งานในหน้าที่ของครูผู้สอน บทบาทหน้าที่ของครูตามพรบ. หน้าที่ของครูคือ


14,584 ผู้ชม


งานในหน้าที่ของครูผู้สอน บทบาทหน้าที่ของครูตามพรบ. หน้าที่ของครูคือ


ครูมืออาชีพ ตามมาตรา 24
มาตรา 24 ของพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ.2542 ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการจัด
การเรียนการสอน เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ จากสาระสำคัญของมาตรานี้ ถึงกับกล่าวกันว่า เป็นการ
สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบใหม่ของวงการศึกษาไทยเลยทีเดียว เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอด
คล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตาม
ศักยภาพ (มาตรา 22) มีความรู้และทักษะในด้านต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้และการดำรงชีวิตอย่างมีความ
สุข (มาตรา 23) ในการปฏิรูปการเรียนรู้ครั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในทุกระดับ นับตั้งแต่
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติลงมาถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถาน
ศึกษา ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ตลอดจนถึง นักเรียน ครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่นที่จะต้องมีส่วนร่วมใน
การปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยกันทุกระดับแต่ถ้าชี้เฉพาะให้เห็นเด่นชัดลงไปแล้วจะเห็นว่านอกเหนือจาก
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติซึ่งเป็นกฎหมายเป็นเพียงลายลักษณ์อักษรที่กำหนดแนวทางแล้ว
ผู้ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก คือ บุคลากรทางการศึกษาทั้งหลาย ซึ่งหมายถึง ผู้บริหาร
สถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัต
ิงานเกี่ยวเนื่อง กับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงาน
การศึกษา ต่าง ๆ ( มาตรา 4) และถ้าจะชี้เฉพาะเจาะจงลงไปให้ชัดเจนที่สุด ผู้ที่จะต้องมีการเปลี่ยน
แปลงมากที่สุด ในบรรดาบุคลากรทางการศึกษาทั้งหลายนี้ ก็คือ "ครู"

ครู เป็นอาชีพที่เก่าแก่ที่สุดอาชีพหนึ่งในโลก สรรพวิทยาการทั้งหลายของมวลมนุษย์ ถูกถ่าย
ทอดจาก "ผู้รู้" สู่ "ผู้เรียน" มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในระบบหรือนอกระบบ ระบบการเรียนการสอนทำให้
วิวัฒนาการของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะกว่าเราจะรู้จักใช้หินเป็นเครื่องมือ ก็กินเวลานับแสนปี
กว่าเราจะรู้จักทอผ้า ก็กินเวลานับหมื่นปี กว่าเราจะอยู่เป็นหลักแหล่งมีบ้านเมืองปึกแผ่น ก็ใช้เวลานับพันปี
กว่าเราจะผลิตเครื่องยนต์ เครื่องจักรกลได้ ก็ใช้เวลาหลายร้อยปี และการพัฒนาคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้
ก็ใช้เวลาหลายสิบปี แต่ทั้งหมดนี้เราสามารถถ่ายทอดโดยกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ เพียงใช้เวลา
ไม่กี่ปีเท่านั้นมนุษย์รุ่นใหม่ก็จะสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ต่อไปได้อย่างไม่รู้จักจบสิ้น ภาระหน้าท
ี่ของครูในการถ่ายทอดความรู้และพัฒนาความสามารถของผู้เรียน จึงเป็นหน้าที่ที่ไม่มีวันจบสิ้น ต้องคง
อยู่ตลอดไป โดยมีการพัฒนากระบวนการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

ครู ผู้สอน เป็นผู้ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน เป็นบุคคลแถวหน้า ที่ต้องสัมผัสกับผู้เรียน
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลักและเสริมประสบการณ์แก่ผู้เรียน ดูแลชีวิตผู้เรียนในโรงเรียน สถานศึกษา
สนับสนุนให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพมีอิทธิพลอย่างมากต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของผู้เรียน
ถึงแม้ว่าระบบการศึกษาและแนวทางการจัดการศึกษาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหากครูยังคงยึดติด
กับการสอนแบบเดิมๆไม่มีการพัฒนาตนเองไม่พัฒนากระบวนการเรียนรู้ไม่คำนึงผลที่จะเกิดขึ้นจริงกับ
ผู้เรียนการปฏิรูปการเรียนรู้ก็จะไม่เกิดขึ้นดังนั้นครูต้องเป็นผู้เปลี่ยนแปลงก่อนเป็นอันดับแรก โดยม
ีบุคลากรทางการศึกษาอื่น เป็นผู้สนับสนุน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้น
ปัจจุบัน โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางกระแสวัฒนธรรมที่หลากหลาย เศรษฐกิจตกต่ำ
ประชากรเพิ่มมากขึ้น เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง จริยธรรมถดถอย ครู จะถ่ายทอด อะไร สู่ผู้เรียน
อย่างไร เพื่อเตรียมพร้อมรับสิ่งเหล่านี้ ให้สมกับการเป็น "ครูมืออาชีพ"

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา เป็นหัวใจหลักของ
การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ เริ่มจาก มาตรา 22 เป็นลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนที่ต้องการให้
เกิดขึ้น มาตรา 23 เป็นเนื้อหาความรู้และทักษะในด้านต่าง ๆ ที่ต้องจัดให้กับผู้เรียน มาตรา 24 เป็น
การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน มาตรา 25 - 30 ว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานการศึกษา
และสถานศึกษา ที่จะต้องกำหนดหลักสูตร และให้การส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน
ในทุก ๆ ด้าน จะเห็นว่า มาตรา 24 เป็นตัวกำหนดภาระหน้าที่ของครู โดยตรง ที่จะดำเนินการ โดย
มีสาระสำคัญ ดังนี้

มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความ
แตกต่างระหว่างบุคคล
ในการจัดการเรียนการสอนของครู ต้องยอมรับในความแตกต่างกันของผู้เรียน ทั้งในด้านพื้นฐาน
ความรู้ ความถนัดทางการเรียน ความสนใจ ความพร้อม ความสามารถในการเรียนรู้ ในบางด้าน เช่น
พื้นฐานความรู้ ครูอาจปรับให้พอใกล้เคียงกันได้บ้าง แต่ความถนัด ความสนใจ เป็นไปไม่ได้ที่จะให้
ผู้เรียนทั้งหมด ในห้องเรียน มีความถนัด หรือความสนใจเหมือนกัน นอกจากนี้ ศักยภาพในการเรียนรู้
ก็แตกต่าง เรียนรู้ได้เร็วช้าต่างกัน ดังนั้น ในการเรียนการสอนของครู อันดับแรกครู ต้องสามารถ
จำแนกความแตกต่างกันของผู้เรียนได้ชัดเจนเพื่อที่จะนำไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้อง
กับผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจใช้แนวทาง ดังนี้
1. จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจ ตอบสนองความถนัด ของผู้เรียนเป็น รายบุคคล รายกลุ่ม โดย
การสำรวจความถนัด ความสนใจ ของผู้เรียนแล้วนำมาจัดกิจกรรมให้สอดคล้อง หรือดึงเรื่องที่ผู้เรียน
สนใจ มาประกอบในบทเรียน
2. กิจกรรมการเรียนการสอนที่ครูใช้ต้องมีความหลากหลาย และเหมาะสมกับผู้เรียนกลุ่มต่างๆ
โดยที่ครูอาจทดลองนำมาใช้เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุด สำหรับพัฒนาผู้เรียนแต่ละคน
3. ใช้กิจกรรมที่สามารถพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้เต็มตามศักยภาพ เหมาะสมกับ
วุฒิภาวะ เริ่มจากตรวจสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน แล้วจึงใช้กิจกรรมที่ส่งเสริมความ
สามารถให้สูงขึ้น ตามลำดับ ทีละขั้น ๆ
(2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อ
ป้องกันและแก้ไขปัญหา ครูสามารถที่จะกระทำได้โดย
1. จัดกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาทักษะ และกระบวนการคิด เพื่อให้เกิดคุณลักษณะที่เป็นนักคิดที่
สามารถศึกษา จนค้นพบคำตอบของปัญหาได้ด้วยตนเอง กำหนดหลักการทำงานได้เอง ให้เป็น
ลักษณะนิสัยที่ติดตัวอย่างถาวร
2. จัดกิจกรรม ประสบการณ์หรือสถานการณ์ ที่กระตุ้นให้เกิดการคิด อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน
โดยครูต้องศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้แบบต่าง ๆ ให้เข้าใจถ่องแท้ เพื่อนำมาจัด
กิจกรรมที่เหมาะสมต่อไปรวมทั้งจัดกิจกรรมเสริมที่หลากหลายรูปแบบเพื่อที่ผู้เรียนจะนำประสบ
การณ์ไปประยุกต์เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป เพราะการมีประสบการณ์ที่มาก ย่อมมีหนทางแก้ไข
มากขึ้นเช่นกัน
3. ให้ผู้เรียนรู้จักตั้งปัญหา กำหนดปัญหา รวมถึงหาวิธีที่แก้ปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม
เป็นระบบ ให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของปัญหา มากกว่าเห็นความสำคัญของคำตอบที่มีอยู่แล้ว
ในการเรียนการสอน บางครั้งคำตอบ ก็ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด แต่กระบวนการค้นหาที่อยู่ระหว่าง
ปัญหากับคำตอบ น่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
(3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น
รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ในการปฏิบัติ ครูอาจใช้แนวทางดังนี้
1. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้ลงมือ
ปฏิบัติ อย่างเป็นขั้นตอน และเกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัตินั้น รวมทั้งสามารถอธิบาย สรุปขั้นตอน
การปฏิบัติ พร้อมทั้งสามารถเผยแพร่ข้อค้นพบ หรือนำเสนอเรื่องราวที่ค้นพบได้อย่างสร้างสรรค์
2. จัดประสบการณ์ที่หลากหลาย ภายนอกห้องเรียน เป็นเรื่องจริงในสังคม ชุมชน ท้องถิ่น เพื่อ
ให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์จริง เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น ๆ
3. จัดกิจกรรมการอ่านเพื่อการค้นคว้า จากมุมหนังสือ ในห้องเรียน ห้องสมุด หรือแหล่งค้นคว้าต่าง ๆ
4. จัดหนังสือหรือเอกสารให้ผู้เรียนได้อ่าน เพื่อการค้นคว้าอย่างพอเพียง ผู้เรียนที่มีนิสัยรักการอ่าน
จะช่างสังเกต ช่างจดจำ มีความละเอียด และใฝ่รู้อยู่เสมอ
(4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้ง
ปลูกฝัง คุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชานอกเหนือจากการจัด
กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาความสามารถจริงของผู้เรียน การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมอันดีงามของชาติ ก็เป็นสำคัญที่ต้องสอดแทรกเข้าไปในทุกวิชา และตลอดเวลา เพื่อให้
ผู้เรียนเป็นทั้ง คนเก่ง และคนดี และถ้ายังไม่เก่ง ก็ขอให้ดีไว้ก่อน การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมที่พึงประสงค์ สามารถกระทำได้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็น
ส่วนเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การปฏิบัติ ค่านิยมพื้นฐานที่ครูควรสอดแทรกเช่น ความ
ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน มีวินัย รับผิดชอบ เสียสละ สามัคคี ฯลฯ ครูอาจทำได้โดยการจัด
สถานการณ์จำลอง หรือบทบาทสมมุติ
(5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวย ความ
สะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็น ส่วนหนึ่งของ
กระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน และ
แหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
สถานศึกษา และครู ต้องร่วมกันจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เอื้อต่อการเรียนรู้และเกิดบรรยากาศ
ของการเรียนรู้ นอกเหนือจากสภาพแวดล้อม สื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ก็มีความจำเป็นไม่น้อย ที่ต้องนำมา
ใช้ในการเรียนการสอน โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สื่อ จะเป็นตัว
กลางของปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน ระหว่างครูกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน และชั้นเรียนกับภายนอก
การใช้สื่อในการเรียนการสอน ต้องใช้สื่อที่เหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อหา กิจกรรม และเป็นสื่อ
ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เอง หรือสามารถศึกษาข้อมูลจากสื่อชนิดต่าง ๆ ได้เอง โดยเฉพาะ
จากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ครูควรฝึกให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์แยกแยะประเภทของสื่อ
เลือกรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ สำคัญ และเป็นประโยชน์ ครูและผู้เรียนอาจร่วมกันจัดทำสื่อเพื่อใช้ใน
การเรียนการสอนก็ได้ ในการเรียนการสอนอาจใช้วิธีการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน
ซึ่งจะทำให้สามารถค้นพบปัญหา และอุปสรรคที่แท้จริงในกระบวนการเรียนสอน เพื่อทำการ
ศึกษาหาวิธีแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
(6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือ กับบิดา มารดา
ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพครูสามารถจัด
กิจกรรม ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา เพราะว่ามนุษย์จะต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ทำให้การเรียนรู้ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน ในโรงเรียนสถานศึกษาเท่านั้น ในยุคโลก
ไร้พรมแดน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในทุกที่ ทุกเวลา ทุกเรื่อง ครูอาจจัดกิจกรรมให้ผู้เรียน
ได้เรียนรู้จาก พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน ผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพ บุคคลในสังคม ชุมชน
ในท้องถิ่น นอกจากผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายแล้ว ยังเป็นการพัฒนาความ
สัมพันธ์ในครอบครัว และผู้เรียนได้เรียนรู้การมีมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในชุมชน และ
ท้องถิ่นได้ดีอีกด้วย
การเปิดโอกาสให้ชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน ก็เป็นความมุ่งหมาย
สำคัญประการหนึ่ง ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 นี้ โดยที่นอกจากชุมชนได้ประโยชน์ใน
การแลกเปลี่ยนความรู้กับสถานศึกษา มีการตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพของสถานศึกษา ผลผลิต
ของสถานศึกษา ก็เป็นไปตามความต้องการของชุมชน และสถานศึกษาก็จะได้รับความร่วมมือ
และการสนับสนุนจากชุมชนอย่างเต็มที่ ในการดำเนินการต่าง ๆ

"ครูมืออาชีพ" เป็นความคาดหมายของการปฏิรูปการศึกษาของชาติในครั้งนี้อย่างยิ่ง การเป็น
มืออาชีพของครู จะทำให้การปฏิรูปการเรียนรู้ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็น มนุษย์ที่
สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการ
ดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ
หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจ
ในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ
วัฒนธรรมของชาติ การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล
ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ
รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้ล้วนเป็น
ผลงานอันน่าภาคภูมิใจของ "ครูมืออาชีพ" โดยแท้


แหล่งที่มา : reocities.com

อัพเดทล่าสุด