หน้าที่ของครูในสังคม บุคลิกภาพและบทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัย หน้าที่ของครูประจำชั้น


1,278 ผู้ชม


หน้าที่ของครูในสังคม บุคลิกภาพและบทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัย หน้าที่ของครูประจำชั้น

 

 

 

ครูไทยในศตวรรษที่ 21


สังคมไทยในอดีตที่ผ่านมา บุคคลที่มีความรู้ มีประสบการณ์ที่ได้จากการสั่งสมตลอดชีวิต จะทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้โดยไม่เน้นการตอบแทนหรือผลประโยชน์ ดังนั้น ผู้ที่ถ่ายทอดให้บุคคลนั้นเรียนว่า "ครู" คือบุคคลที่มีความรู้ ประสบการณ์ ที่ถ่ายทอดในสังคม มีหลากหลายสาขา เช่น ผู้ที่ถ่ายทอดดนตรี ก็จะถูกเรียกว่า "ครูดนตรี" ผู้ที่ถ่ายทอดศิลปะป้องกันตัว ก็จะถูกเรียกว่า "ครูมวย" เป็นต้น ต่อมามีการพัฒนาระบบการศึกษามากขึ้น ทำให้เกิดอาชีพครู มีค่าตอบแทน มีสถานที่ถ่ายทอดความรู้ จึงมีคนนิยมมาประกอบอาชีพนี้มากขึ้น มีสถานที่ฝึกหัดครูเพื่อทำหน้าที่คัดคนที่เก่ง คนดี มาทำการฝึกหัดเพื่อออกไปทำอาชีพครู รูปแบบการคัดเลือกก็คือการคัดคนที่เรียนดีที่สุด ดีที่สุด ต่อมาผู้คนที่ต้องการศึกษาขึ้น จึงมีการออกกฎหมายให้มีการศึกษาภาคบังคับ ดังนั้นจึงมีความต้องการครูมากขึ้นเป็นเงาตามตัว จึงมีการเร่งผลิตครูจำนวนมาก มีนักเรียนที่เลือกเรียนครูและเรียนจบมาแล้วเกินความจำเป็นเป็นจำนวนมากทั้งที่สองแข่งขันบรรจุเข้าทำงานเป็นครูได้ก็มีและสอบไม่ได้ก็มีมาก
"การลดความสำคัญในการประกอบอาชีพครู
คนที่เรียนครูไม่ได้ตั้งใจที่จะเป็นอย่างแท้จริง
เพราะมักจะเลือกเรียนเป็นลำดับท้ายๆ
จึงมักได้ยินว่าไม่รู้จะเรียนอะไรแล้วมาเลือกเรียนครู"

ในสภาวะปัจจุบัน การบรรจุคนที่เรียนครูจบมาแล้วไม่สามารถทำได้ทั้งหมด ประกอบกับรายได้ที่ไม่สมดุลกับรายจ่ายทำให้ครูเป็นหนี้สินกันมาก ดังนั้น กระแสความนิยมให้คนที่เรียนเก่ง ไม่อยากมาเรียนครูจึงมีมากขึ้น
สาเหตุอาชีพครูตกต่ำในปัจจุบัน
ดร.รุ่ง แก้วแดง ได้กล่าวไว้ในหนังสือปฏิวัติการศึกษาไทย พอสรุปได้ว่า เกียรติภูมิของครูนั้นตกต่ำเพราะมีสาเหตุมาจาก
  1. การลดความสำคัญในการประกอบอาชีพครู คนที่เรียนครูไม่ได้ตั้งใจที่จะเป็นอย่างแท้จริง เพราะมักจะเลือกเรียนเป็นอันดับท้ายๆ จึงมักได้ยินว่าไม่รู้จะเรียนอะไรแล้วมาเลือกเรียนครู
  2. ขาดการพัฒนาตนเอง ครูส่วนใหญ่ไม่ได้พัฒนาตนเอง หลังจากจบจากสถาบันฝึกหัดครูไปแล้ว ตัวครูเองไม่ค่อยสนใจศึกษาต่อยอดความรู้เพิ่มเติม ความรู้ส่วนใหญ่จึงเป็นความรู้ที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ในสถาบันฝึกหัดครูมาจึงทำให้ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของวิทยาการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันที่ค่อนข้างรวดเร็ว
  3. ขาดการวิจัยและพัฒนาตนเอง ศาสตร์ในสาขาการศึกษามีการวิจัยและพัฒนามีน้อยเมื่อเทียบกับวงการอื่นๆ เช่น วงการแพทย์สารสนเทศ วงการวิศวกรรม ฯลฯ หรือแม้จะมีงานวิจัยอยู่น้อย แต่ไม่นิยมสนใจที่จะนำมามาปรับขยายผลกับนักเรียนของตน
  4. ค่าตอบแทนไปดุลกับค่าครองชีพ ในภาวะที่สังคมนิยมวัตถุมากขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้นรายได้ของครูมาหาทางเดียว จึงทำให้ครูจำนวนหนึ่งเป็นหนี้สินจนกลายเป็นปัญหาระดับชาติ
  5. ให้ความสำคัญกับสายงานบริหารการศึกษา โอกาส และความก้าวหน้า มีความก้าวหน้าน้อยกว่าตำแหน่งในสายการบริหาร จึงทำให้ครูที่เก่งต้องการเข้าสู่ตำแหน่งในสายบริหารมากขึ้น
  6. ขาดเสรีภาพทางวิชาการ หลักสูตรกำหนดให้ครูต้องสอนตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม และวางระเบียบไว้เข้มงวด ทำให้มองว่าครูสอนไม่เป็น ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ต้องมีกรอบไว้ควบคุม เป็นเหตุให้ขาดเสรีภาพทางการสอนของครู
    นอกจากนี้ ยังเกิดจากสาเหตุอีก 2 ประการ คือ
  7. ขาดการศึกษาวัฒนธรรม ประเพณี และสภาพของชุมชน ครูที่ทำหน้าที่สอนในโรงเรียนส่วนหนึ่งไม่ใช่คนในพื้นที่ จึงไม่เข้าในวัฒนธรรม ความสำคัญของประเพณีท้องถิ่นซึ่งเด็กได้รับการปลูกฝังจากชุมชน จึงทำให้ครูไม่เข้าใจพฤติกรรมบางอย่างของเด็กได้อย่างลึกซึ้ง นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาสำหรับครูที่ต้องการย้ายกลับภูมิลำเนา ย้ายติดตามคู่สมรส จึงทำให้ขาดความต่อเนื่องในการเรียนรู้ของผู้เรียน
  8. สถานศึกษาขาดการทำงานเชิงรุก ถนัดในการตั้งรับมากกว่า ชุมชนกับโรงเรียนไม่ได้ร่วมกันพัฒนาการศึกษาร่วมกันอย่างจริงจัง การดำเนินการศึกษาผู้ปกครองไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมทำให้ขาดการยอมรับจากชุมชนเพราะไม่มีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มแรก
ความหมายของครูตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542
การนิยามคำที่ใช้ในการกำหนดผู้ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 มี 3 คำ คือ
  1. ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาต่างๆ
  2. ครู หมายถึง บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
  3. คณาจารย์ หมายถึง บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
 
 

ผู้เขียนเองก็ทำหน้าที่ในการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความชอบในการเรียกตัวเองว่า "ครูผู้สอน" มากกว่า เพราะความหมายน่าจะ หมายถึง "บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ และทำหน้าที่ในการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในสถานศึกษา" 
โรงเรียนในศตวรรษที่ 21
ตั้งแต่ปี 2000 หรือ พ.ศ.2543 เป็นต้นไป รูปแบบการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนแปลงจากเดิม ดังตารางเปรียบเทียบดังนี้
 
 

ตารางเปรียบเทียบการเรียนการสอน
การปรับกระบวนทัศน์ในการทำหน้าที่ครูผู้สอน
ต้องยอมรับว่าครูผู้สอนในสถานศึกษาส่วนมาก นอกจากจะทำหน้าที่สอนแล้วยังได้มอบหมายให้ทำหน้าที่พิเศษเพิ่มเติมนอกจากการเรียนการสอน เช่น เป็นเจ้าหน้าที่การเงินบัญชีโรงเรียน การพัสดุ ประชาสัมพันธ์ ครูเวร นายทะเบียน สารบรรณ เจ้าหน้าที่หน้าที่วัดผล หัวหน้างาน หัวหน้าหมวด ฯลฯ แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ของครูผู้สอนรับผิดชอบนั้นพอสรุปได้ 3 รายการ คือ
  1. งานประจำ คือ งานการเรียนการสอนครูผู้สอนที่จะทำหน้าที่ให้สมบูรณ์นั้นจะต้องมีขั้นตอนและกระบวนการดังรายละเอียดดังนี้
    งานพิเศษเพิ่มเติมที่ได้รับมอบหมาย การวางแผน (Planning) เพื่อรวบรวมรูปแบบกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นการตัดสินใจว่าอะไรจะเกิดขึ้น แล้วเกิดขึ้นเมื่อไร และจะดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ การบริหารเวลา (Time Management) ที่มีน้อย จะต้องรอบคอบและสม่ำเสมอ ซึ่งถือเป็นกิจวัตรหนึ่งของการทำหน้าที่ครูผู้สอน
    • เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล การทำความรู้จักกับผู้เรียนบุคคล ข้อมูลภูมิหลังความสามารถทางการเรียน ความต้องการผู้เรียน ปัญหาส่วนตัว รวมทั้งปัญหาทางบ้าน
    • วิเคราะห์เพื่อหาศักยภาพของผู้เรียน เพื่อดูว่าเด็กมีศักยภาพทางด้านปัญญาด้านไหนมากที่สุด โดยครูอาจจะต้องมีความรู้ทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ หรือมีเทคนิคทางพหุปัญญา (Multiple Intelligence) เข้ามาช่วย หากมีความรู้ไม่พอก็ต้องขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะนั้นๆ
    • ร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์กับผู้เรียนกระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างวิสัยทัศน์หรือความฝันของตนให้มาก ซึ่งครูอาจดูข้อมูลจากการเก็บข้อมูลเป็นรายบุคคลมาแล้ว
      "ต้องยอมรับว่าครูผู้สอนในสถานศึกษาส่วนมาก
      นอกจากจะทำหน้าที่สอนแล้ว ยังได้มอบหมาย
      ให้ทำหน้าที่พิเศษเพิ่มเติมนอกจากการเรียนการสอน
      เช่น เป็นเจ้าหน้าที่การเงินบัญชีโรงแรม
      การพัสดุ ประชาสัมพันธ์ ครูเวร นายทะเบียน ฯลฯ"
    • ร่วมกันวางแผนเรียนรู้ ครูร่วมกันวางแผนการเรียนรู้กับผู้เรียน ผู้ปกครอง โดยเน้นการมีส่วนร่วม ซึ่งอาจวางแผนเป็นรายวันรายเดือน หรือรายภาคเรียน ตลอดจนร่วมกันวางแผนในการวัดผลการเรียนรู้นั้นๆ
    • ให้คำแนะนำกับผู้เรียน
    • ผลิต สรรหา และสนับสนุนสื่อการสอน
    • ให้ผู้เรียนรู้จักการสร้างองค์ความรู้
    • สร้างกำลังใจ
    • ร่วมประเมินผลที่หลากหลาย
    • รายงานผล
  2. งานจร คือ งานตามที่ผู้บริหารขอความร่วมมือจากครูในโรงเรียน เช่น งานเทศกาลของชาติและศาสนา รวมทั้งงานที่ต้องจัดร่วมกับชุมชนแต่ละท้องถิ่น
การประกอบอาชีพครูในปัจจุบันนั้นต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น ทั้งภาระงานประจำที่ต้องช่วยกันขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ต้องแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนของเด็กนักเรียนภาระงานพิเศษที่แข่งกับเวลา และงานจรต่างๆ ก็ตาม ผู้ที่ประกอบอาชีพครูจำเป็นต้องปรับตัวรวมทั้งพัฒนาตนเองให้ทันกับความเคลื่อนไหวกับพลวัตที่เกิดขึ้น มีกระบวนการบริหารเวลาที่มีประสิทธิภาพ เพราะเรายังเชื่อปรัชญาของเพื่อนครูที่มีร่วมกันคือ "การสร้างคน" หากคนที่เราสร้างนั้นเป็นคน "เก่ง" เป็นคน"ดี" แล้วถามว่าใครมีความสุขมากที่สุด


แหล่งที่มา : blog.eduzones.com

อัพเดทล่าสุด