โครงสร้างหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ส่วนประกอบเเละหน้าที่ของเซลล์พืช ส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชและสัตว์


13,496 ผู้ชม


โครงสร้างหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ส่วนประกอบเเละหน้าที่ของเซลล์พืช ส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชและสัตว์

 

เซลล์พืช 
  พืชทุกชนิดจะประกอบด้วยหน่วยที่เล็กที่สุดเรียกว่า เซลล์ (Cell) จะมีอยู่ในทุกส่วนของพืช อาจมีขนาด รูปร่าง ต่างกัน แล้วแต่หน้าที่ของเซลล์นั้นๆ สิ่งที่แสดงถึงความมีชีวิตของเซลล์ คือ ความสามารถในการขยายพันธุ์และการเจริฯเติบโต

โครงสร้างหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ส่วนประกอบเเละหน้าที่ของเซลล์พืช ส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชและสัตว์

  ส่วนประกอบของเซลล์พืช

1.ผนังเซลล์ (Cell Wall) เป็นส่วนทีอยู่นอกสุด ทำหน้าที่กั้นส่วนภายในของเซลล์แต่ละเซลล์ สร้างความแข็งแรง ทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้ มีช่องสำหรับให้สารต่างๆผ่านเข้าออกเซลล์ได้ ผนังเซลล์ใบไม้ ดอกไม้ จะเปื่อยยุ่ยง่าย ถ้าเป็นพวกเนื้อไม้ เปลือกผลไม้แข็ง ผนังเซลล์จะหนาและทนทาน ในเซลล์ของสัตว์เราจะไม่พบผนังเซลล์

2.เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ประกอบด้วยสารประเภทไขมันและโปรตีน ทำหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารบางอย่าง เช่น น้ำ อากาศ และสารละลายต่างๆ

3.ไซโทพลาสซึม (Cytoplasm) อยู่ระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์กับนิวเคลียส มีลักษณะเป็นของเหลวที่มีสิ่งต่างๆปนอยู่ เช่น น้าตาล ไขมัน โปรตีนและของเสียอื่นๆ ไซโทพลาสซึมในพืชมีเม็ดสีเขียวที่เรียกว่า คลอโรพลาสต์ (Cholroplast) ประกอบด้วย (ในสัตว์ไม่มี)

   a.นิวเคลียส เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของเซลล์ในไซโทพลาสซึม มีลักษณะค่อนข้างกลม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ การเจริญเติบโตตลอดจนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม จาก พ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน ในนิวเคลียสจะมีส่วนประกอบ 2 อย่าง คือ
   b.นิวคลีโอลัส (Nucleolus) ประกอบด้วยสารประกอบ DNA (Deoxyribonucleic Acid) และ RNA (Ribonucleic Acid) เป็นส่วนใหญ่  และเป็นแหล่งสร้างไลโบโซม แล้วไหลออกสู่ ไซโทพลาสซึม ผ่านทางช่องเยื่อบุนิวเคลียส เพื่อทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนให้แก่เซลล์ แล้วส่งออกไปนอกเซลล์

4.โครมาทิน(Chromatin) ร่างแหของโครโมโซม (Chromosome) ประกอบด้วย DNA หรือที่เรียกว่า จีน (Gene) และมีรหัสพันธุกรรม (Genetic Code) ทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีนและ DNA

5.แวคคิวโอล (Vacuole) พบได้ทั้งเซลล์พืชแลเซลล์สัตว์ แต่ในเซลล์พืชจะมีขนาดใหญ่กว่า ทำหน้าที่ผ่านเข้าออกของสารระหว่างแวคคิวโอลและไซโทพลาสซึม เป็นที่พักและที่เก็บสะสมของเสียก่อนถูกขับออกจากเซลล์  

    เซลล์สัตว์
 
โครงสร้างของเซลล์สัตว์ 
1. เยื่อหุ้มเซลล์(Cell Membrane) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ทำหน้าที่ควบคุมการเข้าออกของสาร
2. ไซโทพลาสซึม (Cytoplasm) เป็นของเหลวมีสิ่งต่างๆปนอยู่ เช่น ส่วนประกอบของเซลล์อื่น น้ำ อาหาร อากาศ
3. นิวเคลียส เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด มีลัษณะค่อนข้างกลม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ การเจริญเติบโตตลอดจนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน

โครงสร้างหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ส่วนประกอบเเละหน้าที่ของเซลล์พืช ส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชและสัตว์

แสดงการสรุปความแตกต่างระหว่างเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

เซลล์พืช

เซลล์สัตว์

  1. โดยทั่วไปมีลักษณะเหลี่ยม
  2. มีผนังเซลล์
  3. มีคลอโรพลาสต์
  4. ไม่มีเซนทริโอล
  5. มีแวคิวโอลขนาดใหญ่ กินเนื้อที่ส่วนใหญ่
  1. มีลักษณะกลมหรือรี
  2. มีเฉพาะเยื่อหุ้มเซลล์ซึ่งมีลักษณะอ่อนนุ่ม
  3. ไม่มีคลอโรพลาสต์
  4. มีเซนทริโอล ช่วยในการแงเซลล์
  5. มีแวคคิวโอลขนาดเล็ก

      การลำเลียงสารผ่านเซลล์ 

1).ลักษณะของสารผ่านเซลล์ สารที่สามารถลำเลียงผ่านเซลล์ได้นั้น มีทั้งลักษณะที่เป็นของเหลว ของแข็งและก๊าซ โดยที่สารประกอบเหล่านี้จะอยู่ร่วมกับน้ำในลักษณะของสารผสมที่ต่างกัน 4 ลักษณะคือ
   a) สารละลาย(Solution) สารผสมที่เกิดจากโมเลกุล หรือก๊าซของสาร 2 ชนิดมาผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneous) สารที่มีปริมาณมากกว่า เรียกว่า ตัวทำละลาย(Solvent) สารที่มีปริมาณน้อยกว่า เรียกว่า ตัวถูกละลาย(Solute)

i)   สารละลายของก๊าซในของเหลว คือ สารละลายที่เกิดจากก๊าซละลายในน้ำ
ii)  ก๊าซบางชนิดละลายน้ำได้น้อย และเมื่อละลายน้ำได้ยังคงโมเลกุลของก๊าซนั้นๆ ไม่รวมตัวหรือทำปฏิกริยากับน้ำ
iii)  สารละลายของของเหลวในของเหลว คือ ของผสมที่เกิดจากของเหลวชนิดหนึ่งไปละลายในของเหลวอีกชนิดหนึ่ง
iv)  สารละลายของแข็งในของเหลว คือ สารละลายที่เกิดจากสารประกอบที่เป็นของแข็งสามารถละลายน้ำได้ เช่น น้ำตาล

        b) สารแขวนลอย(Suspension) คือ ของผสมที่เกิดจากการรวมตัวของสาร 2 ชนิด ซึ่งโมเลกุลของสารชนิดหนึ่งต่อเนื่องกันตลอด ส่วนโมเลกุลของสารอีกชนิดหนึ่งจะแยกตัวไปรวมกับอนุภาคสารแขวนลอย จัดเป็นสารที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน (Heterogeneus)
       c) อิมัลชั่น( Emulsion) คือสารผสมที่เกิดจากของเหลว 2 ชนิดไปรวมกันแต่ต่างก็ไม่มีการละลายในกันและกัน
       d) คอลลอยด์ (Colloid) คือสารผสมที่เกิดจากสาร 2 ชนิดผสมกันแต่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน คือ ชนิดหนึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้สารอีกชนิดหนึ่งแขวนลอย คอลลอยด์มีหลายประเภทดังนี้

i)   เจล (Gel)
ii)  ซอล(Sol)
iii) แอโรซอล (Aerosol)

 2)  การลำเลียงสารโดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
มีหลายวิธีได้แก
(1) การแพร่ (Diffusion) เป็นปรากฏการณ์ที่มีโมเลกุลหรือไอออนของสารมีการเคลื่อนที่ จากที่ที่มีโมเลกุลไออนที่หนาแน่น ไปยัง ที่ที่มีโมเลกุลไออนของสารน้อยกว่า สารที่แพร่ได้อาจอยู่ในสถาวะของก๊าซ ของเหลว หรืออนุภาคของของแข็งซึ่งแขวนลอย

โครงสร้างหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ส่วนประกอบเเละหน้าที่ของเซลล์พืช ส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชและสัตว์

       (a) ปัจจัยควบคุมอัตราการแพร่ของสาร

(i)    ความเข้มข้นของสารที่แพร่
(ii)   อุณหภูมิ
(iii)   ความดัน
(iv)  สิ่งเจือปนหรือตัวถูกละลาย
(v)  การดูดติด
(vi)  ขนาดและน้ำหนักของสารที่แพร่
(vii)  ความสามารถในการละลายของสารที่แพร่ 

(2)   ออสโมซิส (Osmosis) เป็นแบบหนึ่งของการแพร่ ซึ่งมีความหมายเฉพาะการแพร่ของโมเลกุลของน้ำจากที่ที่มีโมเลกุลของน้ำมากกว่าไปยังที่ที่มีโมเลกุลของน้ำน้อยกว่า โดยผ่านเยื่อบางๆ มีคุณสมบัติพิเศษคือ ยอมให้โมเลกุลของน้ำผ่านได้อย่างสะดวก ส่วนสารอื่นไม่ยอมให้ผ่านเลย สำหรับสารที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก ยอมให้ผ่านแต่ไม่สะดวก

โครงสร้างหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ส่วนประกอบเเละหน้าที่ของเซลล์พืช ส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชและสัตว์

สารละลายที่อยู่นอกเซลล์เมื่อเปรียบเทียบกับของเหลวที่อยู่ในเซลล์ มี 3 แบบ
1.
Hypotonic Solution  หมายถึง ความเข้มข้นของสารละลายที่อยู่นอกเซลล์ มีความเข้มข้นน้อยกว่า ในเซลล์ ลักษณะนี้ทำให้น้ำนอกเซลล์เคลื่อนที่เข้าไปในเซลล์
2.Hypertonic Solution หมายถึง ความเข้มข้นของสารละลายภายนอกเซลล์ มีความเข้มข้นมากกว่า ภายในเซลล์ ลักษณะนี้น้ำในเซลล์จะออสโมซิสออกมาภายนอกเซลล์
3.Isotonic Solution หมายถึง ความเข้มข้นของสารละลายที่อยู่ภายนอกเซลล์ เท่ากับ ภายในเซลล์ 

               (3). กระบวนการแอกทีฟทรานสปอร์ต (Active Transport) เป็นการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำ ผ่านเนื้อเยื่อบางๆ ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นสูง โดนอาศัยพลังงานจากเซลล์เป้นตัวนำ ตัวนำ จะเป็นสารประเภทโปรตีนที่เป็นพวกเอมไซม์ต่างๆซึ่งมีหลายชนิด

โครงสร้างหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ส่วนประกอบเเละหน้าที่ของเซลล์พืช ส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชและสัตว์

       ความจำเป็นที่ต้องมีการลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์

  1. เพื่อให้เซลล์มีสภาวะปกติ
  2. เพื่อให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ
  3. ทำให้เซลล์ได้รับอาหารเพื่อการดำรงชีวิตของเซลล์ 

     การเพิ่มขนาดของเซลล์

  เซลล์สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้ เนื่องจากการได้รับสารอาหารและอากาศอย่างเพียงพอและสารมารถกำจัดของเสีย หรือสารพิษออกจากเซลล์ได้ ดังนั้นเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นทางผ่านเข้าออกของสารต่างๆ จึงมีความสำคัญยิ่งต่อการอยู่รอดของเซลล์สิ่งมีชีวิต ถ้าพื้นผิวเยื่อหุ้มเซลล์ไม่เพียงพอต่อการลำเลียงสารเข้าออกเซลล์ ก็จะทำให้เกิดปัญหาต่อการเจริญของเซลล์ได้  จากการศึกษาพบว่า เมื่อเซลล์มีขนาดใหญ่ขึ้น มีปริมาตรเพิ่มมากขึ้น จะทำให้อัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผิวต่อปริมาตรของเซลล์ลดลง

พื้นที่ผิว (cm2)

6

16

24

64

ปริมาตร (cm3)

1

4

8

64

อัตราส่วนพื้นที่ผิวต่อปริมาตร

6:1

4:1

3:1

1:1


แหล่งที่มา : nongjik.ac.th

อัพเดทล่าสุด