ชนิดและหน้าที่ของคำในภาษาไทย แบบทดสอบ ชนิดและหน้าที่ของคำในภาษาไทย parts of speechชนิดและหน้าที่ของคำ


1,061 ผู้ชม


ชนิดและหน้าที่ของคำในภาษาไทย แบบทดสอบ ชนิดและหน้าที่ของคำในภาษาไทย parts of speech ชนิดและหน้าที่ของคำ

 

Parts of Speech ชนิดของคำ

สวัสดีค่ะ แฟนๆที่รักของ Grammarman หลังจากที่ห่างหายไปนาน เค้่าก็คิดถึงนะ
แต่ยังไงวันนี้ก็ดีใจมากที่ได้กลับมาเขียนเรื่องราวดีดีให้แฟนๆได้อ่านกันอีกครั้ง และอีกหลายๆครั้ง เราจะไม่พูดมาก จะเข้าเรื่องกันเลย
สำหรับตัว Grammarman เองแล้ว ถ้าจะให้เริ่มสอนตั้งแต่พื้นฐาน จะต้องสอนเรื่อง Parts of Speech ก่อนเสมอ เพราะอะไรน่ะหรอ
ก่อนที่เราจะแต่งประโยคหนึ่งๆได้ เราจะต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่า ในประโยคต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง มีคำประเภทใด แล้วคำแต่ละประเภทมีการวางตำแหน่งและมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร ถ้าเราได้เรียนรู้และเข้าใจสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างดี ปัญหาต่างๆที่ตามมาจะถือว่าเป็นเรื่องง่ายกันเลยทีเดียว มันอาจจะดูน่าเบื่อสำหรับคนที่เก่งแล้ว หรือบางคนเรียนมาเยอะแล้วไม่อ่านได้มั๊ย ได้ค่ะ ไม่อ่านก็ได้ แต่ถ้าคุณลองเปิดใจทำความรู้จักกับมันใหม่อีกนิด จำแก่นหลักๆแค่นิดเดียว สบายบรื๋อ
ถามว่า Grammarman จะสอนเรื่องนี้ทำไม หลายคนไม่เข้าใจในส่วนนี้ค่ะ เรียนมาตั้งหลายปี แต่พอถามว่า รู้จัก Parts of Speech ไหม หลายคนทำหน้างง เอ๊ะ ฉันเคยเรียนเรื่องนี้ไหมนะ อ๊ะ ฉันก็เคยเรียนหนิ จำได้บ้างจำไม่ได้บ้าง ในเมื่อเนื้อหาแก่นหลักมันมีแค่นิดเดียว แต่ทำไมหลายคนจำไม่ได้กัน เป็นเพราะอะไรกันคะ Grammarman ก็จำแค่นิดเดียวเอง ไม่ได้จำมากให้รกหัวซักหน่อย
Grammarman คิดว่า หลายคนเรียนมาแบบผ่านๆ แบบไม่เป็นกระบวนการ ก็เลยแยกแยะไม่ค่อยออกแล้วก็้จำสลับกันไปมาบ้าง
อยากรู้ไหมจำยังไง มาดูกันเลยค่ะ เนื้อๆ เน้นๆ ไม่มีน้ำ
Parts of Speech คือ ชนิดของคำ
Parts of Speech มีอะไรบ้าง ง่ายๆ จำไว้แค่ว่า มี 8 อย่างเท่านั้นเอง มี
1. Noun คำนาม
2. Pronoun คำสรรพนาม
3. Verb กริยา
4. Adverb กริยาวิเศษณ์
5. Adjective คำคุณศัพท์
6. Preposition บุพบท
7. Conjunction คำสันธาน
8. Interjection คำอุทาน
มารู้จักกับพวกเขาทีละตัวกันเลยดีกว่า
1. Noun คือ คำที่ใช้เรียกแทน ชื่อ คน สัตย์ สิ่งของ (จำไว้แค่นี้ค่ะง่ายไหม)
คำนามมี นามทั่วไป กับ นามเฉพาะ (อันนี้ไม่พูดมากเพราะหลายคนรู้แล้ว)
ตำแหน่งและหน้าที่: เป็นได้ทั้งประธานและกรรม ในประโยค
โอ้ น้อยจริงๆ นอกนั้น อยู่ที่ผู้อ่านแล้วหล่ะค่ะ
2. Pronoun คือ คำที่ใช้เรียกแทน Noun หรือ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำซ้ำ
ยกตัวอย่าง เวลาเราเรียกหรือเอ่ยคำใดคำหนึ่งบ่อยๆ บ่อยมากๆ บ่อยเกินไป ถามหน่อยว่า เราเบื่อไหมคะ
ถ้าพูดถึง Grammarman สิบครั้ง เราจะพูดคำว่า Grammarman ถึงสิบครั้งรึเปล่าคะ
ถ้าเป็นฝรั่งแล้ว คนไทยก็เช่นกันค่ะ จะหลีกเลี่ยงการใช้คำซ้ำโดยการใช้คำ สรรพนาม แทน
คือ ครั้งแรก เรียก Grammarman และครั้งต่อๆไปจึงเรียก เขา หรือ เธอ เพื่อไม่ให้ดูน่าเบื่อค่ะ
3. Verb ก็คือกริยานั่นเอง ไม่พูดมากอีกแล้ว ง่ายนิดเดียว มี verb แท้ และ verb ไม่แท้
มีวิธีสังเกตุง่ายๆ
verb แท้ จะผันตามประธานและ tense ค่ะ แห่ะๆๆ รวมถึง helping verb ทั้ง 24 ตัวด้วยนะคะ
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่ 3 กริยาจะผันตามประธานคือ เติม s หรือ es ไง หลายคนคงคุ้นๆ
เอ๊ะๆ มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า เอกพจน์บุรุษที่ 3 เป็นเยี่ยงใด
ก่อนอื่นเลย บุรุษที่ 1 ก็คือ ตัวผู้ผูดเอง มีแค่ I กับ we
                 บุรษที่ 2 คือ คนที่เราพูดด้วย คือ you
                 บุรุษที่ 3 คือ คนที่เราพูดถึง หรือที่เรามักคุ้นเคยกับคำว่า บุคคลที่สามนั่นเอง มีคำว่า they he she it
แล้วเอกพจน์บุรษที่สาม มีคำไหนบ้างเอ่ย ติ๊กต่อกๆๆ เฉลย
คือคำว่า he she it ค่ะ ที่เป็นเอกพจน์แล้วก็อยู่ในบุรุษที่ 3 ด้วย ส่วน they เป็นพหูพจน์ค่ะ
ยังไม่หมดๆ เอกพจน์บุรุษย์ที่ 3 ยังรวมถึง ชื่อคน สัตว์ สิ่งของ ที่มีสิ่งเดียวอันเดีียวด้วยนะคะ
มาดูตัวอย่างการผันของกริยาตามประธานกันเล๊ย
 
Marry loves playing sports. แมรี่ชอบเล่นกีฬา
สังเกตุว่าประโยคนี้ loves เติม s ค่ะ แสดงว่า ประโยคนี้ กริยาแท้จะต้องเป็น loves แน่ๆเลยเนอะ ใช่แล้ว ถูกต้องที่สุด เย้ๆ เรามาได้ไกลแล้วค่ะ อิอิ
 
ถ้าผันตาม tense หล่ะ
 
He has never told me before that he is a gay. เขาไม่เคยบอกฉันมาก่อนว่าเขาเป็นเกย์ - -''
 
สังเกตุช่วยกันค่ะว่าประโยคนี้ กริยาตัวไหนที่ผันตาม tense แต่นแตนแต๊น ก็มีตัวเดียวเท่านั้นค่ะ คือ คำว่า told ไง เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นpresent perfect tense คือ เขาไม่เคยบอกตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันก็ไม่บอก และมีแนวโน้มว่าเขาจะไม่บอกในอนาคต
และกริยาไม่แท้ที่เหลือ พวกเขารอคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักด้วยนะคะ พวกเขาเหล่านั้นคือ present participle และ past participle
modal verb คืออะไรหว่า ก็พวก can, could, may, might, will, would, shall, should ,ought to,  be boing to, etc. ไงคะ เยอะแยะมากมาย มี 24 ตัวค่า ถ้าจะพามาทำความรู้จักกันใหม่ทั้งหมด มันจะเสียเวลาค่ะ ไปต่อกันดีกว่า
present participle คืออะไรหว่า ก็ กริยาที่ เติม ing ไงคะ แต่พวกนี้ไม่ใช่ gerund และก็จะแปลต่างจาก present continuous tense ด้วยนะ หลายคนมักสับสนมากเลย จะทำยังไงดีถึงจะไม่สับสนหว่า อ้อๆ Grammarman เคยเขียนไว้นี่นา กลับไปทำความรู้จักกับ present participle ว่า แตกต่างจาก gerund ยังไง 
Past participle คืออะไรหว่า ก็ กริยาที่เติม ed หรือ verb ช่อง 3 ไง ใช้เพื่อขยายคำที่อยู่ข้างหน้ามัน หมายถึง คำที่ถูกขยายถูกกระทำ
ตัวอย่างระหว่าง present participle กับ past participle
A man standing next to the door is my boyfriend. ผู้ชายที่ยืนอยู่ใกล้ประตูเป็นแฟนฉันเอง
That dog kicked by you is mine. หมาตัวที่เธอเตะนั่นน่ะเป็นของฉัน
เรามาขยายความกันอีกนิด
A man standing next to the door is my boyfriend. ประโยคนี้ สังเกตุมั๊ยคะว่า มีกริยาอยู่กี่ตัว ตัวแรกเลย standing และอีกตัวคือ is
โห้ กริยาสองตัว เป็นไปได้ไง แล้วตัวไหนกริยาแท้หล่ะเนี่ย ง๊งงง - -'' เรามาใช้ความรู้ที่เราเรียนมากันเถอะ
ขั้นแรก มองหาก่อนเลย กริยาไหนที่ผันตามประธานและ tense นั่นแหล่ะ กริยาแท้ อยู่ไหนน๊า อ้า เจอแล้ว is ไง บ่งบอกว่าประธานเป็นเอกพจน์
นั่นแน่ ความรู้เริ่มมาค่ะ วิทยายุทธ์เริ่มหาญกล้า พอเรารู้ว่าตัวไหนเป็นกริยาแท้ นอกกนั้น ชิวๆๆ อิอิ แล้วคำว่า standing หล่ะ คืออะไร มันก็คือ present participle เอาไว้ขยายคำที่อยู่ข้างหน้ามัน คือคำว่า man
สรุปแล้ว standing ขยายคำว่า man หมายถึง man กระทำกริยายืนเองค่ะ ไม่มีใครยืนให้ เพราะ man ก็มีขา อิอิ
เอ้า ประโยคต่อไปกันเล๊ยยยยยยย
That dog kicked by you is mine. ประโยคนี้ กริยาแท้คืออะไรเอ่ย แน่นอน ไม่ต้องคิดให้เสียระบบก่อนย่อย ต้องเป็น is อยู่แล้ว บ่งบอกว่า ประธานเป็นเอกพจน์ คือ หมามีตัวเดียว
แล้วคำว่า kicked หล่ะ (kicked ก็เป็น past participle ไง )เอาไว้ขยายคำที่อยู่ข้างหน้ามัน
แสดงว่า dog เนี่่ย ถูกเตะ  (dog ถูกกระทำ ไม่ได้กระทำเอง dog เตะคนไม่ได้ แต่คนเตะ dog ได้) พอเข้าใจกันหรือยังคะ อยากถูก dog เตะเหมือนกันนะ จะได้เตะมันกลับ อุ้ย รุนแรงๆๆ
เมื่อเราพอรู้จัก verb กันคร่าวๆ ยังไม่ถึงกึ๋นเลย แต่ถ้ารู้แค่นี้ก็เทพขิงๆแล้ว เรามาทำความรู้จักกับ adverb ต่อกันเถอะ
4. Adverb คือ คำที่ขยาย กริยา
อ่ะๆ ยังไม่พูดถึง adverb ดีกว่า เรามาทำความรู้จักกับ adjective กันก่อนดีกว่า เอาแ่ค่นี้เรียกน้ำย่อยกันไปก่อน
5. Adjective คือ คำที่ขยายคำนามหรือสรรพยาม ตำแหน่งมีแค่ 2 ที่ เน้นๆ อยู่หลัง v.to be และ อยู่หน้าคำนามที่้มันขยายเสมอ
ตำแหน่งที่ 1 อยู่หลัง v. to be
เช่น I am beautiful. ฉันสวย (ประโยคนี้ adjective อยู่หลัง am ซึ่งเป็น v. to be ถูกไหม และหน้าที่ของมันก็คือขยายคำนามหรือสรรพนามนั่นแหล่ะ ก็ขยายคำว่า I ไง หมายถึง I สวย ฮิฮิ)
ตำแหน่งที่ 2 อยู่หน้าคำนามที่มัันขยายค่ะ
เช่น pretty girl เด็กหญิงผู้น่ารัก (pretty เป็นคำ adjective แปลว่า น่ารัก ขยายคำว่า เด็กผู้หญิง ให้ได้ใจความชัดเจนยิ่งขึ้นค่ะ สังเกตุไหมคะว่า อยู่หน้าคำนาม)
แต่เดี๋ยวก่อน อย่าละเลิงใจไป โปรดจำไว้ว่า adjective ขยายนามที่อยู่ข้างหลัง
ส่วน adjective clause ขยายนามที่อยู่ข้างหน้า ซึ่งจะอยู่ในเรื่องของประโยคความซ้อนค่ะ แต่วันนี้เราจะไม่พูดถึงประโยคความซ้อนกัน เดี๋ยวไม่จบ
อาฮ่าๆ เมื่อเรารู้จักหน้าที่และตำแหน่งของ adjective ไปเรียบร้อยแล้ว ขาดไม่ได้เลย เราต้องรู้จักการเรียงตำแหน่งของ adjective ด้วย
ในกรณีที่เราจะใช้ adjective หลายๆตัว ขยายคำนามพร้อมกัน อยากทราบไหมคะว่าจะนำคำไหนมาเรียงก่อนกัน ติ๊กต่อกๆๆ
ให้เรียงอย่างงี้เลย
opinion size age shape colour origin material N1 N2 (ท่องแปดลำดับนี้ให้ได้นะคะ ท่องเป็นภาษาอังกฤษนะ)
ความคิดเห็น ขนาด อายุ รูปร่าง สี ต้นกำเนิด วัสดุที่ทำ นาม1 นาม2
tip
size รวมถึง lenght ที่เป็นความยาวด้วยนะคะ
shape รวมถึง width ที่เป็นความกว้าง
ตัวอย่างเช่น ให้ท่านผู้อ่านลองเรียง adjective ที่ขีดเส้นใต้เหล่านี้สิคะว่าจะนำคำไหนขึ้นก่อน
black beautiful straight long hair
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
 
เฉลยแล้วนะ
beautiful long straight black hair. เป็นคำตอบที่ถูกต้องค่ะ เรียงตามลำดับเลยนะ
beautiful เป็น opinion เป็นความคิดเห็นว่า ผมสวยหรือไม่สวย
long เป็น size ค่ะ บ่งบอกว่า มีผมยาว และที่สำคัญ size รวมถึงความยาวด้วย
straight เป็น shape ค่ะ (size มาก่อน shape ถูกต้องแล้ว) บ่งบอกว่า รูปร่างของผมว่าเป็นผมตรง
black เป็น colour ค่ะ ผมมีสีดำ
แหมๆๆๆ เรียงลำดับ adjective นี้สนุกจริงๆเลย อยากให้ท่านผู้อ่านจำให้ได้เสียจริงๆ ท่องก็ไม่ยากค่ะ แถมคล้องจองกันด้วย อย่าลืมนะคะว่าopinion size age shape colour origin material N1 N2 เพียงเท่านี้ เรียงกันอย่างเมามัน สู้ๆค่ะ เราจะได้ขยายคำนามได้อย่างมืออาชีพ ไม่ต้องพูดให้เมื่อยปากทีละประโยคหลายๆประโยค แค่ขยายคำนามด้วย adjective ลวดเดียว ก็ประหยัดน้ำลายได้เยอะ จริงมะ
กลับมาข้อ 4 ใหม่ค่ะ  Adverb
ตอนแรกบอกไปแค่่ว่า adverb ขยาย verb ใช่ไหมคะ แล้วก็เปลี่ยนเรื่องกระทันหัน
 
แล้วพอถึงเรื่อง adjective ก็บอกไปอีกว่า Adjective ขยาย คำนามได้อย่างเดียว จริงไหม
แต่มาตอนนี้ อยากจะบอกเพิ่มค่ะว่า Adverb ไม่ใช่แค่ขยาย verb ได้อย่างเดียว
Adverb ขยายได้ 3 อย่าง คือ ขยาย verb, adjective หรือแม้กระทั้ง ขยาย adverb ด้วยกันเองก็ได้ค่ะ พี่ Adverb นี่เจ๋งจริงๆใช่ไหม สุดยอดเลย ข้าน้อยขอคาราวะ
ไม่มีผู้ใดจะมาสู้พี่ Adverb ของเราได้อีกแล้ว
เรามาดูกระบวนการขยายของพี่ adverb กันค่ะ
เมื่อพี่ adverb ขยาย verb พี่เขาจะอยู่ได้ 3 ตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
1. Slowly, I walk to school. พี่adverb อยู่หน้าประโยค เวลาที่เน้นกริยาเป็นพิเศษ
2. I walk to school slowly.  พี่ adverb อยู่หลัง verb เมื่ออยากขยาย verb แบบ เบๆ ปกติ ไ่ม่มีอะไรเป็นพิเศษ
3. I always walk to school. พี่ adverb อยู่หน้า verb เมื่อเป็น adverb บอกความถี่ (พี่ adverb บอกความถี่ก็อยู่หน้าประโยคได้นะเออ ถ้าต้องการเน้นกริยาเป็นพิเศษ แต่พี่ adverb บอกความถี่อยู่หลัง verb ไม่ไ้ด้ แค่นั้นเอง)
เมื่อพี่ adverb ขยาย adverb ด้วยกันเอง ตำแหน่งของพี่เขาจะอยู่ หน้า adverb ที่ขยาย
I walk very slowly. (very เป็น adverb ขาย slowly ซึ่งเป็น adverb เหมือนกัน หมายถึง ช้ามากๆ)
เมื่อพี่ adverb ขยาย adjective หล่ะ ตำแหน่งของพี่เขาจะอยู่หน้า adjective ที่พี่เขาต้องการขยายค่ะ
I think you are pretty pretty. ฉันคิดว่าคุณน่ารักยกกำลัง 2
แป่ว ล้อเล่นๆๆ มีใครแปลได้แบบนี้มั๊ยคะ pretty pretty แปลว่า น่ารักยกกำลัง 2
ถ้าคุณแปลแบบนี้ แสดงว่า คุณยังไม่รู้จักคำว่า pretty ดีพอ
จริงอยู่ที่ pretty แปลว่า น่ารัก ถ้าคำนั้นเป็น adjective
แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ pretty เป็น adverb ความหมายจะเปลี่ยนทันที กลายแปลว่า ค่อนข้างค่ะ เหมือนคำว่า quite
ถ้าเราแยกไม่ถนัด Grammarman จะขออธิบายอีกครั้ง
 I think you are pretty pretty. (pretty สีแดง นี้ เป็นคำ adjective อยู่หลัง v.to be) , (ส่วน prettyสีม่วง อยู่หน้า prettyสีแดง)
อ้า เป็นไปได้ไหมที่ pretty สีม่วง จะเป็น adjective ได้เหมือนกับสีแดง
ก่อนอื่น เราต้องกลับมาคิดดูอีกทีว่า adjective ขยาย adjective กันเองได้ไหม
คำตอบคือ adjective ขยายคำนามได้อย่างเดียวเท่นั้ มีแต่พี่ adverb เท่านั้นแหล่ะที่จะสามารถขยาย adjective ได้ เพราะพี่ adverb เขาแน่จริง
เอาหล่ะ ในเมื่อ pretty สีม่วง เป็น adverb ดังนั้น pretty สีม่วง ควรแปลว่าอะไรดี
เย้ๆ เก่งมากๆค่ะ ท่านผู้อ่าน pretty สีม่วง แปลว่า ค่อนข้าง นั่นเอง เยี่ยมๆไปเลยค่ะ
สรุปแล้้้ว ประโยคที่ว่า I think you are pretty pretty. = I think you are quite pretty. แปลว่า ฉันคิดว่าคุณค่อนข้างน่ารัก
สรุปแล้ว ค่อนข้างน่ารัก แล้ว น่ารักรึเปล่าเนี่ย งง สงสัย ถูกหลอกด่าแน่เลย ว๊า แย่ัจังๆๆ
เล่นต่ออีกนิด
แล้ว pretty ugly หล่ะ แปลว่าอะไร
แปลว่า ค่อนข้าง น่าเกลียดน่ะสิ แว๊กกกกกกกกก
ถ้ามีใครมาบอกว่าเรา pretty ugly นี่ ก็ไม่ไหวแล้วนะ เหอๆๆๆ
6. Preposition ใช้เพื่อระบุ ตำแหน่ง วัน เวลา และสถานที่
พี่ prep. บอกตำแหน่ง ได้แก่ at, in, on, under, next to, beside, behide, in front of, etc.
พี่ prep. บอกวันใช้ on บอกเดือนและปีใช้ in (ถ้าบอก วันเดือนปี พร้อมกัน ให้ใช้ on)
พี่ prep. บอกเวลาใช้ at
พี่ prep. บอกสถานที่ใช้ at  แต่ถ้าบอกว่า อยู่จังหวัดใด ประเทศใด ใช้ in นะคะ
จบแล้วสำหรับพี่ preposition เพราะเป็นเรื่องง่าย
7. Conjunction ใช้ เชื่อมคำ หรือ เชื่อมความ
ถ้าเราจำพี่ FANBOYS ได้ก็แจ่มไปเลยค่ะ
F = for
A = and
N = nor
B = but
O = or
Y = yet
S = so
 
8. Interjection เพิ่มสีสันให้แก่ชีวิต บ่งบอกอารมณ์และความรู้สึก


แหล่งที่มา : kickapu.exteen.com

อัพเดทล่าสุด