โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชเเละเซลล์สัตว์ องค์ประกอบโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชเซลล์สั โครงสรา้งเเละหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์


1,069 ผู้ชม


โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชเเละเซลล์สัตว์ องค์ประกอบโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชเซลล์สั โครงสรา้งเเละหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

 


บทที่ 2 ชนิดและองค์ประกอบของเซลล์

ชนิดของเซลล์

1. Prokaryotic cells เซลล์ของสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ พวกแบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียว แกมน้ำเงิน และไมโครพลาสมา ลักษณะเด่นคือ เซลล์ไม่มีเยื่อหุ้ม แบ่งแยกต่างหาก ลักษณะเซลล ์จะค่อนข้างเล็ก มีขนาด 0.2-10 ไมโครเมตร

โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชเเละเซลล์สัตว์ องค์ประกอบโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชเซลล์สั โครงสรา้งเเละหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ 

2. Ukaryotic cells ได้แก่ เห็ด รา เซลล์ของพืช และสัตว์ทั่วๆไป มีขนาด 10-100 ไมโครเมตร

 

 โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชเเละเซลล์สัตว์ องค์ประกอบโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชเซลล์สั โครงสรา้งเเละหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์


เปรียบเทียบลักษณะ ของเซลล์โปรคาริโอต และเซลล์ยูคาริโอต

ลักษณะ

เซลล์โปรคาริโอต

เซลล์ยูคาริโอต

1. กลุ่มสิ่งมีชีวิต

แบคทีเรีย , สาหร่ายสีเขียว แกมน้ำเงิน ( ไซยาโนแบคทีเรีย )

สาหร่าย , รา , โปรโตซัว , พืช , สัตว์

2. ขนาด

1-2 ไมโครเมตร x 1-4 ไมโครเมตร หรือเล็กกว่านี้

เส้นผ่านศูนย์กลาง มากกว่า 5 ไมโครเมตร

3. โครงสร้างนิวเคลียส

ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส , มีโครโมโซม เป็นวงกลมเส้นเดียว , โครโมโซม ไม่มีฮีสโตน ไม่มีการแบ่งเซลล์แบบไมโตซิส

มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส , มีโครโมโซมมากกว่า 1 เส้น , ฮีสโตน มีการแบ่งนิวเคลียส แบบไมโตซิส

4. การไหลเวียน ของไซโตปลาสซึม

ไม่มี

มี

5. ฟิโนไซโตซิส

ไม่มี

มี

6. กาซแวคิวโอ

มีในบางพวก

ไม่มี

7. มีโซโซม

มี

ไม่มี

8. ไรโบโซม

70 S กระจายในไซโตปลาสซึม

80 S เกาะตามเยื่อหุ้ม เช่น ER, 70 S ในไมโตคอนเดรีย และคลอโรพลาสต์

9. ไมโตคอนเดรีย

ไม่มี

มี

10. คลอโรพลาสต์

ไม่มี

มีในเซลล์บางชนิด

11. กอลจิบอดี

ไม่มี

มี

12. เอนโดพลาสมิก เรติคิวลัม

ไม่มี

มี

13. แวคิวโอที่มีเยื่อหุ้ม

ไม่มี

มี

14. เยื่อหุ้มเซลล์

โดยทั่วไปไม่มีสเตอรอล เป็นองต์ประกอบ , บางส่วนทำหน้าที่ เกี่ยวกับการหายใจ , เซลล์บางชนิด ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง

มีสเตอรอลเป็นองค์ประกอบ , ไม่ทำหน้าที่หายใจ และสังเคราะห์แสง

15. ผนังเซลล์

ประกอบด้วย เปปติโดไกลแคน ( มิวรีน หรือมิวโคเปปไทด์ ) ยกเว้น ไมโครพลาสมา

ไม่มี เปปติโดไกลแคน เป็นองค์ประกอบ , ราส่วนใหญ่มีไคติน , พืชส่วนใหญ่มีเซลล์ลูโลส , สัตว์ไม่มี

16. อวัยวะในการเคลื่อนที่

เส้นใยไฟบริลสานกันง่ายๆ ประกอบด้วย แฟลกเจลลิน (flagelin)

ประกอบด้วยไมโครทิวบูล มาเรียงกันในลักษณะ 9+2

17. เท้าเทียม

ไม่มี

เซลล์บางชนิดมี

18. อัตราส่วนของเบส ของ DNA เมื่อเทียบเป็นโมล % ของเบส กวานีน + ไซโตซีน (G+C%)

28-73

ประมาณ 40

 

 


องค์ประกอบของเซลล์

ถึงแม้เซลล์จะมีรูปร่าง ขนาด และหน้าที่ต่างๆ กันออกไปก็ตาม แต่ต้องมีส่วนประกอบพื้นฐาน บางอย่างเหมือนๆ กัน ได้แก่

•  1.        เยื่อหุ้มเซลล์ (plasma membrane หรือ cell membrane) เป็นส่วนที่ห่อหุ้ม ของเหลวที่อยู่ภายใน โดยทั่วไปเยื่อหุ้มเซลล์ มีคุณสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน (semipermeable membrane) ซึ่งยอมให้สารบางชนิด แพร่ผ่านเข้าออกได้

•  2.        ของเหลวภายในเซลล์ ได้แก่ ส่วนที่เรียกว่า โปรโตปลาสซึม ของเหลวนี้ มีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนของนิวเคลียส และส่วนที่อยู่รอบนิวเคลียส เรียกว่า ไซโตรพลาสซึม ซึ่งแบ่งเป็น ส่วนที่มีชีวิต (organell) ส่วนที่ไม่มีชีวิต (inclusion)

เซลล์ที่นำมาศึกษาโดยละเอียด ก็คือ เซลล์พืช และเซลล์สัตว์

 

เซลล์พืช 
( คลิ๊กดูรายละเอียด ตามชื่อส่วนประกอบของเซลล์ )

โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชเเละเซลล์สัตว์ องค์ประกอบโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชเซลล์สั โครงสรา้งเเละหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ 


เซลล์สัตว์ 

คลิ๊กดูรายละเอียด ตามชื่อส่วนประกอบของเซลล์ )

 

โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชเเละเซลล์สัตว์ องค์ประกอบโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชเซลล์สั โครงสรา้งเเละหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
 

นอกจากองค์ประกอบข้างต้นนี้ ในเซลล์สัตว์ยังมี เซลตริโอล และ ไรโบโซม อีกด้วย

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเซลล์พืช และเซลล์สัตว์

เซลล์พืช

เซลล์สัตว์

1. เซลล์พืชมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม

1. เซลล์สัตว์มีรูปร่างกลม หรือรี

2. มีผนังเซลล์อยู่ด้านนอก

2. ไม่มีผนังเซลล์ แต่มีสารเคลือบเซลล์อยู่ด้านนอก

3. มีคลอโรพลาสต์ภายในเซลล์

3. ไม่มีคลอโรพลาสต์

4. ไม่มีเซนทริโอล

4. มีเซนทริโอลใช้ในการแบ่งเซลล์

5. แวคคิวโอลมีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจน

5. แวคคิวโอลมีขนาดเล็ก มองเห็นได้ไม่ชัดเจน

6. ไม่มีไลโซโซม

6. มีไลโซโซม

 

 


 


แหล่งที่มา : student.nu.ac.th

อัพเดทล่าสุด