ข้อสอบชนิดและหน้าที่ของคำ ข้อสอบชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค แผนการสอนชนิดและหน้าที่ของคำ
ชุดฝึกทักษะ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ
ใบความรู้ที่ ๑
เรื่อง คำนาม
………………………………………………………………………………………..
คำนาม คำนามเป็นคำที่ใช้เรียน ชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ สภาพและอาการต่าง ๆ ทั้ง
รูปธรรมและนามธรรม คำนามจำแนกได้หลายชนิด แต่ละชนิดมีหน้าที่และวิธีใช้ต่างกัน การรู้จักเลือกใช้คำนามให้ถูกต้องเหมาะสม ช่วยให้ใช้ภาษาให้ชัดเจนถูกต้อง
คำนามแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
๑. สามานยนาม หมายถึงคำที่ใช้เรียกสิ่งทั่ว ๆ ไป เช่น คน แมว โต๊ะ วัด โรงเรียน ชาวนา ไม่ได้หมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ
๒. วิสามานยนาม คือนามที่ใช้เรียกชื่อเฉพาะเจาะจง สิ่งเดียว อย่างเดียว คนเดียว เช่น นายสมศักดิ์ เดือนธันวาคม วัดสำราญ โรงเรียนบ้านโนนยาง
๓. อาการนาม คือคำที่แสดงอาการหรือลักษณะสภาพ ซึ่งมีคำว่า การ หรือ ความ นำหน้าคำที่เป็นกริยา และคำวิเศษณ์ เช่น ความคิด ความรู้สึก ความยาว ความสุข การกิน การนอน การตาย
๔. สมุหนาม คำนามที่แสดงกลุ่มบุคคล สัตว์ สิ่งของ เช่น กองทหาร โขลง ฝูง คณะ รัฐบาล
๕. ลักษณะนาม คำนามที่บอกลักษณะของนาม ที่อยู่ข้างหน้า คำพวกนี้มักอยู่หลังจำนวนนับ เช่น ดนตรี ๓ วง ช้าง ๒ โขลง ขนม ๑ ห่อ สอ ๓ แท่ง
หน้าที่ของคำนาม คำนามทำหน้าที่ได้หลายอย่าง ดังนี้
๑. คำนามทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ เช่น สุนัขกัดเด็กข้างบ้าน
๒. คำนามทำหน้าที่เป็นผู้ถูกกระทำ ( กรรม ) ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ
๒.๑ คำนามทำหน้าที่เป็นกรรมตรง เช่น ครูอ่านหนังสือ
๒.๒ คำนามทำหน้าที่เป็นกรรมรอง เช่น ฉันให้เงิน ขอทาน แล้ว
๓. คำนามทำหน้าที่ ขยาย คำนาม เช่น ผลไม้ฤดูร้อนมีหลายชนิด
๔. คำนามทำหน้าที่ ขยาย คำกริยา เช่น เขาจะมากลางคืน
( กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือครูภาษาไทย ท ๒๑๑ เสริมทักษะภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
(ม.๒). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จงเจริญการพิมพ์, ๒๕๒๑. )
ใบความรู้ที่ ๒
เรื่อง คำสรรพนาม
.........................................................................................................................................
นักเรียนสังเกตคำสนทนา ระหว่างลูกเศรษฐี กับซินแส ต่อไปนี้
บุตรเศรษฐี ท่านเจ้าข้าพ่อแม่รังแกฉัน เขาใฝ่ฝันฟูมฟักฉันอักขู
ฉันทำผิดคิดระยำกลับค้ำชู จะว่าผู้รักลูกถูกหรือไร
ท่านทายฉันนั้นถูกลูกเศรษฐี ผู้กลีเลวกว่าบรรดาไพร่
ซึ่งยังรู้กอบการงานใดใด เลี้ยงชีพได้เพียงพอไม่ขอทาน
โอ๊ย ! ยิ่งเล่ายิ่งช้ำระกำเหลือ โปรดจุนเจือเถิดท่านหมอขอข้าวสาร
เหมือนช่วยชีพข้าเจ้าให้เนานาน จักเป็นการบุญล้นมีผลงาน
( พ่อแม่รังแกฉัน )
คำที่ขีดเส้นใต้ทั้งหมดไม่ใช่คำนาม แต่เป็นคำที่ใช้แทนคำนาม ถ้าใช้คำนามโดยตรง ถึงแม้จะมีความหมายเป็นที่เข้าใจกันได้ แต่ก็ขัดเขิน คำที่ใช้แทนคำนามก็คือ คำสรรพนาม คำสรรพนามข้างต้น ถ้าใช้คำนามโดยตรงจะเป็นเช่นนี้
บุตรเศรษฐี ซินแสพ่อแม่รังแกลูกเศรษฐี พ่อแม่ใฝ่ฝันฟูมฟักลูกเศรษฐีอักขู
ลูกเศรษฐีทำผิดคิดระยำกลับค้ำชู จะว่าผู้รักลูกถูกหรือไร
ซินแสทายลูกเศรษฐีนั้นถูกลูกเศรษฐี ผู้กลีเลวกว่าบรรดาไพร่
ซึ่งยังรู้กอบการงานใดใด เลี้ยงชีพได้เพียงพอไม่ขอทาน
โอ๊ย ! ยิ่งเล่ายิ่งช้ำระกำเหลือ โปรดจุนเจือเถิดซินแสขอข้าวสาร
เหมือนช่วยชีพลูกเศรษฐีให้เนานาน จักเป็นการบุญล้นมีผลงาน
( วัชรพงศ์ โกมุทธรรมวิบูลย์ และคณะ. แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา, ๒๕๔๖. )
ใบความรู้ที่ ๓
คำสรรพนาม
……………………………………………………………………………….
คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนาม หรือแทนชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ แบ่งออกเป็นหลายชนิด แต่ละชนิดมีหน้าที่และวิธีใช้ที่แตกต่างกัน จึงต้องศึกษาให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถจำแนกชนิดของคำสรรพนามได้ถูกต้อง จึงจะสามารถ คำสรรพนามได้ถูกต้องตามสถานการณ์ และช่วยให้การสื่อสารในชีวิตประจำวันมี
ชนิดและหน้าที่ของคำสรรพนาม แบ่งออกเป็น ๗ ชนิด คือ
๑. สรรพนามใช้แทนบุคคล มีทั้งสรรพนามบุรุษที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ เช่น คุณ ท่าน เธอ ฉัน เรา เขา แก ฯลฯ
๒. สรรพนามใช้ชี้ระยะ ( นิยมสรรพนาม) คือคำที่บ่งชี้ว่า บุคคลหรือสิ่งนั้นอยู่ใกล้ ไกลเพียงใด เช่น นี่ นั่น โน้น โน่น
๓. สรรพนามใช้ถาม (ปฤจฉาสรรพนาม) คือคำที่ใช้แทนนามเพื่อใช้ถามให้ตอบ เช่น ใคร ที่ไหน อะไร เช่น คุณต้องการกินอะไร
๔. สรรพนามใช้บอกความไม่เจาะจง ( อนิยมสรรพนาม ) คือคำที่ใช้แทนนามที่ไม่กำหนดแน่นอนว่าเป็นอะไร สิ่งไหน เช่น อะไร ใคร ไหน เช่น ชื้ออะไรมากินก็ได้
๕. สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ แบ่งพวก รวมพวก (วิภาคสรรพนาม) คือสรรพนามที่ทำหน้าที่แทนนามที่มาข้างหน้าที่ชี้ซ้ำหรือแบ่งพวก เช่น ต่าง บ้าง กัน
๖. สรรพนามเชื่อมประโยค ( ประพันธ์สรรพนาม) คือสรรพนามที่ทำหน้าที่แทนนามที่ติดกัน พบในประโยคความซ้อน เช่น ที่ ซึ่ง อัน
๗. สรรพนามที่ใช้เน้นนามที่อยู่ข้างหน้า คือสรรพนามที่ใช้เน้นนามตามความรู้สึกของผู้ส่งสาร เช่น อาจารย์ท่านสั่งมา
( กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือครูภาษาไทย ท ๒๑๑ เสริมทักษะภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
(ม.๒). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จงเจริญการพิมพ์, ๒๕๒๑. )
ใบความรู้ที่ ๔
เรื่อง คำกริยา
............................................................................................................................................
คำกริยา หมายถึงคำที่แสดงความหมายว่า นามหรือสรรพนามนั้นกระทำมีอาการหรืออยู่ในสภาพหนึ่งสภาพใด เช่น
เธอร้องให้ ผู้กระทำ)
มาลีป่วย ( มีอาการ)
คำกริยาและชนิดของคำกริยามี ๔ ชนิด
๑. สกรรมกริยา หรือกริยามีกรรม เช่น เขากินอาหาร
สุนัขกัดแดง
๒. อกรรมกริยาหรือกริยาไม่มีกรรม เช่น ใบไม้ปลิว
ดอกไม้มีกลิ่นหอม
๓. วิกตรรถกรรมกริยาหรือกริยาที่อาศัยส่วนเติมเต็ม คือกริยาไม่ใช่กรรม ไม่ใช่
ผู้ถูกกระทำ จะช่วยเติมเต็มให้กับประโยค มีคำว่า คล้าย เหมือน คือ เป็น เท่า
เช่น คุณแม่ฉันเป็น ครู
สมศักดิ์มีหน้าตาคล้ายเดชา
๔. กริยานุเคราะห์ หรือกริยาช่วย เป็นกริยาประเภทเครื่องหมายแสดงกาล คือ
บอกข้อความนั้นเป็น ความคิด คาดคะเน การสั่ง การห้าม การบังคับ การปฏิเสธ เช่น
ฉันเคยกินแล้ว
ฉันชักง่วง
นักโทษถูกจับ
เขาคงทำงาน
( เสนีย์ วิลาวรรณ. หลักภาษาและการใช้ภาษา ท ๒๐๓ – ๒๐๔ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ พิมพ์ครั้งที่ ๑
พ.ศ. ๒๕๓๕ ปรับปรุงใหม่ ๒๕๔๐. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช, ๒๕๔๐ )
แหล่งที่มา : learners.in.th