อาหารบํารุงสมองของเด็กทารก อาหารบํารุงสมองเด็กอายุ4-6เดือน อาหารบํารุงสมองเด็กอยู่ในครรภ์
|
การมีลูกที่สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่แรกคลอดย่อมเป็นที่ปรารถนาของทุกครอบครัว เพราะอาจหมายถึงการมีสุขภาพที่ดีตลอดไปของเด็กก็ได้ สุขภาพของเด็กแรกคลอดจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับภาวะโภชนาการของแม่ก่อนตั้งครรภ์ หากแม่มีภาวะโภชนาการดีมีบริโภคนิสัยที่ดี จะทำให้การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์เป็นไปตามปกติการตั้งครรภ์จะราบรื่น ปราศจากอาการแทรกซ้อน ให้กำเนิดทารกที่มีสุขภาพแข็งแรง การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์สำหรับหญิงที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติมากก็พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้น้ำหนักตัวอยู่ในภาวะปกติ เพราะแม่ที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ มีความเสี่ยงต่อการคลอดทารกก่อนกำหนด และทารกมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำ และมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นในตัวแม่ในระหว่างตั้งครรภ์มากกว่าแม่ที่มีน้ำหนักปกติก่อนตั้งครรภ์ สำหรับหญิงที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปก่อนตั้งครรภ์ ต้องพยายามควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติให้มากที่สุด หากมีน้ำหนักมากเกินไปขณะตั้งครรภ์ อาจมีอาการแทรกซ้อน เช่น เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ในขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก แม่ควรรับประทานอาหารตามปกติ แต่เน้นที่คุณภาพของอาหาร ควรทานอาหารที่มีประโยชน์ในมื้อหลัก ควรมีอาหารครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ได้สารอาหาร วิตามินและเกลือแร่ที่เพียงพอ เพื่อนำไปเสริมสร้างเนื้อเยื่อของแม่และอวัยวะของทารก หากแม่ขาดอาหารในช่วงนี้ เซลล์สมองของทารกจะไม่เจริญเติบโต จำนวนเซลล์สมองน้อย ทำให้เชาว์ปัญญาด้อย ดังนั้นในระยะตั้งครรภ์ช่วง 3 เดือนแรก แม่ควรปฎิบัติดังนี้ 1. รับประทานอาหารให้พอเหมาะที่ปริมาณและคุณภาพเพื่อให้ได้พลังงานเพียงพอ น้ำหนักในช่วงนี้ควรเพิ่ม 1 - 2 กิโลกรัม 2. รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ให้หลากหลาย รวมทั้งไข่ นม เพื่อให้ได้สารอาหารโปรตีนซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเนื่อเยื่อต่างๆ รวมทั้งการเจริญเติบโตของเซลล์สมอง 3. รับประทานอาหารประเภทต้ม เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ถั่วเมล็ดแห้ง ผักสีเขียวเข้ม เพื่อให้ได้ธาตุเหล็กเพียงพอสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดง และควรรับประทานอาหารประเภท ส้ม ฝรั่ง ซึ่งให้วิตามินซี ร่วมด้วยจะช่วยให้การดูดซึมเหล็กเป็นไปด้วยดี 4. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมมาก เช่น นมและผลิตภัณฑ์ปลาไส้ตัน ปลากระป๋อง กุ้งแห้ง รวมทั้งผักสีเขียวเข้ม เพื่อให้ได้แคลเซียมเพียงพอสำหรับการสร้างกระดูกของทารก 5. รับประทานผักผลไม้เป็นประจำและให้มีความหลากหลาย นอกจากจะได้วิตามินและเกลือแร่และยังให้กากใย ป้องกันท้องผูกในหญิงตั้งครรภ์ 6. รับประทานข้าวหรือธัญญาพืชที่ผ่านการขัดสีน้อย 7. ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละ 6 - 8 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก 8. งดรับประทานอาอาหรที่มีรสจัด อาหารหมักดอง อาหารที่ใส่ผงชูรสและอาหารที่ไม่สะอาด 9. ออกกำลังกายเบาๆ สม่ำเสมอ 10. ต้องไปฝากครรภ์ทันทีหลังจากทราบว่าตั้งครรภ์ | |
แหล่งที่มา : women.sanook.com