ข้อสอบกลางภาคโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก แบบทดสอบชีววิทยา ม.5 เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืช โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก แบบฝึกหัด
แนวข้อสอบวิทย์ ม.๑ กลางภาค ๑/๕๕
4.4 ประเมินจากการสอบกลางภาค ( ร้อยละ 20 )
กำหนดการสอบกลางภาค ระหว่างวันที่ 24-27 กรกฎาคม 2555 เวลาที่ใช้ในการสอบ 60 นาที เนื้อหาที่สอบ ลักษณะข้อสอบ จำนวนข้อสอบย่อยแต่ละครั้งมีรายละเอียด ดังตาราง
หัวข้อ/เนื้อหาที่ใช้ในการสอบ | ลักษณะและจำนวนข้อสอบ | ร้อยละ |
หน่วยที่ 1 หน่วยของสิ่งมีชีวิต 1.1. โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ 1.1.1 เซลล์พืช 1.1.2 เซลล์สัตว์ | อัตนัย (2 ข้อ 2 คะแนน) ปรนัย (2 ข้อ 1 คะแนน) | 3 |
1.2 การลำเลียงสารเข้า ออกจากเซลล์ 1.2.1 กระบวนการแพร่ 1.2.2 กระบวนการออสโมซิส | อัตนัย (1 ข้อ 1 คะแนน) ปรนัย (2 ข้อ 1 คะแนน) | 2 |
หน่วยที่ 2 กระบวนการดำรงชีวิตของพืช 2.1 การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 2.1.1 ปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 2.1.2 ผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 2.1.3 ความสำคัญของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม | อัตนัย (2 ข้อ 4 คะแนน) ปรนัย (4 ข้อ 2 คะแนน) | 6 |
2.2 การลำเลียงสารในพืช 2.2.1 กลุ่มเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงน้ำของพืช 2.2.2 โครงสร้างที่เกี่ยวกับระบบลำเลียงน้ำและอาหารของพืช | อัตนัย (2 ข้อ 2 คะแนน) ปรนัย (2 ข้อ 1 คะแนน) | 3 |
2.3 การสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์พืช 2.3.1 โครงสร้างของดอก 2.3.2 การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ 2.3.3 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ | อัตนัย (3 ข้อ 6 คะแนน) | 6 |
อัตนัย (10 ข้อ 15 คะแนน) ปรนัย (10 ข้อ 5 คะแนน) | 20 |
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี
ตอนที่ 1 ข้อสอบแบบอัตนัย
- จงวาดรูปเซลล์พืช และเซลล์สัตว์ พร้อมท้ะงชี้บอกส่วนประกอบ ( 1 คะแนน )
แนวคำตอบ
- จงเขียนตารางแสดงการเปรียบเทียบส่วนประกอบของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ( 1 คะแนน )
แนวตอบ
- การลำเรียงน้ำและแร่ธาตุในพืชเกิดขึ้นได้อย่างไร จงอธิบาย ( 1 คะแนน )
แนวตอบ
กระบวนการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ โดยพืชใช้เซลล์ขนราก และลำเลียงโดยใช้ท่อ Xylem
น้ำ เคลื่อนเข้าสู่เซลล์ขนรากพืช โดยกระบวนการ Osmosis อย่างต่อเนื่อง ผลจากการคายน้ำของพืชทำให้เกิดแรงดึงจากการคายน้ำ ดังนั้นถ้าพืชมีการคายน้ำมาก การ Osmosis ของน้ำเข้าสู่รากเกิดขึ้นมากและรวดเร็ว
แร่ธาตุ จะผ่านเข้าสู่เซลล์ขนรากพืช โดยอาศัยกระบวนการแพร่ของสาร การคายน้ำของพืชจะช่วยให้แร่ธาตุแพร่เข้าสู่รากได้มากขึ้นเช่นกัน
- การสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) คืออะไร ( 2 คะแนน )
แนวตอบ
การสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) คือ กระบวนการที่พืชและสิ่งมีชีวิตที่มีสีเขียวเปลี่ยนพลังงานแสงมาเป็นพลังงานเคมีเก็บไว้ในสารประกอบอินทรีย์ โดยมีคลอโรฟีลล์ทำหน้าที่ดูดพลังงานแสงแล้วเปลี่ยนวัตถุดิบ คือ น้ำ(H2O) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ไปเป็นน้ำตาลกลูโคส(C6H12O6) น้ำ(H2O) และก๊าซออกซิเจน(O2)
- จงเขียนสมการเคมีแสดงการเกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) ของพืช ( 2 คะแนน )
แนวตอบ
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเป็นปฏิกิริยาเคมีที่ซับซ้อน โดยสามารถเขียนสมการเคมีแสดงการเกิดกระบวนการได้ดังนี้
CO2 + H2O + light energy ---> C6H12O6 + O2 + H2O
- 6. จงเขียนเปียบเทียบระบบการลำเลียงสารในพืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยว ( 1 คะแนน )
แนวตอบ
เปรียบเทียบโครงสร้างของระบบลำเลียง
พืชใบเลี้ยงคู่ | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว |
บริเวณราก - Xylem จะเรียงตัวเป็นแฉก 2-5 แฉก ออกมาจากกึ่งกลางของราก - Phloem แทรกอยู่ระหว่างแฉกของ Xylem | บริเวณราก - Xylem จะเรียงตัวอยู่รอบ pith ซึ่งเป็นเนื้อเยื่ออยู่ตรงกลางของราก - Phloem แทรกอยู่ระหว่าง Xylem |
- 7. จงวาดรูปเปรียบเทียบโครงสร้างของระบบลำเลียง ในบริเวณราก ( 1 คะแนน )
แนวตอบ
- จงวาดรูปดอกไม้และชี้บอกโครงสร้างของดอก ( 2 คะแนน )
แนวตอบ
- กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่นอกสุด
- กลีบดอก (Petal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้าไปข้างใน
- เกสรตัวผู้ (Stamen) เป็นส่วนของดอกที่จำเป็นในการสืบพันธุ์
- เกสรตัวเมีย (Pistil or carpel) เป็นส่วนของดอกที่อยู่ในสุด และจำเป็นในการสืบพันธุ์
- การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ คืออะไร มีผลดีอย่างไร ( 2 คะแนน )
แนวตอบ
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) คือ การสืบพันธุ์ที่ต้องมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (สเปิร์ม) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (ไข่) แล้วเกิดออกมาเป็นไซโกตและเจริญมาเป็นเอมบริโอในเวลาต่อมา
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีผลดี คือ ในทางวิวัฒนาการ เพราะทำให้เกิดการแปรผันของลักษณะทางกรรมพันธุ์ คือเกิดสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะแตกต่างไปจากบรรพบุรุษ ซึ่งถือว่ามีโอกาสอยู่รอดได้มากกว่าตามหลักการคัดเลือกตามธรรมชาติของชาลส์ ดาร์วิน
- การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ คือ อะไร ยกตัวอย่าง ( 2 คะแนน )
แนวตอบ
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ คือ การเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตโดยไม่มีการ ผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งการสืบพันธุ์แบบนี้จะไม่มีการกลายพันธุ์หรือ สร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมขึ้น ส่วนใหญ่พบในสัตว์ชั้นต่ำและป็นการสืบพันธุ์อย่างไม่สลับซับซ้อน ข้อดีของการสืบพันธุ์แบบนี้ได้แก่ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถเพิ่มจำนวนได้โดยไม่ต้องหาคู่ ในกรณีของสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องรอเวลาและพลังงานในการสร้างเซลล์สืบ พันธุ์และการปฏิสนธิ เหมาะกับสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ
ตัวอย่าง การสิบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศมีหลายวิธีได้แก่
-การแตกหน่อ (budding) สิ่งมีชีวิตตัวใหม่งอกออกมาจากตัวเดิม แล้วหลุดออกมาเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่
-การแบ่งตัว (fission) สิ่งมีชีวิตตัวหนึ่งแบ่งเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่แบบเท่าๆกัน
การแบ่งตัวของพารามีเซียม
-การแบ่งส่วน (fragmentation) ส่วนที่หลุดไปจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งพัฒนาไปเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ได้ โดยเซลล์ใน ส่วนที่หลุดไปนั้นเกิดรีเจนเนอเรชั่น (regeneration) กลับเป็นเนื้อเยื่อเจริญได้อีก ตัวอย่างเช่น ดาวทะเล
การแบ่งส่วนของพานาเรีย
.......................................................................................
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี
ตอนที่ ๒
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
- ส่วนประกอบของเซลล์ที่พบในเซลล์พืชแต่ไม่พบในเซลล์สัตว์ คืออะไร
ก. นิวเคลียส
ข. เยื้อหุ้มเซลล์
ค. ไซโทพลาซึม
ง. คลอโรพลาสต์
- ส่วนประกอบของเซลล์ที่พบเฉพาะในเซลล์พืชคืออะไร
ก. ผนังเซลล์
ข. นิวเคลียส
ค. เยื่อหุ้มเซลล์
ง. ไซโทพลาซึม
- น้ำเข้าสู่รากโดยวิธีการใดมากที่สุด
ก. การแพร่
ข. คาปิลลารี
ค. ออสโมซิส
ง. แรงดันของราก
- ปัจจัยในข้อใดไม่มีผลต่อการแพร่ของอนุภาคของสารผ่านเยื่อเลือกผ่าน
ก. อุณหภูมิของสาร
ข. ขนาดของอนุภาคของสาร
ค. ชนิดของเยื่อเลือกผ่านที่กั้นอยู่ระหว่างสารทั้งสองสาร
ง. ความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นของอนุภาคของสารสองบริเวณ
- การสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นได้ในส่วนประกอบของเซลล์หมายเลขใด
ก. 1
ข. 2
ค. 3
ง. 4
- ภายในเซลล์พืชมีเม็ดสีเขียวทำหน้าที่สร้างอาหาร เรียกว่าอะไร
ก. นิวเคลียส
ข. คลอโรฟิลล์
ค. คลอโรพลาสต์
ง. ไซโทพลาสซึม
- การสร้างอาหารของพืชไม่จำเป็นต้องใช้ปัจจัยในข้อใด
ก. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ข. น้ำ
ค. ก๊าซออกซิเจน
ง. แสงสว่าง
- ข้อใดเป็นผลที่เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของ พืช
ก. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ
ข. น้ำตาล ก๊าซออกซิเจน และน้ำ
ค. แป้ง น้ำ และโอโซน
ง. น้ำตาล และก๊าซออกซิเจน
- การออสโมซิส ต่างจากการแพร่อย่างไร
ก. ออสโมซิสเป็นการเคลื่อนที่ของน้ำผ่านเยื่อบางๆ
ข. การแพร่เกิดจากสารเคลื่อนที่จากโมเลกุลมากไปสู่ที่มีโมเลกุลน้อย
ค. การแพร่ไม่ต้องผ่านเยื่อบางๆ ก็ได้แต่ออสโมซิสต้องผ่านเยื่อบางๆ
ง. ถูกทุกข้อ
- 10. เมื่อนำต้นเทียน แช่รากในน้ำหมึกแดง ทิ้งไว้ค้างคืน จะเห็นสีแดงผ่านจากรากไปสู่ลำต้นเพราะเหตุใด
ก. น้ำหมึกแดงออสโมซิสเข้าทางรากขึ้นไปสู่ลำต้น
ข. น้ำหมึกแดงออสโมซิลเข้าทางท่อลำเลียงน้ำไปสู่ใบ
ค. น้ำหมึกแดงออสโมซิสเข้าทางรากและแพร่ไปสู่ลำต้น
ง. น้ำหมึกแดงออสโมซิสเข้าทางราก และออสโมซิลไปสู่ลำต้น
หมายเหตุ สำหรับรูปต้องศึกษาเพิ่มเติ
แหล่งที่มา : pccl.ac.th