หน้าที่ของกล้ามเนื้อหัวใจ หน้าที่ของกล้ามเนื้อหลัง เปรียบเทียบลักษณะและหน้าที่ของกล้ามเนื้อ


543 ผู้ชม


หน้าที่ของกล้ามเนื้อหัวใจ หน้าที่ของกล้ามเนื้อหลัง เปรียบเทียบลักษณะและหน้าที่ของกล้ามเนื้อ

 

ระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ

eua บันทึก "บทความนี้จะพูดเกี่ยวกับการทำงานของกล้ามเนื้อที่เราสามารถมองเห็นและรู้สึกได้ ยังไม่ลงลึกไปถึงเส้นใยกล้ามเนื้อ
ร่างกายของเราแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น 3 ประเภท คือ กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจ ที่จะกล่าวลงในบทความนี้คือ กล้ามเนื้อลาย ประกอบด้วย กล้ามเนื้อที่เราใช้ในการเคลื่อนไหวแขน ขา ระยางค์ต่างๆของร่างกาย กล้ามเนื้อกลางลำตัว กล้ามเนื้อใบหน้า
การทำงานของกล้ามเนื้อลายมี 3 ระบบ ดังนี้
1. Isometric (ไอโซเมทริก) เป็นการทำงานของกล้ามเนื้อโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงความยาวของกล้ามเนื้อ อยู่ในลักษณะการเกร็งตัวอยู่กับที่ สามารถเพิ่มความแข็งได้ระดับหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้ป่วยใช้ในการบำบัดฟื้นฟูหลังการบาดเจ็บหรือหลังการผ่าตัดในช่วงแรกๆ ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อต่อได้มากนั เพื่อไม่ให้สูญเสียกล้ามเนื้อไปมากจนเกินไป
2.Concentric (คอนเซ็นทริก) เป็นการทำงานในลักษณะการหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้ความยาวของกล้ามเนื้อสั้นลง เช่น ท่าไบเซพส์ เคิร์ล ขณะยกขึ้น เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า, ไทรเซพส์ พุชดาวน์ ขณะกดลง เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อหลังแขน เป็นต้น
3.Eccentric (เอ็กเซ็นทริก) เป็นการทำงานในลักษณะการยืดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้ความยาวของกล้ามเนื้อยาวขึ้น เช่นท่าไบเซพส์เคิร์ล ขณะปล่อแขนลง กล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้าจะยืดตัวออกงท่าไทรเซพส์ พุชดาวน์ ขณะงอข้อศอกกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลังจะยืดตัว
ถ้าเทียบความสามารถในการยกหรืออกแรงนั้น Eccentric สามารถรับน้ำหนักได้มากที่สุด รองลงมาคือ Isometric และสุดท้ายคือ Concentric ซึ่งเราต้องฝ่าจุดวิกฤตที่ยาก เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวให้เต็มมุมของการเคลื่อนไหว การที่เราต้องการให้กล้ามเนื้อได้รับ overloading ( การทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อเกิดความเสียหายหรือฉีกขาดที่ไม่ใช่การบาดเจ็บ หลังจากนั้นฟื้นฟูให้แข็งแรงและใหญ่ขึ้นขณะมีการพักผ่อน พร้อมอาหารที่พอเพียง) ได้อย่างเต็มที่นั้นจึงจำเป็นต้องฝึกในหลายๆมุม และหลากหลายการฝึก ยิ่งไปกว่านั้นการทำงานยืดตัวของกล้ามเนื้อที่ต้องการน้ำหนักที่มากกว่าการหดตัวของกล้ามเนื้อมีความสำคัญมาก กว่าจะเกิดความล้าในส่วนของEccentric เราก็หมดแรงไปกับการ concentricแล้ว ดังนั้นการที่เรามีผู้ช่วยsupport ดันหรือออกแรง แต่ขณะลงหรือผ่อนแรงนั้นปล่อยให้ได้รับแรงนั้นเอง ใน 2-3ครั้งสุดท้ายก่อนหมดแรงในแต่ละเซต เพื่อให้กล้ามเนื้อมีการพัฒนาได้ทุกรูปแบบและมีประสิทธิภาพสูงสุด"

 

แหล่งที่มา : training6.blogspot.com

อัพเดทล่าสุด