โรคความดันโลหิตสูง การรักษาโรคความดันโลหิตสูง อาหารสําหรับโรคความดันโลหิตสูง
คลินิกโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ได้รับการขนานนามว่า “เพชฌฆาตเงียบ” เนื่องจากมีความรุนแรงถึงแก่ชีวิตหากไม่ได้รับการวินิจฉัยแต่เนิ่น ทั้งนี้อันตรายของโรคได้แก่การที่หัวใจต้องรับภาระหนักกว่าปกติ จนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนหลายประการ อาทิ กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น หัวใจวาย และไตได้รับความเสียหาย แต่ที่ร้ายแรงที่สุดก็คือ การที่ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ดำเนินไปอย่างเงียบเชียบโดยไม่มีสัญญาณบ่งชี้ใดๆ เลย
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นโรงพยาบาลใจกลางกรุงเทพมหานครที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะการเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของเอเชีย ที่ได้รับการรับรองจาก JCI (Joint Commission International) ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้การรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลชั้นนำทั่วโลกทั้งในยุโรป อเมริกาใต้ และตะวันออกกลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 คุณจึงมั่นใจได้ว่า จะได้รับบริการที่เป็นเลิศจากโรงพยาบาลที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
การจัดการกับโรคความดันโลหิตสูง อีกก้าวของพัฒนาการ
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ช่วยให้คุณรับมือกับโรคความดันโลหิตสูงได้ด้วย 5 บริการหลัก ดังต่อไปนี้
- การตรวจและวินิจฉัย
หนทางเดียวที่คุณจะทราบได้ว่ามีอาการของโรคความดันโลหิตสูงก็คือ การตรวจวัดความดันโลหิต ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหลากสาขาวิชาของเราได้ร่วมมือกันในการออกแบบโปรแกรมการตรวจสอบและประเมินผลของคุณ
- การบำบัดด้วยยา
ตัวยาที่ใช้ควบคุมความดันโลหิตและป้องกันอาการเกี่ยวข้องอื่นๆ อย่างได้ผลนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก เภสัชกรของเราจะช่วยให้คุณเข้าใจการทำงานของยาแต่ละขนาน ตอบข้อสงสัย และตรวจสอบปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดจากการใช้ยา เช่น ปฏิกิริยาระหว่างยา หรือการใช้ยาซ้ำซ้อน
- กายภาพบำบัด
ทีมกายภาพบำบัดของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์จะประเมินอาการของคุณ ก่อนจะออกแบบโปรแกรมออกกำลังกายเฉพาะบุคคลขึ้นมา เพื่อให้คุณสามารถนำไปปฏิบัติได้เองอย่างปลอดภัยและเหมาะสม ซึ่งการออกกำลังกายตามโปรแกรมเพียงครั้งเดียวจะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ทันที และเห็นผลชัดเจนเกือบตลอดทั้งวัน ดังนั้น หากปฏิบัติติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยให้ได้ผลดีมากยิ่งขึ้น
- การวางแผนทางโภชนาการ
ทีมโภชนากร เป็นอีกทีมหนึ่งของเราที่พร้อมให้บริการข้อมูล และช่วยในการวางแผนพัฒนารูปแบบการใช้ชีวิตด้วยการเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย รวมถึงติดตามผลเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ได้
- การตรวจเช็คตนเอง
การรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยนั้น จำเป็นต้องตรวจวัดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของเราจะช่วยให้คุณสามารถวัดความดันโลหิตได้ด้วยตัวเองที่บ้าน เพื่อความสะดวกในการติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยแพทย์สามารถใช้ข้อมูลนี้ในการตรวจสอบประสิทธิภาพของตัวยาที่คุณใช้อยู่ นอกจากนี้ การวัดความดันโลหิตด้วยตัวเองยังทำให้คุณได้มีส่วนร่วมในการรักษาสุขภาพของตนเองอีกด้วย
มากกว่าผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ
เพราะโรคความดันโลหิตสูงไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะกับหัวใจเท่านั้น โปรแกรมการรักษาเราจึงยึดหลักการทำงานเป็นทีมในการรักษาและจัดการกับสาเหตุของโรค โดยทีมงานจะประกอบไปด้วย:
- อายุรแพทย์
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบต่อมไร้ท่อ
- โภชนากร
- นักกายภาพบำบัด
- เภสัชกร
- พยาบาลผู้ประสานงาน
ซึ่งบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะทำงานร่วมกันเพื่อช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายของการมีสุขภาพที่ดีในการรักษาความดันโลหิตสูง
เริ่มต้นควบคุมโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่วันนี้
อย่าลืมว่าการควบคุมระดับความดันโลหิตได้แต่เนิ่นๆ จะช่วยป้องกันคุณจากโรคร้ายแรงอีกหลายโรคซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นไตวาย เส้นเลือดในสมองอุดตัน หรือหัวใจวาย
สำหรับผู้ที่ต้องการขอรับการตรวจและต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมควบคุมโรคความดันโลหิตสูง สามารถติดต่อโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ที่โทร. 0-2667-1000 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ในหน้านัดหมายและติดต่อสอบถาม หรือส่งอีเมลมาที่ [email protected]
ข้อมูลเพิ่มเติม
จากการที่ความดันโลหิตสูงนั้นไม่มีอาการ แต่หากท่านมีอาการแทรกซ้อนอันตรายที่อาจาเกิดขึ้นได้จากโรคความดันโลหิตสูง ควรพบแพทย์อย่างเร่งด่วนเมื่อมีอาการต่อไปนี้
- ใจสั่น
- เหนื่อยง่าย
- ปวดศีรษะและอาเจียนอย่างกะทันหัน
- เจ็บหน้าอก
- ปวดที่แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง แม้จะเพียงแค่ครู่และหายไปเอง
- ตาข้างใดข้างหนึ่งสูญเสียการมองเห็นไปชั่วขณะ
ระดับความดันโลหิต | ความดันช่วงหัวใจบีบ | ความดันช่วงหัวใจคลาย | คำแนะนำ | |
ปกติ | < 120 | และ | < 80 | หมั่นวัดความดันโลหิต |
ค่อนข้างสูง | 120-139 | และ/หรือ | 80-89 | หมั่นวัดความดันโลหิต |
มีอาการของโรคความดันโลหิตสูง | 140-159 | และ/หรือ | 90-99 | พบแพทย์ |
สูงมากและเป็นอันตราย | 160-179 | และ/หรือ | 100-109 | พบแพทย์ |
อันตรายมาก | > 180 | และ/หรือ | > 110 | พบแพทย์ทันที |
แหล่งที่มา : bumrungrad.com