เครื่องเขย่าเลือด สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆ โครงงานฟิสิกส์ประเภทสิ่งประดิษฐ์


2,079 ผู้ชม


เครื่องเขย่าเลือด สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆ โครงงานฟิสิกส์ประเภทสิ่งประดิษฐ์

 

เครื่องเขย่าเลือดอัตโนมัติ ผลงานจากเด็กมทร.ศรีวิชัย

       นายณรงค์ อภยานุกูล และ นายวินัย สุขแก้ว นักศึกษาคณะวิศวกรรม ศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย ที่มีแนวคิดสร้างเครื่องเขย่าเลือดพร้อมชั่งน้ำหนักอัตโนมัติ 
เพื่อช่วยหน่วยงานและบุคลากรที่รับบริจาคเลือดซึ่งต้องคอยตรวจน้ำหนักของโลหิตที่แสดงบนเครื่องชั่งน้ำหนัก
และเขย่าถุงโลหิต เพื่อไม่ให้โลหิตแข็งตัว ทั้งยังต้องคอยตรวจผู้บริจาคโลหิตว่าเกิดการผิดปกติในการบริจาคโลหิต
หรือไม่ ซึ่งปัจจุบันมีการนำเครื่องจากต่างประเทศเข้ามาช่วยในการทำงาน แต่ตัวเครื่องมีราคาค่อนข้างสูงมาก
จากการนำมาทดลองใช้กับผู้ที่มาบริจาค ที่หน่วย คลังเลือด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่ามีประสิทธิภาพ
การทำงานและคุณสมบัติเหมือนกับเครื่องที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

       ที่มา  ข่าวสดรายวัน  วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7334

ประเด็นศึกษา ระบบหมุนเวียนเลือด
รายวิชาวิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
       ระบบหมุนเวียนเลือด มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนเเละอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆของร่างกาย  ประกอบด้วยอวัยวะ
ที่สำคัญ คือ หัวใจ  ปอด  หลอดเลือด  และเลือด
       เลือด เป็นของเหลว ประกอบด้วยน้ำเลือด เกล็ดเลือด เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว ร่างกายเรามีเลือด
อยู่ประมาณ 5  ลิตรหรือคิดเทียบกับน้ำหนักตัวเท่ากับร้อยละ 7-8 ของน้ำหนักตัว 
ส่วนประกอบของระบบหมุนเวียนเลือด
        ภายในหลอดเลือดประกอบไปด้วยเลือด ในร่างกายคนเรามีเลือดอยู่ประมาณ 9-10 ของน้ำหนักตัว เลือดมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ 
       ส่วนประกอบที่เป็นของเหลว เรียกว่า น้ำเลือด หรือ พลาสมา (Plasma) จะมีอยู่  55 %  ของเลือดทั้งหมด
มีสภาวะเป็นเบส  ค่า  pH 7.4  ประกอบด้วย น้ำ 91% สารอื่นๆ เช่น โปรตีน 7%   วิตามิน เกลือแร่ เอ็นไซม์ 
ฮอร์โมน แก๊ส 2%
         น้ำเลือดทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหาร เอมไซด์ ฮอร์โมน และแก๊สไปเลี้ยงเชลล์ต่างๆ ของร่างกาย และลำเลียงของเสียต่างๆ มาที่ปอด เพื่อขับออกจากร่างกาย 
         ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ เชลล์เม็ดเลือด (Corpuscle) และ เกล็ดเลือด (Platelet) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณทั้งหมด  เซลล์เม็ดเลือดประกอบด้วย
         เซลล์เม็ดเลือดแดง  มีลักษณะค่อนข้างกลม  ตรงกลางจะเว้าเข้าหากัน  ไม่มีนิวเคลียส  มีอายุประมาณ  120วัน   ถูกสร้างมาจากไขกระดูก   
                                      เครื่องเขย่าเลือด สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆ โครงงานฟิสิกส์ประเภทสิ่งประดิษฐ์
 
  
                              ภาพจาก  https://www.google.co.th/imglanding

         เซลล์เม็ดเลือดขาว   มีลักษณะค่อนข้างกลม  ไม่มีสี  และมีนิวเคลียส  มีอายุประมาณ 7-14  วัน 
โตกว่าเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรค หรือสารแปลกปลอมที่เข้ามาสู่ร่างกาย  แหล่งสร้าง  
คือ ม้าม  ไขกระดูก และต่อมน้ำเหลือง  ร่างกายคนมีเม็ดเลือดขาว 5000-10000เซลล์/เลือด 1  ml 
 
                                เครื่องเขย่าเลือด สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆ โครงงานฟิสิกส์ประเภทสิ่งประดิษฐ์
                            ภาพจาก  https://www.google.co.th/imglanding

      เกล็ดเลือดหรือแผ่นเลือด
        เกล็ดเลือด ไม่ใช่เชลล์ แต่เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ รูปร่างกลมรีและแบน ไม่มีนิวเคลียส มีอายุประมาณ 4 วัน 
ถูกสร้างมาจากไขกระดูก มีปริมาณประมาณ 150,000-300,000 ชิ้น/เลือด  1 cm3 ทำหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว
เมื่อมีการไหลของเลือดจากหลอดเลือดออกสู่ภายนอก
                                  เครื่องเขย่าเลือด สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆ โครงงานฟิสิกส์ประเภทสิ่งประดิษฐ์

                              ภาพจาก  https://www.google.co.th/imglanding

 

 


แหล่งที่มา : sahavicha.com

อัพเดทล่าสุด