นวัตกรรมการสอนชีววิทยาโครงสร้างหน้าที่ของพืชดอก บทเรียนออนไลน์ โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก โครงสร้างและหน้าที่ของพืชชั้น ป.4


1,118 ผู้ชม


นวัตกรรมการสอนชีววิทยาโครงสร้างหน้าที่ของพืชดอก บทเรียนออนไลน์ โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก โครงสร้างและหน้าที่ของพืชชั้น ป.4

 

 

นวัตกรรมและเทคโนโลยี
เรื่อง : การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ชุดการสอน (คุณครูยุวธิดา บัวศรี)
สรุปย่อสาระสำคัญ
 

การวิจัยครั้งนี้  เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เรื่อง เป็นการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา  เรื่อง  โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ที่เรียนโดยใช้ชุดการสอน โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5   ปีการศึกษา 2553 เรื่อง  โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ที่เรียนด้วยชุดการสอน และเพื่อสร้างชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพ  กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3  ปีการศึกษา 2553โรงเรียนเมืองบัววิทยา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 33 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดการสอน เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก  จำนวน 8 ชุด แบบทดสอบวัดผลประจำชุดการสอน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเกณฑ์ประสิทธิภาพของชุดการสอนวิเคราะห์โดยใช้สูตร E1 / E2

ผลการวิจัยพบว่า

                1. ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอน  มีผู้ไม่ผ่านเกณฑ์ 60% จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 93.94 มีผู้ผ่านเกณฑ์60% จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.06  และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอน มีผู้ผ่านเกณฑ์ 60%  จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 100 

                 2.ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอน  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.03 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.94  ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำ และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนโดยใช้ชุดการสอน  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 31.97 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.53  ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับสูง

                  3.ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนพบว่าผลสัมฤทธิ์หลังเรียนแตกต่างจากผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05  (ความเชื่อมั่น 95%)

                4. ค่าประสิทธิภาพของชุดการสอน เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75.03/79.92

                5.ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยชุดการสอน เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก


แหล่งที่มา : online.secondary33.go.th

อัพเดทล่าสุด