หน้าที่ของลำต้นมะยม ภาพประกอบหน้าที่ของลำต้น หน้าที่ของลำต้น
โครงสร้างของใบ
เมื่อนำใบพืชตัดตามขวาง มาศึกษาดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะประกอบด้วยโครงสร้างต่างๆ ดังนี้
1. Epidermis layer เป็นเนื้อเยื่อที่เรียงตัวเป็นแถวเดียวอยู่นอกสุด ปกคลุมส่วนที่อยู่ข้างใน ประกอบด้วย
1.1 Upper epidermis มีคลอโรพลาสต์น้อยมากหรือไม่มีเลย ที่ผิวเซลล์ด้านนอกสุดเป็นด้านรับแสง มีสารคิวตินเคลือบตลอดผิวใบ
1.2 Lower epidermis จะมีเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เป็นเซลล์คุม (guard cell) ภายในเซลล์คุมมีคลอโรพลาสต์ เซลล์คุมอยู่กันเป็นคู่ๆ ทำให้เกิดปากใบ (stomata) เซลล์คุมทำหน้าที่ในการควบคุมการแลกเปลี่ยนก๊าซและการคายน้ำของใบ
2. ชั้น Mesophyll เป็นเซลล์ส่วนที่อยู่ด้านในถัดเข้ามาจาก Epidermis ทั้งบนและล่าง เซลล์ส่วนใหญ่เป็นเซลล์พาเรงคิมาซึ่งมีคลอโรฟิลล์อยู่ด้วย ซึ่งเรียกว่า คลอเรงคิมา (chlorenchyma) ซึ่งสังเคราะห์แสงได้ดี แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
2.1 Palisade cell เป็นเซลล์ยาวๆอยู่ใต้ Epidermis ส่วนบน เซลล์ชั้นนี้อัดตัวกันแน่นและเรียงตัวตามขวาง มีคลอโรพลาสต์มาก จึงทำให้เซลล์มีสีเขียวเข้มและเหมาะสมต่อการสังเคราะห์แสงมากกว่าเซลล์อื่นๆ
2.2 Spongy cell เป็นชั้นของเซลล์ที่อยู่ระหว่างเซลล์พาลิเซด กับ Epidermis ด้านล่าง เซลล์ชั้นนี้มีรูปร่างไม่แน่นอนเรียงตัวกันอย่างหลวมๆ ทำให้มีช่องว่างระหว่างเซลล์มาก ผิวเซลล์จึงมีโอกาสสัมผัสกับอากาศได้มาก ทำให้แก๊สต่างๆ แพร่เข้าออกได้สะดวก เซลล์ชั้นนี้มีคลอโรฟิลล์น้อยจึงทำให้สังเคราะห์ด้วยแสงได้น้อย
3. Vascular bundle คือส่วนของเส้นใบ (vein) ประกอบด้วย Xylem อยู่ทางด้านบน และ Phloem อยู่ทางด้านล่าง ทำหน้าที่ในการลำเลียงน้ำและอาหารที่สร้างได้จากใบออกไปสู่ส่วนต่างๆทั่วลำต้น มัดท่อลำเลียงจะถูกล้อมรอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า บันเดิลชีท (bundle sheath)
- พืชบกทั่วไปปากใบจะอยู่ทางด้านท้องใบ (Ventral) เป็นส่วนใหญ่ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพื่อลดการคายน้ำของพืชให้น้อยลง นอกจากนี้ที่ผิวใบยังฉาบด้วยสารคิวทิน เพื่อช่วยป้องกันการระเหยของน้ำออกจากผิวใบด้วย
- พืชปริ่มน้ำ เช่น บัว ปากใบจะอยู่ทางด้านบนใบ หรือด้านหลังใบ (Dorsal)
- พืชจมน้ำจะไม่มีปากใบ เช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายข้าวเหนียว
- พืชทะเลทราย เช่น กระบองเพชรจะมีการปรับตัว โดยการเปลี่ยนใบเป็นหนาม ดังนั้นปากใบจึงอยู่ที่ลำต้น
แหล่งที่มา : okpara.exteen.com