หน้าที่ของระบบประสาท หน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลาง แบบทดสอบโครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ
| แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 | | | |
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อต่อวัยรุ่น | ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
เรื่อง การทำงานและหน้าที่ของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ | เวลา 4 ชั่วโมง |
| สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด | |
ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ มีความสำคัญและส่งผลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่นให้สมวัย |
| ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้ | |
ตัวชี้วัด พ 1.1 ม.1/1 อธิบายความสำคัญของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่น จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายโครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อได้ 2. บอกความสำคัญของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นได้ |
| สาระการเรียนรู้ | |
สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1. ความสำคัญของระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่น 2. วิธีดูแลรักษาระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อให้ทำงานตามปกติ |
| สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน | |
ความสามารถในการคิด - ทักษะการคิดวิเคราะห์ - ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต - กระบวนการปฏิบัติ - กระบวนการทำงานกลุ่ม |
| คุณลักษณะอันพึงประสงค์ | |
1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน |
| กิจกรรมการเรียนรู้ | |
(วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์) นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชั่วโมงที่ 1 1. ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทที่ทำให้เราสามารถพูด มองเห็น ได้ยิน กระทั่งเกิดการเรียนรู้และเกิดความคิดต่างๆ เป็นผลมาจากการทำงานของระบบประสาทส่วนใด 2. เมื่อนักเรียนพูดคุยกันแล้วให้เสนอปัญหาว่า ประสาทส่วนใดที่ควบคุมการนอนหลับ การเต้นของหัวใจ และอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ 3. ให้นักเรียนตั้งสมมติฐาน โดยครูคอยเสนอแนะการตั้งสมมติฐานที่สามารถหาแนวทางในการตอบได้ เช่น ตั้งสมมติฐานว่า ระบบประสาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วน 4. นักเรียนศึกษาความรู้เกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลายจากหนังสือเรียน 5. ให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง โครงสร้างของระบบประสาท 6. นักเรียนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามความสมัครใจ แล้วให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาและสรุปโครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาท ดังนี้ กลุ่มที่ 1 โครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลาง กลุ่มที่ 2 โครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาทส่วนปลาย 7. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปความรู้ แล้วให้แต่ละกลุ่มคัดเลือกตัวแทน เพื่อออกมานำเสนอความรู้หน้าชั้นเรียน 8. ครูเปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มอื่นซักถามข้อสงสัย เพื่อให้ตัวแทนกลุ่มที่ออกมานำเสนอความรู้อธิบายเพิ่มเติม หรือครูอาจเป็นผู้อธิบายเพิ่มเติมก็ได้ 9. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเนื้อหาของทั้ง 2 กลุ่ม และสรุปเป็นข้อๆ บนกระดานพร้อมกับบันทึกลงในสมุด 10. ให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.2 เรื่อง ส่วนประกอบต่างๆ และหน้าที่ของสมอง เมื่อนักเรียนทำใบงานเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนนำส่งครูตรวจ ชั่วโมงที่ 2-3 1. ครูนำรูปภาพเด็กที่แคระแกร็น และเด็กที่มีการเจริญเติบโตตามปกติซึ่งอยู่ในวัยเดียวกันมาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนบอกความแตกต่างของเด็ก ทั้ง 2 คน 2. ครูตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้นักเรียนเกิดการสังเกต และวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพที่เห็น เช่น - เด็กในภาพใดมีการเจริญเติบโตผิดปกติ และสังเกตได้อย่างไร - สาเหตุที่ทำให้เด็ก ทั้ง 2 คน มีการเจริญเติบโตที่ต่างกันเกิดจากปัจจัยใด 3. ครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนทราบว่า การที่เด็กมีการเจริญเติบโตผิดปกติ หรือมีอาการ แคระแกร็นเกิดจากการขาดโกรทฮอร์โมน ซึ่งจะทำให้ตัวเตี้ยเล็ก แต่ร่างกายจะสมส่วน 4. ให้นักเรียนศึกษาความรู้เกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) จากหนังสือเรียน 5. ให้นักเรียนจับสลากหมายเลขเพื่อแบ่งกลุ่ม แล้วให้นักเรียนที่มีหมายเลขเดียวกันเข้ารวมกลุ่มกันเพื่อศึกษาค้นคว้าและอภิปราย แล้วสรุปความรู้ ดังนี้ หมายเลข 1 ศึกษาและสรุปความรู้เกี่ยวกับต่อมใต้สมอง หรือต่อมพิทูอิทารี (Pituitary Gland) หมายเลข 2 ศึกษาและสรุปความรู้เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) หมายเลข 3 ศึกษาและสรุปความรู้เกี่ยวกับต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Gland) หมายเลข 4 ศึกษาและสรุปความรู้เกี่ยวกับต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) หมายเลข 5 ศึกษาและสรุปความรู้เกี่ยวกับต่อมไพเนียล (Pineal Gland) หมายเลข 6 ศึกษาและสรุปความรู้เกี่ยวกับต่อมไทมัส (Thymus Gland) หมายเลข 7 ศึกษาและสรุปความรู้เกี่ยวกับตับอ่อน (Pancreas) หมายเลข 8 ศึกษาและสรุปความรู้เกี่ยวกับต่อมเพศ (Gonad) 6. ให้สมาชิกแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันโดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน 7. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายและสรุปความรู้ แล้วให้แต่ละกลุ่มตั้งคำถามเพื่อให้สมาชิกกลุ่มอื่นตอบ กลุ่มละ 3 คำถาม โดยครูให้หลักเกณฑ์คร่าวๆในการตั้งคำถามที่ทำให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ 8. ครูจับสลากหมายเลขกลุ่ม เพื่อให้นักเรียนส่งตัวแทนออกมานำเสนอความรู้หน้าชั้นเรียน และตั้งคำถามให้กลุ่มอื่นๆ ตอบ แล้วให้สมาชิกในกลุ่มเจ้าของคำถามร่วมกันตรวจสอบคำตอบและอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่บกพร่อง 9. ครูชมเชยตัวแทนกลุ่มที่นำเสนอความรู้และตั้งคำถามได้ดี เพื่อเป็นการเสริมกำลังใจและเป็นแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มให้เพื่อนในชั้นเรียน ชั่วโมงที่ 4 1. ให้นักเรียนนำข้อมูลความรู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาเป็นพื้นฐานการวิเคราะห์เกี่ยวกับหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต 2. ครูตั้งประเด็นคำถามเพื่อเป็นการทบทวนความรู้ความเข้าใจ ดังนี้ - ฮอร์โมนไทรอกซิน มีผลอย่างไรต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย - ต่อมใต้สมองส่วนหน้ากับต่อมใต้สมองส่วนหลังทำหน้าที่เหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร - การเจริญเติบโตในช่วงระยะก่อนหนุ่มสาวมีความสัมพันธ์กับต่อมใดมากที่สุด เพราะเหตุใด - การกระตุ้นจากระบบประสาทเพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อมในเวลาฉุกเฉิน เกิดจากการทำงานของต่อมใด 3. ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมในส่วนของคำตอบที่มีความบกพร่องให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น |
| การวัดผลและประเมินผล | |
วิธีการ | เครื่องมือ | เกณฑ์ | นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน | แบบทดสอบก่อนเรียน | ร้อยละ 50 ผ่านเกณฑ์ | นักเรียนทำใบงานที่ 1.1 | ใบงานที่ 1.1 | ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ | นักเรียนทำใบงานที่ 1.2 | ใบงานที่ 1.2 | ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ | นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม | แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม | ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ | นักเรียนนำเสนอผลงาน | แบบประเมินการนำเสนอผลงาน | ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ | |
| สื่อ / แหล่งการเรียนรู้ | |
สื่อการเรียนรู้ 1. หนังสือเรียน สุขศึกษา ม.1 2. รูปภาพเด็ก 3. สลาก 4. ใบงานที่ 1.1 เรื่อง โครงสร้างของระบบประสาท 5. ใบงานที่ 1.2 เรื่อง ส่วนประกอบต่างๆ และหน้าที่ของสมอง แหล่งการเรียนรู้ 1. ห้องสมุด 2. ห้องเทคโนโลยีสารสนเทศ |
แหล่งที่มา : trueplookpanya.com