ประวัติอาเซียนประเทศไทย ข้อมูลอาเซียนประเทศเวียดนาม อาเซียนประเทศเกาหลีใต้


916 ผู้ชม


ประวัติอาเซียนประเทศไทย ข้อมูลอาเซียนประเทศเวียดนาม อาเซียนประเทศเกาหลีใต้

ประเทศอาเซียน(ประเทศไทย)
ประวัติอาเซียนประเทศไทย ข้อมูลอาเซียนประเทศเวียดนาม อาเซียนประเทศเกาหลีใต้

ประเทศไทย หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดกับประเทศพม่าและประเทศลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง โดยมีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นทั้งเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

ในด้านภูมิศาสตร์และประชากรศาสตร์ ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร[7] และมีประชากรมากเป็นอันดับ 21 ของโลก ประมาณ 64 ล้านคน ประกอบด้วยเชื้อสายไทยประมาณร้อยละ 75 ชาวจีนร้อยละ 14 ชาวมาเลย์ร้อยละ 3[8] ได้มีการประมาณกันว่ามีผู้อพยพทั้งถูกและผิดกฎหมายในประเทศไทยประมาณ 2.2 ล้านคน[9]

ในด้านวัฒนธรรม ประเทศไทยมีภาษาราชการคือภาษาไทย ขณะที่ท้องถิ่นต่าง ๆ มีภาษาถิ่นเป็นหลากหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นพายัพในภาคเหนือ ภาษาถิ่นอีสานในภาคอีสาน และภาษาถิ่นปักษ์ใต้ในภาคใต้ พลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทกว่าร้อยละ 95[10] โดยวัฒนธรรมหลักของไทยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศทางตะวันตกประสมประสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น

ในด้านการปกครอง ประเทศไทยมีรูปแบบประเทศเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และรูปแบบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันบัญญัติโดยรวมทั้งรูปแบบประเทศและรูปแบบการปกครองว่า ประเทศไทยมีการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลปัจจุบันคือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี และพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐที่นานที่สุดในโลกด้วย

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติศาสตร์ 
1.1 ชื่อประเทศไทย 
2 การปกครอง 
2.1 เขตการปกครอง 
2.2 เมืองใหญ่ / จังหวัดใหญ่ 
3 ภูมิประเทศและภูมิอากาศ 
3.1 ภูมิประเทศ 
3.2 ภูมิอากาศ 
4 เศรษฐกิจ 
4.1 เศรษฐกิจหลัก 
4.2 การคมนาคม 
4.3 การสื่อสาร 
5 สังคม 
5.1 ชนชาติ 
5.2 ศาสนา 
5.3 การศึกษา 
5.4 ภาษา 
5.5 ศิลปะ 
5.6 วัฒนธรรม 
5.7 กีฬา 
5.8 วันสำคัญ 
6 อ้างอิง 
7 แหล่งข้อมูลอื่น 
 

ประวัติศาสตร์
ดูบทความหลักที่ ประวัติศาสตร์ไทย
 
ตัวอย่างของเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งถูกค้นพบใกล้กับบ้านเชียง โดยสันนิษฐานว่ามีอายุกว่าสองพันปีประเทศไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ในอดีต พื้นที่ซึ่งเป็นประเทศไทยในปัจจุบันได้มีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่าเป็นต้นมา และภายหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิขะแมร์ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13[11] ทำให้มีรัฐเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลาไม่นานนัก โดยตามตำนานโยนกได้บันทึกไว้ว่า มีการก่อตั้งอาณาจักรของคนไทยขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อราว พ.ศ. 1400[12]

นักประวัติศาสตร์ไทยเริ่มถือเอาสมัยอาณาจักรสุโขทัย นับตั้งแต่ พ.ศ. 1781 เป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งตรงกับสมัยรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา และอาณาจักรล้านช้าง จนกระทั่งอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลงในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 และศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองได้ย้ายไปยังอาณาจักรทางใต้ คือ กรุงศรีอยุธยาแทน โดยความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยาสังเกตได้จากการทำการค้าขายกับรัฐเพื่อนบ้านหลายรัฐ เช่น จีน อินเดีย เปอร์เซียและชาวอาหรับ ไปจนถึงพ่อค้าชาวยุโรปหลายชาติ เช่น โปรตุเกส ฝรั่งเศส ดัตช์ และอังกฤษ

ครั้นเมื่อถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สอง ใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของคนไทยเป็นเวลานาน 15 ปี ต่อมา เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้น โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศ

ถึงแม้ว่าจะถูกกดดันอย่างหนักจากชาติมหาอำนาจ แต่อาณาจักรสยามก็สามารถธำรงตนโดยเป็นรัฐเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตกเลย แต่สยามก็ต้องรับอิทธิพลจากประเทศตะวันตกเข้าสู่ประเทศอย่างมาก จนกระทั่งนำไปสู่การปฏิรูปทางสังคมและวัฒนธรรมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุด ได้แก่ การสูญเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ และดำรงบทบาทของตนเป็นรัฐกันชนระหว่างประเทศเจ้าอาณานิคมทั้งสอง รวมไปถึงการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ไทยเสียเปรียบอีกจำนวนหนึ่ง

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร แต่เนื่องจากประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรให้การยอมรับในขบวนการเสรีไทย ประเทศไทยจึงรอดพ้นจากสถานะประเทศผู้แพ้สงคราม และภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามเย็น

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งเป็นคนแรกเป็นผลมาจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2516 ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นเวลาแล้ว 41 ปี ซึ่งในช่วงเวลานั้น ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านการก่อรัฐประหารหลายสิบครั้ง[ต้องการแหล่งอ้างอิง] อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นมีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญอีกสองครั้ง ได้แก่ เหตุการณ์ 6 ตุลา และ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ โดยล่าสุดได้เกิดการก่อรัฐประหารขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นการยึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการ หลังจากได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549

ชื่อประเทศไทย
ดูเพิ่มที่ สยาม
คำว่า "สยาม" เป็นคำที่ชาวต่างประเทศใช้เรียกอาณาจักรอยุธยา เมื่อราว พ.ศ. 2000[13] เดิมทีประเทศไทยเองก็เคยใช้ชื่อว่า สยาม มานับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา แต่ทว่าคนไทยไม่เคยเรียกตนเองว่า "สยาม" หรือ "ชาวสยาม" อย่างชาวต่างชาติหรือตามชื่อประเทศอย่างเป็นทางการในสมัยนั้นเลย[14] ส่วนคำว่า "คนไทย" นั้น จดหมายเหตุลาลูแบร์ได้บันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า ชาวอยุธยาได้เรียกตนเองเช่นนั้นมานานแล้ว[15]

ต่อมา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ตามประกาศรัฐนิยม ฉบับที่ 1 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนชื่อประเทศ พร้อมกับเรียกประชาชน และสัญชาติจาก "สยาม" มาเป็น "ไทย" ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยว่า ความมีอิสระในตัว ความไม่เป็นทาส[16] โดยในช่วงต่อมาได้เปลี่ยนกลับเป็นสยามเมื่อปี พ.ศ. 2488 ในช่วงการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี แต่ในที่สุดได้เปลี่ยนกลับมาชื่อไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2491 ซึ่งเป็นช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยต่อมา ช่วงแรกเปลี่ยนเฉพาะชื่อภาษาไทยเท่านั้น ชื่อในภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษคงยังเป็น "Siam" อยู่จนกระทั่งเดือนเมษายน พ.ศ. 2491 จึงได้เปลี่ยนชื่อภาษาฝรั่งเศสเป็น "Thaïlande" และภาษาอังกฤษเป็น "Thailand" อย่างในปัจจุบัน[14] อย่างไรก็ตาม ชื่อ สยาม ยังคงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ

การปกครอง
ดูเพิ่มที่ การเมืองไทย และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เดิมประเทศไทยมีการปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยาเป็นต้นมา แต่การปกครองในลักษณะรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางแบบเด็ดขาดนั้นเริ่มตั้งแต่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[17] จนกระทั่งวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้กระทำการปฏิวัติในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยเป็นสามส่วนคือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ โดยพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

ปัจจุบัน ประเทศไทยดำรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 แห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งกำหนดรูปแบบองค์กรบริหารอำนาจทั้งสามส่วนดังนี้

อำนาจนิติบัญญัติ มีรัฐสภา ซึ่งมีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งส่วนหนึ่ง และมาจากการสรรหาอีกส่วนหนึ่ง เป็นองค์กรบริหารอำนาจ 
อำนาจบริหาร มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ตามคำกราบบังคมทูลของประธานรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีซึ่งพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรี เป็นองค์กรบริหารอำนาจ 
อำนาจตุลาการ มีศาล ซึ่งประกอบด้วยศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง ซึ่งมาจากการคัดสรร เป็นองค์กรบริหารอำนาจ 
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาควบคู่ไปกับราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในทางนิตินัย ประมุขแห่งรัฐได้แก่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ส่วนประมุขแห่งอำนาจอธิปไตยทั้งสาม ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติมีนายชัย ชิดชอบในฐานะประธานรัฐสภาเป็นประมุข อำนาจบริหารมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นประมุข และอำนาจตุลาการมีนายวิรัช ลิ้มวิชัยในฐานะประธานศาลฎีกา นายชัช ชลวรในฐานะประธานศาลรัฐธรรมนูญ และนายอักขราทร จุฬารัตนในฐานะประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประมุขในส่วนของตน

เขตการปกครอง
ดูเพิ่มที่ จังหวัดในประเทศไทย
 
แผนที่ประเทศไทย แสดงเขตรัฐกิจของจังหวัดต่าง ๆ และการแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยโดยใช้เกณฑ์การแบ่งอย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสถาน[18] 
--------------------------------------------------------------------------------

     ภาคเหนือ
 
     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
     ภาคกลาง
 
     ภาคตะวันออก
 
     ภาคตะวันตก
 
     ภาคใต้ประเทศไทยแบ่งเขตการบริหารออกเป็น การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด 75 จังหวัด โดยที่ไม่นับกรุงเทพมหานครว่าเป็นจังหวัด 877 อำเภอ (50 เขตในกรุงเทพมหานคร) และ 7,255 ตำบล[3] และการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล โดย "สุขาภิบาล" นั้นถูกยกฐานะไปเป็นเทศบาลทั้งหมดในปี พ.ศ. 2542[19]

ส่วนกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาเป็นเขตการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดนครปฐม ถูกเรียกเป็นเขตที่เรียกว่า "กรุงเทพมหานครและปริมณฑล"

เมืองใหญ่ / จังหวัดใหญ่
ดูเพิ่มที่ เมืองใหญ่ของประเทศไทยเรียงตามจำนวนประชากร และ จังหวัดในประเทศไทยเรียงตามจำนวนประชากร
นอกจากกรุงเทพมหานครแล้ว มีหลายเมืองที่มีประชากรอยู่เป็นจำนวนมาก ตารางด้านล่างแสดงเทศบาลและจังหวัดที่มีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุด[20]

เรียงตามจำนวนประชากรเฉพาะในเขตเทศบาล

อันดับ เมือง / เทศบาล จำนวนประชากร จังหวัด 
1 กรุงเทพมหานคร 5,716,248 - 
2 นนทบุรี 265,796 นนทบุรี 
3 ปากเกร็ด 169,782 นนทบุรี 
4 นครราชสีมา 166,164 นครราชสีมา 
5 หาดใหญ่ 157,354 สงขลา 
6 เชียงใหม่ 148,930 เชียงใหม่ 
7 อุดรธานี 141,908 อุดรธานี 
8 สุราษฎร์ธานี 126,070 สุราษฎร์ธานี 
9 ขอนแก่น 120,167 ขอนแก่น 
10 นครศรีธรรมราช 108,022 นครศรีธรรมราช

เรียงตามจำนวนประชากรทั้งหมดในจังหวัด

อันดับ จังหวัด จำนวนประชากร ภาค 
1 นครราชสีมา 2,565,117 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
2 อุบลราชธานี 1,795,453 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
3 ขอนแก่น 1,756,101 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
4 เชียงใหม่ 1,670,317 ภาคเหนือ 
5 บุรีรัมย์ 1,541,650 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
6 อุดรธานี 1,535,629 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
7 นครศรีธรรมราช 1,513,163 ภาคใต้ 
8 ศรีสะเกษ 1,441,412 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
9 สุรินทร์ 1,375,560 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
10 สงขลา 1,335,768 ภาคใต้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ผู้สื่อข่าวสภาเครือข่ายสื่อภาคประชาชนอาเซียน ส.ต.ท.สมชาย ศรีเย็น


แหล่งที่มา : tnewsnetwork.com

อัพเดทล่าสุด