ข้อสอบโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอกพร้อมเฉลย ปี2550 mind map โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก สรุปเรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
ข้อสอบ บทที่ 12 โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก |
- 1. พืชสีเขียวชั้นสูงที่เจริญบนบก แสดงการปรับตัวเองให้เหมาะสมเป็นพิเศษกับหน้าที่ของมันในแง่การผลิตอาหารให้แก่กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มันเจริญอยู่ คือ
1. มีใบแบนบางสีเขียวดักรับแสง 2. มีผลและเมล็ดที่สะสมอาหาร 3. มีระบบรากที่สามารถแผ่ไปได้ไกล 4. มีลำต้นที่แข็งแรงและอายุยืน
- 2. โครงสร้างของพืชที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม ที่แห้งแล้งแบบทะเลทราย คือ
1. ลำต้นอวบน้ำ 2. มีชั้น Cork เกิดขึ้น 3. มีใบลดรูปเป็นหนาม 4. มีปากใบจมลึก
- 3. ในรากของพืชส่วนใดที่ทำหน้าที่ในการดูดน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆ
1. ปลายสุดของราก 2. รากขน 3. ทุกส่วนของรากที่อยู่ใต้ผิวดิน 4. 1 และ 2 เป็นำตอบที่ถูกต้อง
- 4. วงปี (annula ring) ของพืชเกิดขึ้นได้
1. ทั้งในลำต้นและรากพืชใบเลี้ยงคู่ 2. เฉพาะในลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่เท่านั้น 3. ในลำต้น รากพืชใบเลี้ยงคู่ ทุกชนิดและในลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด 4. ในลำต้นของพืชจำพวกสน
- 5. ถ้าตัดลำต้นของพืชที่ขึ้นอยู่ในน้ำ เช่น ผักกะเฉด ตามขวาง เนื้อที่ที่พบในชั้นคอร์เทอกซ์ส่วนใหญ่ จะประกอบด้วย
1. chlorenchyma , sclerenchyma , parenchyma 2. collenchyma , chlorenchyma , parenchyma 3. chlorenchyma , sclerenchyma , air space 4. chlorenchyma , parenchyma , air space
- 6. ต้นกระบองเพชรมีน้ำอยู่ภายในต้นมากเพราะ
1. ต้นกระบองเพชรมีลำตนใหญ่และอ่อนนุ่มอุ้มน้ำไว้ได้มาก 2. ต้นกระบองเพชรสามารถดูดน้ำได้มาก 3. ต้นกระบองเพชรมีการคายน้ำน้อยและสะสมน้ำไว้มาก 4. ต้นกระบองเพชรไม่มีการคายน้ำเลยเพราะไม่มีใบ
- 7. เซลล์ที่ขูดออกหลังการควั่นและลอกเปลือกไม้เพื่อตอนกิ่งไม้ คือ
1. parenchyma 2. phloem 3. cambium 4. xylem
- 8. อาหารที่พืชสร้างขึ้นมักจะนำไปสะสมไว้ที่เซลล์ชนิด
1. sieve tube 2. sclerid 3. parenchyma 4 spongy cell
- 9. พืชที่มีปริมาตรทัดเทียมกันกับพวกใดน่าจะมีปริมาณน้ำเก็บเอาไว้น้อยที่สุด
1. พืชที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ 2. พืชพวก xerophyte 3. พืชพวก parasite 4. พืชพวก epiphyte
- 10. น้ำยางจากต้นยางพาราที่เรากรีดได้ ส่วนใหญ่จะได้จากเซลล์ที่พบในเนื้อเยื่อพวก
1. cortex 2. phloem 3. xylem 4. epidermis
- 11. พืชที่มี root hair หรือไม่มีก็ได คือ
1. พืชที่ลอยอยู่ในน้ำ 2. พืชที่ขึ้นในที่มีน้ำน้อย 3. พืชที่ขึ้นในดินที่การถ่ายเทอากาศไม่สะดวก 4. พืชที่ขึ้นในดินที่มีสภาพเป็นกรดหรือด่างมาก
- 12. การที่ต้นทุเรียนมีขนาดความกว้างของลำต้นใหญ่กว่าต้นหมากที่มีอายุเท่ากันและปลูกอยู่บริเวณใกล้ ๆ กันเป็นเพราะ
1. ต้นทุเรียนมีแคมเบียม ต้นหมากไม่มี 2. จำนวนกลุ่มท่อลำเลียงของต้นทุเรียนมีมากกว่าต้นหมาก 3. ต้นทุเรียนมีการเรียงตัวของกลุ่มท่อลำเลียงเป็นระเบียบมากกว่าต้นหมาก 4. เซลล์ของต้นทุเรียนแบ่งตัวได้รวดเร็วกว่าเซลล์ของต้นหมาก
- 13. ส่วนของรากที่เป็นอุปสรรคมากที่สุดต่อการลำเลียงน้ำ คือ
1. เอพิเดอร์มิส 2. คอร์เทกซ์ 3. เอนโดเดอร์มิส 4. เพริไซเคิล
- 14. พืชลำเลียงเกลือแร่จากรากไปใบได้เร็วที่สุดโดยอาศัย
1.แรงดันราก 2.คอร์เทกซ์ 3. แรงดึงจากการคายน้ำ 4.แอกทิฟทรานสปอตร์ต
- 15. ใน cotex ของพืชใบเลี้ยงคู่ มักจะประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลายชนิด เช่น collenchyma, sclerenchyma และ parenchyma เพราะเหตุใด parenchyma จึงมีโอกาสที่จะเปลี่ยนไปเป็น cambium ได้ดีกว่าเนื้อเยื่ออื่นๆ
1.เพราะมี parenchyma ใน cortex มากกว่าเนื้อเยื่อชนิดอืน 2. เพราะเซลล์มีผนังบางแบะเป็นเซลล์มีชีวิตอยู่ 3.เพราะเป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่เพียงชนิดเดียวใน cortex 4.เพราะมีความสามารถในการแบ่งเซลล์ได้ดีกว่าและเจริญได้เร็วกว่า
- 16. ใบไม้จะแห้งตอนกลางวัน เนื่องจาก
1. ดินมีน้ำน้อย 2. พืชคายน้ำเร็วกว่าดูดน้ำ 3. พืชคายน้ำมากกว่าขึ้น 4. พืชคายน้ำได้น้อยลง
- 17. ผลจากการเจริญขั้นที่ 2 (secondary growth) ของพืชใบเลลี้งคู่ ทำให้อวัยวะของพืชเช่น ราก และลำต้น...
1. มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพิ่มขึ้น 2. มีความยาวและส่วนสูงเพิ่มขึ้นตามลำดับ 3. เพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาว 4. ทำให้รากและลำต้นมีอายุยืนยาว
- 18. ถ้าเปรียบเทียบเซลล์เป็นห้องต่างๆ ภายในบ้านเดียวกัน ท่านคิดว่าห้องไหนคับแคบมากที่สุด
1. cork 2. fiber 3. tracheids 4. collenchyma
- 19. รากของพืชชนอดหนึ่งที่เจริญเต็มที่แล้วมีขนราก (root hair) มากมายทำหน้าที่ในการดูดซึมสารจากสิ่งแวดล้อม อยากทราบว่าอีก 3 เดือน ต่อมาโครงสร้างของขนรากที่กล่าวถึงจะเป็นอย่างไร
1. ยาวขึ้น 2. ตายและหลุดไป 3.เหมือนเดิมแต่ไม่ทำงาน 4. มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตามอายุของราก
- 20. เมื่อมะม่วงอายุ 20 ปี ท่านคิดว่าควรจะมัส่วนประกอบของเนื้อเยื่อชนิดใดน้อยที่สุด
1. ไซเลมระยะแรก 2. ไซเลมระยะที่สอง 3. วาสคิวลาร์แคมเบียม 4. มีจำนวนเพิ่มขึ้นตามอายุของขนราก |
แหล่งที่มา : lks.ac.th