหรับผู้ป่วยที่เกิดปัญหากรดไหลย้อนระหว่างนอนควรยกเตียงให้ลาดสูงขึ้นประมาณ 6-8นิ้ว เพ่อป้องกันไม่ให้กรดคั่งในหลอดอาหารและที่สำคัญต้องจัดการกับความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีกรดมาก
ส่วนผลิตภัณฑ์หมดเส็งที่ช่วยในการรักษาโรคกรดไหลย้อน คือ ยาธาตุน้ำและ ยาขมิ้นชัน แบบแคปซูล โดยท่านทานยาธาตุน้ำ เช้า 30 cc เย็น 30 cc และยาขมิ้นชันแคปซูล เช้า2 เม็ด เย็น 2เม็ด
แหล่งที่มา : samunprai-thaiherbs.com