กฎหมายแรงงาน ค่าล่วงเวลา กฎหมายแรงงาน การหารจำนวนวันเงินเดือน


16,596 ผู้ชม


กฎหมายแรงงาน ค่าล่วงเวลา กฎหมายแรงงาน การหารจำนวนวันเงินเดือน

 การหารจำนวนวันเงินเดือน

ดิฉัน เป็นพนักงานบริษัท เงินเดือน 8500 บาท แต่วิธีคิดเงินเงินเจ้านาย เอา 8500 หาร จำนวนวันที่ฉันมาทำงานคือ 22 วัน =8500/22=386.36 อีก 8 วันเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์

ถ้าเดือนมีนาคมนั้นมีวันหยุดประจำ 8วัน +วันหยุดนักขัตฤกษ์3 วัน= 11วัน - 31 วัน = 20 วัน  8500/20 = 425 บาท ถ้าลากิจอีก 1 วัน วันที่ลากิจจะถูกหัก 425 บาทไม่ทราบว่าเขาคิดแบบนี้ถูกต้องไหมค่ะ  ตาทกฎหมายแล้ว พนักงานรายเดิอนคิดอย่างไรค่ะ  เงินเดือน/ ?

ลิงค์ การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเงินเดือน (น่าสนใจมาก)

เงินเดือนจะมาหาร 26 หาร22 อะไรกันครับ มันไม่ใช่นะครับ เงินเดือนก็คือเงินเดือนครับ  ต้องหารด้วย30   ถ้าจะมาหาร 22 หาร 26 นั่นมันรายวันครับ
สำหรับรายเดือน
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่ารายเดือน  จะหาค่าเฉลี่ยของรายเดือนต้องหารด้วย 30  เช่นเงินเดือน 8,500 ก็ 8,500/30 ก็เท่ากับวันละ 283.33บาท แค่ให้รู้ว่าตกวันละ283.33เท่านั้และกฏหมายกำหนดให้พนักงานหยุดสัปดาห์ละ1วัน ฉะนั้นใน1เดือนคุณก็จะหยุด4วัน นี่คือข้อดีของรายเดือนถึงจะหยุดก็ยังได้เงิน และบริษัทไม่มีสิทธิ์หักเงินในส่วนนี้ สิ้นเดือนมาคุณก็รับเงิน8,075บาท(หักประกันสังคม5%)  แต่ถ้าคุณขาดงาน นั่นบริษัทถึงจะสามารถหักเงินคุณ  ไม่ใช่จะเอาเงินเดือนมาหาร 22 หาร 26 นั่นเท่ากับว่าคุณเป็นพนักงานรายวันครับ                                                                                                                                                ลาป่วย = 1ปีลาป่วยได้30วัน ตามกฏหมาย ไม่ถูกหักเงินแต่ต้องมีใบรับรองแพทย์มาแนบแล้วแต่กฏบริษัทส่วนมาก3วันขึ้นไปต้องมีใบรับรองแพทย์                                                                                                                                                                    วันหยุดนขัตฤกษ์=1ปีต้องมี13วันอย่างต่ำ  ตามกฏหมาย  นี่ก็หยุดได้บริษัทไม่มีสิทธิ์หักเงินแต่ถ้ามาทำงานก็คูณ3ครับ        ลากิจ=แล้วแต่บริษัทกำหนด
การคิดโอทีก็เอาแต่ฐานเงินเดือนครับจะไม่เอาค่าตำแหน่งค่าเสี่ยงภัยหรือค่าขนมอื่นๆมาคิด   เช่นเงินเดือน8,500 ค่าตำแหน่ง1,000 ค่าชำนาญการ1,000  ก็จะเอาแค่8,500 มาคิดครับ  ที่เหลือไม่ใช่เงินเดือนไม่เอามาคิดครับ
สำหรับรายวัน
แค่ให้รู้ว่านายจ้างตกลงจ่ายค่าแรงคุณวันละเท่าไหร่ ก็เอาค่าแรงคูณด้วยจำนวนวันที่มาทำงาน วันไหนไม่มาก็ไม่ได้เงิน เช่น ค่าแรงวันละ 200 บาท  ใน1เดือนคุณมาทำงาน 19 วัน ก็เอา200*19 สิ้นเดือนก็รับเงิน 3,800 บาท   กฏหมายกำหนดให้แรงงานทำงานวันละ 8 ช.ม. /1วัน   ถ้าจ่ายครึ่งวันผมไม่ทราบครับ ผมทราบแต่เพียงว่าทำงานครบ8ช.ม. ก็คือ1วันการทำงาน
 ส่วนการปรับค่าแรง
การปรับค่าแรงคือการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ทั้งรายวันและรายเดือนปรับเหมือนกันครับ เช่น จังหวัดก. กำหนดให้ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 200 บาท ฉะนั้น  แรงงานรายวันต้องได้วันละ200บาท ต่ำกว่านี้ผิดกฏหมาย  รายเดือน ก็200*30 คือ เดือนละ6,000 บาท ต่ำกว่านี้ผิดกฏหมาย แล้วกฏหมายกำหนดให้ จังหวัดก.ปรับค่าแรงขึ้น10บาท  ฉะนั้นรายวันต้องได้210/วัน ต่ำกว่านี้ผิดกฏหมาย  รายเดือน ต้องได้ 6,300 บาท/เดือน  ต่ำกว่านี้ผิดกฏหมาย   อย่างที่บอกครับการปรับค่าแรงคือค่าแรงขั้นต่ำครับไม่ใช่ปรับค่าแรงขั้นสูง   ถ้าคุณเงินเดือน21,000 บาท/เดือน ไม่ปรับก็ไม่ผิดกฏหมายแต่อย่างใด  แต่ถ้าคุณจะปรับเงินเดือนนี่ก็แล้วแต่ความกรุณาของบริษัทครับ


มาตรา 68    เพื่อประโยชน์แก่การคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานหมายถึงค่าจ้างรายเดือนหารด้วยผลคูณของสามสิบและจำนวนชั่วโมงทำงานในวันทำงานต่อวันโดยเฉลี่ย

  

                บทบัญญัติมาตรานี้ได้กำหนดขึ้นเพื่อให้การคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดของลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน (หรือได้รับเงินเดือน) มีหลักเกณฑ์ในการคำนวณเป็นมาตรฐานในกฎหมาย ในการคำนวณค่าจ้างจากรายเดือนมาเป็นรายวันก็ดี หรือจากรายชั่วโมงก็ดี ให้เอา 30 หารเพื่อให้เป็นค่าจ้างต่อ 1 วัน และเอาจำนวนชั่วโมงทำงานต่อวันหารอีกทีหนึ่งเพื่อให้เป็นค่าจ้างต่อชั่วโมง แต่ถ้าชั่วโมงทำงานต่อวันไม่เท่ากัน เช่น ทำงานในวันจันทร์ถึงวันศุกร์เต็มวัน วันเสาร์ครึ่งวัน กรณีเช่นนี้ก็ต้องเอาจำนวนชั่วโมงทำงานในวันจันทร์ถึงวันเสาร์บวกเข้าด้วยกันและหารด้วย 6 เพื่อเป็นชั่วโมงทำงานต่อวันโดยเฉลี่ย ถ้านายจ้างได้ใช้หลักเกณฑ์อื่นในการคำนวณ เช่น ใช้จำนวนชั่วโมงทำงานต่อเดือนหารค่าจ้างรายเดือนหรือใช้จำนวนวันทำงานจริงในหนึ่งเดือน (22,26) หารแทนจำนวน 30 ก็อาจใช้ได้ แต่ถ้าคำนวณออกมาแล้วได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนน้อยกว่าที่คำนวณได้โดยใช้หลักตามมาตรา 28 แล้วก็คือว่าผิดกฎหมาย

การคำนวณค่าจ้าง ค่าทำงานล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด     ติดต่อทีมงาน
เช้าวันนี้ผมได้รับข้อความจากสมาชิกท่านหนึ่ง ถามถึงการคำนวณค่าล่วงเวลาสำหรับการทำงาน ดังนั้นในวันนี้ผมจึงคิดว่า แทนที่จะตอบให้สมาชิกท่านนี้เป็นการส่วนตัว ขอตอบเป็นกระทู้ใหม่เพื่อแชร์ความรู้ให้กับสมาชิกท่านอื่นๆในห้องสีลมด้วยแล้วกันนะครับ น่าจะเป็นประโยชน์มาก
การคำนวณค่าแรง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดนั้น พื้นฐานจะต้องนำมาเป็นหลักในการคำนวณคือ อัตราเงินเดือน หรือเงินค่าจ้างรายวัน ซึ่งเงินรายได้นี้ มีกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำคุ้มครองเอาไว้ ดังนั้นหากท่านตกลงค่าแรงกับนายจ้างท่านใดแล้ว ก็กรุณาตรวจสอบเสียก่อนว่า ค่าแรงที่ท่านได้รับนั้น สูงกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำหรือไม่ พนักงานเงินเดือนเรือนหมื่นอย่างเราๆ คงไม่เป็นปัญหา แต่พนักงานที่รับค่าจ้างเป็นรายวันหรือลูกจ้างชั่วคราวนี้ ต้องใส่ใจต่อเรื่องดังกล่าวด้วยนะครับ
การคำนวณค่าจ้างต่อวัน
การทำงานในหนึ่งวันของเรานั้น ตามกฎหมายมาตรา 23 แล้วกำหนดให้วันหนึ่งนายจ้างต้องให้ลูกจ้างทำงานไม่เกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมง หากวันใดทำงานไม่ถึง ก็สามารถสะสมไปยังวันทำงานอื่นๆได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 9 ชั่วโมง ซึ่งกฎหมายข้อนี้ก็ทำให้นายจ้างหลายรายหัวใส ใช้ช่องว่างนี้กำหนดให้ลูกจ้างทำงานวันละ 9 ชั่วโมงเสียเลย ซึ่งสามารถทำได้หากจัดการเป็นขั้นตอน  แต่ไม่เป็นผลดีต่อนายจ้างและการบริหารงานบุคคลเท่าไรนัก
              เข้าสู่เรื่องของการคำนวณค่าจ้าง  การคำนวณค่าจ้างต่อเดือนให้เป็นรายวันนั้นง่ายมาก เพียงแค่นำเอาเงินเดือนพื้นฐาน หารด้วย 30 วัน ก็จะได้ค่าจ้างต่อเดือนแล้ว (อ้างอิงมาตรา 68) แต่นายจ้างบางท่านอาจหารด้วยจำนวนวันที่ทำงานจริงในเดือนนั้น เช่น หารด้วย 22 วันทำการ ก็ไม่ถือว่าผิดแต่อย่างใด และถือเป็นคุณต่อลูกจ้างเนื่องจากลูกจ้างจะได้อัตราค่าจ้างที่มากว่าการหารด้วย 30 วัน เพียงแต่มีข้อแม้เดียวคือ ต้องใช้อัตรานี้ไปกับทุกๆการคำนวณ เช่น การคำนวณค่าล่วงเวลา หรือคำควณการทำงานในวันหยุด และการคำนวณการไม่จ่ายค่าจ้างด้วย ต้องใช้อัตราเดียวกัน
              เช่น เงินเดือน 10,000 บาท ค่าจ้างต่อวันเท่ากับ (10,000 บาท / 30 วัน) = 333.34 บาทต่อวัน
              ส่วนการคำนวณค่าจ้างต่อเนื่องเป็นรายชั่วโมง เพื่อเป็นพื้นฐานในการคำนวณค่าล่วงเวลาหรือรายการหักใดๆต่อชั่วโมง ก็เพียงเอาค่าจ้างต่อวันที่คำนวณได้นั้น มาหารด้วยเวลาทำงาน หากบริษัทของท่านมีเวลาทำงานปกติอยู่ที่ 8 ชั่วโมงก็ไม่มีปัญหาอะไรมาก เพียงแค่นำ 8 มาหารได้เลย แต่มีข้อสังเกตุว่า หากบริษัทของท่านมีเวลาทำงานที่น้อยกว่านี้ เช่น 7ชั่วโมง หรือ 7.5 ชั่วโมง จะต้องหารด้วยเวลาทำงานจริง เช่น ทำงาน 7 ชั่วโมง แต่จะมั่วหารด้วย 8 ไม่ได้นะครับ
หมายเหตุ : สำหรับการทำงานไม่เต็มชั่วโมง การคำนวณด้วยเครื่องคำนวณ ต้องระมัดระวังเรื่องจุดทศนิยมนะครับ ต้องเทียบบัญญัตไตรยางค์ให้ดี ไม่เช่นนั้นคำนวณผิดครับ เช่น 2ชั่วโมง 30 นาที หากกดเครื่องคิดเลขต้องเป็น 2.5 นะครับ ไม่ใช่ 2.3
              จากตัวอย่างข้างต้น เราจึงได้อัตราค่าจ้างปกติต่อชั่วโมงเท่ากับ (333.34 บาท / 8 ชั่วโมง) = 41.67 บาทต่อชั่วโมง

การคำนวณค่าจ้างในการทำงานล่วงเวลา
              การทำงานล่วงเวลา หรือทำงานพิเศษนั้น ผมขอจำแนกตามกฎหมายออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.       การทำงานล่วงเวลาในวันปกติ
2.       การทำงานในวันหยุด
3.       การทำงานล่วงเวลาในวันหยุด
ซึ่งจะขออธิบายการคิดคำนวณเป็นข้อๆ ดังนี้ครับ
1.       การทำงานล่วงเวลา การทำงานที่เกินจากการทำงานเวลาปกติไปแล้ว พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 61 กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่า 1.5 (หนึ่งเท่าครึ่ง) ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
เช่น จากตัวอย่างข้างต้นเราได้มาแล้วว่า อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงปกติของเรานั้นอยู่ที่ 41.67 บาทต่อชั่วโมงดังนั้นหากเราอยากรู้ว่า วันนี้เราทำงานล่วงเวลาไปแล้ว 1 ชั่วโมง จะได้ค่าทำงานล่วงเวลาเท่าไร ก็สามารถคำนวณง่ายๆโดย ( อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงปกติ คูณด้วย 1.5 เท่า) คุณ จำนวนชั่วโมงที่ทำงานล่วงเวลา สำหรับกรณีตัวอย่างข้างต้น อัตราทำงานล่วงเวลาในวันปกติจะอยู่ที่ (41.67 X 1.5) X 1 ชั่วโมง = 62.50 บาท ครับ
หมายเหตุ การทำงานล่วงเวลา นอกจากจะมีกฎหมายกำหนดค่าจ้างเอาไว้แล้ว ยังมีกฎหมายกำหนดวิธีการจัดการที่ลูกจ้างต้องรู้อีกด้วย เช่น
-           ห้ามนายจ้างบังคับลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ยกเว้นลูกจ้างยินยอม (มาตรา 24)
-           การทำงานล่วงเวลาเกินจากเวลาปกติ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างพักก่อนไม่น้อยกว่า 20 นาทีก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลา (มาตรา 27 วรรค 4)
-           งานบางอย่าง บางหน้าที่ อาจไม่ได้รับค่าจ้างทำงานล่วงเวลา ที่ 1.5 เท่าตามมาตรา 61 แต่จะได้รับเพียง 1 เท่าเพียงเท่านั้น เช่น ลูกจ้างที่ทีหน้าที่กระทำการแทนนายจ้าง , งานเปิดปิดประตูระบายน้ำ ฯลฯ (มาตรา 65)
2.       การมาทำงานในวันหยุด ประเด็นนี้ขอแยกออกเป็นข้อย่อย 2 ประเภทคือ พนักงานรายเดือน และพนักงานรายวัน เนื่องจาก
-           พนักงานรายเดือน หรือพนักงานประจำ ถือเป็นลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างในวันหยุด นั้นคือตามกฎหมายแล้ว วันเสาร์อาทิตย์ที่ลูกจ้างหยุด ถือว่าได้รับค่าจ้างตามกฎหมายอยู่แล้ว
-           พนักงานรายวัน พนักงานประเภทนี้ วันไหนมาทำงานจึงได้ค่าจ้าง วันไหนไม่มาทำงาน ไม่ได้รับค่าจ้าง ดังนั้นพนักงานรายวันถือว่าเป็นพนักงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างในวันหยุด
ดังนั้นการคำนวณค่าทำงานล่วงเวลาสำหรับพนักงานสองประเภทนี้ จึงต่างกันออกไป ดังนี้
2.1 กรณีพนักงานรายเดือน หรือพนักงานประจำ ให้จ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่า (มาตรา 62 (1)
2.2 กรณีพนักงานรายวัน ให้  ให้จ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า (มาตรา 62 (2)
สำหรับประเด็นที่ผมยกกฎหมายมาอ้างอิงนั้น เป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด เพราะฉะนั้นไม่ต้องมานั่งถกเถียงกันว่า บริษัทนี้ให้ที่ 1 เท่า บริษัทนั้นให้ที่ 2 เท่า เพราะพื้นฐานที่ให้อยู่เพียง 1 เท่าเท่านั้นหากบริษัทใดให้มากกว่า 1 เท่าแล้ว ถือว่าเป็นคุณต่อลูกจ้าง และไม่ได้ถือว่าผิดแต่อย่างใดครับ
 
3.       การทำงานล่วงเวลาในวันหยุด
หลังจากที่ทำงานในวันหยุดครบ 8 ชั่วโมงไปแล้ว หรือหลังเวลาเลิกงานในวันหยุดไปแล้ว หากต้องทำงานล่วงเวลา การคำนวณค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุดจะคล้ายๆกับการคำนวณการทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ เพียงแต่เปลี่ยนจาก 1.5 เท่า เป็นอัตราชั่วโมงละไม่น้อยกว่า 3 (สาม) เท่า เท่านั้นเองครับ (มาตรา 63)
ดังนั้นตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นเลย การคำนวณค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุดจะเท่ากับ
( อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงปกติ คูณด้วย 3.0 เท่า) คุณ จำนวนชั่วโมงที่ทำงานล่วงเวลา
เช่น อัตราทำงานล่วงเวลาในวันปกติจะอยู่ที่ (41.67 X 3.0) X 1 ชั่วโมง = 125 บาท ครับ
 
ซึ่งจากทั้งหมดที่ผมได้เรียบเรียงนำเสนอมานั้น คิดว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆพันทิปไม่มากก็น้อย แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องดังกล่าว ยังสามารถแตกประเด็นและปัญหาการจัดการไปได้อีกมาก ซึ่งหากผมเขียนบรรยายจนหมด คงใช้เวลามาก เอาเป็นว่าหากท่านใดมีปัญหาสอบถามอันสืบเนื่องจากเรื่องดังกล่าว สามารถสอบถามมาได้เลยครับ ผมและเพื่อนๆสมาชิกจะช่วยกันแชร์ความรู้ให้แก่กันครับ

อัพเดทล่าสุด