ทดสอบอาชีพที่ถูกใจ แบบทดสอบอาชีพที่ชอบ แบบทดสอบอาชีพ จอห์น ฮอลแลนด์


1,717 ผู้ชม


ทดสอบอาชีพที่ถูกใจ แบบทดสอบอาชีพที่ชอบ แบบทดสอบอาชีพ จอห์น ฮอลแลนด์

 

แนะแนวแนะนำการเรียนต่อและอาชีพ
  คำนำ

                 การตัดสินใจเลือกอาชีพเพื่อจะไปศึกษาเพิ่มเติม หรือเพื่อหางานทำนั้น เป็นเรื่องสำคัญต่อชีวิตคนเรามาก การเลือกอาชีพควรพิจารณา ให้รอบคอบทั้งตัวเองและทั้ง งานอาชีพว่า เหมาะสมกันเพียงใด ถ้าตัดสินใจเลือกอาชีพอย่างรีบร้อนไม่รอบคอบ อาจต้องทำงานที่ไม่ตรงกับอุปนิสัย ซึ่งเป็นผลให้ทำงานนั้นไม่ดีเท่าที่ควร ไม่มีความเจริญก้าว หน้า ก่อให้เกิด ความ เบื่อหน่ายต่อการทำงานนั้นๆ เป็นเหตุให้อยากเปลี่ยนงาน และอาจเป็นผู้ว่างงานในที่สุด ซึ่งจจะเป็นผลเสียหายต่อตนเองต่อสังคมและ เศรษฐกิจของ ประเทศชาติอย่างมาก ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า ตัวท่านเองเหมาะสมกับงาน  อาชีพประเภทไหน ในเมื่ออาชีพต่างๆ ในประเทศไทยนั้น มีมากกว่าสองพันอาชีพ เพื่อช่วย ให้ท่าน ได้ทราบ  แนวทาง ในการพิจารณาเลือกอาชีพอย่างถูกต้องเหมาะสมกับตัวท่านเอง กองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน จึงได้จัดทำเอกสาร "แนวทาง การเลือกอาชีพและ การ เตรียมตัว สมัครงาน" เพื่อเป็นข้อแนะนำก่อนการพิจารณาตัดสินใจเลือกอาชีพและหวังว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านตามสมควร โปรดอ่านเอกสารนี้ อย่าง ละเอียดถี่ถ้วน  และใช้ดุลยพินิจพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆ โดยรอบคอบ อย่าลืมว่า อนาคตของท่านขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกอาชีพอย่างถูกต้อง ท่านที่มีปัญหา เกี่ยวกับการ เลือกอาชีพ และต้องการที่จะทดสอบแนวถนัดทางอาชีพของตนเอง สนใจติดต่อ กองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน หรือสำนักงาน จัดหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ กองส่งเสริมการมีงานทำ มิถุนายน 2540 
จะทราบได้อย่างไรว่าอาชีพไหนเหมาะสมกับท่าน?

                 คนเรามีความถนัด ความสามารถ และความสนใจในงาน อาชีพแตกต่างกัน บางคนเหมาะสมที่จะทำงานด้านหัตถกรรม บางคนเหมาะสมที่ จะทำงาน เกี่ยว กับเครื่องจักรกล หรืองานที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยาศาสาตร์ส่วนบางคนอาจะเหมาะสมที่จะทำงานเกี่ยวกับการสอนการดนตรี การช่วยเหลือติดต่อประชาชน เหล่านี้เป็นต้น แต่ละคนมีพรสวรรค์ไม่เหมือนกัน ไม่สามารถทำงานชนิดเดียวกันได้หมดทุกคน ข้อสำคัญคือ ท่านต้องรู้จักตัวเอง และรู้จักงานอาชีพต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งรู้จัก พิจารณาดูว่า มีงานอะไรบ้างที่ท่านชอบ และสนใจมากที่สุด และงานนั้นๆ เหมาะสมกับอุปนิสัยและบุคลิกลักษณะของท่านหรือไม่ ปัญหาก่อนตัดสินใจเลือก อาชีพของ นักเรียนหรือผู้สมัครงาน 
       1. ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการประกอบอาชีพต่างๆ ขาดทักษะและรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับโลกอาชีพ เช่น ลักษณะของงานอาชีพ กระบวนการทำงานในงานชีพนั้นๆ ความก้าวหน้าในอาชีพการทำงานและความต้องการของตลาดแรงงานในงานสาขาอาชีพนั้นๆ 
      2. นักเรียนและผู้สมัครงาน ต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา แนะนำ แนะแนวอาชีพ แนะแนวการศึกษาต่อ และการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน 
      3. นักเรียนและผู้สมัครงาน จะต้องรู้ขีดความสามารถ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจ และความพร้อมในการเลือกประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับตนเอง 
      4. ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ นักเรียนและผู้สมัครงาน จะต้องมีความรู้ในเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลตั้งแต่การเลือกเรียน ต่อหรือศึกษาเพิ่มเติม ในสาขาวิชาที่ ใช้เงินทุนจำนวนน้อย และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจนการฝึกพัฒนาฝีมือตนเองเพิ่มเติมเพื่อให้มีคุณลักษณะเด่นในการสมัครงาน

ข้อแนะนำก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพ 
     1. ผู้ที่จะตัดสินใจเลือกอาชีพควรรู้จักตัวเองให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะในด้านอุปนิสัย ความรู้ ความถนัด ความสามารถ ความสนใจ บุคลิกลักษณะ สุขภาพ นิสัย ทัศนคติที่เกี่ยวกับอาชีพนั้นๆ และฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว 
     2. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ลักษณะของงานอาชีพ สถานที่ที่จะศึกษาเพื่อประกอบอาชีพนั้นๆ ค่าจ้าง สวัสดิการ ความก้าวหน้าและความมั่นคงของงาน ตลอดจนความต้องการของตลาดแรงงาน
ความสำคัญของการเลือกอาชีพและการแนะแนวอาชีพ 
               เนื่องจากอาชีพมีความสำคัญต่อมนุษย์มากมาย ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การเลือกประกอบอาชีพ จึงมีความสำคัญต่อมนุษย์เป็น อันมากในสังคมของเรา มีอาชีพมากมาย หลายชนิด เช่น อาชีพนักแสดง นักธุรกิจ และนักวิทยาศาสตร์ เป็นต้น อาชีพแต่ละอาชีพก็มีความแตกต่างกันมาก อาชีพบางอย่างก็ควรจะเหมาะสมกับบุคลิกภาพของคนหนึ่ง แต่ก็อาจจะไม่สอดคล้องกับบุคลิกภาพของอีกคนหนึ่ง การเลือกประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพ ความสนใจ ความถนัดของแต่ละบุคคลจึงมีความสำคัญมาก คนที่ เลือกประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับตน ย่อมก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และก่อให้เกิดความสุขในการทำงาน และยังมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพมาก ในทางตรงกันข้าม ถ้าบุคคลประกอบอาชีพที่ไม่เหมาะสมกับตนเองแล้ว ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายในการทำงาน และเนื่องจากคนเราต้องใช้เวลาในการประกอบอาชีพ ภายหลัง จากการศึกษาเป็นเวลาช้านานถึงหนึ่งในสามของชีวิต หรือประมาณ 100,000 ชั่วโมง การที่จะต้องอดทนต่อกิจกรรมที่น่าเบื่อหน่าย เป็นระยะเวลาอันแสนนานเช่นนี้ จึงทำให้ ชีวิตของตนไม่มีความสุข การประกอบอาชีพที่ไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับบุคลิกภาพ ความสนใจและความถนัด นอกจากจะมีโอกาสประสบความสำเร็จ ในการประกอบ อาชีพน้อยแล้ว ยังเป็นการทรมานชีวิตอย่างหนึ่งอีกด้วย การเลือกอาชีพที่ไม่เหมาะสมกับบุคลิก ลักษณะอุปนิสัย ความรู้ ความสามารถ ความสนใจ และความถนัดใน งานอาชีพ ของตน เองและความต้องการของตลาดแรงงาน อาจก่อให้เกิดผลเสียหายหลายประการ เช่น เรียนไม่สำเร็จต้องเปลี่ยนวิชาใหม่ ทำให้เสียเวลาและทุนทรัพย์ไปโดยเปล่าประโยชน์ หางานทำยาก หางานทำไม่ได้ หรือไม่อยากทำงานอาชีพตามที่ได้รับการศึกษาอบรมมา ทำงานไม่ก้าวหน้า เนื่องจากการทำงานอาชีพจะต้องทำด้วยใจรัก ตั้งใจและมีความ    รับผิดชอบในหน้าที่หากได้งานทำที่ไม่เหมาะสมกับบุคลิกลักษณะอุปนิสัย ความสามารถ ความถนัด หรือความสนใจแล้วโอกาสที่รักงาน ตั้งใจทำงาน หรือรับผิดชอบในหน้า ที่ การงานก็จะมีน้อย มีแต่ความเบื่องานไม่อยากทำงานหรือทำไปอย่างแกนๆ โอกาสก้าวหน้าจึงมีน้อย เปลี่ยนบ่อย เมื่อเกิดความเบื่องาน ไม่อยากทำงานก็จำเป็นต้องหา งาน ใหม่ที่น่าสนใจและถูกใจกว่า จึงต้องเปลี่ยนงานบ่อยไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถูกใจ ผลเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ ก่อให้เกิดการสูญเปล่าทั้งเวลา ความเจริญก้าวหน้าของบุคคล เศรษฐกิจ ของครอบครัว และของประเทศชาติเป็นส่วนรวมอีกด้วย การเลือกประกอบอาชีพเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน ซึ่งบุคคลที่จะตัดสินใจเลือกอาชีพ จะต้องรู้จักตัวเองในด้านความ สนใจ ความสามารถ และความถนัดเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นการยากสำหรับปุถุชนทั่วไป นอกจากจะต้องรู้จักตัวเองแล้ว ผู้เลือกอาชีพจะต้องรู้จักโลกของงาน คือ รู้จักอาชีพโดยละเอียด หลายอาชีพจึงมีความจำเป็นต้องจัดบริการแนะแนวอาชีพ เพื่อช่วยเหลือบุคคลให้สามารถเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ สามารถทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและสังคม

การเลือกอาชีพและการศึกษา ให้เหมาะสมกับตัวเอง

              การเลือกอาชีพและสาขาวิชาที่จะศึกษา ให้เหมาะสมกับตัวเอง โดยเน้นเรื่องของบุคลิกภาพ บุคคลแต่ละบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน แต่ละคนจะมีลักษณะ ที่ชี้เฉพาะ ตนไม่ว่า จะเป็นรูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ หรือนิสัยใจคอ มีนักวิชาการบางท่านได้ให้ความหมายของคำว่า "บุคลิกภาพ" คือ ลักษณะส่วนรวมของบุคคล ซึ่งประกอบด้วยสิ่ง ที่ปรากฏ ทางร่างกาย นิสัยใจคอ ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมรวมของบุคคลนั้น ซึ่งได้รวมอยู่ด้วยกันอย่างผสมกลมกลืนในตัวบุคคลนั้น รวมถึงสิ่งที่เขาชอบและไม่ชอบ สิ่งที่เขาสน ใจและไม่สนใจ เป้าหมายต่างๆ ในชีวิตของเขา สิ่งจูงใจต่างๆ ของเขา ความสามารถด้านต่างๆ ของเขา ลักษณะบุคลิกภาพเฉพาะ ของแต่ละคนนั้น หาก บุคคล รู้จักและเข้า ใจบุคลิกภาพของตนเอง จนสามารถมองตนได้ตามสภาพความเป็นจริง ย่อมช่วยให้บุคคลตัดสินใจเลือกแนวทางชีวิต การศึกษาและ อาชีพได้อย่างสอดคล้อง กับตัวเองมากที่สุด

บุคลิกภาพสำคัญอย่างไร

          บุคลิกภาพนั้นเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง 
    1. ทางกายภาพ หมายถึง รูปร่างหน้าตาดี ย่อมส่งผลให้ผู้สัมภาษณ์สนใจได้บ้าง และตนเองก็มีความภูมิใจมั่นใจยิ่งถ้ามีสุขภาพที่แข็งแรงว่องไวในการทำงานยิ่งน่าประทับใจ 
    2. ทางสมอง สมองดีไม่มีโรคภัยไข้เจ็บก็จะทำให้เขามีความทรงจำดี เชาวน์ปัญญาดี แต่ต้องเป็นผลจากการศึกษาอบรมพื้นฐานด้วย 
    3. ความสามารถ อาศัยประสบการณ์ และความถนัดจากการฝึกฝน 
    4. ความประพฤติ เป็นผู้อยู่ในศีลธรรม สุภาพอ่อนโยน มีมนุษย์สัมพันธ์ ไม่เป็นปฎิปักษ์กับสังคม 
    5. ชอบเข้าสังคม มีทัศนคติที่ดีต่อผู้อื่น การแสดงออกต่อเพื่อนฝูง ไม่เห็นแก่ตัว มีน้ำใจต่อผู้อื่น ไม่อวดตัว 
    6. อารมณ์ดี ใจเย็น ไม่ฉุนเฉียว อดกลั้นโทสะได้ 
    7. กำลังใจ เป็นคนที่จิตใจเข้มแข็ง ไม่ท้อถอย ไม่เสียขวัญง่าย

ในการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีนั้น ต้องการพื้นฐานในการส่งเสริมอย่างไรบ้าง 
    1. ต้องเอาใจใส่สุขภาพ การออกกำลังกาย การทำงาน การกินอาหาร การพักผ่อนนอนหลับ ต้องจัดให้เป็นไปตามความเหมาะ สมของร่างกายโดยถือความพอดี ของแต่ละ บุคคลเป็นหลัก คือ กินได้ ถ่ายสะดวก และนอนหลับ คุณก็จะปลอดภัยจาการถูกรบกวนด้วยอาการอ่อนเพลียจิตใจ หงุดหงิด และปวดศีรษะ 
    2. บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม ข้อนี้เป็นข้อสำคัญในการควบคุม "พลังใจใฝ่อำนาจ" มิให้แสดงออกมานอกลู่นอกทาง ถ้าไม่มีพลังใจใฝ่สังคมมาถ่วงคุณไว้ คุณจะ กลายเป็นคนเห็นแก่ตัวเองแต่ใจตนเอง ต่อต้านสังคม 
    3. ศึกษางานในหน้าที่ ความรอบรู้ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง คนที่รู้งานในหน้าที่ของตนดีและทำงานด้วยความมั่นใจ ย่อมเกิดความภาคภูมิใจว่าเป็นคนสำคัญ คนหนึ่งในบริษัท และการมีความรู้สึกเช่นนี้ก็ย่อมจะเสริมสร้างบุคลิกลักษณะของเขาให้ดีขึ้นได้ 
    4. หัดนิสัยให้เป็นคนขวนขวาย ความขวนขวายจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีความสนใจ ความรักในหน้าที่ ฉนั้นในขั้นต้นจะต้องสร้างความสนใจขึ้นมาก่อน พึงสนใจงานในหน้าที่ งานของเพื่อนบ้าน และของสังคม อย่าทำตัวเป็นคนชอบบ่นจู้จี้จุกจิก และคอยมุ่งคิดแต่ว่าเมื่อใดจะถึงวันหยุดงาน 
    5. เป็นผู้ฟังที่ดี แต่ต้องเป็นการฟังอย่างมีศิลปะ คือผู้ฟังต้องชักจูงผู้พูดให้พูดในเรื่องที่เข้าเรื่องและแสดงให้เห็นว่าตนเองฟังคำพูดของเขาด้วยความตั้งใจ เมื่อถึงโอกาส ที่ควรถามก็ถามแต่ควรจะคอยให้เขาพูดจนจบเสียก่อน นี่คือศิลปะในการฟัง 
    6. มีวาทศิลป์ ศึกษาปัญหาชีวิตของสังคมที่เกิดขึ้นประจำวันโดยการสังเกตการอ่านหนังสือพิมพ์ ชมภาพยนตร์บ้าง ซึ่งจะช่วยให้คุณมีความรู้หรือม ีข้อมูลเก็บไว้ใช้ ในการพูด คุยกับผู้อื่นได้มากขึ้น 
    7. มีความรู้พอที่จะพูดคุยกับผู้อื่นได้ทุกระดับ 
    8. รู้จักถ่อมตัว หมายถึง การไม่ยกตนข่มท่าน ทั้งด้านกริยาและคำพูด การถ่อมตนที่ถูกต้องนั้นต้องเกิดจากความรู้สึกที่จริงใจว่าตนเองแม้จะมีความสำคัญในทางใดบ้าง แต่ก็มิใช่เป็นคนสำคัญคนเดียว หากแต่ยังมีคนอื่นที่สำคัญเท่ากัน หรือสำคัญกว่า ซึ่งจะทำให้คุณเข้าสังคมกับใครๆ ได้อย่างหน้าชื่นตาบาน 
    9. รักเพื่อนบ้าน คุณควรจะมีการวิสาสะกับเพื่อนบ้านบ้างสัมผัสกันตามสมควร แล้วคุณจะได้ประโยชน์มากมาย 
    10. อย่างมุ่งสร้างบุคลิกภาพมากเกินไป ถ้าคุณวาดภาพอยู่ในใจอยู่เสมอว่า บุคลิกภาพของคุณจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามที่คุณเห็นว่าดีหรืองามแล้ว คุณก็พยายามประพฤติตัวให้เป็นอย่างที่คุณต้องการ ภาพที่จะสะท้อนให้เห็นก็คือคุณจะกลายเป็นคนที่แข็งทื่อ ฝืนธรรมชาติ และกลายเป็นคนที่อยู่ในสภาพหลอกลวงไป 
นอกจากข้อพึงปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพแล้วยังมีสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงละทิ่งออกไปจากตัวคุณ ได้แก่ 
      ก. ความรู้สึกต่ำต้อย รวมทั้งความหมั่นไส้เยาะเย้ยตนเอง 
      ข. ความอิจฉาริษยา 
      ค. ความไว้ตัวมากเกินไปซึ่งข้อนี้จะทำให้เกิดผลตามมาคือจะเป็นคนโกรธง่าย ประสาทอ่อน ขี้แย ถือดีเกินไปหัวสูง และแยกตัวเองออกจากสังคม บุคลิกภาพดีเป็นของมีค่า ที่ควรยึดไว้เป็นเป็นสมบัติประจำตัวจะทำให้ชีวิตประสบแต่ความสำเร็จ

บุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพ 

             เพราะบุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพ โดยบุคคลจะเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของตน บุคลิกภาพเฉพาะอย่างจะมีความสัมพันธ์กับอาชีพเฉพาะอย่าง ทฤษฎีการเลือกอาชีพของจอห์นแอล ฮอล แลนด์ มีแนวคิดพื้นฐาน 4 ประการ 
ประการที่ 1 อาชีพเป็นเครื่องแสดงออกทางบุคลิกภาพบุคคลจะเลือกอาชีพใด ย่อมแสดงว่าบุคลิกภาพของเขาจะปรากฎออกมาในทิศทางเดียวกัน 
ประการที่ 2 บุคลิกภาพของเขาแต่ละบุคคลมีความสัมพันธ์กับชนิดของสิ่งแวดล้อมในการทำงานของบุคคลนั้น ดังนั้น บุคคลจึงมีแนวโน้มจะหันเข้าหางาน หรืออาชีพที่สอด คล้อง กับบุคลิกภาพของเขา 
ประการที่ 3 บุคคลจะค้นหาสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เขาได้ฝึกทักษะ และใช้ความสามารถของเขา ทั้งยังเปิดโอกาสให้เขาได้แสดงเจตคติ ค่านิยม และบทบาทของเขา 
ประการที่ 4 บุคลิกภาพและสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ดังนั้น เมื่อสามารถทราบบุคลิกภาพและสิ่งแวดล้อมของบุคคลแล้ว ก็จะทำให้ทราบผลที่จะติดตามมา ของบุคคลนั้นด้วย เช่น การเลือกอาชีพ ความสำเร็จในอาชีพ ตลอดจนทั้งพฤติกรรมต่างๆ ทั้งการศึกษาอาชีพและสังคมด้วย ท่านมีแนว ถนัดด้านใดบ้าง?
             คนเรานั้นมีความถนัดในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆ สิ่งด้วยกันทุกคน แต่มีระดับความสามารถมาก น้อยแตกต่างกันไปบางคน มีความถนัดในการทำงาน หลายๆ  ด้าน แต่บางคนมีความถนัดในการทำงานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะความถนัดก็คือระดับความสามารถของบุคคล ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้โดยที่บุคคลนั้นๆ ได้รับการ ฝึกอบรม หรือมีประสบการณ์ในงานนั้นๆ มาคู่กัน และสามารถที่จะนำประสบการณ์หรือความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมนั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ สำหรับการสำรวจตัว ท่านเองว่า เป็นคนเช่นไร มีบุคลิกภาพอย่างไร ตลอดจนพฤติกรรมและลักษณะที่เป็นทั้งข้อดีข้อเสีย มีความเชี่ยวชาญ ชอบงานประเภทใดและมีความถนัดทางด้านใด จะช่วยให้เรา สามารถมองภาพที่เป็นตัวเองได้ทั้งหมด จอห์น แอล ฮอลแลนด์ ได้จำแนกประเภท อาชีพตามบุคลิกภาพของบุคคลออกเป็น 6 กลุ่ม ซึ่งสามารถตัดสินใจก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพ ดังนี้ 
กลุ่มที่ 1

บุคลิกภาพแบบจริงจังไม่คิดฝันนิยมความจริงและสิ่งที่เป็นรูปธรรม 
(REALISTIC)
ลักษณะโดยทั่วไป 
ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้ จะชอบกิจกรรมที่ต้องใช้พละกำลังชอบทำจักรกล ขาดทักษะทางภาษา ขาดทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องสังคมกับบุคคลอื่นไม่ชอบเป็นจุดสนใจของผู้อื่น ค่อนข้างก้าวร้าว มีลักษณะเป็นชาย มีค่านิยมทางเศรษฐกิจและการเมือง ในรูปแบบที่มีระเบียบแบบแผนยึดถือประเพณีนิยม 
ลักษณะเด่นของบุคลิกภาพ 
มี่ความเป็นผู้ใหญ่ มีความอดทน มีความบากบั่น กล้าแสดงผลงาน ขาดทักษะในการสร้างสัมพันธภาพทางสังคม 
การประเมินผลตนเอง 
มีความเป็นผู้นำต่ำ มีทักษะในการสื่อสารต่ำ มีสุนทรีต่ำ 
อาชีพที่สอดคล้องกับบุคลิกภาพ วิชาที่อาจเลือกศึกษา 
- วิศวกร - วิศวกรรม เครื่องกล 
- ช่างเทคนิค - อุตสาหกรรม 
- นักบิน - วนศาสตร์ ประมง 
- ประมง - สัตวแพทย์ สัตวบาล 
- ป่าไม้ - วิทยาศาสตร์การแพทย์ 
- ผู้ฝึกกีฬา - สถาปัตยกรรมศาสตร์ 
- ครูสอนพลศึกษา - พลศึกษา สันทนาการ 
- สัตวแพทย์ - ครุศาสตร์อุตสาหกรรม 
- เกษตรกรรม - ศิลปศึกษา อุตสาหกรรมศิลป์ 
- ช่างฝีมือ - เกษตรกรรมพืชศาสตร์ 
- นักกายภาพบำบัด - กายภาพบำบัด 
อาชีพเพิ่มเติม 
ช่างเจียรนัยพลอย ช่างเชื่อม ช่างทำขนม ช่างปรับซ่อมตัวถังรถยนต์ ช่างทาสี เกษตรกร ช่างซ่อมรองเท้า ช่างตัดเสื้อ ช่างทอ ช่างปัก ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ พนักงานขับรถบรรทุก ช่างทำโครงเหล็ก ช่างก่อสร้าง คนขับรถแท็กซี่ นักการภารโรง นักสืบ 

กลุ่มที่ 2

บุคลิกภาพแบบที่ต้องใช้เชาว์ปัญญาและความคิดนักวิชาการหรือผู้ใช้กิจกรรมทางปัญญาในการแก้ปัญหา และแสวงหาความรู้ 
(INVESTIGATIVE)
ลักษณะโดยทั่วไป 
ผู้ที่มีบุคลิกแบบนี้จะชอบคิด สังเกต วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ชอบแก้ปัญหา ชอบใฝ่หาความรู้ มีหลักการชอบทำงานที่สลับซับซ้อนมากกว่าเป็นผู้ลงมือทำ ไม่ติดประเพณีนิยม หลีกเลี่ยงการค้า การชักชวน การเข้าสังคมและการเลียนแบบ 
ลักษณะเด่น 
มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความคิดเห็นรุนแรงมีความบากบั่น อุทิศเวลาให้กับงาน เก็บตัว ไม่ใคร่สนใจ 
การประเมินตนเอง 
มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบเอาอย่างใครสูง มีความร่าเริงต่ำ 
อาชีพที่สอดคล้องกับบุคลิกภาพ วิชาที่อาจเลือกศึกษา 
- แพทย์ - แพทย์ศาสตร์ ทันตแพทย์ 
- ทันตแพทย์ - เภสัชศาสตร์ 
- สัตว์แพทย์ - เทคนิคการแพทย์ 
- เภสัชกร - วิทยาศาสตร์การแพทย์ 
- วิทยาศาสตร์การแพทย์ - เคมี ชีว ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ 
- นักวิทยาศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ สถิติ 
- เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค - วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ 
- นักคณิตศาสตร์ - วิศวกรรมศาสตร์ ไฟฟ้า อีเล็คฯ 
- เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบคอมฯ - สังคมศาสตร์ มนุษย์วิทยา 
- นักเคมี ฟิสิกส์ - สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ 
- นักจิตวิทยา - จิตวิทยา 
- นักสังคมศาสตร์ - ภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์ 
- นักเศรษฐศาสตร์ - นักเขียนงานวิชาการ 
- นักโบราณคดี - วิศวกร (เคมี ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์)

กลุ่มที่ 3

บุคลิกภาพแบบมีศิลปะ 
(ARTISTIC) 
ลักษณะโดยทั่วไป 
ผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ชอบกิจกรรมเกี่ยวกับนามธรรม เป็นอิสระ รักความงาม มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบใช้ชีวิตและกิจกรรมแบบตามลำพังไม่ค่อยควบคุมตัวเอง มักทำตามใจที่ตนปรารถนา มีความต้องการแสดงออกถึงลักษณะเฉพาะตัวของตัวเอง ชอบทางศิลปะ ไม่ชอบเลียนแบบ มีความคิดริเริ่ม หลีกเลี่ยงงาน ประเภท ใช้ระเบียบแบบแผน 
ลักษณะเด่นของบุคลิกภาพ 
มีสุนทรีย์ มีศิลปะ ชอบคิดคำนึง ชอบครุ่นคิดคนเดียว เก็บตัว 
การประเมินตนเอง 
มีความเป็นอิสระสูง มีความเข้าใจตนเองสูง มีความสามารถในการควบคุมตนเอง มีความสามารถในการแสดงความรู้สึก
อาชีพที่สอดคล้องกับบุคลิกภาพ วิชาที่เลือกศึกษา 
- สถาปนิก - ศิลปกรรมศาสตร์ ศิลปศึกษา 
- มัณฑนากร - ประวัติศาสตร์ 
- จิตรกร - สถาปัตยกรรม 
- ประติมากร - การเขียนแบบ ออกแบบ 
- นักเขียนการ์ตูน - จิตรกรรม ประติมากรรม 
- ออกแบบแฟชั่น - ปรัชญา ภาษาศาสตร์ 
- นักถ่ายภาพ นางแบบ - หนังสือพิมพ์ การสื่อสาร 
- ครูสอนศิลป นักแต่งเพลง - ภาพยนตร์ ดนตรี 
- ครูสอนละคร เต้นรำ ดนตรี - ศิลปการแสดง 
- ประชาสัมพันธ์ - บรรณารักษ์ นักหนังสือพิมพ์ 
- ศิลปิน นักประพันธ์ นักเขียน นักแสดง

กลุ่มที่ 4

บุคลิกภาพที่ชอบการสมาคม สังคมกับบุคคลอื่น มีความสนใจสังคม 
(SOCIAL)
ลักษณะโดยทั่วไป 
ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้ชอบติดต่อกับคน ชอบสนทนา ชอบให้ความรู้ สอนผู้อื่น ชอบแสดงตัว ร่าเริง มีความรับชอบ มีทักษะทางภาษา ต้องการความสนใจ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีลักษณะเป็นผู้หญิงหลีกเลี่ยงการใช้ความคิดทางปัญญา มักแก้ปัญหาโดยคำนึงถึงความรู้สึกหลีกเลี่ยงงานที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์หรือทางวิทยาศาสตร์ 
ลักษณะเด่นของบุคลิกภาพ ชอบสมาคม ร่าเริง ชอบเที่ยว รักษาประเพณี มีความรับผิดชอบ มีอำนาจอิทธิพลเหนือบุคคลอื่นๆ มีลักษณะท่าทาง นิสัย เป็นหญิง 
การประเมินตนเอง 
มีความเป็นผู้นำสูง ทักษะในการพูด ชอบสมาคม 
อาชีพที่สอดคล้องกับบุคลิกภาพ สาขาวิชาที่อาจเลือกศึกษา 
- นักสังคมสงเคราะห์ - จิตวิทยา จิตวิทยาทางการศึกษา 
- ครู อาจารย์ - แนะแนว 
- นักแนะแนว - สังคมวิทยา 
- นักรัฐศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์ 
- พยาบาล - พยาบาลศาสตร์ 
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล - บรรณารักษ์ศาสตร์ 
- ผู้จัดการโรงแรม - สังคมสงเคราะห์ 
- นักจัดรายการ - รัฐศาสตร์ 
- นักประวัติศาสตร์ - บรรณารักษ์ 
- พัฒนากร - ตำรวจ พนักงานต้อนรับ 
- ผู้ผสมเหล้า ผู้ดูแลบ้าน - คนขายตั๋ว ครูสอบขับรถ 
- พ่อบ้าน แม่บ้าน หมอดู - ช่างเสริมสวย นักออกแบบ

กลุ่มที่ 5

บุคลิกภาพแบบกล้าคิดกล้าทำ มีธรรมชาติที่ชอบทำกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการวางแผนหรือผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ 
(ENTERPRISING)
ลักษณะโดยทั่วไป 
จะมีลักษณะของความเป็นผู้นำ มีความคิดริเริ่ม มีความเชื่อมั่นในตัวเองกล้าโต้แย้ง กล้าได้กล้าเสีย พร้อมที่จะทดลอง มีความเป็นอิสระ มีความสนใจอำนาจ มีความก้าวร้าวทางวาจา มีทักษะในการเจรจา มักหลีกเลี่ยงสภาพการณ์ที่ต้องใช้กำลังทางปัญญาอันยาวนานไม่ชอบกิจกรรมที่เป็นระเบียบแบบแผน 
ลักษณะเด่น 
กล้าคิดกล้าทำ ชอบวางแผน ชอบสมคม มีอำนาจเหนือผู้อื่น ร่าเริง สนุกสนาน ทำตามอารมณ์ ไม่ชอบใช้กำลังความคิดอันยาวนาน 
การประเมินตนเอง 
มีความเป็นผู้นำ ชอบการสมาคม มีความก้าวร้าว มีความเข้าใจตนเอง 
อาชีพที่สอดคล้องกับบุคลิกภาพ วิชาที่เลือกศึกษา 
- นักธุรกิจ - เศรษฐศาสตร์ การเงิน 
- นายธนาคาร - การธนาคาร 
- นายหน้า ผู้ขายประกัน - บริหารธุรกิจ 
- นักการเมือง ข้าราชการ - รัฐศาสตร์ 
- พิธีกร โฆษกวิทยุ - นิติศาสตร์ 
- นักประชาสัมพันธ์ - พัฒนาชุมชน 
- ผู้พิพากษา ทนายความ - แอร์โฮสเตส 
- ไปรษณีย์โทรเลข - ประกาศวิทยุ โทรทัศน์ 
- นักจัดรายการ - พนักงานขาย เสมียน

กลุ่มที่ 6

บุคลิกภาพที่ทำตามระเบียบแบบแผน 
(CONVENTIONAL)
ลักษณะโดยทั่วไป 
มักชอบใช้กิจกรรมเป็นรูปธรรมและกิจกรรมทางภาษายึดถือประเพณี ชอบทำตามระเบียบแบบแผน มากกว่าการริเริ่มด้วยตนเอง เป็นพวกวัตถุนิยมและเจ้าระเบียบ ไม่ยืดหยุ่น ชอบการเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ชอบเลียนแบบ เป็นผู้ตาม 
ลักษณะเด่น 
อาศัยอยู่อื่น รักษาระเบียบประเพณี 
การประเมินตนเอง 
มีจิตใจที่ทำอะไรทำจริง เคร่งครัดในระเบียบแบบแผน 
อาชีพที่สอดคล้องกับบุคลิกภาพ วิชาที่เลือกศึกษา 
- เลขานุการ - บัญชี 
- เสมียน เจ้าหน้าที่ธุรการ ยาม - การเงิน การธนาคาร 
- นักบัญชี สมุห์บัญชี - เลขานุการ 
- เจ้าหน้าที่การเงิน การธนาคาร - บรรณารักษ์ 
- ผู้ตรวจบัญชี เจ้าหน้าที่งบประมาณ - เศรษฐศาสตร์ 
- พนักงานสินเชื่อ วิเคราะห์การเงิน - เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 
- บรรณารักษ์ - ผู้ควบคุมสินค้า พนักงานเก็บเงิน 
- พนักงานคุมเครื่องพิมพ ์ - พนักงานคุมเครื่องเจาะบัตร 
- พนักงานต้อนรับ พนักงานพิมพ์ดีด

นอกจากความสนใจ ความสามารถ แนวถนัด ซึ่งพิจารณาจากกลุ่มของบุคลิกภาพดังกล่าวแล้ว ยังมีสิ่งต่างๆ ดังนี้ 
1. วิชาที่เรียน 
2. งานอดิเรก 
3. กิจกรรมพิเศษต่างๆ 
4. สุขภาพทางด้านร่างกาย 
5. ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว 
นับเป็นปัจจัยที่สำคัญ ในการพิจารณาตัดสินใจในการเลือกอาชีพหรือศึกษาต่อของท่าน 
ท่านควรเลือกอาชีพอื่นไว้สำรองหรือไม่
เราไม่ควรประมาท โดยเลือกอาชีพไว้เพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะมีอุปสรรคบางอย่างที่ทำให้เราไม่อาจจะประกอบอาชีพที่เลือกเอาไว้ได้ ฉะนั้น ควรจะเลือกสำรองไว้อีกสักหนึ่ง หรือสองอาชีพตามลำดับความสนใจของเราเอง 
ข้อควรจำ 
เพื่อประโยชน์แก่ตัวท่านเอง ท่านควรจะ 
1. ศึกษาลักษณะงานหลายๆ อาชีพ ก่อนที่จะตัดสินใจ เลือกอาชีพใดอาชีพหนึ่ง 
2. ศึกษาลักษณะของงานอาชีพที่เลือกไว้อย่างละเอียด 
3. ไม่ควรพิจารณาเพียงเงินเดือนเพียงอย่างเดียว ควรพิจารณาโอกาสความก้าวหน้าของงานนั้นๆ ด้วย 
4. พยายามฝึกงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพที่เลือก 
5. ไม่ควรตามเพื่อน จงตัดสินใจด้วยตนเอง ควรพิจารณาตนเองอย่างรอบคอบ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ หรือ ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น 


แหล่งที่มา : school.obec.go.th

อัพเดทล่าสุด