วิธีลดความดันโลหิตสูง อาการโรคความดันโลหิตสูง อาหารลดความดันโลหิตสูง ลดด้วย เกลือ


924 ผู้ชม


วิธีลดความดันโลหิตสูง อาการโรคความดันโลหิตสูง อาหารลดความดันโลหิตสูง ลดด้วย เกลือ

 

เกลือ เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงอย่างไร

อาจารย์บรรหาร: เกลือคือผงสีขาว ที่ประกอบด้วย  คลอรีนที่เป็นแก๊สพิษสีเขียว  และโลหะโซเดียมสีเงินที่เป็นพิษเช่นกัน แต่เมื่อธาตุทั้ง  2  นี้มารวมกันเป็นเกลือก็จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ โลกบริโภคเกลือในปัจจุบันนี้ประมาณ  300  ล้านตัน  โดยใช้เกลือในการทำสบู่  ยาย้อม  ฟอกหนังสัตว์  เก็บรักษาอาหาร  อุปกรณ์ทำความเย็น ละลายหิมะตามถนน หรือฟอกกระดาษ  ร่างกายของคนเราก็ต้องการเกลือเช่นกัน เพราะในร่างกายของคนเรานอกจากจะประกอบไปด้วยน้ำ  ประมาณ  60%  แล้วยังต้องมีเกลืออีก  15%  เพราะเกลือหรือโซเดียมและคลอรีน นี้จะเป็นส่วนประกอบของเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย  เพราะโซเดียมทำหน้าที่ควบคุมอัตราการถ่ายเทของน้ำในเซลล์แล้ว  ยังมีบทบาทสำคัญในการสื่อสัญญาณไฟฟ้าระหว่างเซลล์ประสาทและช่วยเผาผลาญโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในร่างกายด้วย เมื่อเกลือมีความสำคัญเช่นนี้  แพทย์จึงได้ประมาณว่าคนปกติต้องการเกลือประมาณวันละ  400  มิลลิกรัม  ถ้าเกลือเกินก็จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง  หรือถ้ามีความดันโลหิตสูงอยู่แล้วก็ต้องลดเกลือ   แต่ถ้าขาดเกลือก็จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย 

         ?? : โรคความดันโลหิตสูง เกิดขึ้นได้อย่างไร

         อาจารย์บรรหาร : ความดันโลหิต คือ ระบบไหลเวียนซึ่งเริ่มจากการบีบตัวของหัวใจ  เพื่อที่จะให้เลือดเข้าไปในหลอดเลือด และหลอดเลือดมีความยืดหยุ่น  ทำให้เกิดแรงดันเลือดส่งต่อเลือดให้เคลื่อนไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  เพื่อนำอ๊อกซิเชนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายให้ดำรงชีวิตอยู่ได้  ค่าปกติของความดันโลหิตในช่วงที่หัวใจบีบตัว/คลายตัวเหมาะสมที่สุดอยู่ที่ 120/80  มิลลิเมตรปรอท  แต่ถ้าความดันโลหิตเท่ากับหรือสูงกว่า   140/90  มิลลิเมตรปรอท  ก็จะเรียกว่าความดันโลหิตสูง  ความดันโลหิตสูง แบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ  1. ความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุหรือมีที่มาจากอวัยวะ เช่นไตต่อมหมวกไต เป็นต้น  ส่วนอีกประเภทหนึ่ง ความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 90%  และมักจะขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงและสิ่งแวดล้อม  ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง  คือ  เกลือ  ซึ่งไม่ใช่เฉพาะสารสีขาวแต่จะรวมไปถึงของที่มีรสเค็มทั้งหมด  ในทุกสภาพ  เช่น  เนื้อเค็ม  ปลาเค็ม  น้ำปลา   ซีอิ้ว และน้ำจิ้มต่าง ๆ ที่มีเกลือผสมอยู่   โรคอ้วนทำให้เกิดภาวะต้านอินซูลีน ซึ่งเป็นผลให้เกิดความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้อีกด้วย  อีกทั้งการสูบบุหรี่และไขมันผิดปกติก็เช่นกัน ทั้งหมดนี้รวมความดันโลหิตสูง  เรียกว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

         ?? : ความดันโลหิตสูงอันตรายอย่างไร

วิธีลดความดันโลหิตสูง อาการโรคความดันโลหิตสูง อาหารลดความดันโลหิตสูง ลดด้วย เกลือ

         อาจารย์บรรหาร: โรค ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน โดยทำให้หลอดเลือดแดงตีบตันหรือหลอดเลือดแดงส่วนปลายแตก เช่น ถ้าเกิดขึ้นที่สมอง ก็จะกลายเป็นอัมพฤต อัมพาตหรือไปเกิดที่หลอดเลือดแดงของหัวใจในลักษณะตีบตันก็จะทำให้เกิดหัวใจ วายแบบเฉียบพลัน  เช่น เดียวกันถ้าไปเกิดที่หลอดเลือดแดงของไต ก็ทำให้ไตวาย หรือหลอดเลือดแดงส่วนปลายบริเวณขาและเท้า ก็จะสูญเสียอวัยวะส่วนนั้นไป  จะเห็นได้ว่าความดันโลหิตสูงที่เริ่มต้นจากไม่มีอาการอะไรเลย  แล้วค่อย ๆ มีอาการบางอย่างเพิ่มเติมมา เช่น มึน  ปวดศีรษะ  สมาธิลดลง  หรือหงุดหงิดง่าย  เครียด  และลุกลามไปจนถึงกระทั่งเกิดโรคแทรกซ้อนดังที่กล่าวมาแล้วนี้  นับว่าเป็นการศูนย์เสีย ชีวิตหรือคุณภาพชีวิตก่อนเวลาอันควร  เพราะความดันโลหิตสูงนั้นป้องกันได้  ด้วยการงดและลดปัจจัยเสี่ยงที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น  นอกจากนั้น  การออกกำลังกายและการรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ  ด้วยการรู้จักเลือกชนิดของอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลต่ำ  และต้องไม่ใช่กรดไขมันชนิดอิ่มตัว หรือของทอด ในปริมาณที่พอเพียงกับพลังงานที่ต้องใช้ต่อวัน  ทั้งนี้จำเป็นที่จะต้องควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์  โดยการใช้ส่วนสูงเป็นเซ็นติเมตร  ลงหนึ่งร้อย  ก็จะเป็นน้ำหนักของผู้ชาย  ที่ไม่ควรจะมีน้ำหนักเกิน  ส่วนของผู้หญิงให้ลดลงอีก 10%   การออกกำลังกาย  ก็จะต้องทำให้ถูกหลักการคือ1.ต้องออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องไม่หยุดพัก เป็นเวลา 30 นาทีขึ้นไป  โดยอาจจะเริ่มจาก 10 นาที  แล้วค่อย ๆ เพิ่ม  อีกทั้งจะต้องออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย อาทิตย์ละ 4 วัน  การออกกำลังกายแบ่งออกเป็น  2  ชนิด  ซึ่งเรียกว่า แบบแฮโรบิก  ที่เน้นการเคลื่อนไหวอวัยวะทุกส่วนอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเพิ่มระดับของการออกกำลังกายไปในตัว  ส่วนการออกกำลังกายอีกแบบหนึ่งซึ่งจะต้องเกร็งกล้ามเนื้อใช้พลังงานสูง ก่อนที่จะออกกำลังกาย  เช่น  การยกน้ำหนัก  ฉะนั้นความเหมาะสมของการออกกำลังกายจึงมีหลายรูปแบบ  และเป็นสิ่งที่มนุษย์จำเป็นที่จะต้องทำเพราะว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง  ซึ่งประกอบไปด้วยข้อทั้งหมด  34  ข้อ  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเคลื่อนไหวทำให้คล่องตัวสามารถปฏิบัติงานได้  และจำเป็นที่ต้องทำให้ข้อต่อนี้เคลื่อนไหวนั้นก็คือต้องออกกำลังกาย  เป็นการล่อลื่นข้อกระดูก และเมื่ออายุมากขึ้นจะได้ไม่เป็นโรคข้อ  ตามความเป็นจริงแล้ว  คนที่เป็นโรคข้อนี้มีมากกว่าคนที่เป็นโรคหัวใจ และจำกัดคุณภาพชีวิตทางจิตใจ   ที่กล่าวมานี้หมายถึงว่าเราจะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร ในการออกกำลังกาย โดยเฉพาะการบริโภคเกลือลดลงครึ่งหนึ่งจะช่วยลดการเสียชีวิตจากอัมพาต และกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันทั่วโลกได้ประมาณ  2.5  ล้านคนต่อปี  

           ปริมาณ ของเลือดที่หัวใจบีบตัวแรงดันที่หัวใจบีบออกมา เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นมาตั้งแต่เกิด ความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นได้ 1) แรงบีบจากหัวใจ  2) การบีบเลือดเข้าไปในหลอดเลือด  มี 2 ลักษณะ คือ 1) บีบไปตอนต้น ๆ จะมีแรงดี แต่ตอนปลาย ๆ แรงจะไม่มีไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ความมหัศจรรย์ของหลอดเลือดคือมีความ ยืดหยุ่นดี มี Elasticity พอ บีบเหมือนใส่น้ำไปในลูกโป่ง พอน้ำออกจากลูกโป่ง ลูกโป่งจะแฟบและบีบน้ำออกมาเรื่อย ๆ นั่นคือความดันโลหิต และอีกประการหนึ่ง(2)คือ เป็นสัดส่วนปริมาตรต่อซม.ของพื้นที่

           และในส่วนประกอบของเลือด มีน้ำ 60-70% เด็กมีมากกว่าผู้ใหญ่ อีก 15% คือ เกลือ เกลือ คือ โซเดียม (ประจุบวก) กับคลอไลน์ (ประจุลบ) เกลือจะละลายในน้ำได้เร็ว และมีประจุบวก เป็นจุดที่ติดไฟฟ้าได้ เกลือนอกจากจะมีแรงดันในส่วนผสมของเลือดแล้ว เมื่อแรงดันเลือดดันมา 60-70% ไป ได้ไม่ไกลมากแต่หลอดเลือดทำให้มีแรงดันไปได้เรื่อยๆ ตัวอย่าง เช่น ท่อน้ำประปาที่มีก๊อกน้ำหลาย ๆ ก๊อก ถ้าเปิดออกมาพร้อมกัน ก๊อกสุดท้ายจะไม่มีน้ำออก เพราะก๊อก 1 2 3 แย่งน้ำไปหมด  แต่อย่างรถดับเพลิงสามารถฉีดน้ำไปได้ไกล เพราะท่อน้ำดับเพลิงมี Elasticity นี้ ใช้ระบบยุบหนอพองหนอจะดันน้ำไปเรื่อย ๆ ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่นายบิล  เคสเตอร์  ชาว เยอรมันเป็นคนค้นพบเป็นเรื่องที่ทำให้เราเข้าใจว่า เซลทุกเซลต้องการการอยู่รอดจึงต้องการอ๊อกซิเจน แต่การออกกำลังกายก็ต้องทานอาหารเพื่อให้มีพลังของกล้ามเนื้อ

           เกลือ มีความสามารถในการดูดความชื้นด้วย จะเห็นว่าในประเทศที่มีหิมะตกเขาจะใช้เกลือดูดความชื้นไม่ให้ถนนลื่น หรือการทำไอศกรีมต้องนำเกลือใส่ในน้ำแข็ง เกลือก็จะดูดความชื้นออก

           ความ ดันโลหิตที่มีตั้งแต่เกิด มีเกลืออยู่ในแต่ละหลอดเลือด ถ้ามีเกลือมากไปจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง น้อยไปทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ ดังนั้นเกลือที่พอเหมาะจะดีที่สุด คนที่ความดันโลหิตสูงจึงให้ลดเกลือจะดีที่สุด

วิธีลดความดันโลหิตสูง อาการโรคความดันโลหิตสูง อาหารลดความดันโลหิตสูง ลดด้วย เกลือ

         ?? : เกลือจะไปเพิ่มแรงดันใช่ไหมคะ

         อาจารย์บรรหาร : ใช่ เกลือเป็นส่วนประกอบ เกลือจะดึงความชื้นไว้  ถ้าเกลือเยอะ น้ำก็จะเยอะไปด้วย โดยปกติเกลือจะมีสัดส่วน 15%

         ?? :  คำว่าเกลือหมายถึงอะไร

         อาจารย์บรรหาร :คือ ของที่เค็มทั้งหมด คือเกลือแกง โซเดียมคลอไรด์ และเกลือไม่ได้อยู่ในสภาพของเกลือทั้งหมดจะเป็นซีอิ้ว ปลาเค็มได้อะไรที่ใส่เกลือผสมไปก็ถือว่าเป็นโซเดียมคลอไรด์รสเค็มจะเป็น โซเดียมคลอไรด์สัก 90%ได้

         ?? :   เดี๋ยวนี้จะมีผลิตภัณฑ์ที่ลดโซเดียมลงครึ่งหนึ่ง

         อาจารย์บรรหาร : การลดลงครึ่งหนึ่งเราก็ไม่ได้รู้มาก่อนว่า เมื่อก่อนเขาเป็นเท่าไหร่

           วัน หนึ่งเราควรได้เกลือ 3-4 กรัม ประมาณ 1 ช้อนกาแฟ เราไม่รู้ว่าเราจะกินอะไรบ้างในแต่ละวัน จึงไม่ควรไปเพิ่มเกลือ หัดรับประทานอาหารที่ไม่เค็ม จะดีต่อความดันของร่างกาย

         ?? : จริง ๆ เราไม่ควรไปเพิ่มความเค็มเพราะอาหารที่เรารับประทานอยู่ก็มีเกลือเป็นส่วนประกอบ

         อาจารย์บรรหาร : ใช้ลิ้นเราเป็นตัวชี้วัด

         ?? : โซเดียมประจุบวก คลอไรด์ประจุลบ มีผลอะไร

         อาจารย์บรรหาร : คือ การสร้างพลังงาน เป็นการแลกเปลี่ยนประจุกันระหว่างโซเดียมกับคลอไรด์กับโปตัสเซียม การสร้างพลังงานต้องแลกเปลี่ยนประจุกัน ไฟฟ้าจะมีระดับ ถ้าประจุต่ำกว่าระดับจะเกิดการบีบตัว พลังงานส่วนหนึ่งเกิดจาก O2 อีกส่วนเกิดจากเกลือที่มันแลกเปลี่ยนประจุกัน

         ?? :  ความดันโลหิตสูง อันตรายอย่างไร

         อาจารย์บรรหาร : อาการ ที่ว่าต้องปวดหัว มึนศีรษะไม่ใช่เรื่องหลัก ความดันโลหิตสูงเริ่มจากการทำสมาธิไม่ได้ เช่น เคยนั่งอ่านหนังสือได้ 3 ชม. ก็ทำไม่ได้ หรือนอนไม่หลับหรือเครียด ลองวัดความดันดูจะรู้ได้

         ?? :   ไม่จำเป็นต้องตื่นเช้าขึ้นมาปวดหัวอย่างเดียว

         อาจารย์บรรหาร : ใช่ ครับ เมื่อเป็นปวดหัวคือ เป็นมากขึ้นแล้วและเป็นนานแล้วด้วย ที่น่ากลัวคือการเป็นอัมพฤต อัมพาต เพราะหลอดเลือดถ้าอุดตันหรือแตก จะแตกในสมองได้เลย เส้นเลือดในตัวคนเราไม่ใช่เป็นแค่กิโล แต่เป็นเส้นรอบวงของโลกได้เลย คือ เกือบหมื่น – 2 หมื่นกิโล ลองคิดดูในร่างกายเรามีเซลมากมายเป็น  ล้าน ๆ เซล เลือดต้องไปหล่อเลี้ยงทุกเซล

         ?? : โรคความดันโลหิตสูง พบในกลุ่มคนแบบไหน หญิง ชาย

         อาจารย์บรรหาร : ในปัจจุบันคนอายุ 20-60 ปี มี 10% เป็นความดันโลหิตสูงแต่ถ้าอายุเกิน 60 ปี จะมี 40-50% ที่เป็นความดันโลหิตสูง

         ?? :  ก็คือเป็นเรื่องความเสื่อมของร่างกายด้วย

         อาจารย์บรรหาร : ใช่คือ เรื่องแรงดันกับเรื่องความเสื่อมของหลอดเลือด หลอดเลือดไม่ยืดหยุ่น

วิธีลดความดันโลหิตสูง อาการโรคความดันโลหิตสูง อาหารลดความดันโลหิตสูง ลดด้วย เกลือ

         ?? :   ถ้าเราต้องการรักษาสภาพหลอดเลือดให้ยืดหยุ่น ให้คงความมีประสิทธิภาพ คงต้องออกกำลังกาย

         อาจารย์บรรหาร :  การ ออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อความดันโลหิตอย่างไร ก็คือต้องเพิ่มเหมือนไปซ้อมให้หลอดเลือดยืดหยุ่นหดตัวยืดตัว ถ้าทำเป็นประจำ หัวใจจะเต้นช้า บีบตัวช้าลง Volume ที่ออกไป จะ 70 CC 1 นาที 70 ครั้ง

         ?? :   การสังเกตตัวเองตั้งแต่เบื้องต้น ในเรื่องการเป็นความดัน
         อาจารย์บรรหาร : ต้อง ดูตัวเอง เกรงใจตัวเองพอสมควร ว่ามีอะไรผิดปกติ คือ ควรวัดความดันดูความดันโลหิตเป็นแม่บท ในการเป็นโรคต่าง ๆ ถ้าไม่มีความดันโลหิตเราก็ตาย นักธรรมชาติ นักธรณีวิทยา คนที่ค้นพบชีวิตคือ พบว่า สิ่งมีชีวิตแรกคือแพลงตอน เกิดในน้ำเป็นพืชเซลเดียว แพลงตอนเปลี่ยน CO2 เป็น O2 ได้ เป็นวงจร ถ้าเป็นภูเขา ก้อนหิน จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว อย่างประเทศอินเดีย แต่ก่อนเป็นเกาะ แต่ต่อมาเชื่อมกับแผ่นดินใหญ่ แต่อายุคนเรามีอายุ 80-100 ปี จึงมีการเปลี่ยนแปลงมาก เราต้องดูการเปลี่ยนแปลงในขณะที่ธรรมชาติอยู่กันเป็นล้าน ๆ ปี วิวัฒนาการสัตว์เซลเดียวใช้เวลา 2 พันล้านปี คนเราต้องพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่วัดความดันจะไม่รู้การเปลี่ยนแปลงของเรา

         ?? :  ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง ชีวิตเปลี่ยนไป

         อาจารย์บรรหาร : คือ ความดันโลหิตถ้าเปลี่ยนไป อาจทำให้เกิดโรค ซึ่งก็มีหลาย ๆ โรค อย่างที่บอกว่าความดันโลหิตจะผ่านหลอดเลือดทุก ๆ หลอดเลือด ผ่านหัวใจก็เป็นหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ผ่านสมองก็เรียกว่า อัมพฤต อัมพาต ผ่านไต ก็เป็นโรคไต  หรือด้านส่วนปลายขาก็อาจต้องตัดเท้า

         ?? : ความดันไม่ใช่ความเสี่ยงอย่างเดียว แต่เรายังมีความเสี่ยงอื่น ๆ อีก เช่น ไขมัน

         อาจารย์บรรหาร : ปัจจัย ใหญ่ ๆ ของความเสี่ยงเหมือนเดิม คือ มนุษย์ทำเอง เช่น การสูบบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดสมองไขมันผิดปกติ เบาหวาน ปัจจัยที่เร่งให้เกิดตรงนี้คือโรคอ้วนลงพุง เกิดจากการกิน ถ้าเรากินแบบไม่ระวังตัว ความอ้วนก็ไปเกี่ยวกับความดัน 60-70% เบาหวาน 80% ไขมัน 50-60% ด้วยเป็นโรคใหม่คือ โรคอ้วนลงพุง

         ?? :  ตามความเข้าใจ คือ คนอ้วนความดันต้องทำงานเยอะ

         อาจารย์บรรหาร : ใช่เหมือนเดินทางไปลพบุรีกับเชียงใหม่ น้ำมันไม่เท่ากัน แรงดันไม่เท่ากัน

         ?? :  อาจารย์เป็นผู้ผลักดัน เรื่องคนไทยไร้พุง
         อาจารย์บรรหาร : เราก็สนับสนุน และอาจารย์วรรณีเป็นประธานโครงการเกี่ยวกับไร้พุง

         ?? :  เมื่อไหร่จึงเรียกความดันโลหิตสูง

         อาจารย์บรรหาร : เรารู้มานาน 120 ปีแล้ว เมื่อเรามีเครื่องวัด แต่ 10 ปีที่ผ่านมา ตัวเลขนิ่งที่ 140/90 ขึ้นไป 140 คือหัวใจบีบตัว  90 คือหัวใจคลายตัว  ใช้ตัวเลขนี้ทั้งหมด แต่ผู้สูงอายุตัวล่างไม่เกิน 90 ตัวบนอาจมากกว่า 160

           ความ ดันปกติ 120/80 ถือว่าดีที่สุด เราอนุโลมให้ 140/90 คนที่ 120/80 ขึ้นไปควรเริ่มเฝ้าระวังตนเอง ดูแลอาหารการกิน ออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อหัวใจสบายขึ้น หลอดเลือดยืดหยุ่นยุบหนอพองหนอ บุหรี่ถือว่ามนุษย์ทำเองมีความสุขไป 5 นาที อายุสั้นไป 10 นาที เซลตายไป 3,000 ตัว

วิธีลดความดันโลหิตสูง อาการโรคความดันโลหิตสูง อาหารลดความดันโลหิตสูง ลดด้วย เกลือ

         ?? :   ซองบุหรี่ทำภาพอะไรดูน่ากลัวแล้ว

         อาจารย์บรรหาร : ถ้าเราไปบอกคนสูบบุหรี่ว่าบุหรี่ไม่ดี ไม่ได้ผล เราต้องให้น่าเชื่อว่าคนตายด้วยมะเร็งปอด และ 80% เป็นผู้สูบบุหรี่ต้องพูดอย่างนี้ เอาความจริงมาพูดให้ฟังกัน

         ?? :   บุหรี่ขึ้นราคาทำให้คนเลิก

         อาจารย์บรรหาร : เป็นช่วงแรก ๆ เท่านั้นต่อมาก็สูบอีกใหม่ได้ ไปสูบบุหรี่ที่อื่นภาษีน้อยกว่า ควรรณรงค์ให้เข้าใจมากกว่า

         ?? :   ให้ฝากให้ผู้ฟังเข้าใจว่าควรดูแลความดันอย่างไร

         อาจารย์บรรหาร : ใน งานที่ผ่านมา ที่ รพ.ราชวิถี แสดงเรื่องอาหารมีประโยชน์ และอาหารที่เป็นโทษ ออกกำลังกายป้องกันโรคภัยไปฝึกฝนข้อต่าง ๆ ให้ขยับเขยื้อน อายุมากขึ้นจะได้ไม่เป็นโรคข้อ จริง ๆ คนเราเป็นโรคข้อมากกว่าโรคหัวใจ และจำกัดคุณภาพชีวิต ทางด้านจิตใจ ต้องเกรงใจตนเอง อะไรที่เป็นภัยต่อสุขภาพต้องหลีกเลี่ยง เช่น LDL กับ ไตรีกลีเซอไรด์ ต้องเลี่ยง และความเค็ม เบาหวาน เราจะมีชีวิตสมบูรณ์ต้องมีคุณภาพชีวิตดีด้วย ให้เดินสายกลางใช้หลักความพอเพียง  และดูแลสุขภาพของตนเอง

ขอขอบคุณนพ.บรรหาร  กออนันตกูล อายุรแพทย์โรคหัวใจ ที่ปรึกษาศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี


แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด