หน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลาง องค์ประกอบและหน้าที่ของระบบประสาท หน้าที่ของระบบประสาทคืออะไร


722 ผู้ชม


หน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลาง องค์ประกอบและหน้าที่ของระบบประสาท หน้าที่ของระบบประสาทคืออะไร

 

การทำงานของระบบประสาทสั่งการ

การทำงานของระบบประสาทสั่งการ แบ่งตามลักษณะโครงสร้าง แบ่งได้ 2 ระบบคือ

ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system เรียกย่อ ๆว่า CNS)ได้แก่

สมอง ไขสันหลัง

ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral nervous system เรียกย่อ ๆว่า PNS) ได้แก่ เส้นประสาทสมองกับเส้นประสาทไขสันหลัง

แบ่งตามลักษณะการทำงาน แบ่งได้ 2 ชนิดคือ

1. ระบบประสาทโซมาติก (Somatic nervous system เรียกย่อ ๆว่าSNS) เป็นการ

ทำงานตามคำสั่งของสมองส่วนเซรีบรัมและไขสันหลัง เกิดกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับได้

2. ระบบประสาทอัตโนวัติ (Autonomic nervous system เรียกย่อ ๆว่าANS) เป็น

การทำงานที่เกิดกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับไม่ได้

 

1. ระบบประสาทโซมาติก (Somatic nervous system เรียกย่อ ๆว่าSNS)

เป็นระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลายโดยเซลล์ประสาทรับความรู้สึกจะรับกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกผ่านเส้นประสาทไขสันหลังหรือเส้นประสาทสมองเข้าสู่ไขสันหลังหรือสมอง และกระแสประสาทจะถูกส่งผ่านเส้นประสาทไขสันหลังหรือเส้นประสาทสมอง ไปยังหน่วยปฏิบัติงานซึ่งเป็นกล้ามเนื้อลาย บางครั้งอาจทำงานโดยผ่านไขสันหลังเท่านั้น เช่น การกระตุกขาเมื่อถูกเคาะที่หัวเข่าเบา ๆ

การตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น โดยการกระตุกขานี้เกิดขึ้นเองโดยอัตโนวัติ เรียกว่า รีเฟล็กซ์ (reflex) กิริยาหรืออาการที่แสดงออกเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ เรียกว่า รีเฟล็กซ์ แอกชัน (reflex action) เป็นการตอบสนองของหน่วยปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในทันที ทันใด โดยมิได้มีการเตรียมหรือการคิดล่วงหน้า เป็นการสั่งการของไขสันหลัง ไม่ต้องอาศัยคำสั่งจากสมอง

ประเภทของรีเฟล็กซ์ แอกชัน (Reflex action)

1) Somatic reflex เป็นรีเฟล็กซ์ แอกชันของระบบประสาทใต้อำนาจจิตใจ

แต่ตอบสนองแต่สิ่งเร้าโดยอยู่นอกอำนาจจิตใจชั่วขณะ และมีหน่วยปฏิบัติงานเป็นกล้ามเนื้อลาย เช่น

การกระตุกขา เมื่อถูกเคาะที่หัวเข่า การชักมือ ชักเท้าหนีของร้อน ๆหรือของมีคม

 

 

รูปที่ 2-26 แสดงการทำงานของกระแสประสาทเมื่อถูกเคาะที่หัวเข่า

2) Autonomic reflex เป็นรีเฟล็กซ์แอกชันของระบบประสาทอัตโนวัติการตอบสนองอยู่นอกอำนาจจิตใจชั่วขณะ มีหน่วยปฏิบัติงานเป็นกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ อวัยวะภายในและต่อมต่างๆ เช่น การเกิดเพอริสทัลซีสของท่อทางเดินอาหาร การหลั่งน้ำตา น้ำย่อย น้ำลาย น้ำนม

รีเฟล็กซ์ อาร์ค (Reflex arc)เป็นวงจรการทำงานของระบบประสาท ประกอบด้วยหน่วยต่าง ๆ เช่น หน่วยรับความรู้สึก ซึ่งเป็นหน่วยแรกสุดของระบบประสาทเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจนถึงมีการตอบสนองได้ ต้องประกอบด้วยเซลล์หลากเซลล์มาทำงานสัมพันธ์กัน รีเฟล็กซ์ อาร์ค

ประกอบด้วยหน่วยทำงานต่าง ๆ ดังแผนภาพข้างล่างนี้

 

 

2. ระบบประสาทอัตโนวัติ (Autonomic nervous system เรียกย่อ ๆว่าANS) เป็น

การทำงานที่เกิดกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับไม่ได้

การทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ ประกอบด้วย 2 ระบบที่ทำงานต่างกัน คือ

2.1. ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic nervous System) มีศูนย์กลางอยู่บริเวณไขสันหลัง (Spinal cord) ประกอบด้วย เส้นประสาทที่ออกจากบริเวณไขสันหลัง ตั้งแต่อกจนถึงเอว เมื่อออกจากไขสันหลังแล้วจะมารวมอยู่ที่รากล่างของประสาทไขสันหลัง เซลล์ประสาทในปมประสาทส่วนใหญ่ จะส่งใยประสาทไปยังอวัยวะภายใน ระบบนี้จะทำงานในกรณีที่บุคคลตกอยู่ในสภาวะฉุกเฉิน ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาตื่นตัว เพื่อเตรียมพร้อมที่จะสู้หรือหนีจากสถานการณ์เหล่านั้น ปฏิกิริยาของร่างกายที่เกิดขึ้น เมื่อระบบประสาทซิมพาเทติกทำงาน ได้แก่ ขนลุกตั้งชัน ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น หัวใจเต้นเร็วและรัว ต่อมอะดรีนัล (Adrenal gland) หรือต่อมหมวกไต จะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenalin) เพื่อเพิ่มพลังงานพิเศษให้กับร่างกาย

2.2 ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก(Parasympathetic nervous system)

 

มีศูนย์กลางอยู่ที่ก้านสมอง (Medulla) และไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) โดยระบบนี้จะทำงานควบคู่กับระบบซิมพาเทติก คือ เมื่อระบบซิมพาเทติกทำงานสิ้นสุดลง ร่างกายพ้นจากสภาวะฉุกเฉินไปแล้ว ระบบพาราซิมพาเทติกจะช่วยทำให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาวะปกติ เช่น เส้นขนจะราบลง ชีพจรหัวใจและความดันโลหิตจะกลับคืนสภาพเดิม เป็นต้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้ต่อมอะดรีนัลหลั่งฮอร์โมนนอร์อะดีนาลีน (Noradrenalin) เพื่อช่วยให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติอีกครั้ง

 

การทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ

 

 

ชื่ออวัยวะ

ประสาทพาราซิมพาเทติก

(สภาวะพักหรือสบาย ๆ )

ประสาทซิมพาเทติก

( สภาวะการเตรียมพร้อม )

1. ม่านตา

ม่านตาแคบลง

กระตุ้นกล้ามเนื้อตา ขยายม่านตา

2. ต่อมน้ำตา

หลั่งปกติ

กระตุ้นให้หลั่งน้ำตามากกว่าปกติ

3. ต่อมน้ำลาย

สร้างส่วนที่เป็นน้ำ

สร้างน้ำเมือก

4. หัวใจ

เต้นช้าลง

เต้นเร็วขึ้น หลอดเลือดหัวใจขยาย

5. เส้นเลือดที่ผิวหนังและ

เส้นเลือดทั่ว ๆ ไป

เส้นเลือดคลายตัว

เส้นเลือดหดตัว

6. ระบบหายใจ

ท่อลมฝอยหดตัว

ท่อลมฝอย ( bronchiole ) ขยายตัว

7. ความดันเลือด

ลดต่ำลง

เพิ่มสูงขึ้น

8. การเคลื่อนไหวของ

กระเพาะและลำไส้

เพิ่มการเคลื่อนไหว เพอริสทัลซิส

ลดการเคลื่อนไหวแบบ เพอริสทัลซิส (peristalsis )

9. การหลั่งของ gastric juice

และ pancreatic juice

หลั่งน้ำย่อยเพิ่มขึ้น

หลั่งน้ำย่อยน้อยลง

10. ตับ

เพิ่มการหลั่งน้ำดี

กระตุ้นการสลายไกลโคนเจนและลดการหลั่งน้ำดี

11. กระเพาะปัสสาวะ

หดตัว ( กระตุ้นให้ปัสสาวะ )

ขยายตัว ( ห้ามการปัสสาวะ ) กระตุ้นให้บีบตัวนำเลือดเข้าสู่ระบบ

12. ม้าม

-

หมุนเวียนเพิ่มขึ้น

13. ผิวหนัง

ทำหน้าที่ปกติ

กระตุ้นให้ขับเหงื่อและขนลุก

 

 

รูปที่ 2-27 แสดงระบบประสาทอัตโนวัติ ตำแหน่งของประสาทพาราซิมพาเทติก

ประสาทซิมพาเทติก และอวัยวะที่ถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนวัติ

แหล่งที่มา : watchawan.blogspot.com

อัพเดทล่าสุด