หน้าที่ของกล้ามเนื้อ หน้าที่ของกล้ามเนื้อหัวใจ หน้าที่ของกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย
ระบบกล้ามเนื้อ ( Muscular System)
ระบบกล้ามเนื้อเป็นระบบที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยจะอาศัยคุณสมบัติการหดตัวของใยกล้ามเนื้อ ทำให้กระดูกและข้อต่อเกิดการเคลื่อนไหว และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน นอกจากการเคลื่อนไหว ของกระดูกและข้อต่อแล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ การบีบตัวของ เส้นโลหิต การบีบตัวของกระเพาะอาหาร ลำไส้ และการทำงานของปอด เป็นต้น การเคลื่อนไหวต่างๆ เหล่านี้ เกิดจากการ ทำงานของกล้ามเนื้อทั้งสิ้น
กล้ามเนื้อเป็นส่วนประกอบใหญ่ของร่างกายมนุษย์ และเป็นส่วนสำคัญที่สุด ทำหน้าที่ในขณะ ที่มีการเคลื่อนไหว ของร่างกาย หรือ เพียงบางส่วน เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ การเคลื่อน ไหวของระบบทาง เดินอาหาร เป็นต้น กล้ามเนื้อในร่างกายทั้งหมดมี น้ำหนักประมาณ 2/5 ของน้ำหนัก ตัวส่วนใหญ่อยู่บนรอบแขนและขา ซึ่งยึดติดกันอยู่โดยอาศัยข้อต่อ (Joints) และเอ็น (Tendon) ทำให้ร่างกายประกอบเป็นรูปร่างและทรวดทรงขึ้นมาอย่าง เหมาะสม
ชนิดของกล้ามเนื้อกล้ามเนื้อภายในร่างกายแบ่งได้เป็น ๓ ชนิด คือ 1. กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) หรือ กล้ามเนื้อในอำนาจจิตใจ 2. กล้ามเนื้อเรียบ(Smooth Muscle) หรือกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจ 3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) 1. กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) หรือ กล้ามเนื้อในอำนาจจิตใจ เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ พบที่อวัยวะภายในของร่างกายเช่น หลอดอาหาร หลอดเลือด เป็นต้น เซลล์มีรูปร่างคล้ายกระสวย แต่ละเซลล์ มีนิวเคลียสอันเดียวอยู่ตรงกลางเซลล์ เซลล์ไม่มีลาย ตามขวาง ตรงรอยต่อของเยื่อหุ้มเซลล์บางส่วนจะมีบริเวณถ่ายทอดคลื่นประสาทเรียกว่าอินเตอร์คอนเนกติง บริดจ์ (interconnecting bridge) เพื่อถ่ายทอดคลื่น ประสาทไปยังเซลล์ข้างเคียง การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้อยู่นอกอำนาจจิตใจ การหดตัวเกิดได้เองโดยมีเซลล์เริ่มต้นการทำงาน (pace maker cell point) และการหดตัวถูกควบคุม โดยระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้นกล้ามเนื้อชนิดนี้ปลายประสาทจึงไม่ได้ไปเลี้ยงทุกเซลล์ ยกเว้นกล้ามเนื้อเรียบในบางส่วนของร่างกายมี ีปลายประสาทไปเลี้ยงทุกเซลล์ เช่น กล้ามเนื้อในลูกตา กล้ามเนื้อชนิดนี้เรียกว่า กล้ามเนื้อเรียบหลายหน่วย (multiunit smooth muscle) ส่วนกล้ามเนื้อเรียบ ชนิดแรกที่กล่าวถึง ในตอนต้นเรียกว่า กล้ามเนื้อหน่วยเดียว (single unit smooth muscle)
2. กล้ามเนื้อเรียบ(Smooth Muscle) หรือกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจ
เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะอยู่กับกระดูก และมีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย กล้ามเนื้อลายประกอบด้วยเซลล์ลักษณะเป็นเส้นยาวจึงเรียกว่า ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ความยาวของใยกล้ามเนื้อจะเท่ากับมัดกล้ามเนื้อที่ใยกล้ามเนื้อนั้นเป็น องค์ประกอบอยู่ ใยกล้ามเนื้อมีลายตามขวาง และมีเยื่อหุ้มเซลล์ ์เรียกว่า ซาร์โค เลมมา (sarcolemma) ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสานหุ้มอีกชั้นหนึ่งเรียกว่า เอนโดไมเซียม (endomysium) ใยของกล้ามเนื้อลายมีนิวเคลียสหลายอันอยู่ด้านข้างของเซลล์ เรียงตัวกันเป็นระยะตลอดแนวความยาวของเซลล์ แต่ละเซลล์มีปลายประสาทมาเลี้ยง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการหดตัว ใยกล้ามเนื้อลายประกอบด้วยเส้นใยขนาดเล็กเรียกว่า ไมโอไฟบริล (myofibril) แต่ละไมโอไฟบริลประกอบด้วยฟิลาเมนท์ (filament) ซึ่ง มี 2 ชนิด คือ ชนิดหนา (thick filament) และชนิดบาง (thin filament) ใยกล้ามเนื้อหลายใยรวมกันเป็นมัดกล้ามเนื้อ และมีเนื้อเยื่อประสานหุ้มเรียกว่า เพอริไมเซียม (perimysium) มัดของกล้ามเนื้อขนาดเล็กนี้รวมกันเป็นมัดใหญ่และ มีเนื้อเยื่อประสานเรียกว่า อีพิไมเซียม (epimysium)หุ้มอยู่ การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้อยู่ในอำนาจจิตใจจึงเรียกว่า กล้ามเนื้อโวลันทารี (voluntary muscle)
3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle)
เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ พบที่หัวใจเพียงแห่งเดียว
กล้ามเนื้อหัวใจมีเซลล์เป็นเส้นใยยาว มีลายตามขวาง เซลล์เรียงตัวหลายทิศทาง และเซลล์มีแขนงเชื่อมเซลล์อื่นเรียกว่า อินเตอร์คาเลทเตท ดิสค์ (intercalated disc) มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางเซลล์เป็นรูปไข่ เซลล์บางกลุ่มเปลี่ยนแปลงหน้าที่ไปเป็นเซลล์นำคลื่นประสาท (special conducting system) ซึ่งได้แก่ เอ-วี บันเดิล (A-V bundle)และเส้นใยเพอร์คินเจ (perkinje fiber) การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอยู่นอกอำนาจจิตใจ และทำงานได้เอง
คุณสมบัติของกล้ามเนื้อ
· มีความรู้สึกต่อสิ่งเร้า (Irritability) คือ สามารถรับ Stimuli และตอบสนองต่อ Stimuli โดยการหดตัวของ กล้ามเนื้อ เช่น กระแสประสาทที่กล้ามเนื้อเวลาที่จับโดนความร้อนหรือ กระแสไฟฟ้า เรามักมีการหนีหรือหลบเลี่ยง · มีความสามารถที่จะหดตัวได้ (Contractelity) คือ กล้ามเนื้อสามารถเปลี่ยนรูปร่างให้สั้นหนา และแข็งได้ · มีความสามารถที่จะหย่อนตัวหรือยืดตัวได้ (Extensibility) กล้ามเนื้อสามารถ ที่จะเปลี่ยน รูปร่างให้ยาวขึ้นกว่าความยาวปกติของมันได้ เมื่อถูกดึง เช่น กระเพาะอาหาร กระเพาะ ปัสสาวะ มดลูก เป็นต้น · มีความยืดหยุ่นคล้ายยาง (Elasticity) คือ มีคุณสมบัติที่เตรียมพร้อมที่จะ กลับคืนสู่สภาพ เดิมได้ ภายหลังการ ถูกยืดออกแล้ว ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำให้ เกิด Muscle Tone ขึ้น · มีความสามารถที่จะดำรงคงที่อยู่ได้ (Tonus) โดยกล้ามเนื้อมีการหดตัว บ้างเล็กน้อย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะ ทำงานอยู่เสมอ
การหดตัวของกล้ามเนื้อ
การหดตัวของกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการกระตุ้น กลไก การหดตัวของกล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหัวใจจะคล้าย กัน ในมนุษย์การทำงานของกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นได้เมื่อ มีการ กระตุ้นของ ระบบประสาท หรือกระตุ้นโดยความร้อนหรือสารเคมี หรือ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ แล้วแต่ กล้ามเนื้อจะหดตัวได้ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้าขณะเซลล์ทำงาน ( Action potential) ซึ่งเกิดขึ้น ที่บริเวณ เยื่อแผ่นของ เส้นใยของกล้ามเนื้อ รวมทั้งต้องอาศัยพลังงานอย่างมาก
กล้ามเนื้อตะคริว
การเป็นตะคริว เกิดจากมีการเกร็งชั่วคราวของมัด กล้ามเนื้อทั้งหมด ขณะที่มีการหดตัวทำให้กล้าม เนื้อมัดนั้นมีลักษณะแข็งเป็นลูกและ เจ็บปวดมาก อาการเกร็งของตะคริว กล้ามเนื้อเกิดขึ้น นอกเหนืออำนาจจิตใจ และเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาไม่นาน ก็จะหายไปเอง แต่กลับ เป็นซ้ำขึ้นมา ที่เดิมได้อีก ในบางครั้งกล้ามเนื้ออาจเป็นตะคริว พร้อมกันหลายๆ มัดได้ สาเหตุที่ พบบ่อย ได้แก่ · กล้ามเนื้อขาดการฟิตซ้อมหรือฟิตซ้อมไม่เพียงพอ· สภาวะแวดล้อมของอากาศ · ร่างกายขาดเกลือแร่บางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียม · การใช้ผ้ายึดหรือสนับผ้ายืดพันหรือรัดลงไปบนกล้ามเนื้อค่อนข้างแน่นขณะที่มีการออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อทำงานหรือ ขยายตัวได้ไม่เต็มที่
การปฐมพยาบาล
· หยุดพักการออกกำลังกายทันที ถ้ามีเครื่องพันธนาการ เช่น สนับเข่า หรือผ้ายืดรัด อยู่ให้ปลดออก · ให้ผู้ป่วยนอนราบ งอตะโพก 90 องศา งอเข่า 90 องศา· ค่อยๆ ดันปลายเท้าเพื่อให้ข้อเท้ากระดกขึ้น ทำช้าๆ ขณะที่ข้อเท้ากระดกขึ้นนั้น กล้ามเนื้อน่องจะค่อยๆ คลายตัวออกหรือยืดออก · ประกบด้วยกระเป๋าน้ำร้อน หรือถูนวดเบาๆ ด้วยน้ำร้อนๆ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียน ให้ไปยังบริเวณ นั้น
แหล่งที่มา : thaigoodview.com