หน้าที่ของครูอาจารย์ บทบาทหน้าที่ของครู อย่างไร หน้าที่ของครูต่อลูกศิษย์


814 ผู้ชม


หน้าที่ของครูอาจารย์ บทบาทหน้าที่ของครู อย่างไร หน้าที่ของครูต่อลูกศิษย์

 

บทบาทของครู


บทบาทของครู หมายถึงภาระหน้าที่ที่ครูต้องรับผิดชอบ บทบาทของครูทั้งในอดีตและปัจจุบัน พอสรุปได้ดังนี้คือ 
1.1. บทบาทของครูในการเป็นผู้บริหาร 
ครูอาจารย์ที่เป็นผู้บริหารสถาบันการศึกษาได้แก่ครูใหญ่อาจารย์ใหญ่และผู้ อำนวยการซึ่งเปรียบเสมือนเฟืองจักรใหญ่ที่จะกำกับและควบคุมให้ครูผู้สอน 
ซึ่งเป็นเฟืองจักรเล็กทำงานอย่างมีประสิทธิภาพผู้บริหารเป็นผู้นำสถาบันที่ ควรต้องเป็นกลไกใหม่ในการจัดการศึกษา จัดบุคคลจัดสถานที่ จัดบริการต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนการสอนดำเนินไปสู่เป้าหมายของหลักสูตรที่วางไว้ ฉะนั้น หลักต่าง ๆ ที่ควรจำไว้ปฏิบัติมีดังนี้ 
1. ต้องเป็นผู้บริหารที่เป็นหัวหน้าที่ดี มีประสิทธิภาพใช้ผู้ร่วมงานให้ได้ประโยชน์มาก ต้องเป็นผู้วางมาตรการในการทำงาน การผลิตได้สูง แต่ปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชาแตกต่างไปบ้าง ทำงานโดยคำนึงถึงความสำเร็จของงานรวมกับสัมพันธภาพ ผู้ร่วมงานดีเป็นแบบอย่างที่ดีทำให้ทุกคนร่วมงานกัน ร่วมมือกันทำงานที่ได้รับมอบหมาย มีความรับผิดชอบสูงและมีวิธียั่วยุในการทำงาน 
2. มีความสามารถในการสร้างแนวความคิดและความสมเหตุสมผล คือ สามารถรวมปัจจัย ข้อเท็จจริงที่จำเป็นต่าง ๆ เข้าเป็นแรงความคิดอันหนึ่งอันเดียวกันได้ 
3. กล้าตัดสินใจ มองทะลุได้ และไม่หวั่นต่ออุปสรรค 
4. การตัดสินใจที่ใช้ญาณหยั่งรู้ คือสามารถตัดสินใจฉับพลันได้ทันที แต่สุขุมรอบคอบละเอียดลึกซึ้ง 
5. เป็นคนใจกว้าง สนใจและยอมรับฟังความคิดเห็นใหม่ ๆ รวมทั้งความคิดเห็นที่ไม่เหมือนกับของผู้อื่น 
6. มีความสามารถในการชักจูงผู้อื่นให้เห็นพ้องต้องกัน วิธีที่ดีที่สุดให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ในรูปแบบแผนที่เหมาะสม(ทองคำ ผดุงสุข, 2532 : น. 104 – 105) 
1.2 บทบาทของครูในการเป็นผู้สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาเยาวชน 
โดยการให้การศึกษาที่มีคุณภาพแก่นักเรียน ให้ความรู้ทั้งวิชาสามัญและวิชาชีพตามหลักสูตร ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญไม่ว่าจะจัดการสอนโดยวิธีใด ครูต้องมีการวางแผนและเตรียมการสอนเป็นอย่างดี ไม่ละทิ้งเด็ก และมีการจัดกิจกรรมเสริม เพื่อให้เด็กเข้าใจในบทเรียนยิ่งขึ้น 
นอกจากการสอนวิชาความรู้แล้ว ครูยังมีบทบาทในการสอนให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม และมีความสุขตามควรแก่อัตภาพ 
1.3 บทบาทของครูในการเป็นผู้นำด้านศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม 
โดยการประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ มีศีลธรรม สุขภาพ มีความเมตตากรุณา เอื้ออาทรต่อความเป็นอยู่ของศิษย์ คอยช่วยเหลือเมื่อศิษย์มีปัญหา มีความอดทนและเสียสละ 
1.4 บทบาทของครูในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การปกครอง 
ด้านเศรษฐกิจ 

ปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศไทยเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก มีการพัฒนาทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และธุระกิจ ครูเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศชาติ โดยการให้ความรู้แก่นักเรียน และเน้นทักษะในการทำงานต่าง ๆ เพื่อนักเรียนจะได้มีความรู้ที่ได้มาตรฐานและสามารถทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ นอกจากนั้นครูควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น ทำสวนครัว ปลูกผัก และไม้ดอก เป็นต้น ส่งเสริมให้เด็กรู้จักออมทรัพย์ให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพอนามัยแก่ชุมชน เพื่อให้เด็กนักเรียนและคนในชุมชนมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ รู้จักหลักโภชนาการที่ถูกต้อง รู้จักการรักษาความสะอาดและรู้จักการวางแผนครอบครัว แนะนำอาชีพใหม่ ๆ ให้แก่ชุมชน พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมอาชีพดังกล่าว และส่งเสริมให้มีการผลิตและนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการประกอบอาชีพของ ชุมชน เพื่อทำให้ปฏิบัติงานได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และมีผลผลิตเพิ่มขึ้น เช่น แนะนำการใช้ปุ๋ย การผสมเทียมสัตว์ และการนำเครื่องมือเครื่องใช้มาช่วยด้านเกษตร เป็นต้น. 
ด้านสังคม 

ครูมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคม โดยการให้ความรู้แก่คนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นความรู้วิชาสามัญหรือวิชาชีพก็ตาม เพราะจะทำให้คนในชุมชนมีพื้นฐานการศึกษาอันจะนำไปสู่ความรู้และความเข้าใจใน เรื่องต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นครูยังมีส่วนช่วยในการริเริ่ม ส่งเสริมและแนะนำในเรื่องการประกอบอาชีพ ความเป็นอยู่ และการพัฒนาชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดี. 
ด้านการเมืองการปกครอง 

ครูต้องจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและระบบการเมืองการ ปกครองของประเทศ และมีส่วนช่วยในการพัฒนาการเมืองการปกครอง ให้มีความมั่นคง โดยการให้ความรู้ในเรื่องระบบการปกครองของประเทศ โดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยแก่เด็กและคนในชุมชน สนับสนุนและฝึกหัดให้นักเรียนรู้จักรูปแบบการปกครองประเทศ โดยให้มีการจัดตั้งสภานักเรียน การเลือกหัวหน้าชั้น เป็นต้น นอกจากนั้นครูยังช่วยแนะนำประชาชนในเรื่องการเลือกตั้งผู้แทนในระดับต่าง ๆ อย่างถูกต้อง 
1.5 บทบาทของครูในการช่วยส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม 
โดยการช่วยทะนุบำรุงรักษาพระศาสนาให้มีความมั่นคงควบคู่กับสถาบันชาติและพระ มหากษัตริย์ มีความเลื่อมใสและศรัทธาในศาสนาที่นับถือ ปฏิบัติตามหลักธรรมและปฏิบัติศาสนกิจเป็นประจำ 
นอกจากนั้นครูจะต้องช่วยส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมของชาติให้มั่นคง ถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามให้แก่เด็ก ช่วยกันจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมและส่งเสริมให้มีการจัดห้องวัฒนธรรมใน โรงเรียน 


1.6 บทบาทของครูในการพัฒนาประเทศ 
คณาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา ได้กล่าวถึงบทบาทของครูในการพัฒนาประเทศว่า (คณาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา,2535 : 188 - 190)ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาในระดับสูง มีการจัดการศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติซึ่งเป็นแผนแม่บทในการพัฒนา ประเทศ นับเป็นแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติระยะที่ 7 (พ.ศ.2535 ถึง พ.ศ. 2539) การดำเนินการพัฒนาการศึกษาในแต่ละแผนได้มีการประเมินผลเพื่อใช้ในการปรับ ปรุงปฏิบัติงานในระยะต่อมาโดยตลอดปัญหาทางการศึกษาที่ผ่านมาเป็นเรื่องของ ปริมาณการศึกษา คือ เยาวชนของประเทศยังขาดโอกาสทางการศึกษาในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาที่จะช่วยให้พลเมืองส่วนใหญ่มีคุณภาพหนทางแก้ปัญหาส่วนหนึ่ง ได้มุ่งขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างกว้างขวาง 
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 3539) ได้กำหนดวัตถุ-ประสงค์ และนโยบายในระดับประถมศึกษาที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนที่จบ ประถมศึกษาได้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือได้รับการศึกษาต่อเนื่องใน รูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2534) กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินงานตามนโยบายนี้โดยการจัดทำโครงการขยายโอกาสทาง การศึกษาระดับมัธยมศึกษาเพิ่มขึ้นอีก 3 ปี ในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2534และมีเป้าหมายที่จะดำเนินการให้ครบทุกโรงเรียนในปีการศึกษา 2540 ตามหลักการนี้รัฐจะต้องเพิ่มปริมาณสถานศึกษาต้องสนับสนุนงบประมาณวัสดุ อุปกรณ์ทางการศึกษา เพิ่มครูทั้งปริมาณและคุณภาพ 
การประถมศึกษาเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมและ สำหรับเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้นรัฐได้กำหนดไว้ว่าเป็นการ ศึกษาภาคบังคับและเป็นภาระผูกพันของรัฐที่จะต้องดำเนินการให้ประชากรในวัย เรียนได้มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2526 :1)การที่จะพัฒนาการศึกษาโดยส่วนรวมให้มีคุณภาพจำเป็นต้องมีการพัฒนากระบวน การจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพเป็นลำดับแรก อันจะส่งผลไปยังการศึกษาระดับอื่น ๆ หรือการดำรงชีวิตของมนุษย์ให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพด้วย 
ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาท้องถิ่นตามบทบาทหน้าที่ของโรงเรียน เนื่องจากครูเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาติดต่อสัมพันธ์กับนัก เรียนและผู้ปกครองโดยตรงครูจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยน แปลงในตัวผู้เรียนและเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆในทิศทางที่พึงประสงค์แก่ท้อง ถิ่นที่โรงเรียนตั้งอยู่โดยเฉพาะครูประถมศึกษาซึ่งมีจำนวนมากที่สุดและใกล้ ชิดกับประชาชนมากที่สุดครูเป็นผู้มีความรู้สูงเมื่อเทียบกับชาวบ้านทั่ว ๆ ไปในสังคมชนบท สุเทพ เชาวลิต (2524 : 7 ) ได้ระบุถึงบทบาทของครูในเขตชนบทว่า ครูเป็นผู้นำชนบทที่สำคัญ เป็นผู้ที่มีความรู้ แจ้งข่าวสารต่าง ๆ แก่ชาวบ้านได้ ชาวบ้านเดือดร้อนมักมาหาครูขอคำปรึกษา ครูจึงเป็นที่เคารพรักของชาวบ้าน นอกจากนี้(เมธี ปิลันธนานนท์, 2524 : 31 – 34 ) ได้ระบุถึงบทบาทของครูกับการพัฒนาชนบทยากจนได้ว่า ครูที่ทำงานชนบทยากจนมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความเสียสละ อดทนพากเพียรและมีกุศลจิตดังนั้นครูจะต้องเป็นตัวอย่างในด้านการมีบทบาทใน การให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนและช่วยพัฒนาชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่ ยากจน นอกเหนือจากการสอนในชั้นเรียน ครูจึงควรจะมีบทบาทพัฒนาชุมชนในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และอาชีพ สังคมและวัฒนธรรม สุขภาพอนามัย และการเมืองการปกครอง 
การพัฒนาท้องถิ่นด้านการศึกษาถือว่าเป็นบทบาทโดยตรงของครู เพราะการให้การศึกษา เป็นหน้าที่โดยตรงสำหรับคนที่มีวิชาชีพครูจะกระทำได้ โดยการพยายามใช้ความรู้ความสามารถและใช้ประโยชน์จากวัสดุและอุปกรณ์ที่มี อยู่ในโรงเรียนและชุมชนแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนา ชุมชน ครูอาจทำได้ดังนี้คือ 
1.จัดหลักสูตรการเรียนการสอน พยายามเน้นหนักในด้านแก้ปัญหาและสนองความต้องการของท้องถิ่น 
2.การจัดการศึกษามุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ๆ(ชนิตา รักษ์พลเมือง, 2526 : 168) 
3. ปรับปรุงโรงเรียนเป็นศูนย์ประสานงานบริการด้านวิชาการ และข่าวสาร เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2527 : 26 ) 
ครูซึ่งมีจำนวนมากและกระจายอยู่ในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาสมรรถภาพในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานด้านการศึกษาให้มีส่วนในการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่าง แท้จริง 
สรุป การศึกษาเป็นกลยุทธอย่างหนึ่ง ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งการลงทุนทางการศึกษาของมนุษย์ก็เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่า และคุณภาพของมนุษย์ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไปการผลิต ผู้ที่มีการศึกษาเป็นการผลิตกำลังคนเพื่อสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตกำลังคนที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงของ เศรษฐกิจและสังคมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดังนั้นแนวโน้มการผลิตผู้มีการ ศึกษาในอนาคตจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวข้างต้นเป็นสำคัญ.

 

แหล่งที่มา : kroobannok.com

อัพเดทล่าสุด