อาเซียนประเทศอินโดนีเซีย ข้อมูลอาเซียนประเทศกัมพูชา การแต่งกายอาเซียนประเทศมาเลเซีย


857 ผู้ชม


อาเซียนประเทศอินโดนีเซีย ข้อมูลอาเซียนประเทศกัมพูชา การแต่งกายอาเซียนประเทศมาเลเซีย

 

 

 

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
Republic of Indonesia


ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันออกติดกับติมอร์-เลสเต และปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดกับทะเลติมอร์
พื้นที่ พื้นที่ทางบก 1,904,443 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร (รวมพื้นที่ทั้งหมด 5,070,606 ตารางกิโลเมตร)

เมืองหลวง กรุงจาการ์ตา
ประชากร 243 ล้านคน (2553)
ภาษาราชการ ภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)
ศาสนา อิสลามร้อยละ 85.2 คริสต์นิกายโปรแตสแตนร้อยละ 8.9 คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ 3 ฮินดูร้อยละ 1.8 พุทธร้อยละ 0.8 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.3
การเมืองการปกครอง

ประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ ดร. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน
ผู้นำรัฐบาล (Dr. Susilo Bambang Yudhoyono) ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552 (สมัยที่ 2)
รัฐมนตรีต่างประเทศ ดร. อาร์ เอ็ม มาร์ตี้ มูเลียนา นาตาเลกาวา
(Dr. R. M. Marty Muliana Natalegawa) ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2552
ระบอบการปกครอง ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร (ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2552
เขตการปกครอง 30 จังหวัด และเขตการปกครองพิเศษ 3 เขต ได้แก่ กรุงจาการ์ตา เมืองยอกยาการ์ตา และจังหวัดอาเจห์
วันชาติ 17 สิงหาคม
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 7 มีนาคม 2493

เศรษฐกิจการค้า

หน่วยเงินตรา รูเปียห์ (10,000 รูเปียห์ ประมาณ 36 บาท)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 706.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว 4,222 ดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.1
สินค้านำเข้าสำคัญ น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ
เคมีภัณฑ์
สินค้าส่งออกสำคัญ ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากไม้
สิ่งทอ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
1.ภาพรวมความสัมพันธ์ทั่วไป
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์กับอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2493 โดยจะฉลองครบรอบ 60 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2553
2.ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
อินโดนีเซียเป็นพันธมิตรที่สำคัญของไทยทั้งในกรอบอาเซียนและในเวทีระหว่างประเทศอื่น ๆ และการที่อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก ท่าทีของอินโดนีเซียเกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) ย่อมมีผลต่อท่าทีของประเทศมุสลิมโดยเฉพาะในกรอบ OIC ซึ่งที่ผ่านมา อินโดนีเซียให้ความร่วมมือที่ดี นอกจากนี้ มีความร่วมมือในการส่งเสริมด้านการศึกษาและมุสลิมสายกลาง (ระหว่างศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และ Nadhalatul Ulama (NU) และ Muhammadiyah) ในรูปทุนการศึกษาจำนวนประมาณ 200 ทุน แก่นักศึกษาไทย จชต. ในสาขาต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ด้านศาสนา
3.ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
3.1 การค้า
อินโดนีเซียเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทยในอาเซียน (รองจากมาเลเซียและสิงคโปร์) และเป็นคู่ค้าอันดับที่ 9 ของไทยในโลก ในปี 2552 มูลค่าการค้ารวม 8,468 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 27.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 867 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกของไทย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำตาลทราย เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง เครื่องยนต์สันดาบภายในแบบลูกสูบ สินค้านำเข้าจากอินโดนีเซีย ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมันดิบ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกล และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์
3.2การลงทุน
มูลค่าการลงทุนของไทยในอินโดนีเซียตั้งแต่ปี 2519 - ปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จัดอยู่ในอันดับที่ 10 ของประเทศ ที่เข้าไปลงทุนในอินโดนีเซีย ไทยมีมูลค่าการลงทุนในอินโดนีเซียรวม 328.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2551 - กุมภาพันธ์ 2552) ทั้งนี้ การลงทุนของไทยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมประมง การเลี้ยงไก่ การเพาะเลี้ยงกุ้ง อาหารสัตว์ ผลิตยิปซั่ม กระเบื้อง มุงหลังคา/ปูพื้น ปิโตรเคมี เหมืองแร่ และถ่านหิน โดยบริษัทไทยขนาดใหญ่ที่เข้าไปลงทุน อาทิ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เหมืองบ้านปู เครือซิเมนต์ไทย ธนาคารกรุงเทพฯ ลานนาลิกไนต์ และ ปตท. ส่วนอินโดนีเซียมีมูลค่าการลงทุนในไทยในปี 2551 รวม 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
3.3การท่องเที่ยว
ในช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม 2552 มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาไทย 187,412 คน ขณะที่นักท่องเที่ยวจากไทยไปอินโดนีเซีย 28,814 คน (2550)
3.4ประมง
อินโดนีเซียเป็นแหล่งประมงสำคัญของไทย แต่การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบด้านการประมงและนโยบายปกป้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ทำให้ทางการอินโดนีเซียเพิ่มความเข้มงวดในการปราบปรามเรือประมงต่างชาติผิดกฎหมาย และปรับปรุงกฎระเบียบประมงล่าสุด เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2552 กลไกสำคัญสำหรับความร่วมมือด้านประมงไทย-อินโดนีเซีย ได้แก่ คณะอนุกรรมการว่าด้วยความร่วมมือทางการประมงไทย-อินโดนีเซีย (JC Sub-Committee on Fisheries Cooperation) ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 7 ในปี 2553 และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อหารือทางเทคนิคด้านประมงระหว่างไทย - อินโดนีเซีย (Senior Technical Consultation Meeting) ซึ่งอินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพการประชุม ครั้งที่ 2 ในปี 2553 นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา ได้จัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมายของไทยในอินโดนีเซีย เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองกรณีเรือประมง และลูกเรือประมงของไทยถูกจับกุม และเป็นการส่งเสริมการทำการประมงอย่างถูกกฎหมายของอินโดนีเซีย ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทยได้ตั้ง Task Force on Fisheries เพื่อเป็นหน่วยงานรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการทำประมงของไทยในอินโดนีเซีย การแก้ไขปัญหาประมงของภาคเอกชนไทยในอินโดนีเซีย และรับรองเอกสาร (endorse) การแปลงสัญชาติเรือประมงไทยเป็นเรือประมงอินโดนีเซีย โดยการประสานงานกับกรมเจ้าท่า
3.5 พลังงาน
อินโดนีเซียมีทรัพยากรปิโตรเลียมอุดมสมบูรณ์ กระทรวงพลังงานไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยเฉพาะความร่วมมือด้านน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน โดยมีการประชุม Energy Forum เป็นกลไกความร่วมมือที่สำคัญ ซึ่งมีการประชุม ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 11 - 12 กรกฎาคม 2551 ทั้งนี้ อินโดนีเซียเสนอที่จะจัดการประชุมครั้งที่ 2 ในช่วงกลางปี 2553
4. ความสัมพันธ์ด้านต่างประเทศ
4.1 การเยือนที่สำคัญ
การเยือนระดับสูงที่สำคัญในปี 2552 คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายกษิต ภิรมย์) เมื่อวันที่ 10 - 11 กุมภาพันธ์ การเยือนของนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เมื่อวันที่ 20 - 21 กุมภาพันธ์ 2552 นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นผู้แทนพิเศษเข้าร่วมพิธีสาบานตน เข้ารับตำแหน่งใหม่ของประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 19 - 20 ตุลาคม 2552 สำหรับฝ่ายอินโดนีเซีย ประธานาธิบดีมาเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่หัวหิน ชะอำ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2552 และการประชุมสุดยอดกับคู่เจรจา (+3 และ +6) พัทยา และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 ที่หัวหิน เมื่อวันที่ 23 - 25 ตุลาคม 2552 รวมทั้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียเยือนไทย เพื่อแนะนำตัวในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ เมื่อวันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน 2552
4.2การประชุมที่สำคัญ
มีกลไกความร่วมมือ 2 กรอบ ได้แก่ การประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (JC) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานร่วม ซึ่งอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพการประชุม ครั้งที่ 7 ในปี 2553 และการประชุมคณะกรรมการระดับสูง (High Level Committee-HLC) โดยมี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม ซึ่งอินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพการประชุม ครั้งที่ 4 ในปี 2553

ความตกลงระหว่างไทย-อินโดนีเซีย
1.สนธิสัญญาทางไมตรี ลงนามเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2497
2.ความตกลงว่าด้วยการแบ่งเขตไหล่ทวีปในตอนเหนือของช่องแคบมะละกาและในทะเลอันดามัน ลงนามเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2514
3.สนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ลงนามเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2519
4.ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน ลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2524
5.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านป่าไม้ ลงนามเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2527
6.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านถ่านหิน ลงนามเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2533
7.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ การวิจัย และเทคโนโลยี ลงนามเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2533
8.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ลงนามเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2535
9.ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ลงนามเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2541
10.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ลงนามเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2546
11.ความตกลงด้านวัฒนธรรม ลงนามเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2545
12.ความตกลงว่าด้วยการบริการทางอากาศ ลงนามเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2510 และปรับปรุงแก้ไขปี 2547
13.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการลงทุน ลงนามเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2547
14.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการ เกษตร ลงนามเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2548

4.เรื่องอื่น ๆ
ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม มีกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรมและสม่ำเสมอ อาทิ การอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน ไปถอดถวายยังวัดไทยในอินโดนีเซีย การจัดงาน Wonderful Thailand ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา การดำเนินโครงการ 100 ปี อังกะลุงสยาม: สานสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซีย การสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องระหว่างกัน รวมทั้ง กิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับอินโดนีเซียในปี 2553
นอกจากนี้ ไทยได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมในกรณีที่อินโดนีเซียประสบภัยพิบัติในหลายโอกาส ล่าสุด เมื่อวันที่ 30 กันยายน และ 1 ตุลาคม 2552 กรณีเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือในรูปยาและเวชภัณฑ์ มูลค่า 5 ล้านบาท และกองทัพไทยและภาคเอกชนบริจาคสิ่งของบรรเทาทุกข์มูลค่า 600,000 บาท รวม 560,000 บาท (ประมาณ 170,000 ดอลลาร์สหรัฐ)
ในส่วนของความร่วมมือด้านวิชาการ ไทยส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในจังหวัดอาเจห์ โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงดำเนินโครงการ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ โดยสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) ให้การสนับสนุนงบประมาณ นอกจากนี้ อินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านวิชาการไทย-อินโดนีเซีย ครั้งที่ 3 ในปี 2553


แหล่งที่มา : sites.google.com

อัพเดทล่าสุด