บทบาทและหน้าที่ของครูผู้สอน หน้าที่ของครูปฐมวัย บทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษา
บทบาทและหน้าที่ของ ครู "TEACHERS"
T (Teaching) = ครูต้องมีบทบาทและหน้าที่หลักในการสั่งสอนลูกศิษย์ให้เป็นพลเมืองที่ดีของ ชาติ เป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบในอนาคต ซึ่ง Gilbert Highet ได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Art of Teaching ว่าครูที่สอนดี สอนเก่งต้องมีความรู้ลึกซึ้งในวิชาที่สอน ต้องมีอารมณ์ขัน มีความจำและกำลังใจดี มีลักษณะของผู้นำ เป็นผู้รักเด็ก มีใจเมตตา มีความอดทนในการทำงาน เป็นผู้นำมากกว่าที่จะจ้องจับผิด มีความเข้าใจในพัฒนาการของเด็ก และสอนเด็กที่มีความสามารถต่างกันรวมกันได้
E (Ethics) = ครูคือผู้ที่มีจริยธรรม คุณธรรมประจำใจ มีความประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์และสังคมทั่วไปได้ครูในยุคนี้ถูก ตั้งคำถามเรื่องจริยธรรมจากสังคมอาจจะเนื่องจากข่าวคราวที่ไม่ดีของครูบางคน ที่ทำให้วงการครูมัวหมอง เช่นเรื่องความสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม ค้ายาเสพติด ทุจริต เป็นต้น
A (Academic) = ครูต้องเป็นนักวิชาการ ต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติมให้กว้างขวางและทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งความรู้ทั่วไปและความรู้เฉพาะด้าน เนื่องจากมีความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นเสมอ เช่นเรื่องของนวัตกรรม เทคโนโลยี สภาพสังคมเศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งต้องมีความแม่นยำทางวิชาการอีกด้วย
C (Cultural Heritage) = ครูคือผู้มีหน้าที่ถ่ายทอดทางวัฒนธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมอันดีงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ครูต้องเป็นผู้ปลูกฝังให้เด็กรักและภูมิใจในวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีในการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามอย่างเคร่งครัดอีกด้วย ฉะนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาของวัยรุ่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ เป็นหน้าที่หลักของครูที่จะช่วยชี้แนะอบรมสั่งสอน ขัดเกลาในแนวทางที่ถูกต้องอย่างเต็มความสามารถ
H (Human Relationship) = ครูต้องเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ผู้ปกครอง มวลชนทั่วไป ครูที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีย่อมเป็นที่ยอมรับ ได้รับความร่วมมือในการทำงานจากทุกฝ่าย ดังนั้นจึงประสบความสำเร็จในอาชีพมีความก้าวหน้าได้โดยไม่ยากนัก
E (Evaluation) = ครูต้องมีความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในวิธีการประเมินการเรียนการสอน ของตนเอง และผลการเรียนของลูกศิษย์ รู้จักใช้วิธีการประเมินผลที่เหมาะสมและทันสมัย รู้วิธีสร้างแบบทดสอบที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ เพื่อการวัดผลและเกณฑ์การวัดคะแนนที่เที่ยงตรง เที่ยงธรรม เพราะถึงแม้ครูจะมีความรู้ดี สอนดี สอนเก่งแต่ขาดวิธีการประเมินผลที่ดีที่เที่ยงตรงอาจเกิดความ
อยุติธรรมได้เช่นกัน
R (Research) = ครูต้องมีความสามารถทางด้านวิจัย ทั้งวิจัยเบื้องต้นและเบื้องลึก ต้องรู้จักสังเกต ตั้งสมมติฐาน การเก็บข้อมูล เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพตรงกับความ ต้องการของผู้เรียน เช่น วิจัยเพื่อทราบกิจกรรมเสริมที่เด็กต้องการ วิจัยเรื่องจริยธรรมของครู เป็นต้น .
S (Service) = ครูต้องเป็นผู้ให้บริการทางด้านการศึกษา และบริการด้านวิชาการและด้านอื่นๆ แก่สังคมทุกด้านอย่างเต็มความสามารถ เช่น บริการให้คำปรึกษาแก่ลูกศิษย์ แนะนำการศึกษานอกระบบ บริการวิชาการแก่สังคม บริการด้านพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น เขียนบทความทางวิชาการ เป็นต้น
แหล่งที่มา : thongchaineurwittaya.com