อาการโรคริดสีดวง สาเหตุโรคริดสีดวง วิธีรักษาโรคริดสีดวงเบื้องต้น
อาการของโรคริดสีดวงทวาร
สำหรับคนที่ชอบอั้นการขับถ่ายอยู่เป็นประจำ หรือขับถ่ายไม่เป็นปกติ ก็มักจะคุ้นเคยกับโรคนี้เลย.. 55+ โรคริดซี่...ที่วัยรุ่นชอบเรียกกัน หรือ โรคริดสีดวงทวารนั่นเอง โรคนี้เป็นแล้วจะทรมารมาก...ดังนั้นอย่าเป็นกันดีกว่า ดูแลตัวเองให้ดี
อ่อ..แต่คนที่เป็นแล้ววันนี้เราก็มี สมุนไพรดีๆมาแนะนำ ค่ะ เพราะสมุนไพรที่จะนำเสนอนี้มีสรรพคุณรักษาโรคริดสีดวงจ้า เอ้า..จะช้าอยู่ใยไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
รู้จักกับ.. โรคริดสีดวง ..
โรคริดสีดวงทวารว่ากันตามการแพทย์แผนโบราณมี 5 ชนิดคือ
1.ผิวมะระ
2.เดือยไก่
3.เมล็ดข้าวโพด
4.กลีบมะไฟ
5.บานทะโรด
โรคริดสีดวง นั้น กล่าวคือเนื้องอกชนิดหนึ่ง ที่กล่าวมาแล้ว 5 ชนิดนั้นเกิดขึ้นที่ทวารหนัก นิยมเรียกว่า " โรคริดสีดวงทวาร " เนื้องอกชนิดนี้ อาศัยสารอาหารจากเลือดในการเจริญเติบโต ข้อสังเกตุอย่างง่ายคือถ้าอุจาระออกมาพร้อมกับเลือด แสดงให้เห็นว่าหัวริดสีดวงเกิดแตกเป็นแผล อาจเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อในทวารหนักได้ หากปล่อยไว้จะเกิดหัวอ่อนของริดสีดวงเพิ่มขึ้นอีก หากเกิดหัวอ่อนขึ้นเต็มทวารเราเรียกริดสีดวงชนิดนี้ว่า "บานทะโรด" คนสมัยโบราณเปรียบโรคนี้ดังกาฝากมนุษย์เพราะเหมือนกับกาฝากเกาะติดอยู่ตามต้นไม้นานวันเข้าต้นไม้กิ่งก้านสาขาที่กาฝากเกาะติดอยู่ ก็จะหดเหี่ยวแห้งตายผุพังไป เหมือนมนุษย์ที่กาฝากเกาะกินอยู่ ก็เช่นเดียวกันจะผอมซูบซีด ร่างกายทรุดโทรม หน้าตาไม่มีสีเลือดจะเป็นโรคโลหิตจางได้ ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา
อาการของโรคริดสีดวงทวารและระยะของโรคริดสีดวงทวาร
ริดสีดวงทวารที่เกิดภายในมักไม่มีหัวริดสีดวงทวารโผล่หรือโป่งพองออกมาให้เห็นได้ภายนอก แต่ว่าถ้าเป็นรุนแรงก็จะเห็นหัวริดสีดวงโผล่ออกมาได้ ระยะแรก ๆ ของริดสีดวงนั้น เมื่อถ่ายอุจจาระออกมาก็จะมีเลือดปนออกมาด้วยเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจจะเพียงมองเห็นบ้างพอสมควรเท่านั้น หรือเมื่อเอากระดาษชำระไปเช็ดก็จะเห็นมีเลือดติดออกมามากกว่าแต่ก่อน การมองเห็นเลือดออกมานี้ผู้ป่วยมักเกิดความหวาดกลัวมาก อย่างไรก็ตาม มีการแบ่งอาการของโรคริดสีดวงทวารเอาได้ เป็น 4 ระยะด้วยกันคือ
ระยะที่ 1 มีเส้นเลือดดำโป่งพองในทวารหนัก เวลาเบ่งถ่ายอุจจาระก็จะปรากฏว่ามีเลือดไหลออกมาด้วย ถ้าท้องผูกจะปรากฏว่ามีเลือดไหลออกมาด้วย ถ้าท้องผูกจะยิ่งปรากฏว่ามีเลือดออกมากยิ่งขึ้นเพราะ เกิดการเบ่งมากนั่นเอง
ระยะที่ 2 อาการเริ่มมีมากขึ้น หัวริดสีดวงทวารโตมากขึ้น เริ่มโผล่ออกมาพ้นทวารหนักแล้วพอควร เวลาเบ่งอุจจาระก็จะออกมาให้เห็นมากขึ้น แต่เวลาถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วก็จะหดกลับเข้าไปภายในทวารหนักได้เอง
ระยะที่ 3 เริ่มมีอาการุนแรงมากยิ่งขึ้นระยะเวลานี้ เวลาถ่ายอุจจาระหัวริดสีดวงทวารจะโผล่ออกมามากกว่าแต่ก่อนหรือเวลาจาม ไอ ยกสิ่งของหนักๆ ที่ความเกร็ง เบ่ง ในท้องเกิดขึ้นหัวริดสีดวงทวารจะออกมาข้างนอกทวารหนักที เดียว แล้วก็กลับเข้าที่เดิมไม่ได้เสียด้วยคราวนี้ จะต้องเอานิ้วมือดันๆ เข้าไปถึงจะเข้าไปเงียบสงบอยู่ภายในทวารหนักได้
ระยะที่ 4 คราวนี้หัวริดสีดวงจะกำเริบมาก โตมากขึ้นแล้ว มองเห็นได้จากภายนอกอย่างชัดเจน เกิดอาการบวม อักเสบ อาการแทรกซ้อนของริดสีดวงทวาร ริดสีดวงทวารนั้นเมื่อมาถึงระยะที่ 4 อาการก็รุนแรงมาก มีทั้งเลือดที่ออกมาเสมอ มิหนำซ้ำยังมีน้ำเหลือง เมือกลื่น และอุจจาระก็ยังตามออกมาอีกด้วย ทำให้เกิดความสกปรกและมีอาการเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา คิดดูว่าจะมีความสกปรกขนาดไหน เกิดอาการคันตามมาด้วย บางทีก็จะเกิดการเน่า อักเสบมากยิ่งขึ้นอีก การติดเชื้อโรคเป็นไปได้ง่าย และที่เห็นกันชัดๆ ก็ได้แก่ เมื่อเลือดออกมาไปเรื่อยๆ เช่นนี้อาการซีดก็จะเกิดมีขึ้นได้อย่างแน่นอน ผู้ป่วยจะเกิดโรคโลหิตจางขึ้นได้โดยง่าย ความอ่อนเพลียเกิดขึ้น น้ำหนักตัวลดลง เกิดอาการหน้ามืดเสมอ
ริดสีดวงทวารอาจจะไม่มีอันตรายอะไรมากนัก แต่ก็ปั่นทอนสุขภาพผู้ป่วยไปได้มาก จำเป็นจะต้องให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยโรค เยียวยารักษาให้ดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยจริงๆ อย่าลืมว่าการเป็นริดสีดวงทวารนั้น โอกาสการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่และทวารหนักจะเป็นไปได้โดยง่าย และในบางครั้งผู้ป่วยอาจจะเป็นริดสีดวงทวารไปพร้อมกับมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งทวารหนักไปด้วยก็มีเช่นเดียวกัน ได้กล่าวมาแล้วว่า เมื่อเราท้องผูกก็เกิดการเบ่งอุจจาระมากเวลาถ่ายอุจจาระในแต่ละครั้ง จนในที่สุดก็เป็นริดสีดวงทวารขึ้นมาได้ หรือเกิดเรื้อรังเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือทวาร ก็ได้เช่นเดียวกัน ริดสีดวงทวารนั้น ส่วนมากจะไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด เมื่อเกิดเป็นขึ้นก็จะมีอาการคันๆ และระคายเคืองที่ทวารว่าเท่านั้นเอง หากเกิดอาการปวด อักเสบมากขึ้นก็หมายความว่าเกิดอาการแทรกซ้อนของโรคขึ้นแล้ว จะต้องรีบให้แพทย์ตรวจรักษาโดยเร็ว หรือถ้าโชคดีอาการนี้อาจจะหายไปได้
การป้องกันและการดูแลตนเอง
1. ควรระวังอย่าให้ท้องผูกเรื้อรัง หรืออย่าเบ่งแรงๆ หรือนานๆเวลาถ่ายอุจจาระ ควรรับประทานน้ำ ผัก ผลไม้ให้มากๆเพื่อไม่ให้ท้องผูก
หรืออาจใช้ยาระบายช่วยเป็นครั้งคราว ถ้ามีอาการมากควรไปพบแพทย์ เพราะอาจต้องรักษาโดยการผ่าตัด
2. ป้องกันไม่ให้มีการอักเสบหรือติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยทำความสะอาดหลังอุจจาระด้วยสบู่และน้ำสะอาด การเช็ดแรงๆจะทำให้อักเสบและติดเชื้อโรคง่าย
3. ถ้าปวดมาก ให้กินยาแก้ปวดและนั่งแช่ในน้ำอุ่น ผสมด่างทับทิมนาน 15-30 นาที วันละ 2-3 ครั้ง
4. ถ้าเลือดออกบ่อยๆ ให้สังเกตว่าเยื่อบุตาและเนื้อใต้เล็บซีดกว่าคนทั่วไปหรือไม่ ถ้าซีดควรไปพบแพทย์
5. ถ้ามีเลือดออกนานเกิน 1 สัปดาห์ หรือผู้ป่วยเกิน 40 ปี ควรไปพบแพทย์เพราะอาจมีโรคอื่นๆร่วมด้วย
แหล่งที่มา : tay2014.allblogthai.com