หน้าที่ของลำต้น แบบฝึกหัดโครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้นใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่


1,920 ผู้ชม


หน้าที่ของลำต้น แบบฝึกหัดโครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้นใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่


โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก (Plant form and function)
ลำต้น (Stem) เป็นอวัยวะของพืชที่ส่วนใหญ่จะเจริญขึ้นเหนือดิน เจริญมาจากส่วนที่เรียกว่า Hypocotyl ของเมล็ด ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ ข้อ (Node) ส่วนใหญ่มักมีตา (Bud) ซึ่งจะเจริญไปเป็น กิ่ง ใบ หรือดอก ต่อไป และ ปล้อง (Internode) ซึ่งอยู่ระหว่างข้อ โดยในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะเห็นข้อและปล้องชัดเจน แต่ในพืชใบเลี้ยงคู่ เห็นข้อและปล้องชัดเจนในขณะที่เป็นต้นอ่อนหรือกิ่งอ่อน แต่เมื่อเจริญเติบโตและมี Cork มาหุ้ม ทำให้เห็นข้อและปล้องไม่ชัดเจน


โครงสร้างภายในของปลายยอดพืช


 - Leaf  primodium ใบเริ่มเกิด จะพัฒนาไปเป็นใบอ่อน

- Young leaf ใบที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่

- Apical meristem เป็นบริเวณเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายยอกจะเกิดการแบ่งเซลล์ตลอดเวลา

- Lateral bud คือ ตาข้างที่จะเจริญต่อไป

โครงสร้างภายในของลำต้นพืชตัดตามขวาง

โครงสร้างของลำต้นพืช ตัดตามขวาง ในการเจริญเติบโตขั้นแรก (Primary Growth) ประกอบด้วย

  1. Epidermis อยู่ชั้นนอกสุด ไม่มี Chloroplast มีการเปลี่ยนแปลงเป็นขน หนาม และมีสารคิวติน (Cutin) เคลือบ ในพืชที่มีเนื้อไม้พบเฉพาะในปีแรก ๆ เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตในปีต่อๆ มา จะมีเซลล์คอร์ก (Cork) เจริญ และดันให้ Epidermis หลุดไป (อธิบายในการเจริญเติบโตขั้นที่ 2 ของลำต้น)
  2. Cortex  อยู่ถัดจากชั้น  Epidermis ประกอบด้วยเซลล์ Collenchyma (อยู่ตามมุมให้ความแข็งแรง) Parenchyma (สะสมอาหาร) Chlorenchyma (Parenchyma ที่มี Chloroplast) ส่วนในไม้เนื้อแข็งพบ Sclerenchyma โดย Cortex ในลำต้นแคบกว่าในราก และเป็นส่วนที่เกิดการแตกกิ่ง สำหรับชั้น Endodermis ในลำต้นสังเกตไม่ชัดเจนหรือบางชนิดไม่มี
  3. Stele ในลำต้นแยกจาก Cortex ไม่ชัดเจน ประกอบด้วย Vascular bundle หรือมัดท่อลำเลียง

- Vascular bundle ของพืชใบเลี้ยงคู่ Xylem และ Phloem จัดเรียงเป็นกลุ่มอย่างมีระเบียบ โดย  Xylem อยู่ด้านใน Phloem อยู่ด้านนอก มีเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง ทำให้มีการเจริญเติบโตขั้นที่ 2

- Vascular bundle ของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว Xylem และ Phloem อยู่กันเป็นกลุ่ม มี Parenchyma หรือ Sclerenchyma ล้อมรอบ มัดท่อลำเลียงกระจายอยู่ทั่วไปในชั้น Cortex และ Stele ไม่มีเนื้อเยื่อเจริญในมัดท่อลำเลียง ยกเว้นบางชนิดเช่น หมาก ตาล มะพร้าว ปาล์ม เป็นต้น

- ส่วนสุดท้ายของ Stele เรียกว่า Pith เป็นเนื้อเยื่อ Parenchyma ส่วนกลางสุดของลำต้น โดยในลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ Pith จะถูกแทนที่ด้วย Xylem เมื่อมีการเจริญเติบโตขั้นที่สอง ส่วนในพืชในใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิดเช่น ไผ่ หญ้าขน ข้าวสาลี เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ Pith จะสลายไป กลายเป็นช่องกลวงเรียกว่า Pith cavity แต่บริเวณข้อมี Pith

การเจริญเติบโตขั้นที่สอง (Secondary Growth) ของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีเนื้อไม้  เกิดจาก Vascular Cambium ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Lateral meristem) โดยแทรกระหว่างกลุ่มของ Xylem และ Phloem (Xylem สร้างเข้าข้างใน Phloem สร้างออกข้างนอก ) มีผลให้ขนาดของลำต้นโตขึ้น ซึ่งในแต่ละปีการสร้าง Xylem และ Phloem ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำและแร่ธาตุ โดยในฤดูฝน Xylem ว้าง สีจาง ฤดูแล้ง Xylem เห็นเป็นแถบแคบๆ สีเข้ม ทำให้เนื้อไม้มีสีที่ต่างกัน เป็นวงชัดเจน เรียกว่า วงปี (Annual ring)



- Heartwood คือแก่นไม้ มีลักษณะ แข็ง สีเข้ม ผนังเซลล์มีการสะสมสาร ต่างๆ ไม่สามารถลำเลี้ยงน้ำและแร่ธาตุได้

- Sapwood คือ กระพี้ไม้ เป็นเนื้อไม้ส่วนนอก สีจาง สามารถลำเลี้ยงน้ำและแร่ธาตุได้

- Bark คือ เปลือกไม้ เป็นส่วนที่ถัดจาก Vascular cambium ทั้งหมด

หน้าที่และชนิดของลำต้น

หน้าที่หลักของลำต้น คือ

  1. นำน้ำ แร่ธาตุ และอาหารส่งผ่านไปยังส่วนต่างๆ ของลำต้น
  2. ช่วยพยุงกิ่งก้านสาขา ชูใบให้กางออกรับแสงแดดให้มากที่สุด

หน้าที่พิเศษของลำต้น คือ

  1. สะสมอาหาร โดยลำต้นสะสมอาหารแบ่งเป็น 4 ชนิด คือ

- แง่ง หรือเหง้า (Rhizome)  เช่น ขิง ขมิ้น ว่าน กล้วย เป็นต้น

- หัวเทียม (Tuber) เช่น มันฝรั่ง หญ้าแห้วหมู เป็นต้น

- หัวแท้ (Corm) เป็นลำต้นตั้งตรง มีข้อปล้องชัดเจน เช่น เผือก เป็นต้น
-หัวกลีบ (Bulb) ลำต้นตั้งตรง มีใบเกล็ดซ้อนกันหลายชั้น สะสมอาหารในใบเกล็ด เช่น หัวหอม กระเทียม เป็นต้น
2. สังเคราะห์ด้วยแสง เป็นลำต้นที่มีคลอโรพลาสต์ เช่น กระบองเพชร พยาไร้ใบ
3.ใช้ในการขยายพันธุ์ เช่น การตอนกิ่ง การปักชำ และไหล (Runner/Stolon) ซึ่งพบใน บัวบก สตรอเบอรี่ เป็นต้น
4. ช่วยในการคายน้ำ โดยส่วนของลำต้นที่เป็นช่องเปิด เรียกว่า Lenticel
5. ลำต้นเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ เช่น

- มือเกาะ (Tendril) เพื่อพยุงลำต้นและชูใบ เช่น ตำลึง องุ่น เป็นต้น

- ลำต้นทอดไปตามผิวดินหรือเหนือน้ำ (Climbing) เช่นผักบุ้ง ผักกระเฉด เป็นต้น

- ลำต้นเลื้อยพันหลัก (Twining)  เช่น เถาวัลย์ อัญชัน เป็นต้น

- ลำต้นเปลี่ยนเป็นหนาม (Thorn) เป็นต้น เช่น เฟื่องฟ้า มะกรูด เป็นต้น


แหล่งที่มา : scimath.org

อัพเดทล่าสุด