การรักษาโรคถุงลมโป่งพอง อาหารสําหรับผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง พยาธิสภาพโรคถุงลมโป่งพอง


867 ผู้ชม


การรักษาโรคถุงลมโป่งพอง อาหารสําหรับผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง พยาธิสภาพโรคถุงลมโป่งพอง

การรักษาโรคถุงลมโป่งพอง อาหารสําหรับผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง พยาธิสภาพโรคถุงลมโป่งพอง  


ถุงลมโป่งพอง

ชีวิตนี้ยังไม่สิ้นความหวัง

นายแพทย์สิทธิ์เทพ ธนกิจจารุ
- แพทยศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง)  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- วุฒิบัตรผู้มีความรู้ความชำนาญสาขาอายุรศาสตร์
- วุฒิบัตรผู้มีความรู้ความชำนาญสาขาอายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจ
- Fellowship in Sleep-Related Breathing Disorders, 
  Case Western Reserve University
- อาจารย์พิเศษหน่วยโรคปอดและเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชาอายุรศาสตร์  
  โรงพยาบาลรามาธิบดี


ในที่สุดเมื่อการเปลี่ยนแปลงมาก ได้ที่ก็จะพบว่าผนังหลอดลมจะหนาตัวกว่าปกติ กล้ามเนื้อหนา รูของหลอดลมมีขนาดเล็กลงปิดง่าย มูกมาก และมีการอักเสบเรื้อรัง การเปลี่ยนแปลงใน  ระดับนี้ก่อให้เกิดอาการต่างๆของหลอดลม คือหลอด ลมไวหลอดลมหดเกร็งตัวง่ายเมื่อถูกกระตุ้น เสมหะมากเหนียว ไอออกยาก มีเชื้อโรคมาอาศัยอยู่และ  แพร่ขยายจนเกิดอาการหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน กำเริบเป็นครั้งคราว จากจุดนี้การรักษาจะมีส่วนช่วย ให้บรรเทาเบาบางลงได้บ้างได้แก่ การหยุดบุหรี่ เลี่ยงสิ่ง ระคายเคือง ยาขยายหลอดลม ยาสูดสเตอรอยด์ ยาละลายเสมหะ และยาปฏิชีวนะในยามที่มีการติดเชื้อ ซ้ำซ้อน

   

        ขณะที่ผมเขียนบทความนี้พอดีใกล้ถึงวัน ถุงลมโป่งพองโลก หรือทางภาษาสากลเขาเรียกว่า World COPD Day   ซึ่งกำหนดให้วันที่ 15 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็นวันดังกล่าว การที่ทางองค์กรความร่วมมือ เพื่อการดูแลรักษาโรคถุงลมโป่งพองของโลก กำหนด ให้มีวันนี้ขึ้นมาก็เพื่อเป็นกำลังใจและส่งความปรารถนา มายังผู้ป่วยทุกคนในโลกเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงลม โป่งพองมีกำลังใจ ไม่หมดหวังในชีวิต มีกำลังใจจะดูแล รักษาตัวเองให้ดีที่สุด เพื่อจะได้มีสุขภาพและคุณภาพ ชีวิตที่ดีเท่าที่จะเป็นไปได้ ตรงกับคำขวัญของปีนี้ที่ว่า “Breathless not Helpless” ซึ่งผมเห็นด้วยร้อย เปอร์เซ็นต์เลยครับว่าโรคถุงลมโป่งพอง หรือบางทีเราก็ เรียกว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้น ถึงแม้จะเป็นโรคที่ไม่หาย ขาดแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีทางรักษา มีการ ศึกษาวิจัยมากมายที่ยืนยันว่ามีการดูแลรักษาหลายๆ อย่างที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น มีการกำเริบน้อยลง ชะลอการถดถอยของสมรรถภาพปอดได้ รวมทั้งอาจ มีแนวทางที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นอย่าง มีคุณภาพได้อีกด้วย ผมจึงถือโอกาสนี้เขียนถึงแนวทาง ต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยหรือลูกหลานของผู้ป่วยได้อ่าน ทำความเข้าใจถึงตัวโรคว่าเป็นไปอย่างไร เมื่อทราบว่า เป็นไปอย่างไรแล้วก็จะทราบได้ต่อไปว่าจะมีเคล็ดลับใน การดูแลตัวเองอย่างไรจึงจะเอาชนะอาการเหนื่อยง่ายและ มีชีวิตอย่างปกติที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังต่อไปนี้ครับ

โรคถุงลมโป่งพอง...เป็นและเป็นไปอย่างไร? 
        ดังที่กล่าวข้างต้นบางทีเราก็เรียกโรคนี้ว่าโรค ปอดอุดกั้นเรื้อรังทั้งนี้เนื่องจากจุดเริ่มต้นของโรค มาจากการสูบบุหรี่มาเป็นเวลานาน ควันบุหรี่อัน ประกอบไปด้วยก๊าซที่ระคายเคืองต่างๆ มากมายเมื่อลง  ไปถึงหลอดลมถึงปอดส่วนต่างๆเป็นเวลานานๆก็จะ เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อส่วนนั้นๆ 
        ในระดับของหลอดลมควันบุหรี่จะทำให้เกิดการ อักเสบที่เยื่อบุผิวของหลอดลมที่ควันบุหรี่ลงไปสัมผัสถึง การอักเสบจะเกิดขึ้นเสมอไม่มากก็น้อย และถึงแม้ผู้สูบ จะยังไม่มีอาการให้ปรากฏ เมื่อมีการอักเสบต่อเนื่องไป นานๆก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ช้าๆที่ผิวของหลอดลมโดยเราไม่รู้สึกอะไรเลย กล้ามเนื้อ ของหลอดลมจะหนาขึ้น ต่อมผลิตมูกที่แทรกอยู่กับ เซลบุผิว หลอดลมก็ถูกกระตุ้นให้มีมากขึ้นขนาดใหญ่ขึ้น และสร้างมูกมากผิดปกติ เซลเยื่อบุผิวที่มีขนอ่อน ขนาดเล็กๆโบกไปมา เปรียบเสมือนที่ปัดน้ำฝนหน้ารถ ขนาดจิ๋วก็สูญเสียการทำงานไปหรือไม่ก็ถูกทำลายไป จากการอักเสบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนานตามปริมาณ และเวลาที่สูบบุหรี่

 

        ลึกลงไปในระดับถุงลมรวมทั้งหลอดลมฝอย ส่วนปลายๆ ควันบุหรี่จะทำให้มีการอักเสบเกิดขึ้น เช่นเดียวกัน กระบวนอักเสบที่เกิดขึ้นในบริเวณนี้จะ เกิดขึ้นพร้อมๆ ไปกับการทำลายผนังถุงลม และหลอด ลมฝอยที่บอบบางไปอย่างช้าๆ ที่ผนังถุงลมนี้เป็นที่ๆ แลกเปลี่ยนก๊าซ ภายนอกถุงลมและหลอดลมฝอย ส่วนปลายจะมีร่างแหของเส้นเลือดฝอยมาห่อหุ้ม อยู่เพื่อทำหน้าที่เอาเลือดมาแลกเปลี่ยนก๊าซ เนื่องจาก พื้นที่แลกเปลี่ยนก๊าซนี้มีมากมายเหลือเฟือกว่าที่ใช้งาน จริงเต็มที่ถึงเท่าตัว เมื่อถูกทำลายไปในช่วงแรก จึงไม่ ปรากฏอาการใดๆ จนกว่าเราจะสูญเสียพื้นที่ผิวของ ถุงลมไปมากพอถึงจะปรากฏอาการ เนื่องจากถุงลมใน  ปอดอยู่กันเป็นกลุ่มคล้ายพวงองุ่นเล็กๆ เมื่อผนังกั้น ระหว่างถุงลมที่อยู่ชิดๆกันถูกทำลายไปทำให้ถุงลม เล็กๆเหล่านั้นรวมกลายเป็นถุงลมเดียวกันที่มีขนาด  ใหญ่ขึ้น ลักษณะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ดูเป็น ถุงลมที่โป่งพองขึ้นตามชื่อของโรค นอกจากนี้เนื้อเยื่อ ปอดที่สูญเสียไปทำให้เนื้อปอดกลวงมากขึ้น ความยืด หยุ่นของปอดสูญเสียไปไม่สามารถพยุงหลอดลม ได้ตามปกติทำให้หลอดลมแฟบปิดง่ายขณะที่เบ่งลม  หายใจออก และมีอากาศขังในปอดมากกว่าปกติคือ ลมหายใจออกได้ไม่สุด ฉะนั้นการหายใจในรอบต่อๆไป ก็จะเข้าลำบากเช่นเดียวกันเพราะมีลมขังอยู่ในปอด  มากกว่าปกติอยู่ส่วนหนึ่งแล้ว ความผิดปกติในส่วนนี้จะ ยิ่งทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบากมากขึ้น ถ้าผู้ป่วยเหนื่อย มากขึ้นจากการออกแรงทำอะไรก็แล้วแต่ เพราะขณะ ที่ร่างกายต้องการลมหายใจมากขึ้นแต่กลับหายใจลำบาก มากขึ้นตามไปด้วย ในส่วนนี้จะต้องหยุดปัจจัยที่มา ทำลายเนื้อปอดก่อนก็คือการหยุดบุหรี่ ถือเป็นสิ่งที่ สำคัญมากๆ อาหารที่ดี การออกกำลังกายที่เหมาะสม จะช่วยให้สมรรถภาพในการออกกำลังกายของผู้ป่วยดีขึ้นถึงแม้ปอดที่โป่งพองไปแล้วจะเอาคืนกลับ ไม่ได้ก็ตาม 
        ความเป็นไปของถุงลมโป่งพองที่ต้องทราบ ก็คือหากไม่เลิกบุหรี่ สมรรถภาพปอดของผู้ป่วยจะเสื่อม ลงเร็วกว่าปกติมากกว่าความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย เมื่อถึงจุดๆหนึ่งก็จะมีอาการเหนื่อยง่ายและถ้ามากไป อีกระดับก็จะมีอาการหายใจล้มเหลวคือหอบเหนื่อย  แม้กระทั่งอยู่เฉยๆ บ่อยครั้งที่กว่าผู้ป่วยจะยอมเลิก บุหรี่ก็ใกล้จุดที่มีอาการมากดังกล่าวเต็มที ฉะนั้นเมื่อ  บวกกับความเสื่อมของปอดตามวัยก็จะมีอาการมาก ขึ้นๆทุกปีถึงแม้หยุดบุหรี่แล้วก็ตาม เล่ามาแบบนี้จริงๆ ต้องการบอกเป็นนัยนะครับว่าควรเลิกบุหรี่ตั้งแต่เนิ่นๆ ครับ แล้วก็เป็นการตอบคำถามว่าทำไมเลิกบุหรี่แล้ว อาการก็ยังมากขึ้นได้


******************** 

เคล็ดลับในการดูแลตนเอง 
        ถึงแม้ถุงลมโป่งพองจะเป็นโรคที่รักษาไม่ หายขาด แต่ก็พอมีวิธีการที่จะจัดการกับมันได้เพื่อให้ ชีวิตมีปกติสุขพอสมควร เคล็ดลับง่ายๆต่อไปนี้เป็น สิ่งสำคัญมากครับไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เมื่อนำไป ปฏิบัติก็จะช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ครับ 
1. หยุดบุหรี่ตัดต้นเหตุของโรค 
        ตามที่บอกเล่าไปข้างต้นแล้วครับว่าบุหรี่เป็น จุดเริ่มต้นของทุกสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นตัวการให้ปอด เสื่อมดำเนินต่อไปเร็วกว่าปกติ นอกจากนี้ยังไปกด กลไกป้องกันตัวเองของระบบทางเดินหายใจต่อการ ติดเชื้ออีกด้วย สิ่งสำคัญในการเลิกบุหรี่คือกำลังใจและ ความตั้งใจจากผู้ป่วยที่จะเลิกบุหรี่ครับ หากประสบ ความยากลำบากในการที่จะเลิก ก็ลองปรึกษาแพทย์ ประจำตัวของท่านดูได้ว่าจะมีวิธีช่วยอย่างไร ปัจจุบัน ยาช่วยอดบุหรี่สามารถช่วยผู้ป่วยได้มากครับ เคล็ดลับ ของผมที่ใช้กับผู้ป่วยแล้วได้ผลดีก็คือ การปฏิวัติรูป แบบการดำเนินชีวิต คือหยุดบุหรี่  หันมารับประทาน อาหารสุขภาพ ผักนานาชนิดและผลไม้ ร่วมกับ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (ต้องออกจริงๆนะครับ จะช่วยได้มาก) หากชีวิตมีความเครียดมากก็ต้องปรับ โดยลดหรือหาวิธีคลายเครียดที่เป็นบวกกับสุขภาพ มาช่วย การหยุดบุหรี่ก็จะเป็นผลสำเร็จได้ 
        นอกจากเรื่องบุหรี่แล้วก็ควรหลีกเลี่ยงสภาพ แวดล้อมที่มีควันระคายเคืองหรือสารเคมีที่มีกลิ่นฉุน เพราะผู้ป่วยมีหลอดลมไวกว่าปกติ จะกระตุ้นให้หลอด ลมตีบเฉียบพลันได้ 
2. เลือกรับประทานอาหารที่ดีมีคุณค่า 
        ในคนปกติอาหารไขมันต่ำจะดีที่สุด แต่ใน ผู้ป่วยถุงลมโป่งพองที่มีอาการเหนื่อยง่าย การปรับ สัดส่วนในอาหารให้มีไขมันซึ่งเป็นสารอาหารให้ พลังงานสูงเพิ่มขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย เนื่องจาก ผู้ป่วยต้องใช้พลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆมากกว่า คนทั่วไป อาหารประเภทแป้งให้พลังงานน้อยกว่าแต่จะ ได้คาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาผลาญมากกว่าทำ ให้ระบบหายใจต้องทำงานหนักมากขึ้น  ควรเลือก รับประทานไขมันที่ดีที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ มีไขมัน อิ่มตัวต่ำ ไขมันที่ดีได้แก่ไขมันจากปลา ที่มีกรดไขมัน โอเมก้า 3 มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก ที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ (น้ำมัน พวกนี้จริงๆแล้วไม่ทนต่อความร้อนสูงๆ ฉะนั้นไม่ควรเอา  ไปทอดนะครับ) เหล่านี้เป็นต้น 
        ควรรับประทานโปรตีนอย่างเพียงพอ โปรตีน จะไปช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ในร่างกาย การที่ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้อหายใจและส่วน ต่างๆที่แข็งแรง จะทำให้สมรรถภาพของร่างกายโดย รวมดีขึ้นมากๆ ควรเลือกรับประทานโปรตีนที่มี คุณภาพสูงได้แก่ เนื้อปลา ไข่ขาว เนื้อหมู วัว เป็ด ไก่ (ไม่ติดมัน หนัง) เป็นต้น 
        นอกจากรับประทานอาหารให้ได้พลังงานและ โปรตีนเพียงพอแล้ว ควรจะเพลิดเพลินกับการสรรหา ผักนานาชนิด หลายหลากสีมารับประทานครับ เพื่อ จะได้วิตามินและแร่ธาตุที่ครบถ้วน และยังได้สารต้าน อนุมูลอิสระมาช่วยปกป้องเซลของร่างกายอีกด้วย 
        วิธีวัดผลง่ายๆก็คือดูที่น้ำหนักของผู้ป่วย ควรให้ อยู่ในเกณฑ์สูงของปกติ (เกือบอ้วน) กล้ามเนื้อแน่น มีแรงดี ไม่ลีบ รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าครับ ต้องคอยระวังเรื่องอาหารการกิน

  ให้ดีนะครับถ้าน้ำหนักค่อยๆลดลงๆ อันนี้เป็นสัญญาณอันตรายครับ ในหนูที่ขาดอาหารมาก ขึ้นๆ พบว่าเนื้อปอดจะค่อยๆ โป่งพองได้เองครับ 
3. ดื่มน้ำให้เพียงพอ 
        หากขาดน้ำจะทำให้เสมหะเหนียวขับออกยาก ปริมาณน้ำที่พอเหมาะก็คือ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน แต่ถ้าวันไหนอากาศร้อนหรือเสียเหงื่อมากก็ต้องดื่ม ทดแทนมากขึ้นตามส่วน เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มผสม น้ำตาล น้ำเปล่าจะดีที่สุดครับ นอกจากช่วยเรื่อง เสมหะแล้ว ก็จะช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นด้วยครับ 
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 
        ถือเป็นเคล็ดลับที่สำคัญมากที่สุดข้อหนึ่ง เลยครับ การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายต้อง  พิจารณาตามความเหมาะสมให้เหมาะกับความรุนแรง ของโรคและสภาพของผู้ป่วยเอง ส่วนตัวผมชอบให้ ผู้ป่วยเริ่มต้น ด้วยการยืดเส้นยืดสายของกล้ามเนื้อ ทุกส่วนก่อน โดยเน้นพิเศษที่กล้ามเนื้อช่วยหายใจ ทั้งหลายได้แก่ กล้ามเนื้อของคอ ไหล่ รอบสะบัก หน้าอก เพราะกล้ามเนื้อเหล่านี้ต้องทำงานหนัก ทำให้ตึงและล้า เมื่อยืดแล้วก็ต่อด้วยกายบริหารของกล้ามเนื้อคอ ไหล่ แขน โดยเริ่มจากการหมุนคอไปรอบๆ หมุนไหล่ แกว่ง แขน จนกระทั่งยกน้ำหนักเล็กน้อย จากนั้นก็เป็นการ เดินออกกำลังกายโดยการเดินเร็ว โดยทำทุกวันวันละ 20 นาที (เริ่มแรกควรเริ่มจากน้อยๆ ก่อนเช่น 10 นาที ไม่ควรฝืนหรือหักโหม) การปฏิบัติควรทำเป็นกิจวัตร และบันทึกเป็นสถิติด้วย ก็จะพบว่าความสามารถ ในการออกกำลังกายจะดีขึ้นแน่นอน ผลพลอยได้ที่ สำคัญคือกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ กล้ามเนื้อ หัวใจก็จะแข็งแรง ตามไปด้วยโดยอัตโนมัติ อารมณ์ก็จะ ดีและหลับดีขึ้น พบว่าผู้ป่วยที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีกว่า ป่วยเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่า และอายุยืนยาวกว่าด้วยครับ ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการ มากแพทย์จะสอนวิธีฝึกหายใจให้ด้วยว่าหายใจ เข้าออกลึกๆโดยใช้กล้ามเนื้อซี่โครงทำอย่างไร ใช้ กระบังลมทำอย่างไร และห่อปากหายใจออกทำอย่างไร การห่อปากในขณะหายใจออกจะช่วยให้เกิดแรงดัน ในหลอดลม ช่วยป้องกันไม่ให้หลอดลมแฟบปิด ง่ายเมื่อเทียบกับการหายใจตามปกติจะช่วยให้ สามารถระบายลมที่ขังออกได้มากขึ้นครับ 
5. หาอะไรทำ อย่าอยู่เฉย 
        การพยายามหาอะไรทำจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า ตัวเองมีคุณค่า สมองไม่หยุดนิ่งเป็นการบริหารสมอง ในส่วนของความคิดอ่านและอารมณ์อีกด้วย กิจกรรม บางอย่างก็อาจเป็นการผ่อนคลายไปในตัวอีกด้วย ควรหาทางสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีสังคมกับลูกหลาน และกับเพื่อนๆ จะช่วยป้องกันอาการซึมเศร้าได้ หาก ไม่ปฏิบัติข้อนี้ตะเกียงอาจค่อยๆ หรี่จนดับได้ 
6. ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์โดยเคร่งครัด 
        ปัจจุบันนี้มียาที่ดีมีคุณภาพมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ยาบางอย่างสำหรับช่วยบรรเทาอาการแก้หอบ ยาบาง อย่างไม่ได้ให้เพื่อแก้หอบแต่ให้เพื่อลดการกำเริบ บาง อย่างให้เพื่อหวังผลให้ชะลอความรุนแรงของโรค เพราะ ฉะนั้นต้องทำความเข้าใจครับว่าตัวไหนแพทย์ให้ใช้ เวลามีอาการ ตัวไหนให้ใช้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆครับ ถ้า สงสัยควรสอบถามแพทย์ให้เข้าใจครับ

******************** 

อย่าลืมฉีดวัคซีน 
        บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยมีอาการกำเริบเมื่อเป็นหวัด และอาการอาจทรุดหนักได้โดยเฉพาะหากเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือปอดอักเสบจากการติดเชื้อ การฉีดวัคซีนอาจ ป้องกันได้บางส่วนวัคซีนที่ควรฉีดได้แก่วัคซีนป้องกัน ไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดเป็นประจำทุกปี และวัคซีนป้องกัน  การติดเชื้อสเตร็ปนิวโมคอคคัสที่ฉีดครั้งเดียวก็จะ มีภูมิคุ้มกันไปนานอย่างน้อย 5 ปี

เมื่ออาการเปลี่ยนรีบพบแพทย์ 
        ตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าจะให้ชีวิตผู้ป่วยขึ้น กับแพทย์ แต่การพบแพทย์แต่เนิ่นๆเมื่อมีอาการ เปลี่ยนแปลง เช่น เหนื่อยมากขึ้น เสมหะเปลี่ยนสี หรือ ปริมาณมากขึ้น หากให้การรักษาไวอาการก็จะดีขึ้นเร็ว อาจช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้ บางครั้งผู้ป่วยมีโรคแทรกซ้อนอื่นก็จะช่วยแก้ไขได้ทันการ การพิจารณา ให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม ยาลดการอักเสบ และยา บรรเทาอาการอื่นๆ ควรอยู่ภายใต้การพิจารณา ของแพทย์ที่รู้จักผู้ป่วยเป็นอย่างดีอย่ารังเกียจหรือ กลัวการใช้ออกซิเจนเมื่อถึงคราวจำเป็น 
        บ่อยครั้งที่เข้าใจว่าเมื่อใช้ออกซิเจนแล้วจะ ทำให้ติด ความจริงแล้วการให้ออกซิเจนไม่มีส่วน ทำให้ติดเลยครับ การให้ออกซิเจนเมื่อมีข้อบ่งชี้จะ มีประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยเป็นอย่าง

  มาก เพราะช่วย ผ่อนการทำงานของหัวใจได้มากการทำงานของหัวใจ จะดีขึ้นกล้ามเนื้อหายใจทำงานได้ดีขึ้นไม่เมื่อยล้าง่าย หลับได้ดีขึ้น อารมณ์และความคิดอ่านก็จะดีขึ้น นอก จากนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นอีกด้วย ตามข้อ บ่งชี้ในปัจจุบันแพทย์จะพิจารณาให้ดมออกซิเจนที่บ้าน ใน 2 กรณี กรณีแรกการดมแบบต่อเนื่อง คือถ้าผู้ป่วย มีระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 90% ตลอดเวลา จะแนะนำให้ดมออกซิเจนเพื่อให้ระดับ ออกซิเจนขึ้นมาถึง 90-92% อย่างน้อย 15 ชม.ต่อวัน ถ้าได้นานกว่านี้ก็จะยิ่งดี กรณีที่ 2 ดมออกซิเจนเฉพาะ เวลาที่ออกซิเจนต่ำ มีผู้ป่วยบางรายที่ออกซิเจนตกเป็น ห้วงๆขณะที่หลับ หรือขณะออกกำลังกายเท่านั้น แพทย์ก็จะแนะนำให้ดมเฉพาะเวลาที่เข้านอนหรือขณะ ออกกำลังกายก็เป็นการเพียงพอ 
        เคล็ดลับที่ไม่ลับในการที่จะเอาชนะอาการ เหนื่อยและอยู่กับโรคถุงลมโป่งพองอย่างมีความสุข ตามอัตภาพก็เป็นดังที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่ายา และการรักษาโดยตรงจากแพทย์มีแค่ไม่กี่ข้อเท่านั้น ที่เหลือก็อยู่ที่ตัวผู้ป่วยเองและการดูแลจากทางบ้าน ผมเชื่อมั่นว่าถ้าผู้ป่วยปฏิบัติได้ดังข้างต้นสุขภาพและ คุณภาพชีวิตของท่านจะต้องดีขึ้นอย่างแน่นอนครับ ไม่ลำบากเกินกว่าที่จะปฏิบัติเลยใช่ไหมครับ ผมขอ เป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยทุกท่านเลยครับ

แหล่งที่มา : vichaiyut.co.th

อัพเดทล่าสุด