หน้าที่ ท่อไต กรวยไต นิ่วในท่อไต อาการ การรักษานิ่วในท่อไต สาเหตุนิ่วในท่อไต


944 ผู้ชม


หน้าที่ ท่อไต กรวยไต นิ่วในท่อไต อาการ การรักษานิ่วในท่อไต สาเหตุนิ่วในท่อไต

 

 

ไตวายไม่ตายไว

ปัจจุบัน พบว่ามีคนป่วยเป็นโรคไต และโรคไตวายกันมากขึ้น ซึ่งยังไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใด จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2539 พบว่าโรคไตเป็นโรคอันดับที่ 12 มีผู้ป่วยถึง 20,693 คน 
สาเหตุของไตวายเรื้อรังที่สำคัญ ได้แก่ เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไตอักเสบบางชนิด, นิ่วในทางเดินปัสสาวะ และ ยาบางชนิด อาการที่สำคัญของโรคไตวายเรื้อรัง ได้แก่ ปัสสาวะออกน้อย, บวม, ซีด, เหนื่อยง่าย, เบื่ออาหาร, คันตามตัว เมื่อมีอาการมากขึ้น จะหอบเหนื่อยนอนราบไม่ได้ และคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งเป็นอาการที่ต้องทำการล้างไตอย่างรีบด่วน
การล้างไตทำได้ สองวิธี คือ การล้างไตโดยการฟอกเลือด และการล้างไตทางหน้าท้อง 
การล้างไตโดยการฟอกเลือด เป็นที่นิยมทำกันมากในปัจจุบัน เพราะทำได้สะดวก และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการล้างทางหน้าท้อง การล้างไตทั้ง 2วิธี มีข้อดี ข้อเสีย ต่าง ๆ กัน และเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน แต่ละโรคไม่เหมือนกัน
หน้าที่ ท่อไต กรวยไต นิ่วในท่อไต อาการ การรักษานิ่วในท่อไต สาเหตุนิ่วในท่อไต
การล้างไตโดยการฟอกเลือด
แพทย์ต้องเตรียมหลอดเลือดให้ผู้ป่วยก่อนกระทำ โดยการผ่าตัด แล้วนำหลอดเลือดแดงมาต่อเข้ากับหลอดเลือดดำ แรงดันเลือดในหลอดเลือดแดงซึ่งสูงกว่า จะทำให้หลอดเลือดดำค่อย ๆ ขยายตัวใหญ่ขึ้น จนสามารถใช้เข็มขนาดพิเศษ มาตอกับหลอดเลือดเพื่อนำเลือดไปเข้าเครื่องล้างไตได้ โดยใช้เวลาประมาณ 2 ถึง 3 เดือนจึงจะใช้ได้ ส่วนใหญ่ มักจะใช้หลอดเลือดที่แขนมากกว่า เพราะทำความสะอาดง่าย และสะดวกสำหรับเจ้าหน้าที่ ในการใช้แทงเข็มสำหรับฟอกเลือด
ในกรณีเร่งด่วน แพทย์จะใส่ลายพิเศษ เข้าในหลอดเลือดดำใหญ่โดยตรง ซึ่งจะอยู่บริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า หรือข้างคอ หรือใต้ขาหนีบ หลังจากได้หลอดเลือดตามต้องการแล้วการฟอกเลือด จะกระทำโดยใช้เข็มสำหรับฟอกเลือดแทงที่หลอดเลือดที่เตรียมไว้ ปล่อยเลือดไหลเข้าตัวกรอง ตัวกรองจะมีเยื่อบาง ๆ ที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เลือดไม่สามารถไหลผ่านได้ แต่ของเสียในเลือดและแร่-ธาตุต่างๆ จะสามารถไหลผ่านไปได้ น้ำยาล้างไตซึ่งมีแร่ธาตุแกมสารอาหารที่จำเป็นจะไหลผ่านตัวกรอง โดยไหลผ่านอีกด้านหนึ่งของเยื่อพิเศษนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนเอาของเสียออกจากเลือด ระยะเวลาในการฟอกเลือด จะประมาณ 4 ถึง 6 ชั่วโมง และทำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง จึงจะเอาของเสียออกจากเลือดได้อย่างเพียงพอ การฟอกเลือดน้อยกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง จะทำให้ของเสียคั่งค้างอยู่ในร่างกาย จนเป็นอันตรายได้
ข้อดีของการฟอกเลือด คือ 
ผู้ป่วยไม่ต้องมีสายยางติดกับตัวตลอดเวลาเหมือนการล้างทางหน้าท้อง, ไม่ต้องทำเอง คือเมื่อมาถึงสถานพยาบาล แค่นอนให้เจ้าหน้าที่ฟอกเลือดจนครบ 4ชั่วโมง ก็กลับบ้านได้, ค่าใช้จ่ายประมาณ 1,000 บาท ถึง 3,000 ต่อครั้ง หรือประมาณ 8,000 ถึง 24,000 บาทต่อเดือน ซึ่งถูกกว่าการล้างทางหน้าท้อง ซึ่งค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 ถึง 30,000 บาทต่อเดือน
ส่วนข้อเสีย คือ 
ต้องเสียเวลาเดินทางไปสถานพยาบาลเพื่อฟอกเลือด, ต้องควบคุมน้ำหนักและอาหารอย่างเข้มงวดว่าการล้างหน้าท้อง, และหลอดเลือดผู้ป่วยต้องดีพอ มิฉะนั้น จะไม่สามารถแทงเข็มเพื่อฟอกเลือดได้
การล้างไตทางหน้าท้อง
แพทย์ต้องผ่าตัด เพื่อฝังสายยางพิเศษ เข้าทางหน้าท้องบริเวณต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย สายยางนี้จะฝังติดตัวผู้ป่วยตลอดเวลา ผู้ป่วยสามารถทำการล้างไตเองที่บ้านได้ โดยต่อถุงน้ำยาล้างไตเข้ากับสายยางทางหน้าท้อง ปล่อยน้ำประมาณ 1,500 ถึง 2,000 ซีซี เข้าในช่องท้อง ทิ้งไว้ประมาณ 4 ถึง 6 ชั่วโมง เพื่อให้เนื้อเยื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนเอาของเสียออก เมื่อครบเวลา จึงปล่อยน้ำยาออกจากท้องแล้วต่อถุงน้ำยาใหม่ ทำเช่นนี้เรื่อย ๆ ไป
ข้อดีของการล้างไตทางหน้าท้อง คือ 
ของเสียและน้ำส่วนเกิน สามารถขับออกได้ตลอดเวลา ผู้ป่วยสามารถปรับได้เองตามความเหมาะสม ผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำ และอาหารได้มากกว่าการฟอกเลือดและ ผู้ป่วยสามารถทำที่บ้านหรือที่ทำงานได้เอง โดยไม่ต้องไปที่สถานพยาบาล
ข้อเสีย คือ 
มีสายโผล่ออกทางหน้าท้องตลอดเวลา ทำให้ติดเชื้อง่าย ต้องรักษาความสะอาดอย่างดี
การติดเชื้อบ่อยๆ จะทำให้ต้องถอดสายยางออกและกลับไปใช้วิธีฟอกเลือดแทน นอกจากนั้น ค่าใช้จ่ายในการล้างไตทางหน้าท้องยังสูงกว่าการฟอกเลือด
การเปลี่ยนไต 
ก่อนหน้านั้น ผู้ป่วยโรคไตวายชนิดเฉียบพลันหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี มักจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได 
แต่ปัจจุบัน การฟอกเลือดและการล้างไตทางหน้าท้องจะช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ 
ในรายที่ไตวายเรื้อรัง เมื่อรับการฟอกเลือดเป็นประจำ ก็สามารถที่จะดำรงชีวิต และทำงานได้เช่นปกติ 
นอกจากนั้น ยังมีวิธีผ่าตัดเปลี่ยนไต โดยการนำไตของผู้บริจาคใส่เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วยโรคไตวาย เพื่อให้ไตบริจาคนั้นทำหน้าที่แทนไตเก่าที่หยุดทำงานไปแล้ว
จะเห็นได้ว่า ด้วยวัฒนาการทางการแพทย์ปัจจุบันแม้ไตจะวายก็ไม่ทำให้ตายได้
การทำงานของเครื่องไตเทียม
เลือดจะถูกดึงออกจากร่างกายของผู้ป่วยโดย Blood pump(1) ด้วยความเร็ว 200-350 มิลลิลิตรต่อนาที
ผ่านเข้าไปยังตำแหน่ง (2) ซึ่งเป็นจุดที่ให้ยาป้องกันเลือดเป็นลิ่ม (Heparin) 
แล้วจึงผ่านไปยังตำแหน่ง (3) เพื่อดักเอาฟองอากาศออกก่อน 
แล้วจึงเข้าไปยังตัวกรอง (4) (dialyzer) ณ จุดนี้เองเลือดจะวิ่งจากตำแหน่ง (4) ไปตำแหน่ง (5) ในเส้นใยซึ่งมีรูเปิดอยู่รอบ ๆ 
ในขณะเดียวกัน น้ำยาฟอกเลือด (dialy sate fluid) จะวิ่งจาก (A) ไป (B)
เลือดและน้ำยาวิ่งสวนทางกันด้วยความเร็ว 200-350 มิลลิลิตรต่อนาที และ 500-800 มิลลิลิตรต่อนาทีตามลำดับ โดยมีเส้นใยเป็นตัวกั้นกลาง 
สารละลายจะเกิดการแลกเปลี่ยนกัน โดยที่ของเสียและน้ำส่วนเกินในกระแสโลหิตจะถูกชะล้างออกไปทางจุด (B) และเกลือแร่ที่มีความเข้มข้นที่พอเหมาะต่อร่างกายจะถูกดูดซึมเข้ากระแสโลหิต
เมื่อเลือดวิ่งผ่านจนถึงตำแหน่ง (5) นับได้ว่าเลือดนั้นเป็นเลือดที่สะอาดปราศจากของเสียแล้ว จะผ่านไปยังตำแหน่ง (6)เพื่อดักฟองอากาศ
เป็นตัว ป้องกัน ฟองอากาศ ใน กระแสโลหิต ก่อนถึง ตัวผู้ป่วย
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม HEMODIALYSIS
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เป็นการนำเลือดของผู้ป่วยออกจากร่างกาย ผ่านเข้าไปในตัวกรอง (Dialyzer หรือ Aritficial Kidney) เพื่อฟอกเลือดของผู้ป่วยให้สะอาด ด้วยความเร็วอย่างสม่ำเสมอ 200-350 ซีซี ต่อนาที 
ในตัวกรอง (Membrane) อยู่รวมกันและรอบ ๆ ของเส้นใยจะมีน้ำยาฟอกเลือด (dialysate Fluid) ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้สารละลายในกระแสโลหิตและน้ำยาฟอกเลือดวิ่งผ่านไปมาได้
การฟอกเลือด อาศัยหลักการที่ว่า สารละลายด้านใด มีความเข้มข้นสูงมากกว่าจะมีการดูดซึมผ่านรูเปิดของเส้นใย ไปยังด้านที่มีสารละลายที่เจือจางน้ำยกว่า เช่น 
ปริมาณของสารละลาย BUN ซึ่งเป็นของเสียที่เป็นพิษต่อร่างกาย ในกระแสโลหิตของผู้ป่วยโรคไตวายนั้น มีปริมาณเข้มข้นกว่าในน้ำยาฟอกเลือดซึ่งไม่มีสาร BUN เลย 
เมื่อเลือดวิ่งผ่านเส้นใย จะเกิดการซึมผ่านของสารละลาย BUN ไปยังด้านน้ำยาฟอกเลือด
พร้อมกันนี้ เครื่องไตเทียม ก็สามารถสร้างแรงดัน เพื่อดึงน้ำส่วนเกินในกระแสโลหิต ผ่านรูเปิดนี้ได้ด้วย 
เลือดที่ผ่านตัวกรอง จะกลายเป็นเลือดสะอาดและไหลคืนสู่ร่างกาย โดยเลือดที่ยังไม่ได้ฟอก จะไหลออกมาแทนที่ เป็นวงจรอย่างนี้ตลอดเวลา 
ผู้ป่วยจะใช้เวลาในการฟอกครั้งละ 3-5 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ต้องมีการใช้ยาป้องกันเลือดเป็นลิ่ม (Heparin) ด้วย เนื่องจากธรรมชาติของเลือดของคนเรา เมื่อไหลออกจากร่างกายแล้ว จะเป็นลิ่มภายใน 3-5 นาที
อย่างไรก็ตาม การให้ Heparin มากเกินความจำเป็น เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการฟอกเลือดแล้ว อาจทำให้เลือดหยุดไหลช้า 
ดังนั้น ผู้ป่วยจะต้องได้รับการทดสอบหาปริมาณของ Heparin ที่เหมาะสมเสียก่อน 
นอกจากนั้น แม้ว่าโดยหลักการแล้ว ยิ่งเลือดมีอัตราการไหลเร็วเท่าไร การนำของเสียออกจากกระแสโลหิต ก็ทำได้มากขึ้นเท่านั้น แต่การฟอกเลือดต้องใช้ความเร็วที่เหมาะสม คือ 200-350 ซีซี. เพราะร่างกายของคนเรา ไม่สามารถทนต่อการไหลของเลือด ในอัตราความเร็วสูง ๆ ได้
ตัวกรอง ที่ใช้ในการฟอกเลือดมีอยู่หลายชนิดแต่เส้นใยภายในของตัวกรองแต่ละชนิด มีคุณสมบัติคล้ายกัน โดยทั่วไป จะมีการเลือกใช้ตัวกรองสำหรับผู้ป่วยฟอกเลือดอยู่ 2กลุ่มด้วยกัน คือ
กลุ่มที่ 1 เป็นตัวกรองที่สามารถนำมาล้างทำความสะอาด แล้วนำกลับไปใช้ใหม่ได้ (Reuse) แต่ต้องไม่ใช้ปะปนกับผู้ป่วยอื่น
กลุ่มที่ 2 เป็นตัวกรองที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Disposable) สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะการติดเชื้อบางชนิด หรือไม่ต้องการใช้ของเก่า
การเตรียมตัว ก่อนเริ่มฟอกเลือด
เมื่อได้รับการชี้แจงจากแพทย์ว่า ผู้ป่วยต้องได้รับการฟอกเลือด เพื่อรักษาอาการซึ่งเกิดจากภาวะไตวาย สิ่งแรกที่ควรทำ คือ พยายามทำความเข้าใจหลักการ, วิธีการ, ผลดี, ผลเสีย, และอื่น ๆ ของการฟอกเลือดให้ดี เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม หากรู้สึกสับสน หรือไม่เข้าใจในประเด็นใดควรรีบติดต่อแพทย์ หรือพยาบาลที่เกี่ยวข้องทันที หลังจากนั้น ผู้ป่วยจะต้องเตรียมหลอดเลือด (Blood Access Preparation) ให้พร้อมต่อการฟอกเลือด การตัดสินใจในการเตรียมหลอดเลือด ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2ประการด้วยกัน คือ
1. กรณีที่ผู้ป่วยต้องได้รับการฟอกเลือดโดยเร่งด่วน
ผู้ป่วยที่มีอาการไตวาย หรือมีภาวะน้ำท่วมปอดอย่างรุนแรงต้องได้รับการฟอกเลือดอย่างฉุกเฉินแพทย์จะตัดสินใจเตรียมหลอดเลือด โดยการใช้เข็ม 2 ทาง (Double Lumen catheter) แทงเข้าไปที่หลอดเลือด บริเวณไหปลาร้า หรือบริเวณขาหนีบ เพื่อนำเลือดออกมาฟอกเป็นการชั่วคราว
หลังจากผู้ป่วยได้รับการฟอกเลือดจนร่างกายเข้าสู่ภาวะที่ปลอดภัยแล้วจึงค่อยดำนินการเตรียมหลอดเลือดถาวรต่อไปจุดสำคัญของการฟอกเลือดแบบเร่งด่วนก็คือการดูแลเข็ม2ทางนี้
ต้องระวังไม่ให้บริเวณรอยแทงเข็ม 2ทางเปียกน้ำ เพราะจะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนั้น การแทงเข็มเข้าที่ไหปลาร้า ต้องระวังไม่ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงทับไหล่ข้างที่แทงเข็ม เพราะเข็มอาจตีบ-ตัน และหักทะลุหลอดเลือดได้ 
ถ้าแทงเข็มที่ขาหนีบ ก็ต้องระวังอย่าลุกนั่งหรืองอขาหนีบข้างที่มีเข็ม เพื่อป้องกันเข็มหักและอาจตีบ-ตันเช่นกัน
2. การฟอกเลือดแบบไม่เร่งด่วน
ในกรณีที่ผู้ป่วยสามารถรอได้ คือ ภาวะของไตวายเรื้อรัง และกำลังเข้าสู่ภาวะสุดท้ายของโรค 
กรณีนี้ ผู้ป่วยมีเวลาในการเตรียมตัวมากกว่าในกรณีแรก แพทย์จะแนะนำให้รับการผ่าตัดเตรียมหลอดเลือดแต่เนิ่น ๆ 
เพราะหลังการผ่าตัดเตรียมหลอดเลือดแล้วยังต้องรอให้หลอดเลือดใหม่แข็งแรง ประมาณ 2-4 สัปดาห์ จึงจะเริ่มนัดหมายเพื่อฟอกเลือดได้
สาเหตุที่ต้องรอให้หลอดเลือดใหม่แข็งแรงก่อนเพราะหลอดเลือดดำโดยปกติของคนเรานั้นไม่แข็งแรง และไม่มีแรงดันมากพอ หรือไหลไม่สม่ำเสมอ ไม่เหมาะกับการนำมาใช้
หลอดเลือดใหม่ที่แข็งแรง สามารถนำเลือดมาฟอกด้วยความเร็ว 200-350 ซีซี ต่อนาที ซึ่งเป็นความเร็วที่เหมาะสม ทำให้การขับทิ้งของเสียผ่านตัวกรองได้ดี และไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยจนเกินไป
การเตรียมหลอดเลือด หมายถึง การเตรียมตัวทำการขยายหลอดเลือดให้มีขนาดโตขึ้น และไหลได้แรงขึ้น 
หน้าที่ ท่อไต กรวยไต นิ่วในท่อไต อาการ การรักษานิ่วในท่อไต สาเหตุนิ่วในท่อไต
วิธีการขยายหลอดเลือดในปัจจุบันที่เป็นที่นิยมมีอยู่ 2 วิธีด้วยกันคือ
1. การใช้หลอดเลือดเทียม (Cortex graft) 
ฝังเข้าไปในบริเวณที่ต้องการ ส่วนใหญ่จะใช้บริเวณหน้าแขน ข้างใดข้างหนึ่ง โดยปลายหลอดเลือดเทียมด้านหนึ่ง จะต่อเข้ากับหลอดเลือดแดง และอีกด้านหนึ่งจะตอกับหลอดเลือดดำ 
ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 1-2 ชั่วโมง
2. การตัดต่อหลอดเลือดจริงของผู้ป่วยเอง 
โดยนำหลอดเลือดแดง มาต่อกับหลอดเลือดดำเพื่อให้หลอดเลือดดำเส้นนั้น ขยายตัวขึ้นมาเอง ด้วยแรงของกระแสโลหิตแดง ซึ่งจะใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 1 ชั่วโมง
ทั้งสองวิธีนี้ ผู้ป่วยต้องใช้เวลา เพื่อให้หลอดเลือดแข็งแรง และมีความพร้อมจะใช้งานได้ ประมาณ 2-4 สัปดาห์
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหลอดเลือด จะเป็นผู้ช่วยตัดสินใจว่า ควรเลือกวิธีใด 
ส่วนใหญ่จะดูจากลักษณะหลอดเลือดเดิมของผู้ป่วยว่า แข็งแรงพอหรือมีประวัติโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหรือไม่
ขั้นตอนการฟอกเลือดด้วยไตเทียม
หลังจากหลอดเลือดที่ถูกเตรียมไว้ มีความแข็งแรงพอ และสามารถใช้งานได้แล้ว รวมทั้งถ้าผู้ป่วยเริ่มมีอาการคั่งของของเสียมากขึ้นในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะเป็นพิษในกระแสโลหิต (Uremia) ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องได้รับการฟอกเลือดโดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
หน่วยไตเทียมจะนัดหมายเวลาที่ผู้ป่วยสะดวก ซึ่ง จำนวนครั้งของการฟอกเลือด ในแต่ละสัปดาห์ แพทย์เจ้าของไข้ จะได้แจ้งให้กับผู้ป่วยทราบเป็นราย ๆ ไป
ขั้นตอนที่ 2
เมื่อถึงเวลานัดหมาย ผู้ป่วยต้องชั่งน้ำหนักเพื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักมาตรฐานประจำตัว (Dry weight) ซึ่งมีการแจ้งให้ผู้ป่วยทราบ หลังจากผู้ป่วยได้รับการฟอกเลือดระยะหนึ่ง 
น้ำหนักมาตรฐานประจำตัวนี้จะเป็นน้ำหนักที่มีการคิดคำนวณขึ้นมาโดยผู้ป่วยไม่รู้สึกว่าร่างกายแห้งเกินไป
เมื่อผู้ป่วยฟอกเลือดเสร็จแล้วอาจมีความดันโลหิตต่ำ มีอาการคลื่นไส้, อาเจียน, หูอื้อ, เป็นลม, อ่อนเพลีย ถ้าน้ำหนักมาก หรือบวมเกินไปผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูง มีอาการเหนื่อยง่าย, น้ำท่วมปอด
ขั้นตอนที่ 3
ผู้ป่วยจะได้รับการวัดชีพจร และความดันโลหิตก่อนเริ่มการฟอกเลือด ข้อมูลเหล่านี้ จะถูกนำมาเป็นแนวทางในการฟอกเลือดต่อไป 
นอกจากั้น อาการผิดปกติใด ๆ ที่ผู้ป่วยรู้สึกระหว่างที่อยู่บ้าน หรือที่ทำงาน ก็จะถูกนำมารวมวิเคราะห์ เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาต่อไปด้วย
ขั้นตอนที่ 4
ผู้ป่วยจะได้รับการลงเข็ม จำนวน 2 เข็ม บริเวณแขนข้างที่มีการเตรียมหลอดเลือดแล้ว ซึ่งจะรู้สึกเจ็บพอ ๆ กับการเจาะเลือดตรวจเท่านั้น 
อย่างไรก็ตาม ก่อนการลงเข็มผู้ป่วยจะได้รับการฉีดยาชาเฉพาะที่ เพื่อลดอาการเจ็บ ซึ่งอาจเกิดจากการลงเข็มด้วย
ขั้นตอนที่ 5
เข้าสู่การฟอกเลือด โดยผู้ป่วยจะได้รับการวัดความดันโลหิต ทุก 30 นาที เพื่อดูอาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ความดันโลหิตต่ำหรือสูงเกินไป ระหว่างนั้นจะอ่าน, เขียนหนังสือ, ดูทีวี, กินของว่าง, หรือพูดคุยกับผู้อื่น ได้โดยไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด ทุรนทุรายจากการฟอกเลือดเลย
ขั้นตอนที่ 6
เมื่อครบจำนวนชั่วโมงการฟอกเลือกตามแผนการรักษา ซึ่งอาจจะเป็น 3-5 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับภาวะอาหารคั่งค้างของของเสียของผู้ป่วยแต่ละคนแล้ว เจ้าหน้าที่พยาบาลจะใช้น้ำเกลือ NSS (Normal Saline Solution) ไล่เลือดออกจากตัวกรอง คืนให้กับผู้ป่วยจนหมด ดังนั้น หลังการฟอกเลือนแต่ละครั้ง ผู้ป่วยจะไม่มีการเสียเลือดเลยแม้แต่น้อย
ขั้นตอนที่ 7
หลังจากคืนเลือดให้กับผู้ป่วยเสร็จแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับการถอนเข็มออกจากหลอดเลือด กดปิดบริเวณรอยเข็ม เพื่อหยุดเลือดประมาณ 5-10 นาที ก็ลกจากเตียงได้
ขั้นตอนที่ 8
ก่อนกลับบ้านผู้ป่วยจะได้รับการชั่งน้ำหนักอีกครั้ง เพื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักก่อนฟอกเลือด ให้สมดุลกับน้ำหนักมาตรฐานประจำตัว และเป็นแนวทางในการควบคุมน้ำหนัก ก่อนเริ่มทำการฟอกเลือดครั้งต่อไป
ข้อควรปฏิบัติก่อนเริ่มทำการฟอกเลือด
1. การตรวจความดันโลหิตก่อนฟอกเลือด เนื่องจากผู้ป่วยโรคไตวายแทบทุกคน จะได้รับการดึงน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย พร้อมกับการฟอกเลือด ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำระหว่างทำการฟอกเลือด 
อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อยกเว้น กรณีแพทย์เจ้าของไข้สั่งให้กินยาลดความดันโลหิตก่อน ซึ่งขึ้นอยู่กับภาวะความดันโลหิตเดิม ของผู้ป่วยนั้น ๆ
2. แจ้งอาการผิดปกติในขณะผู้ป่วยอยู่ที่บ้านให้เจ้าหน้าที่พยาบาลไตเทียมทราบทุกครั้งก่อนเริ่มการฟอกเลือด 
อาการดังกล่าว ได้แก่ เป็นลมบ่อย ๆ หูอื้อ, ตาลาย, เหนื่อยง่าย, เป็นไข้, หรือมีอาการนอนราบแล้วเหนื่อย ฯลฯ
3. ผู้ป่วยที่มีประจำเดือน ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่พยาบาลทราบ ก่อนรับการฟอกเลือดทุกครั้ง เพื่อทางเจ้าหน้าที่จะได้ปรับปริมาณการใช้ Heparin กันเลือดเป็นลิ่มให้เหมาะสม
4. ผู้ป่วยที่มีนัดทำฟันกับทันตแพทย์ ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่พยาบาลทราบก่อนกำหนดนัด 
เพื่อลดปริมาณการใช้ Heparin ลงก่อนถึงเวลานัดทำฟันแต่ละครั้ง โดยเฉพาะในกรณีที่มีนัดถอนฟัน เนื่องจาก Heparin จะมีผลทำให้เลือดจากแผนถอนฟันไหลไม่หยุดได้
5. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีนัดเจาะเลือดตรวจหาน้ำตาล ต้องงดอาหารก่อนมาฟอกเลือด
การดูแลหลอดเลือดใหม่หลังการผ่าตัดจุดสำคัญของการเตรียมหลอดเลือดเพื่อฟอกเลือด คือการดูแลหลอดเลือดใหม่ภายหลังผ่าตัด ดังนี้
1. ดูแลความสะอาดแผ่นผ่าตัดทุกวัน
หลังจากผ่าตัดไปประมาณ 1-2 สัปดาห์แพทย์จะนัดตัดไหม และดูความแข็งแรงของหลอดเลือดใหม่
2. หลังจากผ่าตัดได้ 3-4 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการปวดแผลผ่าตัดแล้ว ควรออกกำลังกายเพื่อให้หลอดเลือดแข็งตัว และขยายตัวได้เร็ว
ซึ่งเจ้าหน้าที่พยาบาลไตเทียม จะเป็นผู้แนะนำให้ คือ บีบและคลายฟองน้ำขนาดพอเหมาะมือบ่อยๆ สลับกับ การพับและเหยียดข้อศอกแขนที่ได้รับการผ่าตัด
3. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโดยใช้หลอดเลือดเทียม อาจเกิดการบวมของแขน ข้างที่รับการผ่าได้ วิธีแก้ไข คือ
- ใช้ ผ้าพันแผลแบบยืดหยุ่น (Elastic bandage) พันตั้งแต่ข้อมือจนถึงข้อศอก ให้รู้สึกกระชับพอดี ไม่แน่นจนเกินไป แล้วหมั่นคลายออกและพันใหม่ ทุก 4-6 ชั่วโมง
- เวลานอน ให้ใช้รองแขนที่ผ่าตัด ให้สูงกว่าระดับตัวของผู้ป่วยเอง เพื่อให้เกิดการไหลเวียนกลับของกระแสโลหิตดำได้ดี
4. ห้ามวัดความดันโลหิตข้างที่รับการผ่าตัด เพราะจะทำให้ขวางกั้นการไหลของกระแสโลหิตในหลอดเลือดใหญ่ จนอาจทำให้เกิดการอุดตันในภายหลังได้
5. ห้ามเจาะเลือด หรือให้น้ำเกลือที่หลอดเลือดใหม่ หรือบริเวณใกล้เคียง 
เพราะจะทำให้เกิดรอยเข็ม ทำให้เลือดหยุดไหลยาก เนื่องจากหลอดเลือดใหม่ มีแรงดันเลือดสูงกว่าลอดเลือดปกติ
6. พยายามหลีกเลี่ยงการสวมนาฬิกาข้อมือบนแขนข้างที่รับการผ่าตัด
เพราะน้ำหนักของนาฬิกา อาจกดตำแหน่งที่มีการตัดต่อหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลไม่สะดวกและอาจเกิดการอุดตันได้ในภายหลัง
7. คอยสังเกตการไหลของกระแสโลหิต 
โดยการใช้หูแนบฟังบริเวณรอยผ่าตัด ซึ่งจะมีเสียงคล้ายการไหลของน้ำประปาในท่อน้ำเล็ก ๆ เพื่อตรวจเช็คว่า มีการไหลของเลือดหรือไม่อย่างไร เมื่อใดที่รู้สึกว่า เสียงเงียบไปให้รีบติดต่อแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทันที 

แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด