โรคบิดชิเกลลา โรคบิดไม่มีตัว สาเหตุโรคบิด วิธีรักษาโรคบิด การรักษาโรคบิดไม่มีตัว


795 ผู้ชม


โรคบิดชิเกลลา โรคบิดไม่มีตัว สาเหตุโรคบิด วิธีรักษาโรคบิด การรักษาโรคบิดไม่มีตัว

 

 

 บิดชิเกลล่า

 

บิด หมายถึงอาการถ่ายอุจจาระกะปริดกะปรอย ออกเป็นมูกหรือมูกปนเลือดร่วมกับมีความรู้สึกปวดแบ่งถ่าย (อยากถ่าย) อยู่เกือบตลอดเวลา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคบิดเกลล่า ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง อาจมีความรุนแรงในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ

การรักษา 
         ในรายที่มีอาการถ่ายเป็นมูก หรือมูกปนเลือด ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นบิดชิเกลล่า การรักษาที่สำคัญ คือ การให้ยาปฏิชีวนะกำจัดเชื้อชิเกลล่า เช่น อะม็อกซีซิลลิน (amoxicillin) โคไตรม็อกซาโซล (cotrimoxazole) อีริโทรไมซิน (erythromycin) นอร์ฟล็อกซาซิน (norfloxacin) เป็นต้น
        พร้อมทั้งให้ยาบรรเทาอาการ เช่น ถ้ามีไข้ ให้ยาลดไข้ ถ้ามีภาวะขาดน้ำ ให้สารละลายน้ำตาล เกลือ เป็นต้น
        ในรายที่มีอาการรุนแรง เช่น อาเจียน หรือมีภาวะขาดน้ำรุนแรง อาจต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล และให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ
       โดยทั่วไป หลังให้ยาปฏิชีวนะ ๒๔-๔๘ ชั่วโมง อาการมักจะทุเลา แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะกินจนครบ ๕ วัน (ยกเว้น นอร์ฟล็อกซาซิน อาจให้เพียง ๓ วัน)
        ถ้ากินยาแล้วไม่หาย หรือมีอาการถ่ายเป็นมูกมีกลิ่นเหม็นมาก เป็นเรื้อรัง หรือน้ำหนักลด แพทย์จะทำการตรวจหาสาเหตุอื่นต่อไป

โรคบิดชิเกลลา โรคบิดไม่มีตัว สาเหตุโรคบิด วิธีรักษาโรคบิด การรักษาโรคบิดไม่มีตัว

ภาวะแทรกซ้อน

            ที่พบบ่อยคือ ภาวะขาดน้ำ (เกิดจากอาการถ่ายเป็นน้ำ อาเจียน กินไม่ได้) ในเด็กเล็กและคนสูงอายุอาจได้รับอันตราย ถ้ามีภาวะขาดน้ำรุนแรง
             ที่พบได้น้อย เช่น เชื้อแพร่กระจายไปที่ข้อทำให้เกิดข้ออักเสบชนิดติดเชื้อเฉียบพลัน หรืออาจมีลำไส้ทะลุ และเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

การดำเนินโรค 
           ส่วนใหญ่มักจะมีอาการไม่รุนแรง และอาจค่อยๆ หานไปได้เอง แต่ถ้ากินยาปฏิชีวนะ อาการมักจะทุเลาภายใน ๒๔-๔๘ ชั่วโมง ควรกินยาจนครบ ๓-๕ วัน
ส่วนน้อยอาจมีภาวะขาดน้ำ ในช่วงแรกๆ ที่มีอาการถ่ายเป็นน้ำบ่อยครั้งหรืออาจรุนแรง

การป้องกัน
        ๑.  ดื่มน้ำต้มสุกหรือน้ำสะอาดไม่ดื่มน้ำคลองหรือน้ำบ่อแบบดิบๆ ไม่กินน้ำแข็งที่เตรียมไม่สะอาด
        ๒.  กินอาหารสุกและไม่มีแมลงวันตอม
        ๓.  ล้างมือด้วยน้ำสบู่ก่อนเตรียมอาหาร ก่อนเปิบข้าว และหลังถ่ายอุจจาระทุกครั้ง
        ๔.  ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ อย่าถ่ายลงคลอง หรือตามพื้นดิน

ความชุก
          โรคนี้พบบ่อยในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่ขาดสุขลักษณะ ชอบกินอาหารสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม โรคนี้พบเป็นเป็นสาเหตุแรกๆ ของอาการถ่ายเป็นมูก หรือมูกปนเลือด

แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด