ชนิดและหน้าที่ของคำ ชนิดและหน้าที่ของคำ ภาษาไทย ชนิดและหน้าที่ของคำ ภาษา


1,700 ผู้ชม


ชนิดและหน้าที่ของคำ ชนิดและหน้าที่ของคำ ภาษาไทย ชนิดและหน้าที่ของคำ ภาษา

 
ลักษณะสำคัญของภาษาไทย
ลักษณะสำคัญของภาษาไทย: เป็นภาษาตระกูลคำโดด (Isolating Language) คือภาษาที่เอาคำเดิมมาเรียงเป็นวลี ประโยค จนได้ความหมาย รูปคำเดิมไม่เปลี่ยน
1.ภาษาไทยมีตัวสะกดและอักขรวิธีเป็นของตนเอง: ไทยมีตัวเขียนเป็นของตนเองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง พ.ศ.1826 และเขียนจากซ้ายไปขวา มีรูปแบบปัจจุบันคือ
1.1.พยัญชนะ หรือตัวอักษรแทนเสียงแปร มี 44 ตัว ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆกัน เพื่อไม่ให้สับสนเรื่องเสียงที่ซ้ำกันบางเสียง เช่น ศ-ศาลา ษ-ฤษี ส-เสือ
1.2.สระ หรือตัวอักษรเขียนแทนเสียงแท้ มี 21 รูป มีชื่อดังนี้ อะ-วิสรรชะนีย์ อา-ลากข้าง อิ-พินทุ์อิ ‘-ฝนทอง “-ฟันหนู ํ-นฤคหิต อุ-ตีนเหยียด…
อู-ตีนคู้ ั-ไม้หันอากาศ/ผัด ็-ไม้ไต่คู้ เ-ไม้หน้า โ-ไม้โอ ใ-ไม้ม้วน ไ-ไม้มลาย ฤ-ตัวรึ ฤา-ตัวรือ ฦ-ตัวลึ ฦา-ตัวลือ ย-ตัวยอ ว-ตัววอ อ-ตัวออ
1.3.วรรณยุกต์ หรือตัวอักษรแทนเสียงดนตรี ซึ่งมีอยู่ 5 เสียง 4 รูป คือ ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี ไม้จัตวา (อีก 1 เสียง คือ เสียงสามัญ)
1.4.ตัวเลขและเครื่องหมายต่างๆ เราจะมีตัวเลขแสดงจำนวน ได้แก่ ๐๑๒๓๔๕๖๗๘๙ เมื่อต้องการจำนวนเท่าใด เราก็ใช้เลขมาต่อกัน และมี .หรือ, ให้อ่านง่าย
2.ภาษาไทยมีวิธีประสมอักษรและสะกดตรงตามมาตรา: คำไทยแท้ออกเสียงสระตายตัว และเมื่อออกเสียงในมาตราใด จะใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรานั้นๆ ทั้ง 8 มาตรา
และไม่มีตัวการันต์ ได้แก่ ก-กก ง-กง ด-กด น-กน ม-กม ย-เกย ว-เกอว ส่วนคำที่สะกดไม่ตรง เป็นคำจากภาษาอื่นสะกดตามรูปในภาษาเดิม อ่านตามมาตราไทย
3.การวางรูปสระของภาษาไทยวางไว้หลายตำแหน่ง: การเขียนของไทยเขียนจากซ้ายไปขวาตามสากลนิยม แต่การวางรูปสระจะมีลักษณะเฉพาะ ทั้ง หน้า หลัง บน ล่าง
และบางคำอาจมีรูปสระอยู่หลายตำแหน่งพร้อมกันได้ (สระที่วางรูปไว้บนหรือล่าง จะต้องเขียนให้ส่วนหลังของสระอยู่ตรงกับเส้นหลังของรูปพยัญชนะนั้นๆ)
4.คำภาษาไทยแท้เป็นคำพยางค์เดียว: คำไทยแต่เดิมมีพยางค์เดียว ออกเสียงแล้วมีความหมายเข้าใจได้ทันที สังเกตได้จากคำดั้งเดิม ที่มนุษย์ใช้เรียกกัน
หรือใช้แต่โบราณมานั้น เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย – หัว หู หน้า ตา – ดิน น้ำ ลม ไฟ – ยืน นั่ง วิ่ง นอน – สาม สี่ มาก น้อย – กา ไก่ เป็ด วัว
คำภาษาไทยแตกต่างจากคำในภาษาตระกูลมีวิภัตติปัจจัย คือ คำภาษาไทยทุกคำมีความหมายในตัวเอง สามารถนำไปใช้ในประโยคได้ทันที ไม่ต้องปรุงแต่งรูปคำ
ปัจจุบันคำไทยมีพยางค์มากขึ้น ไม่เป็นพยางค์เดียวดังแต่ก่อน เพราะเรานำคำจากภาษาอื่นซึ่งมีหลายพยางค์มาใช้บ้าง นำวิธีการเปลี่ยนแปลงรูปภาษาอื่น
เช่น การแผลงคำ เพิ่มเสียงคำ หรือลดอุปสรรคปัจจัย มาใช้บ้าง ทำให้รูปคำมีหลายพยางค์ คำไทยจึงมีมากพยางค์ขึ้น
5.ภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงหน้าที่ของคำ: เช่น แสดงเพศ พจน์ การก สำหรับคำนาม หรือ เพื่อแสดง กาล มาลา วาจก สำหรับกิริยา …
ดังเช่นในภาษาบาลี สันสกฤต หรือ ภาษาอังกฤษ (ภาษาไทยมีวิธีแสดงหน้าที่ของคำแตกต่างจากภาษาอื่น เป็นลักษณะเฉพาะแต่ละอย่าง) ดังนี้
5.1.แสดงเพศ: ภาษาไทยมีวิธีแสดงเพศโดย – ใช้รูปคำแตกต่างกัน: พ่อ แม่ – ใช้คำบอกเพศประกอบ: เด็กชาย เด็กหญิง – อาศัยความแสดงเพศ: เป็ดไข่ วัวนม
ภาษาบาลี สันสกฤต หรือ อังกฤษ ก็มีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อแสดงเพศ เช่น กุมารา กุมารี หรือ He-She Prince-Princess Man-Woman
5.2.แสดงพจน์: ภาษาไทยบอกจำนวนโดย – ใช้รูปคำเฉพาะ: กอง ฝูง – ใช้คำซ้ำ: เด็กๆ เพื่อนๆ – ใช้คำวิเศษณ์: นกหลายตัว – อาศัยความแสดง: คนมุงดูรูป
ภาษาอังกฤษ ก็มีการเปลี่ยนรูปคำ เช่น Ox-Oxen Boy-Boys
5.3.แสดงการก (หน้าที่): ภาษาไทยแสดงหน้าที่ของคำอย่างชัดเจนเมื่้ออยู่ในประโยค โดยสังเกตจากการเรียงลำดับคำในรูปประโยค เช่น …
ฉันตีเขา-ฉัน(ประธาน)-เขา(กรรม) เขาตีฉัน-เขา(ประธาน)-ฉัน(กรรม) ภาษาอังกฤษ ก็มีการเปลี่ยนรูปคำ เช่น I-Me He-Him They-Them
5.4.แสดงกาล: ภาษาไทยใช้คำกริยาแสดงกาลโดย: ใช้รูปคำเฉพาะหรือกรินาช่วย เช่น เคย ได้ แล้ว (อดีตกาล) กำลัง (ปัจจุบันกาล) จะ พรุ่งนี้ (อนาคต)
หรือดูจากคำกาลวิเศษณ์ในประโยค เช่น เมื่อวานนี้อาจารย์ทบทวนวิชาหลักภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษ ก็มีการเปลี่ยนรูปคำ เช่น Come-Came Play-Played
5.5.แสดงมาลา: ภาษาไทยใช้คำแสดงอารมณ์ โดยใช้คำกริยานุเคราะห์และคำช่วยพูด เช่น โปรดเถอะ นะ ซิ ซึ่งในรูปประโยคอาจแสดงเป็นคำสั่ง หรือขอร้อง
ภาษาอังกฤษแสดงโดยใช้คำสุภาพ เช่น Please ใช้น้ำเสียงแสดงความรู้สึก
5.6.แสดงวาจก: ภาษาไทยแสดงวาจกโดยอาศัยกริยาช่วย เช่น ถูก ให้ เช่น เขาถูกทำโทษ ครูให้นักเรียนเขียนรายงาน
ในประโยคภาษาอังกฤษจะมีลักษณะดังนี้ I beat him ฉันตีเขา – He is beaten by me เขาถูกฉันตี
6.ภาษาไทยสร้างคำใหม่ใช้วิธีประสมคำ ซ้อนคำ และซ้ำคำ: ประสมคำ: น้ำตาล น้ำหวาน – ซ้ำคำ: พี่ๆ น้องๆ – คำซ้อน: บ้านเรือน ดูแล …
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำอย่าง ภาษาบาลี สันสกฤต หรือ อังกฤษ
7.การเข้าประโยคการเรียงลำดับคำเป็นเรื่องสำคัญ: การเรียงลำดับคำก่อนหลังในประโยค เป็นการแสดงความหมายของประโยค ต้องระวังในเรื่องนี้ เช่น
พี่มาหาใคร-ใครมาหาพี่-พี่ใครมาหา-มาหาพี่ใคร + ใครใช้ให้ไป-ไปให้ใครใช้-ใช้ให้ใครไป-ให้ใช้ใครไป + กินมาก่อน-มาก่อนกิน-ก่อนมากิน-มากินก่อน
ความหมายที่เปลี่ยนไป เมื่อเรียงลำดับคำเปลี่ยนที่นั้น เพราะคำทำหน้าที่ผิดจากเดิม หน้าที่ของคำนั้นจะดูได้ชัดเจนจากในประโยค การเรียงคำจึงสำคัญ
ลักษณะการเรียงคำในภาษาไทย มักเป็นทำนองว่า ถ้าเห็นสิ่งใดสำคัญก็เอาสิ่งนั้นขึ้นต้นประโยค จึงมีประโยคประธาน กริยา กรรม เพื่อเน้นในการสื่อความ
การเรียงคำในภาษาไทยยังทำให้เกิดจังหวะและเสียงคำสลับที่ จากเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ทำให้เกิดเสียงผวนได้ (คำผวน) เช่น ข้างหมูยอ-คอหมูย่าง
8.คำขยายอยู่หลังคำที่ถูกขยาย: การใช้คำขยายในภาษาไทย ไม่ว่าจะขยายนามหรือกริยา คำที่มาขยายต้องวางไว้หลังคำที่ถูกขยายเสมอ ซึ่งตรงข้ามกับอังกฤษ
เช่น คนร้าย ไม้กวาด เรือพาย พูดมาก สวยซึ้ง – มีบางคำที่คำขยายอยู่หน้าคำนามบ้าง ในกรณีที่เป็นสำนวน เช่น น้อยคน มากหน้าหลายตา ค่อยทำค่อยไป
9.ภาษาไทยมีระบบเสียงสูงต่ำ (Tonal System): คือวรรณยุกต์ การมีวรรณยุกต์ทำให้เรามีคำใช้ได้มากขึ้น และถ้อยคำมีเสียงไพเราะ อ่านได้เพราะ …
เหมือนภาษามีเสียงดนตรี ภาษาไทยถือวรรณยุกต์เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นตัวกำหนดความหมายของคำ เช่น เสือ เสื่อ เสื้อ หรือ ไข ไข่ ไข้ เป็นต้น
ในภาษาอื่นก็มีเสียงวรรณยุกต์เหมือนกัน เช่น ภาษาอังกฤษ แต่ไม่ถือว่ามีความสำคัญ ไม่ค่อยส่งผลความหมาย เช่น Boy อาจออกเสียงเป็น บอย หรือ บ๋อย
10.ภาษาไทยมีลักษณนาม: ลักษณนามเป็นตัวบอกรูปร่างและลักษณะของคำนามชนิดต่างๆที่อยู่ข้างหน้า เช่น คน รูป ผล ดวง คำลักษณนามอาจใช้ทับศัพท์ได้ …
เช่น นิ้ว ตา ห้อง ตำบล หรืออาจมาจากคำกริยาก็ได้ เช่น พับ จีบ ยก ตั้ง
ลักษณนามนี้คนโบราณเรียก คำปลายบาทสังขยา คือ คำตามหลังจำนวนนับเพื่อบอกลักษณะของนามที่อยู่ข้างหน้า เช่น ดินสอ 2 แท่ง ยางลบ 3 ก้อน ช้อน 1 คัน
นอกจากใช้ตามหลังจำนวนนับแล้ว ยังใช้ตามหลังนามข้างหน้าเพื่อบอกรูปลักษณะหรือจำนวน ให้ชัดเจน เช่น ไม้แผ่น/กอง/ลำ/ยก/ต้น/มัดนี้ …
การใช้ลักษณนามจึงสามารถทำให้มองเห็น รูปร่าง อาการ ขนาด จำนวน และลักษณะต่างๆของนามนั้นชัดเจนขึ้น เป็นลักษณะเฉพาะที่ดีเรื่องหนึ่งของภาษาไทย
11.ภาษาไทยสามารถเขียนเสียงต่างๆได้จำนวนมาก: เนื่องจากมีเสียงพยัญชนะอยู่มาก แบ่งระดับเสียงต่างกันถึง 3 ระดับ (อักษร กลาง ต่ำ สูง) …
และมีสระทั้งเสียงสั้นยาวจำนวนถึง 24 เสียง ทั้งยังมีวรรณยุกต์ ทำให้เสียงสูงต่ำต่างกันอีกถึง 5 ระดับ ฉะนั้นภาษาไทยจึงเขียนเสียงต่างๆได้มากมาย
อย่างคำเลียนเสียงธรรมชาติ หรือคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น ฝนตกเปาะแปะ แกะร้องแบ๊ะๆ ตีดังเผียะ กินเกี๊ยว แก๊ส แล็กโทส อิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งภาษาอื่นๆน้อยชาติที่จะเขียนถ่ายทอดเสียงได้มากเท่าภาษาไทย
12.ภาษาไทยมีคำพ้อง: ภาษาไทยเรามีคำพ้องทั้งคำพ้องรูปและคำพ้องเสียง ซึ่งเกิดจากอักขรวิธีทางภาษาของเราเอง และเกิดจากการนำคำภาษาอื่นๆเข้ามาใช้
แล้วออกเสียงอ่านตามลักษณะคำไทยที่พ้องเสียงกัน แต่คงรูปเขียนตัวสะกดการันค์แตกต่างกันไปตามรูปลักษณะคำเดิม เพื่อแสดงที่มาและความหมายของคำ …
ซึ่งแตกต่างกันเป็นคำๆไป ทำให้เรามีคำใช้มากมายหลากหลายขึ้น ตัวอย่างคำพ้องเสียงในภาษาไทย ที่เกิดจากการแจกรูปพยัญชนะเสียงเดียวกัน …
หรือการผันอักษรคู่ เช่น เข่นฆ่า ของมีค่า ตัวข้า – คั่นกลาง ขั้นบันได – หน้าตา น่ารัก – คุณย่า ต้นหญ้า แม่ย่านาง เป็นต้น
คำพ้องในภาษาไทยมีอยู่มาก มีประโยชน์ในด้านทำให้มีคำใช้ในภาษาได้มากขึ้น ส่วนปัญหาในการใช้ภาษาคือ จะต้องอ่านเขียนโดยดูข้อความข้างเคียงให้ดี…
และการเขียนจะต้องระมัดระวังตัวสะกดการันต์ให้แม่นยำ มิฉะนั้นความหมายจะผิดพลาด
13.ภาษาไทยมีจังหวะและวรรคตอนเป็นเครื่องแสดงความหมาย: เช่น ในฉันทลักษณ์ มีการกำหนด พยางค์ คณะ บาท บท และช่วงวรรค เพื่อกำหนดจังหวะการออกเสียง
เป็นรูปแบบเฉพาะแต่ละชนิดๆไป ทำให้เกิดความไพเราะเป็นแบบฉบับของ กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ขึ้น ในการเขียนและอ่านทั่วไป มีการเว้นวรรคตอน …
เพื่อแบ่งความ หรือเว้นจังหวะการพูดการอ่าน ซึ่งถ้าแบ่งวรรคหรือจังหวะการออกเสียงผิด ความหมายก็อาจจะผิดไปด้วย เช่น
สมบัคิทั้งหมดยกให้ลูก เขยคนอื่นไม่ให้ – ข้าวราคาตกลง(กัน)เท่าไร – โรงพยาบาลแห่งนี้ไม่รับผิด ชอบของมีค่าของผู้ป่วย เป็นต้น
14.ภาษาไทยมีระเบียบภาษาหรือระดับภาษา: คือ การใช้ภาษาให้เหมาะกับความผูกพันตามฐานะของบุคคลในสังคม ที่เรียกว่า ราชาศัพท์ ที่แบ่งฐานะบุคคล …
ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ ขุนนางข้าราชการ จนถึงสุภาพชน และการแบ่งระดับภาษา (พิธีการ>ทางการ>กึ่งทางการ>สนทนา>ส่วนตัว)
ดังนั้น การใช้ภาษาตามระเบียบหรือระดับภาษาจึงเป็นการใช้ภาษาให้เหมาะกับระดับชั้นตามฐานะบุคคลหรือระดับความผูกพันนับถือยกย่องของผู้ใช้ภาษา …
ซึ่งใจความเดียวกันจะใช้กับแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน แสดงถึงความผูกพันตามฐานะในสังคมและจิตใจที่มีต่อกันในแต่ละคนไม่เท่ากัน เป็นการใช้ภาษาที่…
ถ่ายระดับความรู้สึกทางจิตใจออกมาด้วย ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีวิธีการใช้ภาษาและวัฒนธรรมทางภาษาสูง แสดงถึงความเป็นชาติที่มีขนบธรรมเนียม จิตใจสูง

แหล่งที่มา : storybyoul.wordpress.com

อัพเดทล่าสุด