คมความคิด เกาะติดสถานการณ์
มุสลิมไทย
โพสต์
หน้าแรก
ข่าวเด่น
ข่าวโลกมุสลิม
ข่าวเจาะประเด็นโลก
ข่าวโลกอาหรับ
ข่าวกรรมการกลางฯ
ข่าวมุสลิมไทย
คอลัมนิสต์
ผู้หญิง
ปัตตานีดารุสลาม
ประเด็นร้อน
รูปภาพ
คลิป
เวลาละหมาด
คลังความรู้
อิสลามศึกษา
คลังความรู้
คลังสุขภาพ
ร้านอาหาร
แหล่งท่องเที่ยว
แฟชั่นมุสลิม
กูรูมุสลิมไทย
อัลกุรอาน
เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อสำนักข่าว
ร่วมงานกับเรา
หน้าหลัก
เรื่องทั่วไป สาระน่ารู้
โรครูมาตอยด์ การรักษา อาการของโรครูมาตอยด์ สาเหตุโรครูมาตอยด์
763
ผู้ชม
โรครูมาตอยด์ การรักษา
โรครูมาตอยด์ การรักษา อาการของโรครูมาตอยด์ สาเหตุโรครูมาตอยด์
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คืออะไร
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่รุนแรงและสร้างความทรมานต่อผู้ป่วยเป็นเวลาหลาย ๆปี และถ้าได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้องหรือช้าเกินไป สมรรถภาพของข้อจะเสียไป เกิดความพิการซึ่งบางครั้งไม่สามารถแก้ไขได้
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นได้กับทุกเชื้อชาติส่วนใหญ่เป็นในชาวผิวขาวพบได้ทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เด็กอายุ4 เดือนจนถึงคนแก่อายุ 80 ปี เพศหญิงเป็นมากกว่าเพศชาย
สาเหตุการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่นอน เชื่อว่าเริ่มจากมีการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อและเยื่อบุชนิดต่างๆ ของร่างกาย อันเป็นผลจากการตอบสนองของระบบภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคบางชนิด เชื้อไวรัสหรือสารพิษบางอย่าง และอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
อาการของโรค
การอักเสบของโรครูมาตอยด์จะเริ่มที่เยื่อหุ้มข้อ เป็นได้ทุกข้อที่มีเยื่อหุ้มข้อ พบบ่อยที่สุดที่ข้อมือ นอกจากนั้นก็มีข้อนิ้วมือ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า ข้อศอก ข้อไหล่ ข้อขากรรไกร ข้อกระดูกสันหลังกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ มักมีการอักเสบพร้อมกันทั้งสองข้าง การอักเสบเป็นไปอย่างช้าๆระยะแรกอาจมีข้อติดขัดเวลาตื่นนอน เคลื่อนไหวข้อหลายๆ ครั้งแล้วดีขึ้น ต่อมาข้อจะบวม ปวด เหยียดงอได้ไม่เต็มที่ อาจมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
จำนวนข้อที่มีการอักเสบจะมากขึ้นเรื่อย ๆ และรุนแรงขึ้น การติดขัดของข้อในตอนเช้าอาจนานเป็นชั่วโมง
ผู้ป่วยมักจะมีอาการดีขึ้นบ้างเมื่อได้รับยาแก้อักเสบของข้อหรือยาจำพวกสเตอรอยด์ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่อง หรือไม่ได้รับยาที่สามาถหยุดกลไกการเกิดโรค เยื่อหุ้มข้อที่อักเสบอยู่นาน ๆ จะหนาตัวขึ้นและแพร่ไปที่กระดูกอ่อนและกระดูกแข็งทำให้กระดูกถูกทำลาย มีการอักเสบของพังพืดที่หุ้มข้อ และเส้นเอ็นที่ยึดบริเวณข้อ ทำให้มีข้อเคลื่อนข้อหลุด เกิดการผิดรูปของข้อ นั่นคือเกิดความพิการของข้อ ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติเคลื่อนไหวช่วยตัวเองไม่ได้ กล้ามเนื้อลีบและไม่มีแรงเพราะไม่ถูกใช้งาน ความรุนแรงและระยะเวลาของการเป็นโรคในผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกันโรคสามารถสงบได้เอง แต่จะมีความพิการเหลืออยู่
การรักษา
ปัจจุบันการรักษาโรครูมาตอยด์ได้ผลดี สามารถทำให้ผู้ป่วยไม่เกิดความพิการ มีสมรรถภาพเป็นปกติ หรือใกล้เคียงคนปกติ เป็นผลจากความรู้เรื่องธรรมชาติของโรค ประสิทธิภาพของยาที่สามารถหยุดกลไก ของการเกิดโรค
การรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันการยึดติดของข้อและฟื้นฟูสมรรถภาพของข้อ และการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความพิการ
ผู้ป่วยต้องพยายามเข้าใจว่า โรครูมาตอยด์เป็นโรคเรื้อรังการรักษาจำเป็นต้องต่อเนื่องและใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปี บางครั้งระหว่างที่มีการอักเสบของข้อต้องยอมลดการใช้งานของข้อ เพื่อไม่ให้ข้อเสื่อมมากเกินไป วัตถุประสงค์ในการรักษาโรคข้อรูมาตอยด์ มิใช่เพียงเพื่อลดการเจ็บปวดของข้อ หรือเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำงานได้ วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุด คือเมื่อโรคสงบแล้วจะต้องไม่เกิดความพิการของข้ออย่างในรูปที่เห็น
8 สารอาหารบรรเทาปวดไขข้อ
มีข้อมูลว่าอาหารบางชนิดช่วยลดความเสี่ยงหรือการอักเสบของโรครูมาตอยด์ได้หากกินเป็นประจำ
กรดโอเมกา-3
มีผลต้านการอักเสบในร่างกาย โอเมกา-3 ที่ได้จากอาหารทะเลมีกรดอีพีเอ (EPA = eicsapentaanoic) และดีเอชเอ ซึ่งลดการอักเสบของไขข้อ ผลวิจัยพบว่าการเพิ่มกรดโอเมกา-3 ในอาหาร มีผลโดยตรงในการลดซี–รีแอคทีฟโปรตีนซึ่งกระตุ้นการอักเสบ อาหารที่มีกรดโอเมกา-3 สูง ได้แก่ ปลาทะเล (แซลมอน ทูน่า เทร้าส์ แมคเคอเรล) วอลนัท เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง แฟลกซ์สีด น้ำมันจากเมล็ดแฟลกซ์สีด และน้ำมันคาโนลา น้ำมันปลา การวิจัยชี้ให้เห็นว่า น้ำมันปลาช่วยลดอาการปวดไขข้อและลดปริมาณการใช้ยาต้านการอักเสบได้ แต่อาจจะต้องกินติดติอกันประมาณ 3-4 สัปดาห์จึงจะเห็นผล มีคำเตือนว่าน้ำมันปลาอาจมีระดับวิตามินเอหรือสารปรอทสูงจึงควรปรึกษาแพทย์
สารฟลาโวนอยด์
ช่วยต้านเชื้อไวรัส ต้านการอักเสบ และลดการเกิดโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของร่างกาย เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ไขข้อ เป็นต้น สารฟราโวนอยด์พบในชาเขียว กระเทียม แอ๊ปเปิ้ล เบอร์รี่ ผลไม้ตระกูลส้ม และหอมหัวใหญ่
กรดโฟลิกหรือโฟเลต หรือวิตามินบี 9
พบมากในตับ และผักสีเขียว เช่น ผักโขม ผักคะน้า ส่วนผลไม้ พบมากในส้มและแคนตาลูป ผู้ป่วยโรคไขข้อควรเสริมวิตามินชนิดนี้เพราะมีส่วนช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่กินยาเมทโธเทรกเซท (Methotrexate) จำเป็นต้องเสริมกรดโฟลิกเพื่อบรรเทาอาการปวดหรืออักเสบ
ซีลีเนียม
ช่วยลดอนุมูลอิสระที่จะทำลายเนื้อเยื่อที่แข็งแรง และช่วยเสริมการทำงานของเอนไซม์ชนิดกลูตาไธโอนเพอร็อกซิเดสที่ต่อสู้กับการอักเสบ ผลวิจัยพบว่า คนที่มีระดับซีลีเนียมต่ำจะมีความเสี่ยงเกิดโรครูมาตอยด์มากขึ้น การกินทูน่าประมาณ 100 กรัม จะช่วยให้ได้รับซีลีเนียมเพียงพอตลอดทั้งวัน
วิตามินซี
มีประโยชน์ต่อเนื้อเยื่อภายในข้อและมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ พบได้ในผลไม้ประเภทส้ม พริกไทย สตรอว์เบอร์รี่ เป็นต้น
วิตามินดีและแคลเซียม
ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีและแคลเซียมให้เพียงพอ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องกินยาประเภทคอร์ติสเตียรอยด์ ซึ่งทำให้เนื้อกระดูกและระดับวิตามินดีในเลือดต่ำ มีผลให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น อาหารที่มีวิตามินดีสูง ได้แก่ น้ำมันตับปลา เนย ครีม ไข่แดง ตับ และอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ ผักใบเขียวจัด เช่น บรอคโคลี ปลาซาร์ดีนและแซลมอนกระป๋อง (ทั้งกระดูก) นมและผลิตภัณฑ์นม เต้าหู้
แอลกอฮอล์
มีงานวิจัยในปี 2008 สรุปว่า แอลกอฮอล์ช่วยป้องกันโรคไขข้อ แต่ไม่ได้ระบุถึงปริมาณที่แนะนำ ผู้ที่กินยาเมทโธเทรกเซทควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เพราะอาจมีผลข้างเคียงต่อตับ
อาหารเหล่านี้...ยิ่งกินยิ่งปวด
มูลนิธิโรครูมาตอยด์หรือไขข้อเปิดเผยว่า ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่าอาหารจะรักษาโรคไขข้อให้หายขาดได้ ในทางตรงกันข้ามอาหารบางชนิดทำให้อาการปวดไขข้อแย่ลง งานวิจัยล่าสุดพบว่า ผู้ที่มีปัญหาโรครูมาตอยด์ 30 – 40 เปอร์เซ็นต์มีอาการดีขึ้นเมื่องดอาหารที่สงสัยว่าทำให้ปวด โดยการเริ่มกินอาหารที่ต้องสงสัยทีละน้อยและสังเกตว่ามีอาการปวดข้อหรือไม่ วิธีนี้จะช่วยให้หาอาหารที่กระตุ้นอาการปวดไขข้อได้ และเมื่องดอาหารเหล่านี้อาการปวดไขข้อก็จะดีขึ้นด้วย
กรดไขมันอิ่มตัว มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าไขมันอิ่มตัวอาจเพิ่มการอักเสบ เนื่องจากกรดไขมันอิ่มตัวไปกระตุ้นการสร้างสารพรอสตาแกลนดินที่ก่อให้เกิดการอักเสบ อาการปวดบวมและข้อเสื่อมในโรครูมาตอยด์ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมัน เนย ครีม เป็นต้น
กรดไขมันโอเมกา-6 เป็นไขมันที่พบในน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิค เช่น น้ำมันข้าวโพด ถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน จมูกข้าวสาลี เป็นต้น
แหล่งที่มา : bloggang.com
มาแรงรอบสัปดาห์
อัพเดทล่าสุด
3 อาหารที่ไม่ควรอุ่นซ้ำ อาหารที่คุณทานประจำ อาจซ่อนอันตรายที่คุณคาดไม่ถึง!
เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาอุ่นอาหารซ้ำแล้วซ้ำอีก ทำไมถึงรู้สึกไม่ค่อยสบายตัว? วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ 3 อาหารยอดนิยมที่ไม่ควรนำมาอุ่นซ้ำ
10 อันดับ สายพันธุ์แมวน่าเลี้ยงที่สุด รับรองทาสแมวหลงรักหัวปักหัวปำ
สายพันธุ์แมวที่น่าเลี้ยงมาให้ถึง 10 สายพันธุ์ รับรองว่าเข้ากับมนุษย์ได้ชัวร์ พร้อมทั้งบอกระดับนิสัย ไม่ว่าจะเป็นความซน ความขี้อ้อน การร้องเสียงดัง และความเลี้ยงง่าย
10 อันดับ ค่าเทอมโรงเรียนนานาชาติ แพงที่สุดในประเทศไทย ปี 2024
โรงเรียนนานาชาติเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นสากล โดยใช้หลักสูตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
พีระมิดเบ็นเบ็น พีระมิดหินดำ ที่ทำนักวิทย์งงงวยมานาน
พีระมิดเบ็นเบ็น ทำให้นักวิทยาศาสตร์งงงวยมานานหลายปี
เคล็ดลับการประหยัดค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
ความรู้ : เคล็ดลับบางส่วนสําหรับการประหยัดค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
วิธีซักถุงเท้านักเรียนให้ขาวจั๊ว น่าใส่มากขึ้น
วิธีซักถุงเท้านักเรียนให้ขาวจั๊ว น่าใส่มากขึ้นแบบง่ายๆ
7 วิธีดื่มน้ำช่วยให้ผอมได้จริง
รู้หรือไม่ว่าการดื่มน้ำ สามารถช่วยสาว ๆ ลดน้ำหนักได้! แต่ต้องดื่มให้ถูกวิธีนะ
เรื่องของแป้ง แป้งทำขนม แป้งทำอาหาร
แป้งที่ใช้ทำอาหารและแป้งทำขนมในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิดให้เลือกใช้ตามวัตถุประสงค์
10 สิ่ง ที่ควรนําติดรถไปด้วยเวลาเดินทางไกลหรือขับรถนานๆ
10 ส่ิง ที่ควรนําติดรถไปด้วยเวลาเดินทางไกลหรือขับรถนานๆ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง หลักการและผลการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง หลักการและผลการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ แหล่งน้ำบนดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ แหล่งน้ำบนดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบและสมบัติของหิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบและสมบัติของหิน ม.2 วิทยาศาสตร์
คลังสื่อการสอน ม.2 วิทยาศาสตร์
คลังสื่อการสอน ม.2 วิทยาศาสตร์
เหตุใดไม่ควรดื่มกาแฟเกินสี่ถ้วยต่อวัน
เหตุใดไม่ควรดื่มกาแฟเกินสี่ถ้วยต่อวัน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การคูณพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การคูณพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การบวกและการลบพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การบวกและการลบพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
วิธีเพิ่มเครื่องคิดเลขบน iPad แบบไม่ติดโฆษณา โหลดแล้วใช้ได้เลยฟรี!
แอปเครื่องคิดเลขบน iPad เป็นหนึ่งสิ่งที่หลายคนรอคอยมากที่สุด เพราะเวลาที่เราต้องการใช้เครื่องคิดเลข
พักโรงแรมไม่ควรมองข้าม “หลอนใต้เตียง” แนะโยนขวดน้ำเข้าไปเช็กให้ชัวร์ก่อนนอน
ใต้เตียงโรงแรมที่ไม่ควรมองข้าม แนะโยนขวดน้ำเข้าไปเช็กให้ชัวร์ก่อนนอน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารากที่สาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารากที่สาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ประวัติและผลงานของกวีเอก สุนทรภู่ วิชาภาษาไทย
ประวัติและผลงานของกวีเอก สุนทรภู่
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง บทอาขยานภาษาไทยระดับประถม มัธยม พร้อมไฟล์ MP3
ฟรีบทอาขยานภาษาไทยระดับประถม มัธยม พร้อมไฟล์ MP3
ข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2560 พร้อมเฉลย ดาวน์โหลดได้ที่นี่
ข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2560 พร้อมเฉลย ดาวน์โหลดได้ที่นี่
รวบรวมใบงานแบบฝึกหัดภาษาไทย ป.4 สามารถดาวน์โหลดได้
รวมใบงานแบบฝึกหัดภาษาไทย ป.4 โดยในแบบฝึกหัดนี้จะช่วยเสริมสร้างความรู้ภาษาไทยต่อยอดจากเรื่องที่เรียนมา
ทฤษฎีบทเศษเหลือ (Remainder Theorem)
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ทฤษฎีบทเศษเหลือ ม.3 คณิตศาสตร์
อย่ากังวลไปเลย สำหรับคนที่ไม่มีคู่ เพราะคู่ของคุณ ก็ยังไม่มีใครเหมือนกัน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความเร่ง ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความเร่ง ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 1 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 1 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 2 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 2 ม.3 วิทยาศาสตร์