โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืช ลักษณะและหน้าที่ของเซลล์พืช ลักษณะโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
โครงสร้างและส่วนประกอบของเซลล์
พืชและสัตว์ต่างก็เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เหมือนกัน เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีขนาด รูปร่าง และลักษณะแตกต่างกันตามความเหมาะสมของหน้าที่ แต่โครงสร้างพื้นฐานหรือองค์ประกอบส่วนใหญ่ทั้งของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
โครงสร้างและส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์พืช
โครงสร้างพื้นฐานและหน้าที่ของเซลล์
1. ผนังเซลล์ (cell wall) พบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1665 โดยโรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) ผนังเซลล์พบในเซลล์พืชเท่านั้นเป็นส่วนที่ไม่มีชีวิต ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงและทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ ประกอบด้วยเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่และยังประกอบด้วยสารพวกเพกทิน ลิกนิน ฮีมิเซลลูโลส ซูเบอริน ไคทิน และคิวทิน
2. เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ อยู่ล้อมรอบเซลล์ ประกอบด้วยสารประเภทโปรตีนและไขมัน มีหน้าที่ช่วยให้เซลล์คงรูปและควบคุมการแลกเปลี่ยนสารระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์พบได้ทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์เป็นส่วนที่มีชีวิต มีความยืดหยุ่นสามารถยืดหดได้มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ มีรูพรุนสำหรับให้สารละลายผ่านเข้าออกได้ เช่น น้ำ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ยูเรีย กรดอะมิโน เกลือแร่ ออกซิเจน และกลีเซอรอลสามารถผ่านเข้าออกได้ง่าย ส่วนสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้เลย เช่น สารพวกโปรตีนและไขมัน จึงเรียกเยื่อที่มีลักษณะแบบนี้ว่า เยื่อกึ่งซึมผ่านได้ (semipermeable membrane หรือ selective permeable membrane)
3. ไซโทพลาซึม (cytoplasm) มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายเจลลี่ซึ่งมีน้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่ต่างๆ เป็นองค์ประกอบ ไซโทพลาซึมเป็นศูนย์กลางการทำงานของเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับเมแทบอลิซึม (metabolism) ทั้งกระบวนการสร้างและการสลายอินทรียสาร เป็นแหล่งที่เกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ที่จะช่วยให้เซลล์ดำรงชีวิตอยู่ได้
4. นิวเคลียส (nucleus) อยู่ในไซโทพลาซึม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของเซลล์ นิวเคลียสทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของเซลล์ ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนและเอนไซม์ ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกหลาน ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ภายในเซลล์ ควบคุมการเจริญเติบโต และควบคุมลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต
5. คลอโรพลาสต์ (chloroplast) พบเฉพาะในเซลล์ที่มีสีเขียวของพืชและเซลล์ของโพรทิสต์บางชนิด เช่น สาหร่าย คลอโรพลาสต์ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ชั้นนอกทำหน้าที่ควบคุมชนิดและปริมาณของสารที่ผ่านเข้าและออกจากคลอโรพลาสต์ ส่วนชั้นในจะมีลักษณะยื่นเข้าไปภายในและมีการเรียงกันเป็นชั้นๆ อย่างมีระเบียบ ภายในเยื่อหุ้มชั้นในจะมีโมเลกุลของสารสีเขียว เรียกว่า คลอโรฟิลล์ (chlorophyll) และมีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างอาหารฃองพืช
โครงสร้างและหน้าที่การทำงานของออร์แกเนลล์ต่างๆ
ระหว่างเซลล์ของพืชและสัตว์
ออร์แกเนลล์ | โครงสร้าง | หน้าทีการทำงาน |
1.Cell wall | ประกอบด้วยเส้นใยเซลล์ลูโลส | ปกป้องและค้ำจุน |
2.Plasma membrane | เป็นฟอสโฟลิพิดเรียงกัน 2 ชั้น และมีโปรตีนแทรก | เป็นเยื่อเลือกผ่านของสารที่ผ่านเข้าออก ระหว่างเซลล์ |
3.Nucleus | ประกอบด้วยเยื่อหุ้มล้อมรอบนิวคลีโอ- ปลาสซึม,โครมาตินและนิวคลีโอลัส | เป็นที่เก็บสารพันธุกรรม |
4.Nucleolus | เป็นบริเวณที่รวบรวมโครมาทิด, RNA,โปรตีน | สร้างและสะสม RNA |
5.Ribosome | ประกอบด้วยหน่วยย่อยของโปรตีนและ RNA | สังเคราะห์โปรตีน |
6.Edoplasmic reticulum(ER) | โครงสร้างที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ลักษณะเป็นท่อยาวแบน | สังเคราะห์หรือเสริมสร้างโปรตีนหรือ สารอื่นๆขนส่งสาร |
7.Rough ER | เป็น ER ที่มีไรโบโชมเกาะอยู่ | สังเคราะห์โปรตีน |
8.smooth ER | เป็น ER ที่ไม่มีไรโบโซม | มีหน้าที่หลายอย่าง เช่น กำจัดสารพิษ สร้างสารสเตรอยด์ ขนส่งไกโคเจน |
9.Golgi body | เป็นถุงแบนมีเยื่อหุ้ม เรียงซ้อนกันหลายอัน ปลายของถุงมักพองออก | สังเคราะห์สารประกอบหลายชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรต ขับสารประกอบต่างๆ |
10.Vacuole and vesicle | เป็นถุงที่มีเยื่อหุ้ม | เก็บสะสมสารต่างๆสะสมน้ำเรียกcontractile vacule สะสมอาหารเรียก foodvacule |
11.Lysosome | เป็นถุงที่ทีเยื่อหุ้มภายในมี enzyme | ย่อยสลายองค์ประกอบภายในเซลล์ |
12.Microbody | เป็นถุงที่มีเยื่อหุ้มภายในมีเอนไซน์เฉพาะ | ่นำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆของเซลล์ |
13.Mitocondria | เป็นก้อนกลมหรือรี มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้นเยื่อหุ้มชั้นในเรียก cristae | แหล่งผลิตพลังงาน,การหายใจระดับเซลล์ |
14.Chloroplas* (พบเฉพาะในเซลล์พืช) | เป็นก้อนกลม รี เยื่อหุ้ม 2 ชั้น เยื่อชั้นในเรียก grana | การสังเคราะห์แสง |
15.Cytoskeleton | ไมโครทิวบูล เป็นเส้นยาวไม่แตกแขนง มโปรตีนทูบิลินเป็นหน่วยย่อย | ทำให้เซลล์คงรูปร่าง ช่วยในการเคลื่อนที่ของเซลล์ |
16.Cilia and Flagella | แท่งของไมโครทิวบูลเรียงกันในรูปแบบ 9+2 | ช่วยในการเคลื่อที่ของเซลล์ |
17.Centriole | เป็นแท่งของไมโครทิวบูลเรียงกันแบบ 9+0 | สร้างสายสปินเดิลในการแบ่งเซลล์หรือเป็นส่วน ฐานของซิเลียและแฟลเจลลา |
…………………..
แหล่งที่มา : krootim.wordpress.com