ชนิดและหน้าที่ของคำ ในไทย ข้อสอบชนิดและหน้าที่ของคำไทย ชนิดและหน้าที่ของคำกริยา


1,213 ผู้ชม


ชนิดและหน้าที่ของคำ ในไทย ข้อสอบชนิดและหน้าที่ของคำไทย ชนิดและหน้าที่ของคำกริยา

 


ใบความรู้ที่  ๕

เรื่อง  คำวิเศษณ์

              ………………………………………………………………………………..

คำวิเศษณ์  คือคำที่ทำหน้าที่ประกอบหรือขยายคำอื่นเพื่อให้ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น

 อาจทำหน้าที่ประกอบคำนาม  คำสรรพนาม   คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ก็ได้ 

ให้นักเรียนสังเกตชนิดและหน้าที่ของคำวิเศษณ์จากข้อความต่อไปนี้

 

            ใกล้ ๆ ที่บ้านคุณตา   ยังมีหมูตัวหนึ่ง   หมูจอมโวทำใหญ่โตยิ่งนัก

อาศัยกินกระดูกปลา     กินเศษอาหารและพืชผัก   ก็ยังภูมิใจไปว่าตาเลี้ยงดี

เป็นหมูดี    หมูตัวอ้วนพี   ของกินมีมาก   ชอบเป็นหมูจริง    หมูมีที่กิน

กินและนอน    นอนชอบเป็นหมู

 

 

คำวิเศษณ์

ชนิด

 

ใกล้ ๆ

ตัวหนึ่ง

จอมโว

ใหญ่โต

ดี

อ้วนพี

มาก

 

วิเศษณ์บอกสถานที่

วิเศษณ์บอกปริมาณ

วิเศษณ์บอกลักษณะ

วิเศษณ์บอกลักษณะ

วิเศษณ์บอกลักษณะ

วิเศษณ์บอกลักษณะ

วิเศษณ์บอกปริมาณ

 

 

 

  (  ศึกษาธิการ, กระทรวง. กรมวิชาการ.  หนังสือเรียนหลักภาษาไทย เล่ม ๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒. 

                    กรุงเทพฯ  : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,  ๒๕๓๕. )

 

ใบความรู้ที่  ๖

เรื่อง   คำบุพบท

          ……………………………………………………………………………………..

คำบุพบท  คือ คำที่ใช้เชื่อมคำ  กลุ่มคำเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของคำ กลุ่มคำ มีหลายชนิด

         ๑. คำบุพบทแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานที่   เช่น   ใน   บน   ใต้   ข้าง เหนือ   ริม  ที่  จาก  ถึง   ยัง    ตลอดจน   กระทั่ง    กับ   ฯลฯ         เช่น   กระถินริมรั้ว

          ๒. คำบุพบทแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับสิ่งที่มุ่งหวัง   เช่น   แก่   เพื่อ   โดย    ด้วย

เช่น    เขาพูดจากันด้วยดี

          ๓.  คำบุพบทแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับระยะเวลา   เช่น    ตั้งแต่   จน    ใน   ภายใน    หลัง   ณ   ถึง    จากเช้าถึงเที่ยง

          ๔. คำบุพบทแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ  เช่น    แห่ง    ของ   

  สภาพัฒนาแห่งชาติ  

          ๕.  คำบุพบทแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเครื่องมือ   เช่น   ด้วย   โดย   เพราะ    กับ

 ฉันได้ยินมากับหู

          ๖. คำบุพบทแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเจตนา  เช่น  ด้วย   ฉันเตือนเธอด้วยความหวังดี

           ๗. คำบุพบทแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับผู้รับ   กับ   แก่   แต่   ต่อ    เพื่อ   สำหรับ

อาหารจานนี้สำหรับคุณ

           ๘. คำบุพบทแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับการเปรียบเทียบ  เช่น  กว่า น้องสวยกว่าพี่

           ๙. คำบุพบทแสดงความสัมพันธ์ร่วมกัน    เช่น   ทั้ง    กับ     เธอพูดกับครู

ให้นักเรียนสังเกตคำบุพบทที่ขีดเส้นใต้ต่อไปนี้

            ใกล้เทศกาลเข้าพรรษานี้  วัดแต่ละวัดมีการบวชนาคกันอย่างคึกคัก   บางวัดต้องทำพิธีบวชวันละหลาย ๆ รูป   ตั้งแต่โมงเช้าไปจนถึงกลางคืน    ถ้าผ่านไปตามชนบท  เราจะพบผู้คนไปทำบุญกันเต็มศาลา  บางทีก็แว่วเสียง ระนาด  ฆ้องกลอง ตามลมมา

            หมู่บ้านหนึ่งมักมีวัดประจำหมู่บ้าน ฉะนั้นในแต่ละตำบล อำเภอ  เราจะเห็นวัดอยู่ใกล้ ๆ กัน  หากลูกหลานของใครบวช   เพื่อนบ้านก็จะมาช่วยอนุโมทนากันเต็มไปหมด    บางตีก็ไปร่วมงานติดต่อกันหลายวันเพราะ ความรู้จักมักคุ้นกัน  และเพราะศรัทธาในพระศาสนาด้วย

 

ใบความรู้ที่  ๗

 เรื่อง   คำสันธาน

          …………………………………………………………………………………………

               ตารางเปรียบเทียบคำสันธาน และคำบุพบท จากประโยคต่อไปนี้

 

ประโยคที่ใช้สันธาน

 

ประโยคที่ใช้บุพบท

๑. เขาจะเดินทางไปกรุงเทพฯและจะเดินทางต่อไปนครสวรรค์

 

๒. ฝนตกแต่แดดออก

 

๓. สมศรีไปชมละครไม่ได้เพราะเธอเป็นไข้

๔. เขามาถึงสถานีขนส่งเมื่อรถออกไปแล้ว

 

๕.ถ้าลูกไม่ตั้งใจเรียนก็เหมือนไม่รักพ่อแม่

 

๖.ไข่มุกกับน้องเดินทางไปกรุงเทพฯ

 

๗. แม้เขาจะรักลูกมากเท่าใดเขาก็ต้องส่งลูกๆ ไปเรียน

 

๘. เราทำงานหนักเพื่อจะได้มีกินมีใช้

 

๑.    ราษฎรทุกคนควรเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

๒.  ปากกาของฉันหมึกหมดแล้ว

๓.   เขาเดินทางโดยเครื่องบิน

 

 

๔.   เมื่อสักครู่นี้น้องโบว์มาหาเธอ

 

๕.   น้ำสำหรับดื่มไม่ใช่สำหรับใช้

 

๖.    มุกดาคุยกับน้อง

 

๗.   นิมิตรฟ้องร้องต่อศาลกรณีรุกล้ำที่ดิน

 

 

๘.  เรากินเพื่ออยู่

 

 

 

      คำสันธาน      คือคำสำหรับเชื่อมประโยคกับประโยค    หรือกลุ่มคำ  ช่วยให้ภาษาต่อเนื่อง สละสลวย   คำสันธานมีหลายชนิด

 

            ๑.  คำสันธานเชื่อมข้อความที่คล้อยตามกัน  เช่น  ก็  จึง   ครั้น...จึง    ครั้ง....ก็               เมื่อ....ก็    และ   กับ    ก็ได้   ทั้ง...ก็    ทั้ง....และ    ตลอดจน    พี่กับน้องไปตลาด

            ๒.  คำสันธานเชื่อมข้อความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน   เช่น   เพราะ    เพราะว่า   ให้  

ด้วยว่า     ด้วยเหตุว่า   เพราะฉะนั้น     ดังนั้น    จึง   เลย...ถึง    ฉะนั้น

วลีไม่มาโรงเรียนเพราะป่วย

            ๓. คำสันธานเชื่อมข้อความที่ขัดแย้งกัน   เช่น   แต่   แต่ว่า    จริงอยู่     ถึง....ก็                     กว่า....ก็      ถึงเขาเป็นนักมวยฉันก็ไม่กลัว

            ๔.  คำสันธานเชื่อมข้อความที่เลือกเอา   เช่น  หรือ   มิฉะนั้น     ไม่เช่นนั้น   หาไม่...ก็หรือไม่    หรือมิฉะนั้น    ในเมื่อ    เธอต้องทำตามเขาบอกมิฉะนั้นเธอจะเดือดร้อน

            ๕.  คำสันธานเชื่อมข้อความที่ต่างตอนกัน  เช่น   ส่วน      ฝ่าย     ฝ่ายว่า     อนึ่ง     อีกประการหนึ่ง       พี่ทำการบ้านส่วนน้องเล่นอยู่หลังบ้าน

            ๖.  คำสันธานเชื่อมข้อความที่คาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้   เช่น     ถ้า     ถ้า ...ก็     หาก

ถ้า.....หาก     แม้       แม้....ว่า      เว้นแต่     นอกจาก    ถ้าเธอไม่ส่งข่าวมาฉันต้องไปพบเธอแน่

            ๗. คำสันธานเชื่อมข้อความที่เปรียบเทียบ    เช่น  เหมือน     เหมือนว่า    เหมือนกับ     ราว   ราวกับ       อย่างกับ       เขาวิ่งเร็วราวกับลมพัด

            ๘.  คำสันธานเชื่อมข้อความที่เกี่ยวกับการสื่อสาร  เช่น   ว่า     คุณพ่อสั่งว่า  ลูกทุกคนต้องทำงาน  ขยัน  ประหยัด

 

 

 

 

( ปราณี   บุญชุ่ม  และคณะ.   แบบฝึกหัดภาษาไทย  หลักภาษาและการใช้ภาษา  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒.  

            กรุงเทพมหานคร  :   อักษรเจริญทัศน์,  ๒๕๒๖. )

 

 

ใบความรู้ที่  ๘

เรื่อง  คำอุทาน

           ………………………………………………………………………………………

 

   คำอุทาน    หมายถึง     คำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ของผู้สื่อสาร คำอุทานไม่จัดเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อความ แต่การพิจารณาความหมายของคำอุทานต้องพิจารณาจากความสัมพันธ์ของแต่ละบริบท

คำอุทานแบ่งออกเป็น  2   ประเภท

๑.     คำอุทานโดยตรง  

-  แสดงความประหลาดใจ    เช่น  โอ้โฮ้    ว้าว   เอ๊ะ  หา  ฮ้า

-  แสดงความสงสาร    เช่น  พุทโธ่     อนิจจา

-  แสดงความตกใจ    เช่น   ว้าย    อุ้ยตาย

-  แสดงความเจ็บปวด   เช่น   โอ้ย    อุ้ย

-  แสดงความผิดหวัง    เช่น   ว้า    ฮึ   เฮ้ย

-  แสดงความหวาดหวั่น    เช่น   ตายละวา     แย่แล้ว

-  แสดงความโกรธ   เช่น    ปัดโธ่   ชะช้า

 

            ๒.  คำอุทานเสริมบท    บางทีเรียกอุทานสร้อยบท     คือคำที่นำมาซ้อนและไม่มีความหมายเป็นที่เข้าใจ    ประสงค์เพียงแต่เพิ่มน้ำหนักแก่คำที่ถูกเสริม   แต่ก็มีบางคำที่นำภาษาถิ่นมาซ้อน  เช่น   เสื่อสาด       หนังสือหนังหา    ผมเผ้า

 

 

 

 

 

(  ศึกษาธิการ, กระทรวง. กรมวิชาการ.  หนังสือเรียนหลักภาษาไทย เล่ม ๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒. 

                    กรุงเทพฯ  : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,  ๒๕๓๕. )

 

แหล่งที่มา : .earners.in.th

อัพเดทล่าสุด