เมนูอาหารเช้าง่ายๆ เด็ก1-3ปี เมนูอาหารเช้าเด็กวัยหนึ่งขวบ เมนูอาหารเช้า ภาษาอังกฤษ


1,752 ผู้ชม


เมนูอาหารเช้าง่ายๆ เด็ก1-3ปี เมนูอาหารเช้าเด็กวัยหนึ่งขวบ เมนูอาหารเช้า ภาษาอังกฤษ

 

าหารทารกตามวัย

          เรารู้กันดีว่า “นมแม่” เป็นอาหารที่ดีสำหรับลูก เนื่องจากมีปริมาณสารอาหารต่างๆ ที่ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายในปริมาณที่พอเหมาะแก่การเจริญเติบโต อีกทั้งนมแม่ยังให้ภูมิต้านทานต่างๆ ที่ช่วยป้องกันมิให้ลูกเจ็บป่วยง่าย จึงเป็นข้อสนับสนุนว่าแม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกคลอด และสามารถให้นมแม่ได้จนลูกอายุหนึ่งขวบครึ่งถึงสองปี

          อย่างไรก็ตามขณะที่ลูกมีอายุมากขึ้น ความต้องการสารอาหารต่างๆจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นลูกควรได้อาหารอื่นๆ เสริมเพิ่มเติมจากนมแม่ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ร่างกายและสมองของลูกมีพัฒนาการอย่างเต็มทิ่ 

แล้วจะให้อาหารตามวัยเมื่อไหร่?

          ในระยะแรกเกิดถึง 4 เดือนแรก ลูกควรได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียว เมื่อลูกอายุครบ 4 เดือน จึงเริ่มให้อาหารอื่นในลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว เช่น กล้วยสุกครูดหรือข้าวบด ไม่ควรให้ก่อนอายุครบ 4 เดือน เพราะระบบการกลืนและการย่อยของลูกยังไม่พร้อมจะทำให้ลูกกินนมได้น้อยลงและมีปัญหาท้องอืดจากการให้อาหารมากเกินไป

1. จะให้อย่างไร?

1.เริ่มให้ทีละน้อย ทีละชนิด และสังเกตการแพ้อาหารของลูกด้วย

2.เตรียมอาหารให้เหมาะสมกับอายุของลูก เช่น บดอาหารให้ละเอียดในช่วงแรก เมื่อเริ่มมีฟันแล้วจึงให้อาหารที่หยาบขึ้น

3.ไม่ควรปรุงอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด หวานจัด ให้ลูก

4.อย่าบังคับให้ลูกกิน ควรจะค่อยๆให้ลูกลองและยอมรับอาหาร

5.ไม่ควรให้น้ำหวานแก่ลูก เพราะจะทำให้ลูกติดรสหวานและเบื่ออาหารได้

            6.ก่อนให้อาหาร 1-2 ชั่วโมง ไม่ควรให้ลูกกินขนมหรือของกินเล่น เพราะจะทำให้ลูกอิ่มจนกินอาหารมื้อหลักไม่ได้

7.จะต้องระวังเรื่องความสะอาดให้มาก ทั้งภาชนะ การเตรียมและการปรุง เมื่อปรุงเสร็จแล้วก็ควรปิดฝาให้มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกท้องเสียได้

8.อาหารที่เตรียมให้ลูกควรเป็นอาหารสด ปรุงใหม่ๆ เพื่อให้คงคุณค่าไว้มากที่สุด

9.ควรสลับเปลี่ยนให้ลูกได้กินอาหารหลายๆชนิด เพื่อไม่ให้เกิดความจำเจ และให้ลูกชินกับอาหารชนิดต่างๆ และควรใช้อาหารที่หาได้ในท้องถิ่น หรือแบ่งจากอาหารผู้ใหญ่เพื่อเป็นการประหยัด

10.การให้อาหารทุกชนิดแก่ลูกมีความสำคัญมาก เพราะถ้าให้ในปริมาณที่ถูกต้อง และเพียงพอกับความต้องการของลูกแล้ว จะทำให้ลูกแข็งแรง และมีนิสัยในการกินที่ถูกต้องอีกด้วย

2..แล้วลูกต้องกินอะไรบ้าง?

อายุครบ 4 เดือนขึ้นไป

          ข้าวบด 1 ช้อนเล็ก กับไข่แดงต้มสุก ¼ ฟอง สลับกับเนื้อปลาสุกบด หรือกล้วยน้ำว้าสุกครูด (ไม่เอาไส้) ½ ผล แล้วกินนมแม่ตามจนอิ่ม

5 เดือนขึ้นไป

            ข้าวบด 3-4 ช้อนเล็ก กับถั่วต่างๆ ต้มสุกบด ใส่ผักใบเขียวกับน้ำแกงจืด สลับกับไข่แดง เนื้อปลา หรือกล้วยน้ำว้าสุกบด แล้วให้กินนมแม่ตามจนอิ่ม

6-7 เดือน

            ข้าวบดกับเนื้อสัตว์ต่างๆ บดสลับกับตับบด ใส่ผักใบเขียวกับน้ำแกงจืด แล้วให้นมแม่จนอิ่ม ให้อาหารแทนนมแม่ได้ 2 มื้อ และผลไม้วันละครั้ง

10-12 เดือน

            กินอาหารต่างๆ สลับกันไปเช่นเดียวกับเดือนที่ 8-9 แต่เพิ่มปริมาณมากขึ้นและหยาบขึ้น จนกระทั่งไม่ต้องบด แล้วให้กินนมแม่ตามจนอิ่ม ให้อาหารแทนนมแม่ได้ 3 มื้อและผลไม้วันละครั้ง

            อาหารที่เตรียมให้ลูกนั้น สามารถเพิ่มพลังงานให้มากขึ้นได้  โดยการเติมน้ำมันพืช 1-2 ช้อนเล็ก ในอาหารแล้วผสมให้เข้ากัน

            3.สารอาหารอะไรบ้างที่ลูกต้องการ

            สารอาหารหลักที่ลูกต้องการคือ พลังงานและโปรตีน โดยเฉพาะโปรตีนจะช่วยให้เจริญเติบโตและเสริมสร้างเนื้อเยื่อ

            อาหารโปรตีนได้จากอะไร?

             จากเนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม ปลา และถั่วเมล็ดแห้ง

ธาตุเหล็ก คืออะไร?

            ธาตุเหล็กเป็นธาตุสำคัญที่ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง

            ทารกแรกเกิดจนถึง 4 เดือนที่ได้รับนมแม่หรือนมผสม จะได้รับธาตุเหล็กเพียงพอ

            แต่เมื่ออายุเกิน 4-6 เดือนไปแล้ว ความต้องการธาตุเหล็กจะมีมากขึ้น ทำให้ต้องได้รับธาตุเหล็กจากอาหาร

            การเพิ่มธาตุเหล็กทำได้โดยการเสริมไข่แดงสุกหรือตับบดสุกเมื่อลูกอายุ 4 เดือน เนื้อปลา เมื่ออายุ 5 เดือน และเนื้อสัตว์บดเมื่ออายุ 7 เดือน

            วิตามินเอ

            มีความสำคัญมากในการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยปรับสภาพการมองเห็นในที่มืด แหล่งของวิตามินเอมีมากมาย ได้แก่ ตับสัตว์ต่างๆ ผักใบเขียวและผักที่มีสีเหลือง เช่น ผักบุ้ง ตำลึง ฟักทอง แครอท หรือผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น มะละกอสุก มะม่วงสุก เป็นต้น

            แคลเซียม

            เป็นส่วนประกอบของเซลล์กระดูก ซึ่งเป็นโครงสร้างของร่างกาย โดยทั่วไปทารกที่ได้รับนมแม่หรือนมผสมเพียงพอตามวัยก็จะได้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณที่เหมาะสมด้วยอยู่แล้ว

            แต่แม่อาจเพิ่มอาหารเสริมที่เป็นแหล่งของแคลเซียมสูง เช่น ปลาป่น เต้าหู้ขาว ลงในอาหารของลูกได้

            ไอโอดีน

            เป็นธาตุที่สำคัญช่วยให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานอย่างเป็นปกติ การขาดไอโอดีนจะทำให้ลูกเรียนรู้ได้ช้า มีสติปัญญาด้อยกว่าปกติ การใช้เกลือไอโอดีนในอาหารจะช่วยให้ลูกได้รับไอโอดีนได้ ถึงแม้อาหารทะเลจะมีไอโอดีนเพียงพอ แต่ยังไม่แนะนำให้นำมาเตรียมเป็นอาหารให้ลูก เนื่องจากอาจเกิดการแพ้ได้

            นอกจากนี้ วิตามิน บี 1 บี 2 บี 6 บี 12 โฟเลต ธาตุโซเดียม โปแตสเซียม สังกะสี และฟอสฟอรัส ก็มีผลต่อการเติบโตของลูกด้วย ซึ่งถ้าคุณแม่จัดเตรียมอาหารที่มีทั้งประเภทแป้ง เนื้อสัตว์ ไขมัน ผัก และผลไม้ ในแต่ละวันให้ลูก ก็สามารถแน่ใจว่าลูกจะได้สารอาหารครบถ้วนแน่นอน

  4.เมื่อจำเป็นต้องใช้นมผสมเลี้ยงทารกแทนนมแม่

 กรณีที่แม่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เช่น แม่เจ็บป่วยมีปัญาหัวนมแตก น้ำนมไม่พอ ฯลฯ ก็อาจมีความจำเป็นต้องใช้นมผสมเลี้ยงลูก แม่ควรได้ปรึกษากุมารแทพย์หรือพยาบาลเพื่อให้สามารถเลือกชนิดของนมผสมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัยของลูก

            โดยทั่วไปจะแบ่งนมผสมเป็น 3 ประเภท

            1.นมผงดัดแปลงสำหรับทารก  เป็นนมที่ดัดแปลงให้มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่มากที่สุด เหมาะสำหรับทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน

            2.นมผงดัดแปลงสูตรต่อเนื่อง  เป็นนมดัดแปลงที่มีปริมาณโปรตีนสูงขึ้นและมีการเติมวิตามินและแร่ธาตุลงไป เหมาะสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 3 ปี

            3.นมครบส่วน  ผลิตภัณฑ์นี้จะมีได้ทั้งที่เป็นนมผงและนมสดทั่วไป เช่น นมพาสเจอร์ไรส์ นมกล่องยูเอชที ฯลฯ เหมาะสำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป

             เนื่องจากนมผงมีหลายประเภท และขนาดช้อนตวงแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปช้อนตวงนมจะมี 2 ขนาดคือ

            1.ช้อนตวงขนาดเล็ก (ขนาดประมาณ 4.5 กรัม) ให้ผสม 1 ต่อ 1 คือ นมผง 1 ช้อน ต่อน้ำ 30 มิลลิลิตร หรือ 1 ออนซ์

            2.ช้อนขนาดใหญ่ (ขนาด 7-8 กรัม) ให้ผสม 1 ต่อ 2 คือ นมผง 1 ช้อนต่อน้ำ 60 มิลลิลิตร หรือ 2 ออนซ์

            การผสมนมใน 2 ลักษณะข้างต้นนี้จะได้ส่วนผสมของนม โดย 1 ออนซ์จะให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี สิ่งสำคัญในการเตรียมนมผสม คือ เน้นความสะอาด ทั้งนี้เพื่อป้องกันอาการท้องเดินที่จะเกิดขึ้นได้

            การเตรียมที่ถูกต้องควรเริ่มตั้งแต่การล้างทำความสะอาดขวดนมและจุกนม ไม่ให้มีคราบนมติดขวด จากนั้นต้มขวดนมในน้ำเดือด นาน 5-10 นาที ส่วนจุกยางให้ต้มในน้ำเดือดไม่เกิน 5 นาที (เพราะถ้าต้มนานจะทำให้จุกยางเสื่อม) เมื่อจะผสมนมให้ใส่น้ำสุกอุ่นๆ ลงในขวดจนได้ปริมาณตามต้องการ แล้วตวงนมผงใส่ลงในขวด ปิดจุกขวดเขย่าจนนมผงละลายหมด การเตรียมนมผสมควรเตรียมมื้อต่อมื้อแล้วใช้ทันที หากยังไม่ได้ใช้ทันทีควรเก็บนมที่ผสมแล้วไว้ในตู้เย็น

5 .ใน 1 วัน ลูกน้อยควรได้รับอาหารอะไร จำนวนเท่าไร

เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรกำหนดตายตัวว่าลูกจะต้องได้รับอาหารแต่ละชนิดเป็นปริมาณเท่าไหร่ ลูกอาจจะทานอาหารได้มากกว่าหรือน้อยกว่าที่แนะนำได้ แต่ต้องไม่ต่างจากที่แนะนำมากจนเกินไป อย่างไรก็ตามในระยะสองขวบปีแรกเด็กควรได้รับนมแม่ควบคู่ไปกับการาได้รับอาหารเสริมตามวัย

            เมื่อลูกน้อยมีอายุ 4-5 เดือน

            ควรได้รับอาหารทารกตามวัยเพิ่มจากนมแม่ เป็นพลังงานจากอาหาร 76-188 กิโลแคลอรี โปรตีน 1.2-4.1 กรัมต่อวัน

            ดังนั้น อาหารที่ลูกวัยนี้ควรได้รับใน 1 วัน ได้แก่ ข้าวบดกับปลานึ่ง ประกอบด้วย ข้าวบด 3 ช้อนกินข้าว เนื้อปลา 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำมันพืชครึ่งช้อนชา

            หรือ ข้าวบดกับไข่แดง ประกอบด้วย ข้าวบด 3 ช้อนกินข้าว ไข่แดงต้มสุกครึ่งฟอง และน้ำมันพืชครึ่งช้อนชา

            หรือ ฟักทองบดกับไข่แดง ประกอบด้วย ฟักทองบด 6 ช้อน กินข้าว ไข่แดงต้มสุกครึ่งฟอง และน้ำมันพืชครึ่งช้อนชา

            หรือ กล้วยน้ำว้าครึ่งผล และไข่แดงครึ่งฟอง

           เมื่อลูกอายุ 6-8 เดือน

            ควรได้รับอาหารทารกตามวัยเพิ่มจากนมแม่ เป็นพลังงานจากอาหาร 269-371 กิโลแคลอรี โปรตีน 2.7-5.4 กรัมต่อวัน

            ดังนั้นอาหารที่ควรได้รับใน 1 วัน ได้แก่ อาหาร 2 มื้อ

            เช้า       ข้าวต้มปลาช่อนตำลึง

            บ่าย       มะละกอสุก 2-3 ช้อนกินข้าว

            เย็น       ข้าวต้ม + ไข่ตุ๋นแครอท

หรือ

            เช้า       ข้าวต้มตับไก่ใส่ตำลึง

            บ่าย       มะละกอสุก หรือมะม่วงสุก 2-3 ช้อนกินข้าว

            เย็น       ข้าวต้มตับไก่ใส่ตำลึง

  เมื่อลูกอายุ 9-12 เดือน

            ควรได้รับอาหารทารกตามวัยเพิ่มจากนมแม่ เป็นพลังงานจากอาหาร 451-6545 กิโลแคลอรี โปรตีน 3.5-6.2 กรัมต่อวัน

            ดังนั้นอาหารที่ควรได้รับใน 1 วัน ได้แก่ อาหาร 3 มื้อ

            เช้า       ข้าวตุ๋น + ต้มจืดปลาใส่ตำลึงและฟักทอง

กลางวัน ข้าวตุ๋น + ต้มจืดปลาช่อนใส่ตำลึงและฟักทอง

            บ่าย       กล้วยน้ำว้าสุกครึ่งผล

            เย็น       ข้าวตุ๋น + ไข่คั่วตำลึง

            หรือ

            เช้า       ข้าวตุ๋น + แกงจืดผักกาดขาวเต้าหู้หมูสับ

            กลางวัน ข้าวผัดสามสี

            บ่าย       มะละกอสุก 2-3 ช้อนกินข้าว

            เย็น       ข้าวตุ๋น + แกงจืดผักกาดขาวเต้าหู้หมูสับ

            คุณแม่อย่าลืมว่าอาหารที่เตรียมให้ลูกควรจะต้องเป็นอาหารที่ทำเสร็จใหม่ๆ แต่ถ้าคุณแม่ไม่มีเวลาทำหลายๆ ครั้ง ก็จะต้องเก็บในตู้เย็น และอุ่นให้ลูกก่อนป้อน เพื่อป้องกันอาการท้องเสียนะคะ

แหล่งที่มา : popcare.com

อัพเดทล่าสุด