แฝดสยาม ประวัติแฝดสยามอินจัน แฝดสยาม อิน-จัน ประวัติและความเป็นมาของแฝดสยาม


1,923 ผู้ชม


แฝดสยาม ประวัติแฝดสยามอินจัน แฝดสยาม อิน-จัน ประวัติและความเป็นมาของแฝดสยาม


 แฝดสยาม อิน-จัน

            เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๔ เกิดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกคือฝาแฝด อิน - จัน เป็นฝาแฝดตัวติดกันเป็นฝาแฝดคู่แรกของโลกมีศัพท์เรียกว่า แฝดไทย ( Siamese Twin ) อิน - จัน เกิดที่ตำบลแหลมใหญ่ปากคลองแม่กลอง อำเภอเมืองฯ ฝาแฝดดังกล่าวมีหน้าอกที่มีแผ่นหนังเชื่อมยึดติดกันเป็นแถบกว้าง แรกเกิดหนังหน้าอกดังกล่าวบิดเป็นเกลียว เด็กทั้งสองนอนในท่ากลับหัว กลับเท้า มารดาจึงจับหมุนให้หัวและเท้ามาอยู่ทางเดียวกัน ทั้งสองมีสะดือร่วมกัน

แฝดสยาม ประวัติแฝดสยามอินจัน แฝดสยาม อิน-จัน ประวัติและความเป็นมาของแฝดสยาม

แฝดสยาม ประวัติแฝดสยามอินจัน แฝดสยาม อิน-จัน ประวัติและความเป็นมาของแฝดสยาม “อิน –จัน แฝดสยามคู่แรกของโลก ”
            อิน-จันแฝดสยามมีตัวหน้าอกติดกัน ซึ่งในขณะนั้นถือได้ว่าเป็นบุคคลประหลาดที่ยังไม่เคยมีมาก่อน เพราะส่วนใหญ่เด็กที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้มักเสียชีวิตหรืออยู่ได้ไม่นานจึง เป็นเรื่องที่ผู้คนต้องให้ความสนใจ โชคดีที่มีฝรั่ง 2 คนเกิดความสนใจที่จะเอาอิน-จันไปแสดงในต่างประเทศ ทำให้ทั้งสองได้เห็นโลกอันกว้างใหญ่ และได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษจนสามารถติดต่อพูดคุยกับชาวโลกอื่นๆ ได้ จนประสบความสำเร็จมีเงินร่ำรวยจนซื้อที่ตั้งรกรากทำไร่ในสหรัฐฯถึงเกือบ 400 ไร่และแต่งงานกับสาวอเมริกันมีลูกสืบเชื้อสายต่อมาอีกมากมาย ชีวิตของบุคคลทั้งสองนั้นมีเรื่องราวที่น่าศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นเรื่องที่สามารถรอดชีวิตมาได้แล้ว ก็ยัง สามารถทำกิจกรรมต่างๆ มากมายเยี่ยงคนสามัญทั้งหลาย จนถึงขนาดมีภรรยาเหมือนเช่นคนปกติและก็ไปไหนมาไหนด้วยกันทั้งสองคน แม้กระทั่งคนใดคนหนึ่งจะหลับนอนกับภรรยาก็จะมีอีกคนหนึ่งติดไปด้วยเสมอ โดยที่ทั้งสองต่างมีความรู้สึกนึกคิดเป็นคนละคนและมีอุปนิสัยที่แตกต่างกัน แต่ก็ต้องมีตัวที่ติดกันตลอดวันตลอดคืน หากเป็นคนทั่วไปคงยากที่จะรับได้ แต่สำหรับอิน –จัน เขาทั้งสองต้องรับรู้ซึ่งกันและกันมาเป็นเวลาถึง 62 ปีเต็ม ทำให้เกิดการขัดแย้งกันมากมายแต่ก็ไม่มีทางเลือกที่จะแยกทางกันได้ ถึงแม้จะมีหลายครั้งที่ทั้งสองพยายามปรึกษาหาหมอมาแยกร่างของเขาออกจากกัน แต่ในยุคนั้นวิทยาการการแพทย์ยังไม่สามารถทำอะไรได้ มากนัก จนสุดท้ายทั้งสองก็เสียชีวิตในวันเดียวกัน ถึงแม้บุคคลทั้งสองจากเมืองไทยไปและก็ไม่ได้กลับมาสู่บ้าน เกิดเมืองนอนอีก และทุกคนที่รู้เรื่องสองคนก็มักจะนึกถึงเมืองไทยเสมอ ถือได้ว่าที่โลกรู้จักเมืองไทยก็เพราะเขา ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งเช่นกัน แม้ว่าเวลาจะล่วงเลยไปเกือบ 200 ปีแล้วก็ตาม แฝดอิน-จัน เป็นฝาแฝดที่มีลักษณะ ผิดแผกแตกต่างไปจากแฝดคู่อื่นๆ เพราะมีร่างกายติดกันมาตั้งแต่เกิด และทำให้ชาวโลกรู้จักฝาแฝดอิน-จันคู่นี้ที่มีลำตัวติดกันเป็นครั้งแรกในโลก แต่ก่อนฝรั่งไม่เคยพบเห็นเด็กฝาแฝดที่มีร่างกายติดกัน พอมาพบเด็กแฝดชาวไทยชื่ออินกับจันที่มีตัวติดกัน จึงทำให้มีคำเรียกฝาแฝดที่มีร่างกายติดกันว่า “แฝดสยาม ” (Siamese twins) นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
แฝดสยาม ประวัติแฝดสยามอินจัน แฝดสยาม อิน-จัน ประวัติและความเป็นมาของแฝดสยาม ประวัติ
            แฝดอิน-จัน เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2354 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ที่บ้านเรือนแพริมน้ำปากคลองแม่กลอง ต.แหลมใหญ่ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม บิดาของแฝดอิน-จันชื่อนายทีอาย เป็นชาวจีนแต้จิ๋วที่อพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเกิดที่เมืองจีนในสมัยราชวงศ์ชิงราชวงศ์สุดท้ายของจีน แล้วอพยพเข้ามาดินแดนสยามในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เมื่อราว พ.ศ. 2333 โดยแรกเริ่มมาลงหลักปักฐานประกอบอาชีพประมงและค้าขายที่ปากคลอง (แม่น้ำ) แม่กลอง ส่วนมารดาชื่อนางนก มีเชื้อสายจีน-มาเลย์ อิน-จัน มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันรวม 9 คน โดยแฝดอิน-จันเป็นลูกคนที่ห้าและหกของพ่อกับแม่ เมื่อแรกเกิดอิน-จันมีร่างกายสมประกอบทุกอย่าง เพียงแต่ที่หน้าอกมีแผ่นหนังเชื่อมยึดติดกันเป็นแถบกว้างประมาณ 6 นิ้ว และมีสายสะดือเดียวกัน ตอนแรกที่เกิดมานั้นหนังที่เชื่อมหน้าอกบิดเป็นเกลียว เด็กทั้งสองนอนในท่ากลับหัวกลับเท้า แม่ของแฝดอิน-จันจึงจับหมุนให้หันหัวและเท้าอยู่ในทิศทางเดียวกัน โดยอินจะเป็นคนที่อยู่ทางซ้ายของสายตาคนมอง ส่วนจันจะเป็นคนขวาของสายตาคนมอง การเกิดมาอย่างผิดปกติของเด็กทั้งคู่ในสมัยนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดีนัก เพราะเชื่อกันว่าเด็กแฝดตัวติดกันเป็นเสนียดจัญไร อาจจะนำความฉิบหายมาให้บ้านเมืองได้ เรื่องเล่าบางเรื่องกล่าวว่าควรจะแยกเด็กทั้งคู่ออกจากกันเสียเพื่อให้ลางร้ายนั้นหมดไป แต่วิธีการที่หมอในสมัยนั้นจะทำกัน ล้วนเป็นเรื่องที่ฟังดูแล้วน่าตกใจ เช่น เอาลวดไปเผาไฟให้ร้อนแล้วใช้ลวดนั้นตัดทั้งสองคนออกจากกันหรือหมอบางคนถึงกับแนะนำให้เอาเลื่อยมาเลื่อยเด็กทั้งสองคนนี้ออกจากกันไปเลย แต่ไม่ว่าวิธีไหนก็ถูกบิดาและมารดาของแฝดอิน-จันปฏิเสธ พร้อมทั้งยืนยันว่าจะเลี้ยงเด็กแฝดนี้อย่างคนปกติทั่วไป เพื่อให้ลูกที่เกิดมาใช้ชีวิตเหมือนเด็กปกติธรรมดา นางนกแม่ของอิน-จันจึงพยายามดึงเส้นเอ็นที่เชื่อมหน้าอกของลูกทั้งสองให้ยืด ยาวออกให้ได้มากที่สุดเพื่อให้ทั้งคู่เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังฝึกให้เด็กทั้งสองทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่นการเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ พายเรือ เพื่อให้เด็กทั้งคู่จะสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้เหมือนเด็กคนอื่นๆ และสามารถใช้ชีวิตตามปกติ

แฝดสยาม ประวัติแฝดสยามอินจัน แฝดสยาม อิน-จัน ประวัติและความเป็นมาของแฝดสยาม             แฝดอิน-จันได้เริ่มหัดเดินก็พบความยุ่งยากที่มีมากกว่าเด็กธรรมดาคนอื่นๆ เพราะขณะที่คนหนึ่งก้าวเท้าหากอีกคนหนึ่งอยู่เฉยๆ ก็จะหกล้มหัวคะมำไปทั้งคู่ แต่ไม่นานนักปัญหานี้ก็หมดไปเมื่อทั้งคู่รู้จักการโอบไหล่กันเข้าหากัน ก้าวเท้าประสานกัน เหมือนเป็นคนๆ เดียวกันจนสามารถเดินและวิ่งได้อย่างคล่องแคล่ว สิ่งที่น่าแปลกก็คือทั้งคู่จะรู้ว่าอีกคนจะเดินไปทางไหน จะหยุดเมื่อไหร่ และลุกขึ้นยืนตอนไหน อินกับจันจะทำอะไรพร้อมกันอยู่เสมอ รวมไปถึงป่วยพร้อมกัน มีอาการป่วยเหมือนกันและหายป่วยในวันเดียวกัน ลักษณะนิสัยของทั้งคู่จะทำอะไรประสานกลมกลืนกันไปหมดไม่ค่อยเถียงกัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นคนๆ เดียวกัน เพราะเขาสามารถสนทนาโดยต่างคนต่างคุยกับอีกคนหนึ่ง ในเวลาเดียวกันได้ในหัวข้อเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ด้านอุปนิสัยนั้น อินค่อนข้างจะเป็นคนเงียบ ใจเย็น เจ้าความคิด ส่วนจันมีนิสัยใจร้อน เจ้าอารมณ์ ฉุนเฉียวง่าย แต่ทั้งคู่เป็นเด็กที่ซน จะชอบไต่ขึ้นไปบนเนินเตี้ยๆ แล้วกอดกันกลิ้งลงมาแล้วพากันหัวเราะอย่างสนุกสนาน อีกทั้งยังชอบวิ่งข้ามรั้ว พอเมื่อตอนที่ทั้งคู่อายุได้ 8 ขวบพ่อก็เสียชีวิตไปเนื่องจากอหิวาตกโรคเมื่อปี พ.ศ. 2362 อิน-จันจึงต้องมีหน้าที่ช่วยงานแม่เลี้ยงเป็ดขายไข่ ขายน้ำมันมะพร้าว ทำไข่เค็มขาย และหาปลา ทั้งสองฉายแววฉลาดให้เห็นตั้งแต่เด็กๆ ครั้นเมื่อรัชกาลที่ 3 ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้า ตอนเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเข้าเฝ้านั้นทั้งคู่ได้นำไข่เป็ดบรรทุกมาในเรือเพื่อให้แม่ออกนำขาย ระหว่างที่อยู่ในกรุงเทพฯ จะได้มีทุนซื้อสินค้าจากกรุงเทพฯ กลับไปขายที่แม่กลอง ในวันที่ครอบครัวของอิน-จันเสด็จมาเข้าเฝ้านั้นแฝดอิน-จันได้นำไข่เค็มมาทูล เกล้าถวายฯ ด้วย นอกจากนี้ หลังจากที่ได้เข้าเฝ้าฯ แล้ว ใน พ.ศ. 2370 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้อิน-จันร่วมเดินทางไปกับคณะทูตสยาม ในการไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศโคจินจีนหรือเวียดนามในปัจจุบัน อิน-จันได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่โดยมีขบวนแห่มารับอย่างอึกทึกครึกโครม

            ปี พ.ศ. 2372 แฝดอิน-จัน มีอายุได้ประมาณ 18 ปี สยามเปิดประตูต้อนรับชาวต่างชาติจากทั่วโลก และได้มีเรือกำปั่นอเมริกันล าหนึ่งชื่อ “เดอะชาเคม” (The Sachem) เข้ามาเทียบท่าในกรุงเทพฯ มีนายเรือชื่อกัปตันคอฟฟิน ต่อมาเมื่อกัปตันชื่ออาเบล คอฟฟิน (Abel Coffin) และพ่อค้าชาวสก็อตชื่อโรเบิร์ต ฮันเตอร์ (Robert Hunter) ได้ตั้งห้างอยู่หน้าวัดประยูรวงศ์ ได้ทราบเรื่องฝาแฝดอิน-จันจึงเดินทางมาหา เมื่อเห็นแฝดอิน-จัน ว่ายน้ำไปขึ้นเรือและพายเรืออย่างคล่องแคล่ว ก็รู้สึกตื่นเต้นเป็นที่สุด พร้อมๆ วาดความคิดขึ้นมาทันทีว่า นี่แหละคือ “สินค้าตัวใหม่” จากแดนสยาม นายฮันเตอร์เข้ามาตีสนิทกับครอบครัวของอิน-จันอยู่ร่วมปี และได้ติดต่อกับแม่ของเด็กทั้งสองให้แฝดอิน-จันไปเปิดการแสดงที่โรงมหรสพ ของเขาในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างกับแม่ของอิน-จันว่าเพื่อแนะนำให้ชาวโลกได้รู้จักทางการสยามได้อนุญาตให้แฝดอิน-จัน เดินทางออกนอกราชอาณาจักรไปแสดงตามที่ต่างๆ ตามคำขอร้องของนายฮันเตอร์และกัปตันคอฟฟิน ซึ่งแม่ของแฝดอิน-จันก็ได้ตกลงและได้รับเงินจำนวน 1,600 บาท แฝดอิน-จันจึงได้ไปเปิดการแสดงที่สหรัฐอเมริกาโดยมีกำหนด 3 ปี จนกว่าทั้งคู่จะอายุครบ 21 ปี โดยอิน-จันได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน 50 เหรียญต่อเดือนหากแสดงในสหรัฐฯ ขณะที่เดินทางไปสหรัฐอเมริกานั้นแฝดอิน-จัน มีอายุได้ราว 18 ปี ซึ่งนับเป็นคนไทยคู่แรกที่ได้ไปถึงสหรัฐอเมริกา โดยได้เดินทางออกจากสยามเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2372 โดยมุ่งหน้าไปที่เมืองบอสตัน การเดินทางใช้เวลาถึง 138 วัน ในระหว่างนั้นก็ได้ฝึกภาษาอังกฤษกับพวกลูกเรือ เมื่อไปถึงสหรัฐฯ คำว่า Siamese Twins จึงได้เกิดขึ้นแต่ครั้งนั้นมา แฝดอิน-จันเริ่มเปิดการแสดงที่เมืองบอสตันเป็นที่แรก ก่อนจะออกเดินทางแสดงทั่วอเมริกาอีกร่วม 10 ปี โดย สัญญาที่ทำไว้กับนายฮันเตอร์และกัปตันคอฟฟินจะสิ้นสุดลงเมื่อทั้งคู่มีอายุค รบ 20 ปีบริบูรณ์ โดยในช่วง 2 ปี แรก ทั้งคู่ก็ได้รับส่วนแบ่งค่าตอบแทน โดยมีกัปตันคอฟฟินเป็นผู้จัดการ แต่ดูเหมือนกัปตันเป็นผู้หาผลประโยชน์เสียมากกว่า แฝดอิน-จัน ถูกนำไปเปิดการแสดงโชว์ตัวตามประเทศต่างๆ ซึ่งทำรายได้ให้แก่กัปตันคอฟฟินและนายโรเบิร์ต ฮันเตอร์ เป็นอย่างมาก เมื่อแฝดอิน-จัน ไปแสดงที่ใดก็จะได้รับความสนใจอย่างมาก วงการแพทย์ก็ให้ความสนใจขอตรวจร่างกาย แต่ก็ยังไม่มีการสรุปว่าจะสามารถผ่าตัดแยกร่างออกจากกันได้ เพราะเกรงว่าหากทำเช่นนั้นแล้วจะทำให้ทั้งสองถึงแก่ความตายได้ การแสดงของคู่แฝดไม่ได้มีจุดขายอยู่ที่ความแปลกประหลาด หรือได้แต่เดินไปมาให้ผู้ชมดูความเป็นแฝดตัวติดกันของตนเท่านั้น แต่อยู่ที่ความสุภาพ ความเฉลียวฉลาด และความสามารถอันน่าทึ่งของทั้งคู่ โดยทั้งสองได้ออกแบบการแสดงเองเพื่อให้เห็นถึงความว่องไวและพละกำลัง เช่น อิน-จันสามารถตีลังกาไปข้างหน้า-กลับหลังได้พร้อมๆ กัน และท้าผู้ชมมาดวลหมากกระดานกันสดๆ กลางเวที เล่นกายกรรม ตีแบดมินตัน แถมทั้งคู่ยังมีอารมณ์ขันแบบสุดๆ เช่นคืนเงินครึ่งหนึ่งให้กับผู้ชมคนหนึ่ง โดยบอกว่าผู้ชมท่านนั้น ดูการแสดงด้วยตาเพียงข้างเดียว ต่อจากนั้นก็มีการนำอิน –จันไปแสดงที่อังกฤษ หลังจากเสร็จสิ้นการปรากฏตัวที่อังกฤษแล้ว นายคอฟฟินต้องการพาอิน-จันไปฝรั่งเศส แต่รัฐบาลของฝรั่งเศสปฏิเสธคำขอ เพราะเห็นว่าทั้งคู่เป็นอสุรกาย ซ้ำเกรงว่าจะมีผลเสียหายต่อเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกรงว่าหากหญิงมีครรภ์เห็นเข้า ก็จะทำให้ลูกเกิดมาผิดปกติ อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835) อิน-จันก็ได้มีโอกาสไปปรากฏตัวในประเทศฝรั่งเศส แฝด อิน-จัน ทำงานกับคอฟฟินจนกระทั่งครบสัญญาในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2375 (ค.ศ. 1832) หลังเขาทั้งสองได้แยกตัวออกจากคณะมหรสพอย่างเป็นทางการ และเปิดการแสดงอย่างอิสระ ตระเวนออกแสดงทั่วสหรัฐฯ และอังกฤษ ทำให้รายได้เพิ่มมากขึ้นจนมีฐานะร่ำรวย หลังจากการตระเวนแสดงให้คนดูในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่หลายปี แฝดอิน-จัน ได้พบเห็นบ้านเมืองและภูมิประเทศต่างๆ มากมาย พร้อมกับได้เรียนรู้ภาษาและขนบธรรมเนียมของอเมริกันชนจนเจนจบ ทั้งคู่จึงตกลงใจเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกัน และการตระเวนเปิดการแสดงตามที่ต่างๆ ทำให้พวกเขาพอมีเงินที่จะซื้อที่ดินได้ โดยทั้งสองทำรายได้ทั้งหมดประมาณ 60,000 เหรียญสหรัฐฯ ดังนั้นเมื่อทั้งคู่มีอายุได้ 28 ปี ใน พ.ศ. 2382 จึงได้ลงหลักปักฐานที่ตาบลแทรพฮิลล์ ในมลรัฐนอร์ท แคโรไลนา โดยซื้อที่ดินเพื่อปลูกบ้านอยู่ และสามารถซื้อที่ดินทำไร่เป็นของตัวเองบนเนื้อที่ 150 เอเคอร์
แฝดสยาม ประวัติแฝดสยามอินจัน แฝดสยาม อิน-จัน ประวัติและความเป็นมาของแฝดสยาม             แฝดอิน-จันหันไปทำไร่ยาสูบจนประสบความสำเร็จ มีฐานะร่ำรวยขึ้น ต่อมาพวกเขาได้ใช้นามสกุลว่า บังเกอร์ (Bunker) ในปี พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) เพื่อให้มีสิทธิเป็นชาวอเมริกัน เพราะทางการไม่ยอมให้โอนสัญชาติหากไม่มีชื่อสกุลเป็นคริสต์ ทั้งคู่เป็นคนไทยค่แรกที่ขอโอนสัญชาติ เมื่อมีอายุได้ 31 ปี อินและจันได้พบรักและแต่งงานพร้อมๆ กัน อินแต่งงานกับมิสซาร่า เยสท์ หรือแซลลี เยตส์ อายุ 20 ปี ส่วนจัน แต่งงงานกับมิสอาดิเลด เยสท์ อายุ 19 ปี โดยทั้งสองคู่ได้ท าพิธีแต่งงานที่โบสถ์เมธอดิสท์ ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2386 (ค.ศ. 1843) โดยอิน-จันปลูกบ้านให้ภรรยาอยู่คนละหลัง ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร แรกทีเดียวทั้งสี่คนนั้นอาศัยอยู่ด้วยกันในบ้านหลังเดียวกัน ภรรยาของแฝดอิน-จันเป็นลูกสาวของหมอสอนศาสนา ทั้งคู่ได้มีบุตรคนแรกในเวลาไล่เลี่ยกันโดยห่างกันเพียง 6 วัน อินมีลูก 11 คน จันมีลูก 10 คน ระยะเวลาเพียงสิบกว่าปี สองครอบครัวมีลูกรวมกัน 21 คนพอดี ไม่ปรากฏว่าลูกคนใดมีความผิดปกติ นอกจากมีบันทึกว่า 2 คนเป็นใบ้ หลังจากที่ต่างฝ่ายต่างมีลูกได้ 3 คนแล้ว ภรรยาทั้งสองก็ขอแยกไปอยู่ต่างบ้าน ด้วยเหตุผลแรกที่ต้องการพื้นที่เลี้ยงดูลูกมากขึ้น และสาเหตุที่สองคือเพราะภรรยาทั้งสองเริ่มทะเลาะเบาะแว้งกัน อิน-จันจึงลงเอยด้วยการสร้างบ้านใหม่ขึ้นอีกหลังหนึ่ง แล้วไปอยู่บ้านละ 3 วันสลับกันเมื่อผู้หญิงทั้งสองคนต้องมีสามีตัวติดกันจึงจำเป็นต้องตกลงแบ่งสรรปันส่วนเวลากัน โดยจะผลัดกันอยู่บ้านละ 3 วันเพื่อไม่ให้เสียเปรียบได้เปรียบกัน นอกจากนี้ยังมีการตกลงกันว่า ระหว่างที่อยู่บ้านใครคนนั้นเป็นเจ้าของบ้านถือว่าผู้นั้นใหญ่สุด เจ้าของบ้านจะทำอะไรอีกฝ่ายต้องตามใจทุกอย่าง การที่อิน-จันมีครอบครัวนำมาซึ่งความสงสัยของคนโดยทั่วไปว่า เมื่อเวลาอินหรือจันมีความสัมพันธ์กับภรรยา อีกคนหนึ่งจะอยู่ในลักษณะใด และจะปฏิบัติตัวเช่นไร ซึ่งอินและจันก็ไม่เคยตอบคำถามนี้แก่ใครเลย แต่เรื่องที่เล่ากันก็คือ เพื่อให้เป็นไปตามครรลองของประเพณีอันดีงามและหลีกเลี่ยงคำครหาในยุคนั้น แฝดอิน-จันใช้วิธีขึงผ้าไว้ตรงกลางเวลาหลับนอนกับภรรยา เพื่อกันไม่ให้อีกฝ่ายเห็นรายละเอียดขณะหลับนอน เนื่องจากทั้งสองมีระบบประสาทที่แยกต่างหากจากกัน ฉะนั้นจึงไม่น่าที่อีกฝ่ายจะพลอยตื่นเต้นขึ้นมากมายไปกับความรู้สึกต่างๆ นานาในระดับเดียวกันโดยปริยายไปด้วย อิน-จัน มักเข้านอนเวลาเดียวกันหลับเวลาเดียวกัน ต่างกันเพียงเวลาตื่น จันตื่นนอนก่อนอินประมาณหนึ่งชั่วโมง จันชอบทำงานบ้าน ส่วนอินชอบออกไปดูไร่ ที่น่าแปลกก็คือคนสองคนนี้แม้ว่าจะดูเป็นคนๆ เดียวกันแต่กลับถือนิกายต่างกันอินเป็นแบบติสต์ ส่วนจันถือโรมันคาทอลิค แต่ก็ไม่มีใครปฏิเสธจะเข้าโบสถ์ที่อีกคนหนึ่งเข้าเป็นประจำระหว่างสงคราม กลางเมืองระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ในประเทศอเมริกา อินเข้ากับฝ่ายเหนือ จันถือหางฝ่ายใต้ถึงขนาดส่งลูกชายเข้าร่วมรบในสงครามด้วย หลายปีต่อมาหลังแต่งงาน จันกลายเป็นคนติดเหล้า ส่วนอินติดไพ่ และสองพี่น้องทะเลาะเบาะแว้งกันอย่างไม่หยุดหย่อน ว่ากันว่าอินกับจันนิสัยไม่ค่อยเหมือนกัน อินเป็นคนเรียบร้อยชอบอยู่เงียบๆ ว่านอนสอนง่าย ช่างฝัน ใจเย็น และมักจะเป็นฝ่ายยินยอมอ่อนตาม แต่มีข้อเสียคือชอบเล่นไพ่ ส่วนจันเป็นคนโผงผาง ใจร้อน โมโหง่าย เป็นผู้นำ และชอบกินเหล้า บ่อยครั้งที่ทั้งสองมีความคิดที่จะผ่าตัดแยกตัวแต่ก็ต้องล้มเลิกไปทุกครั้ง พ.ศ. 2414 แฝดอิน-จัน มีอายุได้ 60 ปี จึงหยุดการแสดงโชว์ หลังจากนั้นอินและจันเกิดป่วยเป็นอัมพาตซีกขวา อินทั้งดื่มสุราจัดด้วย จึงทำให้สุขภาพของจันเสื่อมโทรมลงไปด้วย แพทย์ตรวจพบว่าจันป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบ มีอาการรุนแรงและทรุดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งในคืนวันที่ 17 อินเห็นดังนั้นจึงขอร้องให้จันไปนอนพักผ่อน แต่จันอ้อนวอนอินให้นั่งหน้าเตาผิงเป็นเพื่อนเขาต่อไป ในเวลาต่อมาเมื่อจันรู้สึกดีขึ้นเขาจึงยอมเข้านอน เมื่อจันเข้านอนได้ไม่นานนัก อินก็พบว่าจันได้ตายจากเขาไปเสียแล้ว ไม่มีใครรู้ซึ้งถึงจิตใจของอินว่าความผูกพันด้านจิตใจของเขาต่อคู่แฝดที่จาก ไปนั้นมันล้ำลึกแค่ไหน อินนอนกอดศพจันที่หมดลมหายใจไปแล้วอยู่ตลอดเวลา จนอีกสองชั่วโมงต่อมาอินก็ตายตามจันไปอย่างสงบ รวมอายุ ได้ 62 ปี ศพของคนทั้งคู่ฝังอยู่ที่สุสานของโบสถ์ไวท์เพลนส์ เมืองเมาท์แอรี สหรัฐอเมริกา
            กระทรวงการต่างประเทศนำฝาแฝดคู่นี้ไปประเทศสหรัฐอเมริกา มีกำหนดสามปี โดยจ่ายเงินให้แก่แม่ของอิน - จัน เป็นเงิน ๑,๖๐๐ บาท ฝาแฝดอิน - จัน ได้ไปแสดงตัวที่เมืองบอสตัน ในสหรัฐอเมริกาเป็นแห่งแรก ผู้คนพากันมาชมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อ อิน - จัน บรรลุนิติภาวะก็ได้แยกตัวออกจากมิสเตอร์ฮันเตอร์ แล้วไปแสดงในที่ต่างๆ มีคนมาชมเป็นจำนวนมากทั้งสองช่วยกันคิดแบบการแสดงต่างๆ ให้เห็นความว่องไวและพละกำลัง มีการหกคะเมนตีลังกา เป็นต้น จนหาเงินได้ร่ำรวย สามารถซื้อที่ดินทำไร่ที่รัฐนอร์ธแคโรไลนา เมืองเวิลด์โปโร เริ่มกิจการทำไรยาสูบที่รัฐเวอร์จิเนียประสบผลสำเร็จอย่างดี มีทาสและคนงานในไร่ถึง๓๓ คน พออายุได้ ๓๒ ปี ทั้งสองก็ได้แต่งงานกับหญิงชาวอเมริกันสองคน ทั้งคู่มีลูกชายและลูกสาวหลายคน ต่อมาทั้งสองได้เดินทางไปแสดงที่ยุโรปหลายครั้งทั้งสองถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๗ เมื่ออายุได้ ๖๓ ปี ทั้งสองสิ้นใจห่างกันสองชั่วโมง และเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่อิน - จัน ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย ทางจังหวัสมุทรสงคราม จึงได้สร้างอนุสรณ์สถานแฝดอิน-จัน ขึ้นที่ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองฯ พื้นที่บริเวณเดียวกับที่จะสร้างพิพิธภัณฑ์เรือ โดยมีเนื้อที่ถึง10 ไร่เศษ โดยสร้างรูปหล่อแฝดสยามขนาดเท่าครึ่งของตัวจริง และในส่วนบริเวณรอบรอบ ทางจังหวัดสมุทรสงครามได้ปรับปรุงทัศนียภาพรอบอนุสรณ์สถานแฝดอิน-จัน เพื่อให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ สถานที่ออกกำลังกาย สนามเด็กเล่น และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสมุทรสงคราม
แฝดสยาม ประวัติแฝดสยามอินจัน แฝดสยาม อิน-จัน ประวัติและความเป็นมาของแฝดสยาม             ชื่อเสียงของอิน-จัน ทำให้เกิดคำเรียกแฝดตัวติดกันว่า แฝดสยาม (Siamese twins) ตามชื่อเรียกประเทศไทยในเวลานั้น ทั้งคู่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2417 ภายหลังได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานแฝดสยามอิน-จัน ที่ ต. ลาดใหญ่ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแด่ฝาแฝดสยามอิน-จันที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยไปทั่วโลก
            อนุสรณ์สถานแฝดสยามอิน-จันและพิพิธภัณฑ์เรือ ตั้งอยู่ตำบลลาดใหญ่ ริมถนนเอกชัย (ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 4 กม.) เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแด่ฝาแฝดสยามอิน-จันที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยไปทั่วโลก ภายในบริเวณเป็นลานกว้างประดับด้วยต้นไม้ดอกไม้ อนุสรณ์แฝดสยามอิน-จันตั้งอยู่กลางลาน ด้านหน้ามีสระน้ำขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีอาคารโถงจัดแสดงชีวประวัติของแฝดสยามอิน-จัน “ แฝดสยามอิน-จันเกิดที่จังหวัดสมุทรสงครามเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2354 (ค.ศ.1811) ประมาณปีพ.ศ.2371-2372 (ค.ศ.1828-1829) กัปตันคอฟฟินและฮันเตอร์เดินทางมาติดต่อการค้าที่แม่กลอง พบฝาแฝดคู่นี้จึงขอนำกลับไปอเมริกาและอังกฤษ เพื่อเปิดการแสดงในที่ต่างๆ เรื่องราวชีวิตของแฝดสยามอิน-จัน ฝาแฝดที่มีร่างกายท่อนบนติดกันและสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปกติยาวนานจน ถึงอายุ 63 ปี ได้รับการกล่าวขานทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในชื่อ “Siamese Twin” ในอาคารโถงเดียวกันนอกจากชีวประวัติแฝดสยามแล้ว ยังแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์เรือรวบรวมเรือพื้นบ้านหลายชนิดมาจัดแสดงไว้เพื่อให้เป็นที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวแม่กลองพิพิธภัณฑ์เรือเปิดตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. เสาร์-อาทิตย์ 08.00-12.00 น . ค่าเข้าชม 15 บาท สอบถามรายละเอียด โทร. 0 3471 1333


แหล่งที่มา : vcharkarn.com , คลัง ปัญญาไทย

อัพเดทล่าสุด