แบบทดสอบอาชีพฮอลแลนด์ แบบทดสอบอาชีพครู พร้อมเฉลย ทดสอบอาชีพที่เหมาะกับเรา


1,456 ผู้ชม


แบบทดสอบอาชีพฮอลแลนด์ แบบทดสอบอาชีพครู พร้อมเฉลย ทดสอบอาชีพที่เหมาะกับเรา


บุคคลิกภาพกับการเลือกอาชีพและการศึกษาให้เหมาะสมกับตัวเอง

การเลือกอาชีพและสาขาวิชาที่จะศึกษา ให้เหมาะสมกับตัวเองโดยเน้นเรื่องบุคลิกภาพ บุคคลแต่ละบุคคลย่อมมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน แต่ละคนจะมี     ลักษณะที่ชี้เฉพาะตนไม่ว่ารูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ หรือนิสัยใจคอ มีนักวิชาการบางท่านได้ให้ความหมายของคำว่า “บุคลิกภาพ” คือ ลักษณะส่วนรวมของ บุคคล ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่ปรากฏ   ทางร่างกาย   นิสัยใจคอ ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมรวมของบุคคลนั้น ซึ่งได้รวมอยู่ด้วยกันอย่างผสมกลมกลืนในตัว บุคคลนั้น รวมถึงสิ่งที่เขาชอบและไม่ชอบ สิ่งที่เขาสนใจและไม่สนใจ เป้าหมายต่าง ๆ ในชีวิตของเขา ความสามารถด้านต่าง ๆ ของเขา
ลักษณะของบุคลิกภาพเฉพาะของแต่ละคนนั้น หากบุคคลรู้จักและเข้าใจบุคลิกภาพจนสามารถมองตนได้ตามสภาพความเป็นจริงย่อมช่วยให้บุคคล ตัดสินใจเลือกแนวทางชีวิต การศึกษา และอาชีพได้อย่างสอดคล้องกับตัวเองมากที่สุด

บุคลิกภาพสำคัญอย่างไร

บุคลิกภาพนั้นเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
1. ทางกายภาพ หมายถึง รูปร่างหน้าตาดี ย่อมส่งผลให้ผู้สัมภาษณ์สนใจได้บ้าง และตนเองก็มีความภูมิใจมั่นใจยิ่งถ้ามีสุขภาพที่แข็งแรงว่องไวในการทำงานยิ่งน่าประทับใจ
2. ทางสมอง สมองดีไม่มีโรคภัยไข้เจ็บก็จะทำให้เขามีความทรงจำดี เชาวน์ปัญญาดี แต่ต้องเป็นผลจากการศึกษาอบรมพื้นฐานด้วย
3. ความสามารถ อาศัยประสบการณ์ และความถนัดจากการฝึกฝน

4. ความประพฤติ เป็นผู้อยู่ในศีลธรรม สุภาพอ่อนโยน มีมนุษยสัมพันธ์ ไม่เป็นปฏิปักษ์กับสังคม
5. ชอบเข้าสังคมมีทัศนคติที่ดีต่อผู้อื่น การแสดงออกต่อเพื่อนฝูง  ไม่เห็นแก่ตัว   มีน้ำใจต่อผู้อื่น  ไม่อวดตัว
6. อารมณ์ดี ใจเย็น ไม่ฉุนเฉียว อดกลั้นโทสะได้
7. กำลังใจ เป็นคนที่จิตใจเข้มแข็ง ไม่ท้อถอย ไม่เสียขวัญง่าย

บุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพ

เพราะบุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพ      โดยบุคคลจะเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของตน   บุคลิกภาพเฉพาะอย่างมีความสัมพันธ์กับอาชีพเฉพาะอย่าง ทฤษฎีการเลือกอาชีพของ “จอห์นแอล ฮอลแลนด์”

 1. แนวคิดพื้นฐาน 4 ประการ

ประการที่ 1 อาชีพเป็นเครื่องแสดงออกทางบุคลิกภาพ บุคคลจะเลือกอาชีพใดย่อมแสดงว่าบุคลิกภาพของเขาจะปรากฏออกมาในทิศทางเดียวกัน
ประการที่ 2 บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลมีความสัมพันธ์กับชนิดของสิ่งแวดล้อมในการทำงานของบุคคลนั้น ดังนั้น บุคคลจึงมีแนวโน้มจะหันเข้าหางาน    หรืออาชีพที่สอดคล้องกับบุคลิกภาพของเขา
ประการที่ 3 บุคคลจะค้นหาสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เขาได้ฝึกทักษะ และใช้ความสามารถของเขา
ทั้งยัง เปิดโอกาสให้เขาได้แสดงเจตคติ ค่านิยม และบทบาทของเขา
ประการที่ 4 บุคลิกภาพของสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ดังนั้น เมื่อสามารถ
ทราบบุคลิกภาพและสิ่งแวดล้อมของบุคคลแล้ว ก็จะทำให้ทราบผลที่จะติดตามมาของบุคคลนั้นด้วย     เช่น การเลือกอาชีพ  ความสำเร็จในอาชีพ ตลอดจนทั้ง พฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งการศึกษาอาชีพและสังคมด้วย

2. สาระของทฤษฎี

ฮอลแลนด์ได้สรุปทฤษฎีของเขาไว้ 4 ประการดังนี้ คือ
2.1 ในสังคมของวัฒนธรรมตะวันตก สามารถแบ่งบุคคลออกตามลักษณะของบุคลิกภาพได้ 6 ประเภท คือ
1.  พวกชอบเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม (Realistic) 2.  พวกที่ชอบเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ใช้ความคิด การแก้ปัญหา(Intellectual)    3.  พวกชอบเข้าสังคม(Social )        4.  พวกชอบระเบียบแบบแผน (Conventional)      5.  พวกที่มีความทะเยอทะยาน ชอบมีอำนาจ (Enterprising)       6 .  พวกชอบศิลปะ (Artistic)
2.2 บรรดาอาชีพต่าง ๆ นั้น สามารถแบ่งตามลักษณะและสภาพแวดล้อมได้  6  ชนิด   ซึ่งสอดคล้องกับบุคลิกภาพของคนทั้ง 6  ประเภท
2.3 บุคคลย่อมแสวงหาสภาพแวดล้อมและอาชีพ ซึ่งเปิดโอกาสให้เขาได้ใช้ความสามารถและทักษะ เพื่อแสดงออกถึงค่านิยมและทัศนคติ ตลอดจนการ มีบทบาทที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงบทบาทที่ไม่เหมาะสมกับตนเอง
2.4 พฤติกรรมของบุคคลสามารถอธิบายได้จากปฏิกิริยาระหว่างแบบฉบับแห่งพฤติกรรมของเขากับสภาพแวดล้อมของเขา

ท่านมีแนวถนัดด้านใดบ้าง

คนเรานั้นมีความถนัดในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลาย ๆ สิ่งด้วยกันทุกคน แต่มีระดับความสามารถมากน้อยแตกต่างกันไป บางคนมีความถนัดใน การทำงานหลาย ๆ ด้าน แต่บางคนมีความถนัดในการทำงานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะความถนัดก็คือ    ระดับความสามารถของบุคคล   ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ โดยที่บุคคลนั้น ๆ ได้รับการฝึกอบรม หรือมีประสบการณ์ในงานนั้นๆ มาคู่กัน และสามารถที่จะนำ ประสบการณ์หรือความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมนั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์
สำหรับการสำรวจตัวท่านเองว่าเป็นคนอย่างไร มีบุคลิกภาพอย่างไร ตลอดจนพฤติกรรมและลักษณะที่เป็นทั้งข้อดีข้อเสีย มีความเชี่ยวชาญ ชอบงาน ประเภทใด และมีความถนัดทางด้านใด จะช่วยให้เราสามารถมองภาพที่เป็นตัวเองได้ทั้งหมด
      จอห์น แอล ฮอลแลนด์ ได้จำแนกประเภทอาชีพตามบุคลิกภาพของบุคคลออกเป็น 6 กลุ่ม ซึ่งสามารถตัดสินใจก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพดังนี้

กลุ่มที่ 1 : บุคลิกภาพแบบจริงจัง ไม่คิดฝัน นิยมความจริงและสิ่งที่เป็นรูปธรรม( REALISTIC)
กลุ่มที่ 2 : บุคลิกภาพแบบที่ต้องใช้เชาว์ปัญญาและความคิดนักวิชาการ หรือผู้ใช้กิจกรรมทางปัญญาในการแก้ปัญหา และแสวงหาความรู้ (INVESTIGATIVE)
กลุ่มที่ 3 : บุคลิกภาพแบบมีศิลปะ (ARTISTIC)
กลุ่มที่ 4 : บุคลิกภาพที่ชอบสมาคม สังคมกับบุคคลอื่น มีความสนใจสังคม (SOCIAL)
กลุ่มที่ 5 : บุคลิกภาพแบบกล้าคิดกล้าทำ มีธรรมชาติที่ชอบทำกิจกรรม เกี่ยวข้องกับการวางแผน
หรือผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ (ENTERPRISING)
กลุ่มที่ 6 : บุคลิกภาพที่ทำตามระเบียบแบบแผน (CONVENTIONAL)

การตัดสินใจเลือกอาชีพ

การตัดสินใจเลือกอาชีพ นับว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตมนุษย์ อาจกล่าวได้ว่า     “งานคือชีวิต” ดังนั้น ในการเลือกอาชีพจำเป็นต้องมีการเริ่มต้นด้วยการวางแผนชีวิตด้านอาชีพ   ตั้งแต่วัยเรียน ซึ่งเป็นการวางแผนระยะยาวที่ต้องใช้เวลานานมาก และใช้ความพยายามอย่างมาก ผลตอบแทนที่ได้รับก็คุ้มค่า

สิ่งสำคัญในการตัดสินใจเลือกอาชีพ

ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ
ประการที่ 1 : ปัจจัยภายนอก ได้แก่ข้อมูลด้านอาชีพเป็นข้อมูลที่มีขอบข่ายกว้างขวางมาก ซึ่งขอบข่ายของข้อมูลด้านอาชีพพอสรุปได้ดังนี้
1. แนวโน้มของตลาดแรงงาน
เป็นข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการผู้ทำงานในด้านต่าง ๆ ในปัจจุบัน และการพยากรณ์ที่จะมีความ
ต้องการเพิ่มขึ้นหรือลดลงในอนาคต
2. ลักษณะงาน
งานที่จะต้องทำเป็นประจำมีลักษณะอย่างไร ผู้ทำงานจะต้องทำอะไรบ้าง เป็นงานที่ทำให้เกิด
ความเพลิดเพลินหรือก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย งาน ใหญ่หรืองานเล็ก มีความรับผิดชอบที่สำคัญหรือไม่ ต้อง เกี่ยวข้องกับตัวเลข สิ่งของ หรือคน ต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์มากหรือไม่ ต้องนั่งทำงาน ยืนทำงาน ต้องเดิน ทางหรือไม่
3. สภาพแวดล้อมของงาน
ได้แก่ สภาพแวดล้อมและบรรยากาศของงาน เช่น ร้อน เย็น ชื้น แห้ง เปียก ฝุ่นละออง สกปรก
เสียงดัง ในอาคาร กลางแจ้ง ในโรงงาน มีสารพิษ มีสาร กัมมันตภาพรังสี มีความขัดแย้ง เป็นต้น
4. คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
อายุ ได้มีการกำหนดช่วงอายุในการทำงานและเกษียณไว้อย่างไร  เพศ อาชีพนั้น ๆ โดยทั่วไปเป็นอาชีพสำหรับเพศหญิงหรือเพศชาย หรือให้ โอกาสแก่ทั้งหญิงทั้งชาย หรือให้โอกาสแก่เพศใดเพศหนึ่งมากกว่า
5. การเข้าประกอบอาชีพ
การเข้าประกอบอาชีพต้องมีวิธีการอย่างไร โดยการสมัครงานกับนายจ้างด้วยตนเองต้องมีการสอบสัมภาษณ์หรือต้องสอบข้อเขียนด้วย ถ้าเป็นการ ประกอบอาชีพอิสระต้องใช้ทุนทรัพย์เพื่อดำเนินกิจการมากน้อยเพียงใด
6. รายได้
ในการประกอบอาชีพนั้น ๆ จะมีรายได้เป็นวัน สัปดาห์ เดือน ปี โดยเฉลี่ยแล้วเป็นเงินเท่าใด
7. ความก้าวหน้า
อาชีพนั้น ๆ จะมีความก้าวหน้าเพียงใด จะต้องมีการศึกษาอบรมเพิ่มเติม มีความสามารถหรือประสบการณ์อย่างไรจึงจะได้เลื่อนขั้นมากน้อยเพียงใด การประกอบอาชีพเดิมนำไปสู่อาชีพใหม่หรือไม่
8. การกระจายของผู้ประกอบอาชีพ
มีผู้ประกอบอาชีพมากน้อยเพียงใดและกระจายอยู่ทั่วประเทศหรือมีอยู่เพียงบางจังหวัด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ผู้ประกอบอาชีพที่ใดก็ได้หรือจะต้อง อยู่ที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ
9. ข้อดีและข้อเสีย
อาชีพแต่ละอย่างย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งขึ้นอยู่กับความพอใจและความต้องการของผู้ประกอบอาชีพของแต่ละคน งานบางอย่างอาจมีการ ทำงาน ล่วงเวลา ทำงานในวันเสาร์อาทิตย์ หรือ วันหยุด และการเดินทางไปปฏิบัติในท้องที่อื่น ๆ งานบางอาชีพมีความมั่นคงกว่างานอาชีพอื่น ฯลฯ

          ประการที่ 2 : ปัจจัยภายใน ได้แก่

ปัจจัยส่วนบุคคล   ปัจจัยเกี่ยวกับโครงสร้างของค่านิยม
               – ความสนใจ
- บุคลิกภาพ
- สติปัญญา
- ความถนัด
- ทักษะ
- ความสัมฤทธิผล
- ประสบการณ์
- แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิผล
- ความรับผิดชอบ
- ความอุตสาหะ
- ความตรงต่อเวลา
- ความอบอุ่น
- ระดับการกล้าเสี่ยง
- ความเป็นคนเปิดเผย
- ความไม่ยืดหยุ่น
- ความแกร่งของจิตใจ
- ความรู้สึกเกี่ยวกับคุณค่าแห่งตน
- ความสามารถในการตัดสินใจ
- วุฒิภาวะทางอาชีพ
- เพศ
- เชื้อชาติ
- อายุ
- ความแข็งแรงของร่างกาย
- สุขภาพ
- ฯลฯ
         – ค่านิยมทั่ว ๆ ไป
- ค่านิยมทางการงาน
- จุดมุ่งหมายชีวิต
- จุดมุ่งหมายทางอาชีพ
- การรับรู้เกียรติและชื่อเสียงของอาชีพ
- ทัศนคติต่ออาชีพต่าง ๆ
- ความเข้าใจอาชีพที่เกี่ยวกับคน/อมูล
- จริยธรรมในการทำงาน
- การใช้เวลาว่าง
- ความต้องการเปลี่ยนแปลง
- ความต้องการกฎเกณฑ์
- ความต้องการสนับสนุน/ช่วยเหลือ
- ความต้องการอำนาจ
- ความมั่นคง
- ความปลอดภัย
- การทำงานให้เป็นประโยชน์กับผู้อื่น
- ฯลฯ

จะทราบได้อย่างไรว่าอาชีพไหนเหมาะสมกับท่าน

คนเรามีความถนัด ความสามารถ และความสนใจในงานอาชีพแตกต่างกัน บางคนเหมาะที่จะ ทำงานด้านหัตถกรรม  บางคนเหมาะสมที่จะทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรืองานที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยาศาสตร์ ส่วนบางคนอาจจะเหมาะสมที่จะทำงานเกี่ยวกับการสอนดนตรี การช่วยเหลือติดต่อ ประชาชน เหล่านี้เป็นต้น แต่ละคนมีพรสวรรค์ไม่เหมือนกัน ไม่สามารถทำงานชนิดเดียวกันได้หมด ทุก คน ข้อสำคัญก็คือ ท่านต้องรู้จักตัวเอง และรู้จักงานอาชีพต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งพิจารณา ดูว่ามีงานอะไรบ้างที่ท่านชอบและสนใจมากที่สุด และงานนั้นๆ เหมาะสมกับอุปนิสัยและบุคลิกลักษณะ ของท่านหรือไม่

 ปัญหาก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนหรือผู้สมัครงาน

1. ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการประกอบอาชีพต่างๆ ขาดทักษะและรายละเอียดข้อมูล เกี่ยวกับโลก อาชีพ เช่น ลักษณะของงานอาชีพ กระบวนการทำงานในงานอาชีพนั้นๆ ความก้าวหน้าในอาชีพการ ทำงาน และความต้องการของตลาดแรงงานในงานสาขาอาชีพนั้น ๆ
2. นักเรียนและผู้สมัครงาน ต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา แนะนำ แนะแนวอาชีพ แนะแนวการศึกษาต่อ และการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่ ตลาดแรงงาน
3. นักเรียนและผู้สมัครงาน จะต้องรู้ขีดความสามารถ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจ และความพร้อมในการเลือกประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับตนเอง
4. ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ นักเรียนและผู้สมัครงาน จะต้องมีความรู้ในเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลตั้งแต่การเลือกเรียนต่อหรือศึกษาเพิ่มเติมในสาขา วิชาที่ใช้เงินทุนจำนวนน้อย และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจน การฝึกพัฒนา ฝีมือตนเองเพิ่มเติมเพื่อให้คุณลักษณะเด่น ในการสมัครงาน

สรุปข้อแนะนำก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพ

1. ผู้ตัดสินใจเลือกอาชีพควรรู้จักตนเองให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะในด้านอุปนิสัย ความรู้ ความถนัด ความสามารถ ความสนใจ บุคลิกลักษณะ สุขภาพ นิสัย ทัศนคติเกี่ยวกับอาชีพนั้น ๆ และฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ฯลฯ
2. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ ลักษณะของงานอาชีพ ค่าจ้าง สวัสดิการ ความก้าวหน้า และความมั่นคงของงาน ตลอดจนความต้องการ ของตลาดแรงงาน ฯลฯ

ขอขอบคุณข้อมูลจากกองส่งเสริมการมีงานทำ  กรมการจัดหางาน


แหล่งที่มา : kruying6143.wordpress.com

อัพเดทล่าสุด