เมนูอาหารเช้าบํารุงสมอง เมนูอาหารเช้าเด็กวัยเรียน เมนูอาหารเช้า ยอดฮิต


2,227 ผู้ชม


เมนูอาหารเช้าบํารุงสมอง เมนูอาหารเช้าเด็กวัยเรียน เมนูอาหารเช้า ยอดฮิต

 

 


"มื้ออาหารเช้า" สำคัญไฉนต่อสุขภาพลูกรัก

อาจกล่าวได้ว่า อาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่พ่อแม่หลาย ๆ ท่านต่างตระหนักกันดี แต่ทั้งนี้ก็ยังมีอีกหลายท่านที่มองข้ามไปโดยหารู้ไม่ว่า หากงดทานอาหารเช้าบ่อย ๆ อาจมีผลต่อร่างกาย และสมองของลูกน้อยได้

คุณเกศกนก สุกแดง นักวิชาการโภชนาการ โรงพยาบาลศิริราช กล่าวย้ำถึงความสำคัญของมื้ออาหารเช้าว่า อาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่ขาดไม่ได้ คุณแม่จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ลูกรับประทานอาหารเช้า ยิ่งวันที่ลูกต้องไปเรียนหนังสือ จึงเป็นช่วงที่มีการใช้สมองอย่างมาก ทั้งนี้สมองจำเป็นอย่างยิ่งที่มีน้ำตาลกลูโคสหล่อเลี้ยงให้มาก นั้นแสดงว่ามื้อเช้าระดับน้ำตาลในเลือดมีระดับต่ำ ส่งผลให้พลังงานและสารอาหารที่มีเหลืออยู่ไม่เพียงพอ ที่จะเป็นแหล่งพลังงานที่ลูกจะใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ

"การรับประทานอาหารเช้าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ โดยเฉพาะกับเด็กวัยกำลังเจริญเติบโต เพราะมีส่วนช่วยให้พัฒนาการมีผลต่อทั้งร่างกาย และสมอง ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายของลูกทำงานได้ดีขึ้น มีพละกำลังในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาสมองของลูกพร้อมที่จะเรียนรู้อย่างมีสมาธิ และความจำ หากลูกไม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน หรือไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายกับระบบภูมิคุ้มกัน อาจจะทำให้ป่วยง่าย พร้อมยังมีผลในเรื่องสติปัญญา จะทำให้ลูกเรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง และจำอะไรได้ไม่ค่อยดี " นักวิชาการโภชนาการ โรงพยาบาลศิริราชกล่าว

สอดรับข้อมูลของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่เปิดเผยผลการสำรวจมีพฤติกรรมไม่กินอาหารเช้าของเด็กวัยเรียนอายุ 6-11ปี เมื่อไม่นานมานี้ว่า เด็กไทยไม่กินอาหารเช้าถึงร้อยละ 30โดยเฉพาะเด็กนักเรียนหญิงอายุ 12-14ปี ไม่กินอาหารเช้า ถึงร้อยละ 52ส่งผลเสียต่อการเรียนและสุขภาพ เพราะการเผาผลาญสารอาหารของร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะช่วงระหว่างอาหารเย็นถึงช่วงเช้า ร่างกายจะทำงานเพื่อเผาผลาญตลอดเวลาแม้ในขณะหลับ และหากร่างกายไม่ได้รับสารอาหารในมื้อเช้า จะทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย หงุดหงิด อารมณ์เสีย อาจถึงขั้นหน้ามืดเป็นลมได้ เนื่องจากสมองได้รับน้ำตาลกลูโคสไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ

ซึ่งอาการเหล่านี้ หากเกิดในช่วงเวลาเรียนจะทำให้เด็กไม่มีสมาธิเรียนและอาจเป็นโรคกระเพาะถึงขั้นต้องพักการเรียนได้ ดังนั้น นักโภชนาการท่านนี้จึงแนะนำว่า มื้ออาหารเช้าสำหรับเด็ก ควรได้รับสารอาหารในกลุ่มประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้

อาหารในกลุ่มข้าวแป้ง ให้สารอาหารที่เรียกว่า “คาร์โบไฮเดรต” เป็นแหล่งพลังงาน คุณแม่ควรเลือกข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง หรือขนมปังโฮลวีท หรือไม่ก็เป็นอาหารเช้าที่ทำจากธัญพืช เพราะอาหารในกลุ่มนี้เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีใยอาหารช่วยให้ ลูกรักมีพลังงานที่ค่อยย่อยและดูดซึม ซึ่งเป็นพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาอย่างช้าๆ ทำให้เด็กมีพลังงานอย่างต่อเนื่อง มีผลต่อสมาธิและอารมณ์

อาหารในกลุ่มของเนื้อสัตว์ ให้สารอาหารที่เรียกว่า “โปรตีน” ช่วยให้ลูกรักมีสมาธิ และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ดังนั้นคุณแม่ควรเลือกจำพวก ไข่ ปลา เนื้อหมู และเนื้อไก่

นม และผลิตภัณฑ์จากนมต่างๆ นอกจากจะเป็นแหล่งของโปรตีนที่ดีแล้ว ยังเป็นแหล่งของแคลเซียม รวมถึงวิตามินต่างๆ จะช่วยบำรุงทั้งร่างกายและสมองอีกด้วย

ส่วนโยเกิร์ต ก็เป็นอาหารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน หรือมีหน้าที่ช่วยให้จุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้แข็งแรง สามารถป้องกัน และดูแลร่างกายให้แข็งแรง

อาหารในกลุ่มของผักสด ผลไม้ จะอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญ อย่าง วิตามิน แร่ธาตุ โฟเลต และยังเป็นแหล่งรวมวิตามินต่างๆ ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า วิตามินซีมีส่วนช่วยเสริมสร้างในเรื่องสมาธิ การเรียนและความจำ ซึ่งก็ไม่แพ้ซึ่งก็ไม่แพ้ธาตุเหล็ก ที่มีผลช่วยให้ลูกมีสมาธิ และช่วยไม่เซื่องซึมหรือง่วงนอนอีกด้วย

นอกจากอาหารเช้าแล้ว นักโภชนาคนเดียวกัน กล่าวต่อว่า ปริมาณอาหารที่ลูกควรได้รับในแต่ละวัน ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยยกตัวอย่างให้เห็นภาพตามรายการอาหารต่อไปนี้

- นมสด ดื่มในปริมาณอย่างน้อย 2 แก้ว ( 1 แก้ว = 250 มิลลิลิตร)

- ไข่ 1 ฟอง

- เนื้อสัตว์ (สุก) 3-4 ช้อนโต๊ะ เนื้อปลาที่มีกรดไขมันที่จำเป็น โอเมก้า 3เนื้อปลาน้ำจืด ได้แก่ ปลาช่อน ปลาทะเลก็ได้แก่ ปลาทู ปลากะพง นอกจากนั้นอาหารทะเลและตับก็เป็นแหล่งอาหารที่ดี หรือจะเลือกเป็นเนื้อไก่ก็ได้ เป็นแหล่งธาตุเหล็กที่ดี ดังนั้นการรับประทานอาหารให้หลากหลายสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งเป็นอย่างน้อย

- ข้าวสวย 1-2 ถ้วย อาจเลือกเป็นข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีตก็ได้

- ผักสุก ½ - 1 ถ้วยตวง คุณแม่ควรเลือกผักที่มีหลายสี โดยเฉพาะผักที่มีสีเขียวเข้มเช่นผักโขม บร๊อคโคลี่ ตำลึง ผักที่มีสีเหลือง เช่น ฟักทองผักที่มีสีแดง เช่น มะเขือเทศ (วิตามินซีสูง) ผักที่มีสีส้ม เช่น แครอท

- ผลไม้ ½ - 1 ถ้วยตวง คุณแม่ควรเลือกผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเท่านั้น เช่น ฝรั่ง

- น้ำมันพืช 2 ช้อนชา คุณแม่ควรใช้น้ำมันรำข้าว สลับกับน้ำมันถั่วเหลือง

ด้วยเหตุนี้ คุณแม่ควรหันมาให้ความสำคัญกับอาหารเช้า อย่าลืมที่จะใส่ใจกับการรับประทานอาหารเช้าเพื่อให้ลูกๆ ได้คุณค่าจากสารอาหารเช้าที่เหมาะสม และครบถ้วน ไปพร้อมๆ กับสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอีกด้วย


แหล่งที่มา : thaihealth.or.th

อัพเดทล่าสุด