ชนิดและหน้าที่ของคำนามในภาษาไทย แบบฝึกหัดภาษาไทย ป.5 ชนิดและหน้าที่ของคำ ชนิดและหน้าที่ของคำบุพบท


7,369 ผู้ชม


ชนิดและหน้าที่ของคำนามในภาษาไทย แบบฝึกหัดภาษาไทย ป.5 ชนิดและหน้าที่ของคำ ชนิดและหน้าที่ของคำบุพบท

 

ชนิดของคำ

ในการใช้ภาษา เราควรทราบว่า คำไหนมีที่ใช้อย่างไร เพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร นักไวยากรณ์
ได้สังเกตความหมายและหน้าที่ของคำในประโยค แล้วจึงแบ่งคำในภาษาไทยออกเป็นหมวด หรือ ชนิด
ได้ 7 ชนิด คือ
1. คำนาม
2. คำสรรพนาม
3. คำกริยา
4. คำวิเศษณ์
5. คำสันธาน
6. คำบุพบท
7. คำอุทาน
ในบทนี้เราจะเรียนเฉพาะความรู้เบื้องต้นก่อน รายละเอียดในเรื่องนี้มีข้อที่ควรศึกษา ซึ่งมี
ความซับซ้อนและลึกซึ้งอีกหลายประการ แต่ยังไม่จำเป็นสำหรับนักเรียนระดับนี้

 

คำนาม
คำนาม คือ คำที่แสดงความหมายถึงบุคคล สัตว์ วัตถุ สิ่งของ สภาพ อาการ ลักษณะซึ่ง
หมายรวมทั้งสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมและที่เป็นนามธรรม
ขอให้สังเกตคำที่ขีดเส้นใต้ต่อไปนี้
แมว กัด หนู
มาลี กิน ข้าว
รถ วิ่ง บนถนน
ต้นไม้ ปลูกอยู่ หน้าบ้าน
สมศรี นั่งบน เก้าอี้
ทหาร ยิง ผู้ก่อการร้าย
ตำรวจ จับ ผู้ร้าย
ยาย ป้อนข้าว หลาน
ขนม วางบน โต๊ะ
รัฐบาล ส่งเสริม การศึกษา
แหวน 2 วง นี้สวยจัง
ฝูงนกบินในท้องฟ้า
ความจริง เป็นสิ่งไม่ตาย
คนดีมีแต่ความเจริญ
คุณแม่ ซื้อ นาฬิกา 2 เรือน
คำที่ขีดใต้ข้างบนนั้น เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าเป็นคำนาม ตามความหมายที่กล่าวแล้วข้างต้น
ให้นักเรียนสังเกตตำแหน่งและหน้าที่ดู จะพบว่าคำนามมักจะอยู่หน้าคำที่แสดงอาการ ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ
หรืออยู่ข้างหลังคำที่แสดงอาการ ทำหน้าที่เป็นผู้ถูกกระทำก็ได้ มีคำนามบางคำไม่ได้บอกชื่อคน สัตว์
สิ่งของ สภาพ อาการและสถานที่ แต่บอกลักษณะก็มี และนามที่บอกลักษณะนี้มักนำไปใช้ตามหลังคำบอก
จำนวนด้วย

 

 

คำสรรพนาม
คำสรรพนาม คือคำที่ใช้แทนคำนาม ที่ผู้พูดหรือผู้เขียนได้กล่าวแล้ว หรือเป็นที่เข้าใจกันระหว่าง
ผู้ฟังและผู้พูด เพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามซ้ำ ดังจะเห็นต่อไปนี้
นายสิริเพื่อนของนายประสิทธิ์กล่าวแก่นายประสิทธิ์ว่า
"ระหว่างทางไปโรงเรียน ขอให้นายประสิทธิ์แวะที่วัด เรียนหลวงปู่ของนายสิริ
ด้วยว่า นายสิริขอให้นายประสิทธิ์มารับหนังสือไปให้ครูของนายสิริที่โรงเรียน"
ข้อความที่ยกมานี้จะไม่มีใช้ในภาษา ตามปกติใช้แทนชื่อบุคคลที่ได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้
นายสิริเพื่อของนายประสิทธิ์กล่าวว่า
"ระหว่างทางไปโรงเรียน ขอให้คุณแวะที่วัด เรียนหลวงปู่ของผมด้วยว่า
ผมขอให้คุณมารับหนังสือไปให้ครูของผมที่โรงเรียน"
คำที่ขีดเส้นใต้ เป็นคำที่ใช้แทนคำนาม คือ นายประสิทธิ์และนายสิริ เรียกว่า คำสรรพนาม
ในการสื่อความหมาย (สื่อสาร) ระหว่างบุคคล เราจะมีผู้พูด (หรือผู้เขียน) ผู้ฟัง (หรือผู้อ่าน)
และบุคคลที่เป็นผู้ที่พูดถึงหรือคิดไปถึง
ผู้พูด คือ บุรุษที่ 1
ผู้ฟัง คือ บุรุษที่ 2
บุคคลหรือสิ่งที่กล่าวถึงหรือคิดไปถึง คือ บุรุษที่ 3

เราจะใช้คำสรรพนามแสดงความหมายว่าเป็นบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 2 หรือบุรุษที่ 3 ได้
ดังจะเห็นต่อไปนี้

ฝ่ายชายแก่ ก็คำนับลานายบ้านไปถึงที่ไต้ซุ่นทำนา พบไต้ซุ่นก็ร้องไห้ ไต้ซุ่นถามว่า "ท่าน
จะไปไหน" ชายแก่ตอบว่า "ข้าพเจ้า เห็นบิดามารดาของท่านทำโทษท่านครั้งไรก็มีความเวทนาครั้นจะช่วย
ท่านก็ช่วยไม่ได้ ได้แต่มาเยี่ยมท่าน" ไต้ซุ่นได้ฟังดังนั้น จึงเล่าว่า "บิดาเกณฑ์ให้ข้าพเจ้าทำนาคนเดียว
50 ไร่" ชายแก่คิดว่า "บิดาของเขาไม่ยุติธรรมแก่เขาเลย" คิดดั้งนั้นแล้วก็ไปเล่าให้นายบ้านฟัง 
แล้วชายแก่กลับไปบ้านก็พาบริวารของตนหลายคนไปช่วยไต้ซุ่นทำนา
คำที่ขีดเส้นใต้นั้น เป็นคำสรรพนามทั้งสิ้น
ข้าพเจ้า เป็นคำสรรพนามบุรุษที่ 1
ท่าน เป็นคำสรรพนามบุรุษที่ 2
เขา เป็นคำสรรพนามบุรุษที่ 3
ตน เป็นคำสรรพนามบุรุษที่ 3
ในข้อความที่ได้ยกมาข้างต้นนั้น มีคำนามที่เป็นชื่อเฉพาะคือ ไต้ซุ่น ชาย เป็นคำที่แสดง
ความหมายถึงบุคคล และ นา เป็นคำแสดงความหมายถึงวัตถุหรือสิ่งของ
คำนามที่ผู้เขียนกล่าวถึง เพื่อให้ผู้อ่านคิดไปถึงทั้งหมดถือว่าเป็นบุรุษที่ 3

ข้อสังเกต
ในภาษาไทยเราอาจใช้คำนามในการสนทนา หรือเขียนข้อความให้เกิดความหมาย เช่น
บุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 2 หรือบุรุษที่ 3 ได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ผู้เขียนขอเรียนให้ผู้อ่านทราบว่า หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้ใช้เวลาคนคว้าประมาณ 1 ปี
ในข้อความข้างบนนั้น
ผู้เขียน เป็ฯคำนาม เป็นบุรุษที่ 1
ผู้อ่าน เป็ฯคำนาม เป็นบุรุษที่ 2
หนังสือ เป็ฯคำนาม เป็นบุรุษที่ 3

จากตัวอย่างข้างล่างต่อไปนี้ จะเห็นว่าภาษาไทยเราอาจใช้คำนามเป็นคำแทนผู้พูด ผู้ฟัง
และผู้กล่าวถึงได้
แดง พ่อขอให้แดงอย่าส่งเสียงดังนัก
พ่อ เป็นบุรุษที่ 1
แดง เป็นบุรุษที่ 2
แดงไปบอกครูใหญ่ว่า พ่อจะไปพบครูใหญ่ได้พรุ่งนี้
ครูใหญ่ เป็นบุรุษที่ 3

นอกจากนี้คำสรรพนามในภาษาไทยคำเดียวกันอาจใช้ให้มีความหมายเป็นบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 2
หรือบุรุษที่ 3 ได้ ในประโยคต่างๆ กันดังตัวอย่าง
เขาไม่ชอบให้ตัวเล่นกับเขาอย่างนี้นะ
เขา ใช้แทนบุรุษที่ 1 ทั้งสองคำ
พี่สมไม่ชอบให้ใครเข้าไปในห้องหนังสือ เขากลัวจะไปทำให้ห้องเขารก
เขา เป็นคำสรรพนามใช้เป็นบุรุษที่ 3 แทนพี่
ท่านจะต้องการเครื่องดื่มเดี๋ยวนี้ไหมครับ
ท่าน เป็นคำสรรพนามใช้เป็นบุรุษที่ 2
นายยวง โปรดยกเครื่องดื่มไปให้ท่านเดี๋ยวนี้
ท่าน เป็นคำสรรพนามใช้เป็นบุรุษที่ 3
ข้าพเจ้าทำงานเพื่อตนเอง
ตน ในประโยคนี้เป็นบุรุษที่ 1
คุณทำงานเพื่อตนเอง
ตน ในประโยคนี้เป็นบุรุษที่ 2

 

การใช้คำสรรพนามในการสื่อสาร
1. สรรพนามแทนผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่กล่าวถึงหรือคิดถึง
สรรพนามที่ใช้แทนผู้ส่งสาร (คือผู้พูด หรือผู้เขียน) นับเป็นบุรุษที่ 1 เช่น ฉัน ข้าพเจ้า
กระผม ดิฉัน กู อาตมา เรา ข้าพระพุทธเจ้า ฯลฯ
สรรพนามที่ใช้แทนผู้รับสาร (คือผู้ฟัง หรือผู้อ่าน) นับเป็นบุรุษที่ 2 เช่น เธอ ท่าน คุณ 
ใต้เท้า มึง พระคุณเจ้า ฝ่าพระบาท ฯลฯ
สรรพนามที่ใช้แทนบุคคลหรือสิ่งที่กล่าวถึง หรือคิดไปถึง นับเป็นบุรุษที่ 3 เช่น เขา พวกเขา
มัน
2. สรรพนามใช้ชี้ระยะ
คำสรรพนามที่กำหนดให้รู้ความ ใกล้ ไกล ของนามที่ผู้พูดกับผู้ฟังเข้าใจกันได้ ได้แก่คำว่า นี่ 
นั่น โน่น นี้ โน้น (โน่นไกลกว่านั่น นี่ใกล้ที่สุด) เช่น
นี่ คือเพื่อนเก่าของฉัน
โน่น เป็นวัดเก่า
นั่น ไม่มีราคา
3. สรรพนามใช้ถาม
คำสรรพนามที่มีความหมายเป็นคำถาม ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ผู้ใด สิ่งใด อันไหน เช่น
ใครต้องการน้ำชาบ้าง
เขามาเรียกใคร
หนูแดงกินอะไร
อะไรเปื้อนรองเท้า

4. สรรพนามบอกความไม่เจาะจง
ใช้แทนนามซึ่งไม่กำหนดแน่นอนลงไปว่าเป็นสิ่งนั้น สิ่งนี้ ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ผู้ใด สิ่งใด
ฉันไม่รู้ว่า อะไรตกลงมาโดนเสื้อ
ฉันไม่ทราบว่าใครเขียนจดหมายฉบับนี้
5. สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ
คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวไปแล้วโดยชี้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง อาจแสดงความหมายรวมหรือ
แสดงความหมายแยกต่อนามที่กล่าวแล้ว ได้แก่คำว่า ต่าง บ้าง กัน เช่น

นักเรียนต่างก็ทำงานของตน (ความหมายแยก หมายถึงนักเรียนแต่ละคน)
กรรมกรเหล่านั้น บ้างก็เป็นหญิง บ้างก็เป็นชาย (ความหมายแยก)
สุนัขกัดกัน (ความหมายรวม สุนัขมีมากกว่า 1 ตัว)

6. สรรพนามเชื่อมประโยค
มีคำสรรพนามจำพวกหนึ่งที่ทำหน้าที่แทนคำนามอันเป็นที่เข้าใจแก่ผู้พูดและผู้ฟัง ผู้เขียน
และผู้อ่าน (ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร) ในขณะเดียวกันทำหน้าที่เชื่อมประโยค 2 ประโยค ให้ความเกี่ยวพันกัน
คำสรรพนามชนิดนี้ได้แก่คำ ที่ ซึ่ง อัน ผู้ เช่น
ฉันชอบบ้านที่ตั้งอยู่บนเนิน ที่ แทนคำนาม บ้าน และเชื่อมประโยค ฉันชอบบ้าน
กับประโยค (บ้าน) ตั้งอยู่บนเนิน
แม่ทัพยกย่องทหารซึ่งรักษาระเบียบวินัย
ซึ่ง แทนคำนาม ทหาร และเชื่อมประโยค แม่ทัพยกย่อง
ทหาร กับประโยค (ทหาร) รักษาระเบียบวินัย
โคลงบทแรกอันเป็นบทไพเราะที่สุดเป็นโคลงสี่สุภาพ
อัน แทนคำนาม โคลง และเชื่อมประโยคโคลงบทแรก
เป็นโคลงสี่สุภาพ กับ (โคลงบทแรก) เป็นบทไพเราะ
ที่สุด
บุคคลผู้เสียสละเพื่อชาติควรได้รับการยกย่อง
ผู้ แทนคำนาม บุคคล และเชื่อมประโยค บุคคลเสียสละ
เพื่อชาติ กับประโยค บุคคลควรได้รับการยกย่อง
7. สรรพนามใช้เน้นนามตามความรู้สึกของผู้พูด เช่น
พระภิกษุท่านออกบิณฑบาตทุกเช้า
ขโมยมันหักกิ่งไม้เสียด้วย
ตาสมแกไม่ชอบเสียงดัง
คุณพ่อท่านสงสารผม
ควรสังเกตว่า สรรพนามในประโยคข้างบนนั้น ถ้าเราตัดออกเสีย ความหมายของประโยค
ก็ไม่เปลี่ยนไป แต่ผู้ฟังจะไม่ได้รับความรู้สึกของผู้พูด เช่น คำ ท่าน แสดงความยกย่อง คำ มัน
แสดงความดูหมิ่น และคำ แก แสดงความสนิทสนม

 

 

คำกริยา
คำกริยา คือ คำที่แสดงความหมายว่า กระทำ หรือมีอาการ หรืออยู่ในสภาพใดสภาพหนึ่ง
ตัวอย่าง
เด็กทอดหมู แสดงความหมายว่า กระทำ
ต้นถั่วเติบโตเร็ว แสดงความหมายว่า มีอาการ
หมาตายแล้ว แสดงความหมายว่า อยู่ในสภาพ
ลุงเป็นไข้ แสดงความหมายว่า อยู่ในสภาพ
อากาศเย็นลงแล้ว แสดงความหมายว่า อยู่ในสภาพ

คำที่ขีดเส้นใต้ต่อไปนี้เป็นคำกริยา
ตำรวจจับผู้ร้ายแล้ว
ยายป้อนข้าวหลาน
ขนมวางอยู่บนโต๊ะ
ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
ระหว่างฤดูร้อนนี้เราพัฒนาหมู่บ้านของเรา
นักเรียนต้องอ่านหนังสือทุกวันจึงจะดี
ผมจะศึกษาวิชาคำนวณอย่างถ่องแท้
อรัญญาร้องเพลงเก่ง
เป็ดว่ายน้ำได้
เขาถูกต่อย
สุนัขถูกรถชน
คนเจ็บสลบไปแล้ว
บ้านหลังนั้นทรุดโทรมมาก
ซีเมนต์แข็งแล้ว
สุนัขอ้วนขึ้นทุกวัน
แม่น้ำอะเมซอนกว้างที่สุดในโลก

การใช้คำกริยาในการสื่อสาร
คำกริยาเป็นคำสำคัญในประโยคภาษาไทย เราอาจละไว้ในที่เข้าใจได้ในประโยคบางชนิด
แต่ความหมายจะปรากฏอยู่เสมอ คำกริยาเป็นส่วนสำคัญของภาคแสดงของประโยค หรือเราอาจ
เรียกว่าตัวแสดงในภาคแสดงก็ได้
นอกจากนั้นกริยาอาจใช้ในประโยคได้อีกหลายอย่าง เช่น 
1) กริยาใช้เป็นส่วนขยายของคำนาม
ตัวอย่าง
คนแต่งตัวสวยเป็นคนน่าดู แต่งตัวสวย ขยายคำนาม คน
ฉันชอบผู้หญิงตัดผมสั้น ตัดผมสั้น ขยายคำนาม ผู้หญิง
ฉันชอบขับรถบนถนนตัดใหม่ ตัดใหม่ ขยายคำนาม ถนน

2) กริยาใช้เหมือนคำนาม คือ เป็นประธานหรือกรรมของกริยาอื่นก็ได้
ตัวอย่าง
กินอาหารตามเวลาช่วยให้สุขภาพดี
กิน เป็นประธานของกริยา ช่วย
อ่านทุกวันสร้างสรรค์ปัญญา
อ่าน เป็นประธานของกริยา สร้างสรรค์
ฉันไม่ชอบร้องเพลง
ร้องเพลง เป็นกรรมของกริยา ชอบ
คนในท้องถิ่นนั้นนิยมฟ้อนรำ
ฟ้อนรำ เป็นกรรมของกริยา นิยม

ข้อสังเกต
เราอาจเติมคำ การ หน้าคำกริยา จะได้ความเช่นเดียวกัน
ตัวอย่าง
การเดินตอนเช้าเป็นการออกกำลังกาย
การอ่านทุกวันสร้างสรรค์ปัญญา
การกินอาหารตามเวลาช่วยให้สุขภาพดี
ฉันไม่ชอบการเอาเปรียบ
คนในท้องถิ่นนั้นนิยมการฟ้อนรำ

 

 

คำวิเศษณ์
คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่น เป็นการเพิ่มความหมายขึ้น เช่น บอกลักษณะ คุณภาพ
ปริมาณ จำนวน เวลา สถานที่
ตัวอย่าง
คำวิเศษณ์ขยายคำนาม ตึกใหญ่อยู่ปลายเนิน
ผักสดอยู่ในตะกร้า
บ้านสามหลังสีเขียว
คำวิเศษณ์ขยายคำสรรพนาม เขาเองบอกกับฉัน
ใครหนอเอาหนังสือไป
คำวิเศษณ์ขยายคำกริยา พี่เดินหน้า น้องเดินหลัง
นกเขาขันเพราะ
โรงเรียนเลิกค่ำ
คำวิเศษณ์ขยายคำวิเศษณ์ ครูอธิบายดีมาก
ในภาษาไทย คำวิเศษณ์ที่ใช้ขยายคำใด มักมีตำแหน่งตามหลังคำนั้น
ตัวอย่าง
ลงพัดแรง
คนสูงได้เปรียบคนเตี้ย
คนกินจุไม่อ้วนเสมอไป
แต่บางกรณีอาจใช้คำวิเศษณ์มาข้างหน้าคำที่ขยาย
ตัวอย่าง
มากหมอมากความ
น้อยคนนักไม่เห็นแก่ลาภยศ
ทุกวันพระเขาจะพาลูกไปวัด

 

 

 


ข้อควรสังเกต
1. คำบางคำอาจทำหน้าที่เป็นคำวิเศษณ์ และในบางโอกาสทำหน้าที่เป็นคำกริยาสำคัญใน
ประโยค
ตัวอย่าง
วิเศษณ์ กริยา
อย่าซื้อสินค้าแพงเลย ราคาสินค้าแพงขึ้นทุกวัน
พี่ชายเรียนสูงกว่าน้องชายใช่ไหม พี่ชายสูงกว่าน้องชายใช่ไหม
เราควรเชื่อผู้ที่รู้ดีกว่าเรา เราต้องดีต่อผู้ที่รู้น้อยกว่าเรา

2. คำนามบางคำ อาจทำหน้าที่ขยายคำอื่นได้ ซึ่งในกรณีนี้ถือว่าคำนามคำนั้น ทำหน้าที่
คำวิเศษณ์
ตัวอย่าง
คนป่าอยู่ในป่า
สัตว์น้ำเป็นอาหารสำคัญของมนุษย์
ลมทะเลมีความชื้นสูง

3. ในการเรียงคำเข้าประโยคในภาษาไทย ส่วนใหญ่เรามักให้ส่วนขยายตามหลังคำที่ขยาย
ตัวอย่าง
คนป่า สัตว์น้ำ พี่เดินหน้า ครูอธิบายดีมาก

แต่บางคำเราใช้ไว้ข้างหน้าคำที่ขยาย
ตัวอย่าง
เขาเป็นคนสูงศักดิ์
เขาไม่ป่วย
สามสาวเดินทางไปประกวดความงาม
ร้านนี้ขายอาหารเลิศรส
ภาษาไทยเป็นมรดกล้ำค่า
ถึงร้อยรสบุปผาสุมาลัย จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย
วันทองเป็นหญิงสองใจจริงหรือ
สี่สหายหัวเราะอย่างร่าเริง

 

 

คำบุพบท
คำบุพบท คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงคำหนึ่งหรือกลุ่มคำหนึ่งให้สัมพันธ์กับคำอื่นหรือกลุ่มคำอื่น
เพื่อบอกสถานที่ เวลา แสดงอาการ หรือแสดงความเป็นเจ้าของ
ตัวอย่าง
คนในเมือง เรือใต้น้ำ ดาวบนท้องฟ้า อาหารสำหรับเธอ ปากกาของฉัน หนังสือ
สำหรับอ่านเล่น น้ำสำหรับดื่ม เดินทางโดยเครื่องบิน ผ้านี้ทำด้วยฝ้าย เราเดินไป
ตามถนน พี่คุยกับน้อง เขาร้องต่อศาล เรากินเพื่ออยู่ เขาพูดตามจริง เขาทำงาน
จนเที่ยงคืน ฉันรีบมาโดยเร็ว สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งภาคพื้นยุโรป นี่ค่อรางวัล
ยอดเยี่ยมสำหรับประเภทสารคดี

 

 

คำสันธาน
คำสันธาน คือ คำที่เชื่อมประโยคกับประโยค หรือคำกับกลุ่มคำ ประโยคที่ใช้คำสันธาน
จะแยกออกเป็นประโยคที่มีความบริบูรณ์มากกว่าหนึ่งความได้

ตัวอย่าง
ประสิทธิ์เดินทางมากจากกรุงเทพฯ วันนี้และจะเดินทางต่อไปพรุ่งนี้
เด็กพวกนั้นมาแข่งขันกีฬาหรือมาช่วยงานฉลองพ่อ
ฉันชอบแกงเผ็ดแต่พี่ชายชอบแกงจืด
รัตน์มาโรงเรียนไม่ได้เพราะเขาเป็นไข้
แสนศักดิ์ฝึกซ้อมดีจึงชนะคู่ชกทุกครั้ง
เขามาถึงสถานีเมื่อรถไฟออกไปแล้ว
ถ้าเราไม่รีบแต่งตัวเราจะไปงานไม่ทัน
แม้เขาจะมีร่างกายไม่แข็งแรง เขาก็มีจิตใจแข็งแกร่ง

จะเห็นว่าคำที่ขีดเส้นใต้ข้างบนนั้น เชื่อมระหว่างประโยค 2 ประโยค และควรสังเกต
ว่าคำสันธานบางคำ เราอาจเขียนข้างหน้าประโยคทั้ง 2 ประโยคก็ได้

ข้อสังเกต
1. คำสันธาน อาจมีความหมายช่วยให้เราเข้าใจว่า ข้อความในประโยคหนึ่งคล้อยตามอีก
ประโยคหนึ่งหรือแย้งกันก็ได้ หรือให้เห็นว่าประโยคหนึ่งเป็นเหตุ อีกประโยคหนึ่งเป็นผล หรือ
บอกเวลาว่าข้อความในประโยคหนึ่งเกิดขึ้นในเวลาใด เทียบกับข้อความในอีกประโยคหนึ่งก็ได้
2. ต่อไปนี้เป็นคำสันธานที่เชื่อมคำกับคำ หรือกลุ่มคำกับกลุ่มคำ เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่า
อาจแยกออกเป็นประโยคที่มีความสมบูรณ์ได้มากกว่าหนึ่งประโยค

ตัวอย่าง 
เพื่อนฉันและตัวฉันยังไม่สู้จะเห็นด้วยกับเรื่องนี้
= เพื่อนฉันยังไม่สู้จะเห็นด้วยกับเรื่องนี้ ตัวฉันยังไม่สู้จะเห็นด้วยกับเรื่องนี้
เขาห้ามคนอื่นแต่ทำเสียเอง
= เขาห้ามคนอื่น เขาทำเสียเอง

การรวมความเข้าไว้ดังตัวอย่างข้างต้นเป็นการประหยัดคำ ทำให้เข้าใจความได้ง่าย
ไม่เยิ่นเย้อ


3. คำสันธานบางคำใช้เข้าคู่กัน
ตัวอย่าง
เขาพูดจริงเสมอเพราะฉะนั้นเขาจึงได้รับความเชื่อถือ
เพราะเขาร่างกายแข็งแรง เขาจึงเรียนได้ผลดี
กว่าเราจะกินอาหารเสร็จ เพื่อนๆ ก็ออกจากบ้านไปแล้ว
ถึงเขาจะปากร้ายแต่ใจเขาดี
ถึงจะมีผีจริง ผีก็ทำอะไรคนมีศีลธรรมไม่ได้

4. คำสันธานอาจอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ในประโยคดังนี้
อยู่ระหว่างคำ เช่น ฉันพบสมบัติและอรัญญา
อยู่หลังคำ เช่น คนก็ดี สัตว์ก็ดี รักชีวิตด้วยกันทั้งนั้น
อยู่หน้าประโยค เช่น เมื่อใดเราทำความดี เราย่อมมีความอิ่มใจ
อยู่หลังประโยค เช่น เขาจะทำบุญก็ตาม จะทำบาปก็ตาม ควรคิดถึงผลกรรม
อยู่ระหว่างประโยค เช่น ต้นมะม่วงออกช่อแต่ไม่ติดผล
คร่อมคำ เช่น ถึงเป็นเพื่อนก็อย่าวางใจ
คร่อมประโยค เช่น เพราะเขาทำอะไรไม่คิดจึงต้องเดือดร้อน
แม้ว่าเขามีความจำดีแต่เขาก็สอบไม่ได้ดี

5. มีคำบางคำกรณีก็ใช้เป็นบุพบท บางกรณีก็ใช้เป็นสันธาน
ตัวอย่าง
เมื่อสักครู่นี้ สำอางได้ออกจากโรงเรียนไปแล้ว
(เมื่อ เป็นบุพบท)
เมื่อเราได้ยินเสียงระฆัง เราออกจากโรงเรียนทันที
(เมื่อ เป็นสันธาน)
เราทำงานเพื่อชาติ
(เพื่อ เป็นบุพบท)
เราทำงานเพื่อเราจะได้สนองคุณชาติ
(เพื่อ เป็นสันธาน)

6. คำสันธานอาจเป็นกลุ่มคำก็ได้
ตัวอย่าง
ในเมื่อท่านยังไม่เคยทดลองด้วยตนเองมาก่อน ท่านก็ไม่ควรรีบปฏิเสธโดยสิ้นเชิง
ระหว่างที่คุณนั่งรถไฟมา คุณสังเกตสองข้างทางหรือเปล่า
ด้วยเหตุที่เราประพฤติตัวอยู่ในศีลธรรม เราย่อมไม่กลัวเกรงคนพาล
ขณะที่เขาวิ่งมาถึงปลายถนน พวกโจรโยนอาวุธลงมาพอดี

 

คำอุทาน
คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้พูด คำอุทานส่วนมาก
จะไม่มีความหมายตรงตามถ้อยคำ แต่จะมีความหมายทางเน้นความรู้สึก และอารมณ์ของผู้พูด เป็นสำคัญ

ตัวอย่าง

โอ้โฮ ! ภูเขาลูกนี้สูงเยี่ยมเทียมเมฆเลย
ตายจริง ! ฉันลืมเอาร่มมา
พุทโธ่ ! เธอน่าจะบอกฉันเสียแต่แรก
แหม ! ฉันเกรงใจเธอจริงๆ
เจ้าประคุณเอ๊ย ! ทำไมเป็นอย่างนี้ไปได้

ข้อสังเกต
1. คำอุทานมักอยู่ข้างหน้าประโยค แต่ไม่จัดว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใด หรือภาคหนึ่งภาคใด
ของประโยค หากตัดคำอุทานออกไปก็ไม่เสียใจความ
2. คำอุทานอาจมีลักษณะเป็นกลุ่มคำก็ได้ เช่น
อุ๊ยต๊ายตาย! น่าเอ็นดูอะไรอย่างนั้น! ตายละวา!
3. คำอุทานชนิดหนึ่ง เรียกว่า คำอุทานเสริมบท เป็นคำที่เรานิยมนำมาต่อเติมข้างหน้า
ต่อท้าย หรือแทรกกลางคำที่เราประสงค์จะพูด เพื่อเน้นความหมายของคำที่เราประสงค์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เช่น
เธอจะมาสัญญิงสัญญาอะไรกับฉัน
เดินดีๆ ประเดี๋ยวจะตกกระด่างกระไดไปดอก
เหนื่อยไหม กินน้ำกินท่าเสียซิ ขนมขต้มก็มี
เขาขยันดูหนังสือหนังหาเสมอ

คำอุทานเสริมบทที่แทรกกลางก็มี เช่น สัปปะดี้สีปะดน (จากคำ สัปดน) เป็นต้น
4. คำที่พบในโคลง เช่น เฮย แฮ แลนา ก็เป็นคำอุทานเสริมบทหรือในคำประพันธ์ชนิดอื่น
เช่น เจ้าพี่อา น้องเอย อาและเอย ก็เป็นคำอุทานเสริมบทเช่นกัน

หมายเหตุ มีคำต่อท้ายบางคำมีความหมายเดียวกันกับคำที่อยู่ข้างหน้า คำต่อนั้นเป็นภาษาถิ่น
หรือภาษาโบราณ บางท่านเรียกว่า "คำซ้อน" นิยมใช้ในภาษาพูดหรือภาษาร้อยกรอง
เป็นส่วนมาก เช่น
เสื่อสาดก็ไม่ปู สาด เป็นภาษาถิ่น แปลว่า เสื่อ
ไม้ไล่ในป่านี้ถูกตัดโค่นหมด ไล่ เป็นคำโบราณ แปลว่า ต้นไม้
วัดวาในเมืองไทยมีมากมาย วา เป็นคำโบราณ แปลว่า วัด

ที่มา กรมวิชาการ หลักภาษาไทย

จุดมุ่งหมายในการอุทิศตนเพื่อนำเสนอ

         1. เพื่อจัดทำแหล่งเรียนรู้และเผยแพร่ตำราที่มีคุณค่าของสถาบันการศึกษาที่ผู้จัดทำได้ศึกษาให้นักเรียนและผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้า

         2. เพื่อรำลึกถึงสุนทรภู่ จินตกวีเอกของโลก ที่เป็นต้นแบบในการแต่งกลอน และรำลึกถึงคุณครูระเบียบ   เหล่านาค

คุณครูในดวงใจของผู้จัดทำ

          
                  


แหล่งที่มา : st.ac.th

อัพเดทล่าสุด