Aroma Therapy กับการบำบัดรักษาโรค ผ่านศาสตร์ของน้ำมันหอมระเหยและการนวด


794 ผู้ชม


Aroma Therapy กับการบำบัดรักษาโรค ผ่านศาสตร์ของน้ำมันหอมระเหยและการนวด


Aroma Therapy กับการบำบัดรักษาโรค ผ่านศาสตร์ของน้ำมันหอมระเหยและการนวด

          เนื่องด้วย อโรมา-เธราปี เป็นการรวมศาสตร์และศิลป์ ของกลิ่น น้ำมันหอมระเหย และการนวดเข้าด้วยกัน โดยอโรมา-เธอราปี เป็นการบำบัดโรคเพื่อจุดประสงค์ให้เกิดความสมดุล ของร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ การนำเอาวิธีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ ร่วมกับกลิ่นหอมที่อยู่ในสารหอม หรือน้ำมันหอมระเหยจึงเป็นอีกหลายทางเลือก ที่มนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่อยมาตลอดระยะเวลาหลายพันปี จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้
               Aroma Therapy กับการบำบัดรักษาโรค ผ่านศาสตร์ของน้ำมันหอมระเหยและการนวด   Aroma Therapy กับการบำบัดรักษาโรค ผ่านศาสตร์ของน้ำมันหอมระเหยและการนวด

 8 วิธีทางเลือกกับ Aroma Therapy
          1. การนวด (Message) เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่ง เพราะด้วยสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด จะสามารถช่วยบำบัดรักษาโรคได้ ตัวยาจะซึมผ่านผิวหนังด้วยการนวด ส่วนกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยจะช่วยให้ประสาทสัมผัสรับกลิ่น ปรับอารมณ์ให้รู้สึกสบายขึ้นไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นการใช้น้ำมันหอมระเหย ที่มีคุณภาพดี และเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการในการบำบัด จะทำให้การนวดมีประสิทธิภาพขึ้น
          2. การอาบ (Baths) เป็นวิธีง่ายๆ ที่สามารถทำเองได้ คือ ผสมน้ำอุ่นในอ่างน้ำสำหรับลงแช่ได้ แล้วหยดน้ำมันหอมระเหย ประมาณ 6-8 หยด ลงในอ่างน้ำ แล้วลงแช่ทั้งตัวสักประมาณ 20 นาที ไอระเหยจากอ่างน้ำอุ่นและการซึมทางผิวหนังด้วยการแช่ จะช่วยให้รู้สึกสดชื่นขึ้น
          3. การประคบ (Compresses) ใช้ผ้าขนหนูสะอาดๆ ชุบน้ำที่ผสมน้ำมันหอมระเหยแล้วประคบตามบริเวณที่ต้องการ (ห้ามประคบบริเวณดวงตา) ส่วนผสมใช้น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยดต่อน้ำอุ่น 100 มล. การประคบนี้จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นเฉพาะที่
          4. การสูดดม (Inhalations) เป็นการใช้กลิ่นหอม จากน้ำมันหอมระเหยอย่างเดียวไม่มีการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดดมกลิ่นหอมทำได้ 2 วิธีคือ ใส่น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยด ในชามที่เตรียมน้ำอุ่นไว้แล้วก้มลงสูดดมสัก 2-3 นาที หรือหยดน้ำมันหอมระเหย 1-2 หยด ในผ้าเช็ดหน้าแล้วสูดดม (ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำมันหอมระเหยโดยตรง)
          5. การสูดไอน้ำ (Vaporisation) น้ำมันระเหยบางชนิด เป็นแอนตี้เซปติก (Antiseptic) ฆ่าเชื้อโรคได้ เมื่อสูดดมไอน้ำจากน้ำมันหอมระเหยชนิดนี้เข้าไป จะช่วยกำจัดเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจได้ วิธีทำ หยดน้ำมันหอมระเหย 2-4 หยด ลงในชามใหญ่ ซึ่งผสมน้ำร้อนไว้แล้ว ใช้ผ้าคลุมและก้มหน้าลงเข้าไปอังไอน้ำ สูดไอน้ำร้อนผสมน้ำมันหอมระเหย พักเป็นระยะๆ วิธีนี้ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องผิวบาง และไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นหอบหืด
          6. การเผา/อบห้อง เป็นการอบห้องให้หอม หลักการอบห้องเพื่อฆ่าเชื้อโรค ในโรงพยาบาลก็ใช้หลักการนี้เช่นกัน เพราะน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจะถูกอบอวล ในห้องที่ปิดมิดชิดสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ในกรณีที่ต้องการให้ห้องหอมตามกลิ่นที่ต้องการ ก็สามารถทำได้โดย หยดน้ำมันหอมระเหย 3-4 หยด ในน้ำที่เตรียมใส่ในจานสำหรับเผา (Aroma Jar) แล้วจุดเทียนไว้ในห้อง ความร้อน จากเทียนจะทำให้กลิ่นหอม จากน้ำผสมน้ำมันหอมระเหยส่งกลิ่นอบอวลไปทั่วห้อง ควรเผา/อบไม่นานกว่า 10 นาที ต่อครั้ง
          7. ใช้ผสมกับเครื่องหอม และน้ำหอม ส่วนมากเครื่องหอม เช่น บุหงา และน้ำหอมจะมีส่วนผสมจากกลิ่นไม้หอม หรือกลิ่นจากดอกไม้นานาพันธุ์ผสมอยู่ การใช้เครื่องหอมและน้ำหอม ส่วนมากจะมีจุดประสงค์ให้เกิดความสบายใจ สะอาด สดชื่น และเป็นที่เร้าใจตราตรึงใจจากผู้คนที่อยู่ใกล้
          8. ใช้ผสมกับเครื่องสำอางค์ ครีม โลชั่น ความหลากหลายของคุณสมบัติเฉพาะ จากน้ำมันหอมระเหย สามารถช่วยให้เครื่องสำอางค์ ครีมและโลชั่นต่าง ๆ กลายเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย ผิวหน้า เส้นผม และสารสกัดบางชนิดยังช่วยในการทำความสะอาดผิวหนัง สร้างความสมดุลให้ผิวอีกด้วย แต่การเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด ต้องพิถีพิถัน และศึกษาให้รู้จริงว่า สารชนิดใด มีคุณสมบัติเช่นใด จึงจะก่อประโยชน์สูงสุด
                 Aroma Therapy กับการบำบัดรักษาโรค ผ่านศาสตร์ของน้ำมันหอมระเหยและการนวด    Aroma Therapy กับการบำบัดรักษาโรค ผ่านศาสตร์ของน้ำมันหอมระเหยและการนวด
คุณค่าของน้ำมันหอมระเหย ...เลือกให้เหมาะกับคุณ
          1. น้ำมันหอมระเหยโรสแมรี่ ช่วยขจัดแบคทีเรีย ขับเชื้อโรค ทำให้สดชื่นแจ่มใสช่วยให้มีสมาธิและมีกำลังใจ ถ้าใช้ในการนวดจะให้ความอบอุ่นกระตุ้นและปรับตัว เหมาะสำหรับผิวมัน
          2. น้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์ ช่วยกำจัดแบคทีเรีย และช่วยกระตุ้นให้ร่างกายขับเชื้อโรคออกไป ทำให้สงบ และผ่อนคลาย ช่วยให้อารมณ์เกิดความสมดุล ถ้าใช้ในการนวดจะช่วยให้นอนหลับสบายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ทำงานหนัก ถ้าใช้ผสมกับครีม โลชั่นจะช่วยบำรุงผิวและลดความมันบนใบหน้า และยังช่วยสมานแผลได้อีกด้วย
          3. น้ำมันหอมระเหยคาโมมายล์ ช่วยทำให้ผิวสะอาด ช่วยให้จิตใจแจ่มใส มีสมาธิแน่วแน่ ถ้าใช้นวดจะช่วยให้รู้สบาย และสงบเหมาะกับผิวแห้งและผิวธรรมดาช่วยให้ผิวหนังรู้สึกผ่อนคลาย
          4. น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส ช่วยให้หายใจโล่ง ช่วยให้มีความกระจ่าง ปลอดโปร่งและมีสมาธิ มีคุณสมบัติ ในการขจัดแบคทีเรียอีกด้วย ถ้าใช้นวด จะช่วยให้สดชื่น และฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายเหมาะกับผิวธรรมดาถึงผิวมัน
          5. น้ำมันหอมระเหยเป๊ปเปอร์มินต์ ช่วยกำจัดแบคทีเรีย ช่วยให้จิตใจแจ่มใส ปลอดโปร่ง ช่วยให้สดชื่นและมีชีวิตชีวา เหมาะสำหรับผิวมัน ไม่ควรใช้กับผิวที่แพ้ง่าย
          6. น้ำมันหอมระเหยมะนาว (เลมอน) ช่วยให้สดชื่น แจ่มใส มีสมาธิ ถ้าใช้นวดจะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น จะช่วยให้รู้สึกร่าเริงและกระตือรือร้น
          7. น้ำมันหอมระเหยเบอร์กาม็อท ช่วยดับกลิ่นและให้ความสดชื่น และเสริมสร้างอารมณ์ให้มีทัศนะในทางบวกมากขึ้น เหมาะสำหรับผิวมัน
          8. น้ำมันหอมระเหยกระดังงา (อีแลงอีแลง) ช่วยให้มั่นใจ และจิตใจสบาย ให้ความรู้สึกคลาสสิก ให้ความอบอุ่นและอารมณ์ รัญจวน ถ้าผสมกับครีม โลชั่นจะช่วยลดความมันบนใบหน้าได้ เหมาะสำหรับผิวทุกประเภท
          9. น้ำมันหอมระเหยมะลิ (จัสมิน) ช่วยให้เกิดความมั่นใจ มองโลกในแง่ดี ช่วยผ่อนคลายและเกิดอารมณ์รัก ใช้ได้กับทุกประเภทผิว และดีมากสำหรับผิวแห้ง
          10. สารสกัดจากการบูร ใช้รักษาหนังศีรษะ
          11. น้ำมันหอมระเหยจากต้นชา (Tea tree) ช่วยทำความสะอาดผิวได้
          12. น้ำมันหอมระเหยไม้ซีดาร์ ช่วยให้รู้สึกสงบและผ่อนคลาย
          13. น้ำมันหอมระเหยจากส้ม ช่วยให้การเผาผลาญพลังงาน เป็นไปตามปกติ ช่วยให้สดชื่น ผ่อนคลายความตึงเครียด จากการทำงานหนักมาทั้งวัน และยังให้ความรู้สึกเย้ายวน
          14. น้ำมันหอมระเหยจากองุ่น ช่วยให้อารมณ์แจ่มใส สดชื่น
          15. น้ำมันหอมระเหยเลมอนกราสส์ ช่วยทำความสะอาดผิวได้ดี
          16. น้ำมันหอมระเหยมินต์ ช่วยลดอาการบวมน้ำ และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตได้ดี
          17. สารสกัดจากกำมะถัน ช่วยให้การเผาผลาญพลังงาน ให้เป็นไปตามปกติ
          18. น้ำมันหอมระเหยดอกบัว (Lotus oil) ใช้บำรุงผิว
          19. น้ำมันจากผลอะโวคาโด ใช้ผสมครีมบำรุงผิวหน้าและผิวกาย
          20. น้ำมันจากจมูกข้าวสาลี ใช้ผสมครีมบำรุงผิวหน้าและผิวกาย

แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด