วันศิลปินแห่งชาติ ประวัติวันศิลปินแห่งชาติ ความหมายของวันศิลปินแห่งชาติ ความเป็นมาวันศิลปินแห่งชาติ


1,327 ผู้ชม


วันศิลปินแห่งชาติ ประวัติวันศิลปินแห่งชาติ ความหมายของวันศิลปินแห่งชาติ ความเป็นมาวันศิลปินแห่งชาติ

วันศิลปินแห่งชาติ

  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัสในโอกาสที่คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ นำศิลปินเข้าเฝ้าฯเพื่อรับพระราชทานเข็มเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติครั้งหนึ่ง ว่า

"ผลงานของศิลปินแห่งชาติเป็นมรดกศิลปะอันล้ำค่าของชาติ เป็นเครื่องหมายแสดงอารยธรรมอันสูงส่งของชาติไทย ควรแก่ความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ ผลงานของท่านเหล่านี้นับวันจะสูญหายไปด้วยสาเหตุต่างๆ จึงจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องศึกษาผลงานของทุกท่านเหล่านี้ แล้วจัดทำเนียบขึ้นบัญชีอย่างเป็นระบบ"

ปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

           วันศิลปินแห่งชาติ คือวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติคุณ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากวันนี้เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ พระผู้เป็นปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งได้รับการยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาวรรณกรรม พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา  ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ด้านประติมากรรม ด้านวรรณกรรม ด้านนาฏศิลป์ ด้านดุริยางคศิลป์ รวมทั้งด้านประณีตศิลป์ อีกทั้งตลอดรัชสมัยของพระองค์ยังทรงส่งเสริมผู้สร้างศิลปะแขนงต่างๆในรัชสมัยของพระองค์มีกวีที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก จนกล่าวกันว่าเป็นยุคทองของวรรณคดี อีกทั้งพระองค์ก็ยังทรงพระปรีชา ทรงพระราชนิพนธ์บทกลอน บทละครในละครนอกอันเป็นทีรู้จักจนถึงปัจจุบันนี้ ทางด้านประติมากรรม พระองค์ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามด้วยพระองค์เอง พระปรีชาสามารถทางดนตรีก็เป็นที่ประจักษ์ด้วยทั่วกันจากเพลงพระราชนิพนธ์ เพลงบุหลันลอยเลื่อน หรือ บุหลัน(เลื่อน)ลอยฟ้า ที่ต่อมาเรียกว่า เพลงทรงพระสุบินนั้นเอง นับว่าพระองค์ทรงเป็นผู้รอบรู้และเชี่ยวชาญในเรื่องศิลปะอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งนัก

           คำว่าว่าศิลปิน นั้นหมายถึง นายช่าง ผู้มีศิลปะ อย่างนั้นแล้วศิลปินแห่งชาติ จึงหมายถึง ผู้มีผลงานศิลปะเป็นที่ยกย่องระดับชาติผู้เป็น"ศิลปินแห่งชาติ"จึงเป็นผู้สืบสานศิลปะจากบรรพบุรุษในอดีตถ่ายทอดมาสู่ปัจจุบัน และให้รุ่งโรจน์ต่อสืบต่อไปในภายหน้า

           โครงการ"วันศิลปินแห่งชาติ"ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๗ โดยนายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของชาติจัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ คัดสรร ส่งเสริมสนับสนุน และช่วยอุปถัมภ์ช่วยเหลือศิลปินผู้อุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะล้ำค่า จนเป็นมรดกอันทรงคุณค่าของแผ่นดินให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี 

           การยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศิลปินแห่งชาติเข้ารับพระราชทางเข็ม เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและวงศ์ตระกูล

           และเมื่อวันที่  ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙ จากการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อนถวายพระราชสมัญญา "อัครศิลปิน" แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบัน ด้วยเห็นพ้องต้องกันว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นเลิศในศิลปะหลายสาขา เป็นต้นว่าด้านดุริยางคศิลป์ ทรงเป็นเอกในทางดนตรีพระองค์หนึ่ง พระองค์ทรงดนตรีได้หลายชนิด และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไว้จำนวนมาก ด้านทัศนศิลป์ ทรงชำนาญในด้านการถ่ายภาพอย่างหาที่เปรียบมิได้
     
การจัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติ ได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการ ไว้ ๕ ข้อ ดังนี้

๑. จัดทำทำเนียบศิลปินทุกแขนงทั่วประเทศ 
๒.สรรหาศิลปินเพื่อประกาศยกย่องเกียรติคุณขึ้นเป็นศิลปินแห่งชาติ 
๓. จัดตั้งกองทุน (มูลนิธิ) สวัสดิการเพื่อศิลปิน 
๔. สนับสนุนให้ศิลปินได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงาน 
๕. อนุรักษ์และส่งเสริมให้มีการสืบทอดความรู้ ความสามารถของศิลปิน

การกำหนดรางวัลรวมถึงคุณสมบัติต่างๆ ของศิลปินแห่งชาติ
 

           จัดทำขอบข่ายและความหมายของสาขาศิลปะของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกด้วยการจำแนกสาขาศิลปะตามแนวทางของคณะกรรมการวัฒนธรรมของอาเซียน (ASEAN COCI) แล้วนำหลักการสากลการแบ่งสาขาศิลปะให้เหมาะสมกับประเทศไทยเป็นสาขาใหญ่ๆ ๓ สาขา คือ

๑. สาขาทัศนศิลป์ เป็นคำที่ใช้เทียบคำ Visual Art ซึ่งหมายถึง ศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา จะเป็นศิลปะสองมิติหรือสามมิติก็ได้ ซึ่งได้แก่ผลงานศิลปกรรมประเภทต่างๆ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น แบ่งออกเป็น 
• จิตรกรรม หมายถึง ภาพเขียนสีและภาพลายเส้น 
• ประติมากรรม หมายถึง งานปั้นและแกะสลัก 
• ภาพพิมพ์ หมายถึง ศิลปะการพิมพ์ด้วยกรรมวิธีต่างๆ เช่น การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้ โลหะ ฯลฯ 
• ภาพถ่าย หมายถึง ผลงานศิลปะภาพถ่ายที่เสนอด้วยสื่อและกรรมวิธีต่างๆ 
• สื่อประสม หมายถึง ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยกรรมวิธีและเทคนิคต่างๆอย่างอิสระ 
  
ขอบข่ายการสรรหาศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (Visual Art) ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ภาพวาด การออกแบบ สื่อประสม และสถาปัตยกรรม

           สถาปัตยกรรม (Architecture) หมายถึง งานออกแบบ หรืองานออกแบบและงานก่อสร้างอาคารสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะ และมีวิทยาการ ซึ่งแสดงภูมิปัญญาของผู้ออกแบบอย่างโดดเด่น ได้แก่ สถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

๒. สาขาวรรณศิลป์
 เป็นคำที่ใช้เทียบคำ Literature ซึ่งหมายถึง บทประพันธ์ที่ปลุกมโนคติ(Imagination) ของผู้อ่าน ทำให้เกิดจินตนาการความเพลิดเพลิน และเกิดอารมณ์ต่างๆ ตามเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์ ทำให้ผู้อ่านเกิดความสะเทือนอารมณ์ เป็นวรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีได้แก่ กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย บันเทิงคดี สำหรับเด็กและเยาวชน 

ขอบข่ายการสรรหาศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์(Literature) ได้แก่ กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย และบท

๓. สาขาศิลปะการแสดง เป็นคำที่ใช้เทียบคำ Performing Art หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ทั้งแบบดั้งเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่เป็นได้ทั้งวิจิตรศิลป์ (Fine Arts) ประยุกต์ศิลป์ (Applied Art) ได้แก่
• การละคร ประกอบด้วย ละครรำ เช่น โนห์รา ชาตรี ฯลฯ ละครร้อง โขน ลิเก ระบำ (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) รำ (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) ฟ้อน (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) เซิ้ง (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) หุ่น เช่น หุ่นละครเล็ก หุ่นกระบอก หนังใหญ่ หนังตะลุง การเขียนบทร้องหรือบทละครรำ (เพื่อการแสดง) 
• การดนตรี แบ่งออกเป็นดนตรีไทย และดนตรีสากล 
o นักดนตรี ต้องเป็นนักดนตรีเด่นเฉพาะเครื่องมือ 
o นักร้อง ต้องมีความสามารถทั้งร้องส่งและร้องรับในการแสดงต่างๆ และสามารถแหล่ทำนองต่างๆ ได้ (แหล่เฉพาะแบบดั้งเดิม) 
o นักประพันธ์เพลง ต้องประพันธ์ ทั้งทางร้องและทางดนตรี 
o ผู้อำนวยเพลง ต้องเป็นผู้อำนวยเพลงดีเด่น 
o ผู้ผลิตเครื่องดนตรี 
• การแสดงพื้นบ้าน ประกอบด้วย หมอลำ ซอ ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงบอก สวดคฤหัสถ์ ฯลฯ
ขอบข่ายการสรรหาศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (Performing Art) ได้แก่ การแสดง ดนตรี และการแสดงพื้นบ้าน

สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกศิลปินแห่งชาติประกอบด้วย ๓ หลักเกณฑ์ใหญ่  ดังนี้

๑. คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ  มี ๗ ประการ  ได้แก่ 
           ๑. ๑. เป็นผู้มีสัญชาติไทยและยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน
           ๑. ๒. เป็นผู้ที่มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญและมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปินแขนงนั้น
           ๑. ๓. เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน
           ๑. ๔. เป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น
           ๑. ๕. เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน
           ๑. ๖. เป็นผู้มีคุณธรรมและมีความรักในวิชาชีพของตน
           ๑. ๗. เป็นผู้มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ

๒. คุณค่ามาตรฐานผลงานศิลปะของศิลปินแห่งชาติ  เช่น  ผลงานต้องสื่อให้เห็นถึงคุณค่าในความดี ความงาม  คุณค่าทางอารมณ์  สะท้อนความเป็นธรรมชาติ  หรือสถานภาพทางสังคมและวัฒนธรรมแห่งยุคสมัย  ค่านิยม จริยธรรม อัตลักษณ์อันหลากหลายของท้องถิ่นและของชาติ

๓. การเผยแพร่และยอมรับคุณค่าผลงานของศิลปินแห่งชาติ  ประกอบด้วย ผลงานได้รับการจัดแสดงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง  มีหลักฐานอ้างอิง โดยเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิด พัฒนาการทางงานศิลปะอย่างเด่นชัด  /ผลงานได้รับรางวัลหรือเกียรติคุณระดับท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ  ซึ่งมีกระบวนการพิจารณาเป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ   
เงินเดือนและสวัสดิการศิลปินแห่งชาติ 

กลุ่มที่ 1 ศิลปินแห่งชาติ
           1.ค่าครองชีพรายเดือนสำหรับศิลปินแห่งชาติทุกคนๆ ละ 6,000 บาทต่อเดือน
           2.ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัว ตามระเบียบราชการ
           3.ช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติภัยและสาธารณภัยเท่าที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 5,000 บาท
           4.ช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิต คนละ 12,000 บาท 

กลุ่มที่ 2 ศิลปินพื้นบ้านดีเด่นและผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม
           1.ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัว ตามระเบียบราชการ
           2.ช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติภัยและสาธารณภัย เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 3,000 บาทต่อครั้ง
           3.ช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิต คนละ 7,000 บาท 

กลุ่มที่ 3 ศิลปินอื่นที่นอกจากกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2
การช่วยเหลือให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะอนุกรรมการดำเนินงานกองทุนศิลปินเป็นรายๆ ไป ตามควรแก่กรณี

           นับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๗  และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๘ จนปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๑)  มีศิลปินสาขาต่างๆที่ได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติแล้วรวม ๑๘๗ คน เสียชีวิต ๗๒ คน  สำหรับผู้ที่ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ จะได้รับเงินตอบแทนประจำตำแหน่ง เดือนละ ๑๒,๐๐๐ บาท  และสามารถเบิกเงินสวัสดิการเพื่อการรักษาพยาบาลได้ตามระเบียบราชการ  รวมทั้งมีค่าช่วยเหลือเมื่อประสบสาธารณภัย และหากเสียชีวิตจะมีค่าช่วยเหลืองานศพ ๑๕,๐๐๐ บาท  พร้อมค่าจัดทำหนังสือที่ระลึก ๑๒๐,๐๐๐ บาท 

           ปัจจุบันศิลปินแห่งชาติที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติแล้วจะได้รับพระราชวโรกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (แทนพระองค์ฯ) ในวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เพื่อรับพระราชทานเครื่องหมายเชิดชูเกียรติอันประกอบด้วยโล่และเข็มเชิดชู และจะมีการจัดงานแสดงความยินดีพร้อมนิทรรศการเชิดชูเกียรติฯ ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นวันศิลปินแห่งชาติ โดยเหล่าศิลปินแห่งชาติทั้งในอดีตและปัจจุบัน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันศิลปินแห่งชาติ

โล่และเข็มเชิดชูเกียรติ มีลักษณะและความหมายดังนี้
                                            วันศิลปินแห่งชาติ ประวัติวันศิลปินแห่งชาติ ความหมายของวันศิลปินแห่งชาติ ความเป็นมาวันศิลปินแห่งชาติ  
           เป็นเหรียญกลมภายในจัดองค์ประกอบเป็น ภาพดอกบัวเรียงซ้อนกัน ๓ ดอก มีแพรแถบรองรับต่อเนื่องอ้อมรัดแถบริ้วธงชาติไทยตามแนวโค้งขอบเหรียญภายในผ้าจารึกคำว่า "ศิลปินแห่งชาติ" และได้อัญเชิญพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมีประดิษฐานไว้เหนือเหรียญกลม โดยมีผ้าโบว์พันท้ายไม้ชัยพฤกษ์หัวเม็ดทรงมันเชื่อมประสานระหว่างกัน 
 

สำหรับศิลปินแห่งชาติ 4 ท่านแรกที่ทางสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2528 ได้แก่

หม่อมราชวงค์คึกฤทธิ์ ปราโมช ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ 
ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงค์เสนี ศิลปินแห่งชาติ สาขานาฏศิลป์ 
นายเฟื้อ หริรักษ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ 
นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทย

และในปี พ.ศ.2551 ผู้ที่ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา ได้แก่ประกอบไปด้วย ศิลปิน 7 ท่าน จาก 3 สาขา ได้แก่ 
                                  วันศิลปินแห่งชาติ ประวัติวันศิลปินแห่งชาติ ความหมายของวันศิลปินแห่งชาติ ความเป็นมาวันศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์          ได้แก่      รองศาสตราจารย์อิทธิพล  ตั้งโฉลก  (จิตรกรรม) 
                                     วันศิลปินแห่งชาติ ประวัติวันศิลปินแห่งชาติ ความหมายของวันศิลปินแห่งชาติ ความเป็นมาวันศิลปินแห่งชาติ  
สาขาวรรณศิลป์         ได้แก่     นายอดุล  จันทรศักดิ์  สาขาวรรณศิลป์  

สาขาศิลปะการแสดง  ได้แก่ 
                                 วันศิลปินแห่งชาติ ประวัติวันศิลปินแห่งชาติ ความหมายของวันศิลปินแห่งชาติ ความเป็นมาวันศิลปินแห่งชาติ
 
หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์  (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง)
                                 วันศิลปินแห่งชาติ ประวัติวันศิลปินแห่งชาติ ความหมายของวันศิลปินแห่งชาติ ความเป็นมาวันศิลปินแห่งชาติ  
นายประสิทธิ์  ปิ่นแก้ว  (นาฏศิลป์-โขน)
                                                วันศิลปินแห่งชาติ ประวัติวันศิลปินแห่งชาติ ความหมายของวันศิลปินแห่งชาติ ความเป็นมาวันศิลปินแห่งชาติ
พลเรือตรี วีระพันธ์  วอกลาง  (ดนตรีสากล) 
                                            วันศิลปินแห่งชาติ ประวัติวันศิลปินแห่งชาติ ความหมายของวันศิลปินแห่งชาติ ความเป็นมาวันศิลปินแห่งชาติ
นายศิริ  วิชเวช  (คีตศิลป์) 
 วันศิลปินแห่งชาติ ประวัติวันศิลปินแห่งชาติ ความหมายของวันศิลปินแห่งชาติ ความเป็นมาวันศิลปินแห่งชาติ
นายกรีพงศ์ เทียมเศวต หรือ สรพงศ์ ชาตรี   (นักแสดงภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์)


ขอขอบคุณข้อมูล
www.tungsong.com
www.thai-d.com
www.thaikids.com
www.Theyoung.net.
www.Sarakadee.com

www.culture.go.th


อัพเดทล่าสุด